ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ที่มาของความเจ้าสำราญของตัวเอกฝ่ายชายในนิทานวรรณคดีไทย(สยาม)
ก่อนอื่นคงต้องขอเกริ่นความถึงต้นกำเนิดของวัฒนธรรมและอารยธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของชนชาติสยาม ซึ่งก็คือ“ศาสนาพุทธ”และบางส่วนในมุมมองของชาวพุทธโบราณนี้เอง(ซึ่งแตกต่างจากมุมมองของชาวพุทธไทยในปัจจุบันนี้อย่างสิ้นเชิง)ก็ได้พัฒนารูปแบบแทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกระดับของสังคมชาวสยาม โดยผ่านการนำมาประยุกต์ใช้ในนิทานพื้นบ้านตลอดจนวรรณกรรมต่างๆอย่างเป็นกันเอง ซึ่งข้อมูลตามบันทึกในพระพุทธศาสนาที่นำมาประยุกต์ใช้ในวรรณกรรมทั้งหลายนี้มีหลายส่วนมาก แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นตามหัวเรื่องเป็นหลัก
นิทานและวรรณคดีในอดีตหลายเรื่อง มักบรรยายตรงกันว่า ตัวเอกฝ่ายชายจะได้ร่ำเรียนสรรพวิชาอาคมและได้รับของวิเศษเป็นอาวุธมหาประลัยไว้ใช้สำหรับกอบกู้บ้านเมืองจากฤๅษีผู้เป็นอาจารย์(ในยุคหลังๆถัดมามีการดัดแปลงเปลี่ยนจากฤๅษีเป็นพระภิกษุผู้มากวิชาแทน เช่น ในเรื่องขุนช้าง ขุนแผน) โดยตามฉบับดั้งเดิมแท้นั้นอาวุธวิเศษมหาประลัยที่มอบให้จะเป็นธนู เพราะตามหลักของการจัดอันดับในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ธนู คืออาวุธที่มีอานุภาพมากที่สุดนั่นเอง โดยการจัดอันดับนี้มาจากข้อมูลใน มิลินทปัญหา อันว่าด้วยเรื่องของ อาวุธ๕ และภัยต่างๆที่ตัวเอกจะต้องกอบกู้นั้นมีอยู่ในบันทึกทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า กันดาร๕อย่าง
ที่มาของความเจ้าสำราญของตัวเอกฝ่ายชายในนิทานวรรณคดีไทย(สยาม)
ซึ่งการที่ธนู ถูกจัดอยู่ในอันดับสูงที่สุดนั้น ก็เป็นเพราะตามบันทึกในยุคพุทธกาลนั้น อาวุธที่มาอานุภาพร้ายแรงที่สุด คือ ธนุรเวท ซึ่งมีรูปแบบสัณฐานและวิธีการใช้งานคล้ายกับธนูนั่นเอง
ข้อมูลบางส่วนของธนุรเวท
บทวิเคราะห์เรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังเกิดความเร็วเหนือแสง
และภายหลังในยุคต่อๆมา นิทานพื้นบ้านหลายเรื่องจึงมีการพัฒนารูปแบบของอาวุธให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อให้ดูแหวกแนวและเป็นที่สนใจ ซึ่งบางชิ้นนั้นมีรูปร่างไม่เหมือนอาวุธเลยแต่กลับมีอานุภาพร้ายกาจมาก อย่าง ไม้คทา(รึไม้เท้า)ต้นชี้ตาย ปลายชี้เป็น พร้าโต้ใหญ่ ปี่ แหวน พัดใบตาล ฯลฯ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและดึงดูดใจผู้อ่าน
และแน่นอนว่า เมื่ออาวุธทั้งหลายเหล่านี้เป็นของวิเศษมีอานุภาพมาก บุคคลทั่วไปจึงไม่สามารถที่จะใช้งานได้(ถึงแม้จะไม่มีระบุไว้ในเนื้อเรื่องแต่ก็เป็นความเข้าใจที่สืบต่อๆกันมาแม้ว่าในยุคหลังจะไม่ทราบที่มาแล้วก็ตามทีแต่ก็ยังยึดถือข้อมูลสืบตามกันมาโดยตลอด) โดยข้อมูลตามบันทึกทางพระพุทธศาสนาแล้ว บุคคลที่สามารถใช้อาวุธวิเศษได้นั้น จะต้องมีพละกำลังและศักยภาพทางกายที่มหาศาลเหนือกว่าบุคคลทั่วไปหลายเท่าตัวนัก(ในนิทานและวรรณคดีจะยกให้เป็นเป็นผลจากการฝึกฝนร่ำเรียนวิชาจากฤๅษีผู้เป็นอาจารย์) ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาเองก็ได้จัดลำดับศักยภาพทางกายที่มนุษย์จะสามารถพัฒนาไปถึงได้จนถึงขีดสุดไว้ ดังนี้
๑๐ กำลังกายของชายฉกรรจ์ปกติ เป็น ๑ กำลังช้างกาฬวก(ช้างสีดำธรรมดา)
๑๐ กำลังช้างกาฬวกหัตถี เป็น ๑ กำลังช้างคังไคย(กังไขยะ-ช้างสีเทาเงาน้ำไหล)
๑๐ กำลังช้างคังไคย เป็น ๑ กำลังช้างปัณฑระ(จันทระ-ช้างสีเหลืองจันทร์)
๑๐ กำลังช้างปัณฑระ เป็น ๑ กำลังช้างตามพระ(ตัมพะ-ช้างสีทองแดง)
๑๐ กำลังช้างตามพระ เป็น ๑ กำลังช้างปิงคละ(ช้างสีน้ำตาลแสด)
๑๐ กำลังช้างปิงคละ เป็น ๑ กำลังช้างคันธะ(ช้างกลิ่นไม้หอม คือ กฤษณา)
๑๐ กำลังช้างคันธะ เป็น ๑ กำลังช้างมังคล(ช้างสีดอกอัญชัน)
ช้างมังคลเป็นตระกูลของช้างนาฬาคิรี[ธนบาล]ด้วย
๑๐ กำลังช้างมังคละ เป็น ๑ กำลังช้างเหมะ(โปจะ-ช้างสีหลืองทอง)
๑๐ กำลังช้างเหมะ เป็น ๑ กำลังช้างอุโปสถะ(ช้างสีนวลจันทร์ขึ้น๑๕ค่ำ)
๑๐ กำลังช้างอุโปสถะ เป็น ๑ กำลังช้างฉัททันต์(ช้างสีเงินยวง มี ๖ งา)
๑๐ กำลังช้างฉัททันต์ เป็น ๑ นารายณพล
นารายณพล คือ กายพลเพื่อกำลังตรัสรู้ของพระบรมโพธิสัตว์
ข้อมูลบางส่วนของช้างฉัททันต์
ตามหลักการเทียบเคียงพละกำลังกับช้างตระกูลต่างๆนี้ กำลังมาตรฐานของผู้ที่จะสามารถยกธนุรเวทขึ้นใช้งานได้นั้นจะต้องเท่ากับ ชายฉกรรจ์ปกติ ๑,๐๐๐ คน รึเทียบเท่ากับ ๑ กำลังช้างคังไคย นั่นเอง( ๑ กำลังช้างดำธรรมดาจะสามารถแบกน้ำหนักได้ ๑-๗๐ กิโลกรัม)
เมื่อศักยภาพกำลังกายของผู้ที่สามารถใช้ธนุรเวท มีความสมบูรณ์มากขนาดนี้ นิทานและวรรณคดีของชาวสยามโบราณจึงได้นำมาตีความขยายอธิบายเพิ่มเติมว่า ในเมื่อกำลังของผู้ที่ใช้ของวิเศษได้มีความสมบูรณ์และทรงประสิทธิภาพเทียบเท่าพละกำลังของชายฉกรรจ์ปกติถึง ๑,๐๐๐ คนแล้วสมควรจะสื่ออกมาอย่างไรให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ และผลสรุปที่ออกมาก็คือ บุคลิกของตัวเอกฝ่ายชายที่รักการผจญภัย อยู่เฉยไม่ได้ มากเมีย มากลูก เพื่อสื่อถึงการแสดงศักยภาพของพละกำลังที่มีอยู่ในตัว(ถ้าให้เรียกในยุคปัจจุบันก็คงคล้ายๆกับอาการไฮเปอร์ที่อยู่นิ่งไม่ได้เพราะพลังมันเหลือเฟือ) และสุดท้ายในบั้นปลายชีวิตของบุคคลเหล่านี้จึงออกบวชเป็นฤาษีกันทั้งหมด เพราะมีศักยภาพสมบูรณ์แต่แรกทีแล้วและเป็นการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงขีดสุดของร่างกายตนเองด้วย
อนึ่ง เจ้าชายพันธุละมหาเสนาบดีแคว้นโกศล ๑ ใน ๓ ผู้ใช้ธนุรเวทยุคพุทธกาลถึงแม้จะมีภรรยาคนเดียวแต่มีลูกแฝดถึง ๓๒ คู่ ที่สำคัญลูกทุกคนของท่านรับราชการตามพ่อหมดทุกคน ก็คงมีลูกหัวปีท้ายปีเลย ลูกถึงโตทันใช้ได้ทุกคน
ทว่าในนิทานที่มีการแต่งขึ้นในชั้นหลัง ข้อมูลเรื่องพละกำลังของผู้ใช้อาวุธวิเศษนี้กลับตกหายไป และมีการเน้นที่ความเจ้าชู้ของตัวเอกฝ่ายชายซะมากกว่าจนทำให้กลายเป็นเรื่องของความเจ้าชู้อย่างไม่ทราบสาเหตุแต่ฝ่ายเดียวไปในที่สุด
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น