ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #59 : จุดประสงค์หลักในการสร้างมหานครลังกาธานี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 48
      0
      19 ธ.ค. 62

    จาก จุดประสงค์หลักในการสร้างมหานครลังกาธานี


     

    จุดประสงค์หลักในการสร้างมหานครลังกาธานี

     

    จากรามเกียรติ์(ฉบับสยามรัฐ) กรุงลงกา รึมหานครลังกานี้ ถูกสร้างบนเกาะแห่งหนึ่งโดยพรหมกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่ายักษ์ทั้งหลาย เดิมนั้นเกาะแห่งนี้เคยถูกสร้างโดยเหล่าพรหมให้เป็นนครยักษ์มาแล้วครั้งหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า รังกานคร ซึ่งทั้งกรุงลงกาและกรุงรังกานี้ แรกเริ่มมีพรหมเป็นผู้ปกครองด้วยกันทั้งคู่

    จุดประสงค์ที่เหล่าพรหมได้สร้างมหานครชาวยักษ์ไว้บนเกาะกลางมหาสมุทรแห่งนี้ถึง๒ครั้งนั้น อาจวิเคราะห์ได้ว่า เหล่าพรหมต้องการควบคุมยักษ์ทั้งหลายให้เป็นระเบียบ เนื่องจากเห็นว่าเหล่ายักษ์สันดานพาลพากันเบียดเบียนและสร้างความวุ่นวายให้สรรพชีวิตทั้งหลาย

    ดังนั้น เหล่าพรหมซึ่งได้เล็งเห็นว่ายักษ์ทั้งหลายไม่อาจปล่อยให้อยู่กันเองได้ เพราะพวกนี้เก่งแต่สร้างปัญหาเรื่องวุ่นวายไปทั่ว เหล่าพรหมจึงได้จัดแจงหาเกาะเพื่อสร้างนครยักษ์ขึ้น ด้วยต้องการควบคุมพฤติกรรมของพวกยักษ์ไม่ให้สร้างปัญหายุ่งเหยิงใดๆขึ้นอีก

    ครั้นเหล่าพรหมสร้างนครรังกาสำเร็จ ก็จำต้องคัดหาตัวผู้ปกครองนคร ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่ใช่ชาวยักษ์ เพราะพวกยักษ์ส่วนใหญ่มีสันดาน(เลว)เสมอกันหมดแทบทุกตน และถึงจะหายักษ์ดีได้ก็ให้ขึ้นเป็นผู้ปกครองชาวยักษ์ไม่ได้อยู่ดี เพราะมีชาติเสมอกัน การให้ยักษ์ดีที่มีจำนวนน้อยกว่าขึ้นปกครองพวกยักษ์เลวที่มีจำนวนมากกว่านั้น โอกาสที่จะถูกปฏิวัติล้มล้างจึงมีสูงและความพยายามของเหล่าพรหมก็จะสูญเปล่าทันที

    ดังนั้น ตำแหน่งผู้ปกครองจึงถูกมอบให้กับพรหม ซึ่งมีชาติสูงกว่ายักษ์อยู่แล้ว และเมื่อพรหมอาสานั้นขึ้นปกครองนครรังกา จึงได้รับการสถาปนานามใหม่เป็น ท้าวสหมลิวัน และเนื่องจากนครรังกาถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อกรกับบรรดายักษ์ถ่อยทั้งหลาย เหล่ายักษ์ที่เข้านอบน้อมต่อท้าวสหมลิวันจึงได้รับการฝึกฝนเรียนรู้สรรพศาสตร์วิทยาการต่างๆเพื่อให้มีอำนาจการรบที่เหนือกว่าและสามารถเอาชนะศัตรูได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในทุกกระบวนความ โดยหารู้ไม่ว่า การให้ความรู้กับเหล่ายักษ์พาลจะสร้างปัญหาใหญ่ตามมา

    ทว่า ท้าวสหมลิวันก็ปกครองเหล่ายักษ์ซึ่งมีเลวมากกว่าดีไม่ได้ จึงทำให้เกิดศึกรบกับพระนารายณ์จนพ่ายแพ้(คาดว่าคงถูกพวกบริวารสันดานถ่อยยุให้รบ) และต้องนำกองกำลังยักษ์ที่เหลือหนีลงไปสร้างนครบาดาล และได้กลายเป็นปู่ของพระยายักษ์ไมยราพในกาลต่อมา ส่วนนครรังกานั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างให้ว่างเว้นไปอีกนานแสนนาน

    และในช่วงที่นครรังกาถูกปล่อยทิ้งร้างให้ว่างเว้นอยู่นั้นเอง ก็ได้มียักษ์หลายกลุ่มหลายตนที่หนีรอดจากการทำลายนครรังกามาได้แต่ไม่ได้ติดตามท้าวสหมลิวันลงบาดาลไปด้วย ก็ได้แตกออกเป็นหลายสายด้วยกัน จากนั้นหัวหน้ายักษ์ของแต่ละสายแต่ละกลุ่มจึงได้ใช้วิชาความรู้ที่เคยได้ศึกษาจากนครรังกามา สร้างนครยักษ์น้อยใหญ่และสถาปนาตนขึ้นเป็นพระยาทำการปกครองกันเองตามใจชอบตามประสานายว่าขี้ข้าพลอย และลูกขุนพลอยพยัก อาทิเช่น เมืองโรมคัล เมืองจารึก เมืองมัชชวารี เมืองปางตาล เมืองมลิวัน ฯลฯ สร้างความวุ่นวายให้โลกได้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

    และที่สาหัสยิ่งกว่านั้น ก็คือ มียักษ์จำนวนหนึ่งซึ่งเคยเป็นชาวนครรังกามาก่อน และน่าจะเคยมีโอกาสได้ศึกษาสรรพเวทวิทยามาจากนครรังกามาแล้วจนแตกฉาน กระทั่งสามารถบำเพ็ญเพียรขอทั้งพรและของวิเศษจากทั้ง ๓ เทพได้แล้วนำไปก่อเรื่องวุ่นวายให้ชาวโลก อย่างกรณีใหญ่ๆก็เช่น การม้วนแผ่นดินของทวีปทั้ง ๔ ของจักรวาลลงไปเก็บไว้ใต้บาดาลของหิรันตยักษ์ ทำให้สรรพชีวิตทั่วจักรวาลเดือดร้อนวุ่นวาย จนพระนารายณ์ต้องอวตารเป็นพญาหมูป่าลงมาสังหารหิรันตยักษ์เพื่อนำแผ่นดินกลับคืนสู่จักรวาลตามเดิม(๑ในสาเหตุที่พระนารายณ์ต้องอวตารลงปราบเหล่ายักษ์และอสูรอยู่บ่อยๆนั้น เป็นเพราะพวกยักษ์และอสูรหลายๆตนนั้นก็ฉลาดพอที่จะไม่สู้กับพระนารายณ์ เพราะรู้ตัวว่าสู้ไปก็ไม่ชนะ หากพระนารายณ์แสดงตัวตรงๆ พวกยักษ์และอสูรเหล่านั้นคงเลือกที่จะหนีไปหาที่กบดานมากกว่า ส่วนในกรณีของหิรันตยักษ์นั้น หากรู้ว่าพระนารายณ์มากำจัดตนก็คงจะกบดานอยู่ใต้บาดาลไม่ยอมโผล่ขึ้นมาสู้ด้วย)

    เหล่าพรหมไม่อาจปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ความปั่นป่วนในระดับจักรวาลอย่างที่หิรันตยักษ์เคยก่อไว้ได้อีก จึงคิดรื้อฟื้นนครยักษ์ขึ้นมาใหม่ อาจเพราะเห็นว่าการสร้างนครในครั้งก่อนนั้นไม่รัดกุมพอจึงต้องล่มสลาย ดังนั้น เหล่าพรหมจึงได้สร้างนครลังกาขึ้นด้วยจุดประสงค์เดิม และให้พรหมอาสาอีกองค์หนึ่งเป็นผู้ปกครองเช่นเดิม ซึ่งพรหมผู้ปกครองกรุงลงกาในครั้งนี้มีนามสถาปนาว่า ท้าวจตุรพักตร์

    เนื่องจากความรัดกุมของเหล่าพรหมที่มีมากขึ้น ท้าวจตุรพักตร์สามารถปกครองเหล่ายักษ์ในกรุงลงกาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และยังมีผลพลอยให้นครยักษ์น้อยใหญ่ต่างคุมเชิงสงวนท่าทีมากขึ้น ไม่กล้าก่อปัญหาสร้างเรื่องเดือดร้อนกันส่งเดชอีก

    กระทั่งสิ้นรัชสมัยของท้าวจตุรพักตร์ ท้าวลัสเตียนได้ขึ้นปกครองกรุงลงกา เหล่าเมืองยักษ์น้อยใหญ่จึงเริ่มคลายความกังวลลง และเริ่มมีการติดต่อกับกรุงลงกามากขึ้น พระยายักษ์จาก ๔ เมืองซึ่งเป็นขั้วอำนาจเก่าจากนครรังกาที่ล่มสลายก็ได้พร้อมใจกันยกธิดาของพวกตนให้อภิเษกเป็นมเหสีของท้าวลัสเตียนเพื่อแสดงความอ่อนน้อมสวามิภักดิ์(รวมถึงการเกี่ยวดองกันทางอ้อมด้วย) ซึ่งต่อมา ท้าวลัสเตียนก็ได้ให้เหล่าโอรสของตนซึ่งเกิดกับเหล่ามเหสีทั้ง ๔ นางแยกย้ายกันกลับไปครองเมืองยักษ์น้อยใหญ่ของพระยายักษ์ผู้มีศักดิ์เป็นตา(พ่อเหล่ามเหสีของท้าวลัสเตียน) เช่น กุเปรันไปปกครองเมืองกาลจักร ทัพนาสูรไปปกครองเมืองจักรวาล อัศธาดาไปปกครองเมืองวัทกัน มารันไปปกครองเมืองโสฬส และให้ทศกัณฐ์เป็นรัชทายาทกรุงลงกา เป็นอันว่า ทางพระยายักษ์เฒ่าทั้ง ๔ ตนก็ได้สายเลือดอสุรพรหมพงศ์มาปกครองเพื่อรับประกันความปลอดภัยได้สำเร็จ ขณะเดียวกัน ท้าวลัสเตียนก็สามารถจัดสรรปันส่วนการปกครองให้โอรสทั้ง๕ได้อย่างลงตัวไร้ศึกสายเลือดชิงบัลลังก์(ส่วนบรรดาน้องชายของทศกัณฐ์คือ ทูษณ์ ขร ตรีเศียร ได้ถูกส่งตัวไปปกครองเมืองจารึก เมืองโรมคัล และเมืองมัชชวารี ซึ่งเป็นเมืองลูกที่กำลังขาดผู้ปกครองอยู่ตามลำดับ)

    เวลาล่วงเลยไปจนสิ้นรัชสมัยของท้าวลัสเตียน ทศกัณฐ์ได้ขึ้นปกครองกรุงลงกา หลายๆสิ่งก็เปลี่ยนไป เพราะทศกัณฐ์ไม่ได้พอใจเพียงการปกครองเกาะกลางมหาสมุทรเท่านั้น ครั้นอายุได้พันปี ทศกัณฐ์ก็เริ่มใช้คันศรคู่กายเป็นอาวุธพร้อมปลุกระดมเหล่าพันธมิตรเมืองยักษ์น้อยใหญ่ให้เข้าร่วมทำศึกประกาศศักดาไปทั่วหล้า มีเมืองขึ้นกว่าแปดหมื่นสี่พันเมือง ซึ่งวิเคาระห์ได้จากจำนวนนางสนมที่ทศกัณฐ์มี ซึ่งแต่เดิมมีจำนวนนางสนมของทศกัณฐ์นั้นมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณหมื่นหกพันนาง และต่อมากลับมีเพิ่มขึ้นอีกจนกลายเป็นแปดหมื่นสี่พันนาง ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่า จำนวนนางสนมทั้งแปดหมื่นสี่พันนางนี้จะเป็นบรรณาการจากเมืองขึ้นของกรุงลงกาจำนวนทั้งสิ้นแปดหมื่นสี่พันเมืองที่ส่งตัวมาถวายทศกัณฐ์เพื่อแสดงความนอบน้อมต่อลงกานั่นเอง(ใช้จำนวนนางสนมเป็นสัญลักษณ์แสดงแทนจำนวนเมืองขึ้น) ไม่ก็เป็นพวกม่ายหลวงซึ่งมีที่มาจากการที่ทศกัณฐ์นำทหารไปออกรบจนพวกทหารตายในสงครามเป็นจำนวนมาก ทศกัณฐ์จึงต้องรับผิดชอบโดยการรับอุปการะเหล่าภรรยาม่ายของทหารตัวเองที่ไปตายในสงครามไว้เป็นสนมเพื่อให้พวกนางได้รับสวัสดิการต่างๆนานาที่พวกนางอาจเคยได้รับมาก่อนเมื่อครั้งสามียังมีชีวิต(คือถ้าสามีตาย สวัสดิการส่วนนี้ก็ถูกตัดไป ซึ่งอาจมีผลให้พวกนางใช้ชีวิตกันยากลำบากขึ้น)

    ส่วนบรรดาโอรสที่เกิดจากเหล่านางสนมของทศกัณฐ์เหล่านั้นมีอยู่เพียง ๒ กลุ่มหลักๆคือ สหัสกุมาร ซึ่งมีอยู่ ๑,๐๐๐ ตนและเกิดจากนางสนมพันนาง กับ สิบรถ โอรสจำนวน ๑๐ ตนที่เกิดจากนางสนมสิบนาง
    หลังจากทศกัณฐ์สร้างความวุ่นวายขยายอิทธิพลและเสวยสุขอยู่เป็นเวลาช้านานกว่า๓โกฏิปีปลาย ก็ได้ถูกสังหารโดยพระนารายณ์ผู้อวตารลงมาเป็นพระรามในที่สุด

    จากเดิมซึ่งเป็นตระกูลอสุรพรหมพงศ์ผู้สูงศักดิ์สง่างามปกครองกรุงลงกาอย่างสงบสุขสมานฉันท์ ครั้นผ่านไปเพียง ๓ ชั่วรุ่นก็กลับผ่าเหล่าผ่ากอลงจนกลายเป็นยักษ์ร้ายไปโดยสมบูรณ์

    ส่วนเหตุที่เหล่าพรหมต้องเป็นฝ่ายนิรมิตเมืองขึ้นเพื่อปกครองเหล่ายักษ์เองถึง ๒ ครั้งนั้น คะเนได้ว่าหลังจากท้าวสหมลิวันปกครองกรุงรังกาจนร่วงโรจน์ลงบาดาลไปแล้ว เทพคณะอื่นๆก็ไม่มีใครกล้าเสี่ยงทำเช่นนั้นอีก เพราะเกรงว่าพวกตนจะเป็นฝ่ายที่พากันบริหารบ้านเมืองผิดพลาดจนร่วงโรจน์แทรกธรณีดิ่งลงบาดาลตามท้าวสหมลิวันซึ่งต้องไปชิงดินแดนพวกนาคเพื่อสร้างนครใหม่อีก(ก็ขนาดพรหมลงมาปกครองเองยังไปไม่รอดเลย)

    ทว่า ครั้นจะปล่อยให้พวกยักษ์อาละวาดเบียนเบียนเที่ยวบุกรุกสร้างนครตามใจชอบกันต่อไปก็ไม่ได้อีกเช่นกัน ดังนั้นเมื่อคณะเหล่าพรหมมีความคิดที่จะขุดโมเดลการปกครองยักษ์ขึ้นมาใช้อีกเป็นครั้งที่๒ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กรุงลงกา จึงไม่มีเทพคณะใดแสดงความเห็นคัดค้าน และปล่อยให้เหล่าพรหมจัดการกันเองตามที่เหล่าพรหมเห็นสมควร

    อนึ่ง มีความเป็นไปได้ว่า ก่อนที่มหานครรังกาของท้าวสหมลิวันถูกกองทัพพระนารายณ์ถล่มจนเมืองแตก สถานการณ์ภายในนครรังกาขณะนั้นก็น่าจะกำลังมีความขัดแย้งคุกรุ่นอยู่เหมือนกัน
     

    ดังนั้น เมื่อกองทัพพระนารายณ์บุกถึงมหานครรังกา พวกยักษ์บริวารของท้าวสหมลิวันบางส่วนที่มีกำลังพลใหญ่เป็นของตนเอง จึงได้รวมหัวกันไม่ส่งกำลังเสริมมาช่วยท้าวสหมลิวันจนทำให้กองทัพของท้าวสหมลิวันพินาศย่อยยับต้องแทรกธรณีลี้ภัยไป


     

    จากนั้น พวกยักษ์บริวารที่ว่าก็ฉวยโอกาสจากการที่ที่นครรังกาล่มแยกตัวเป็นอิสระ ริเริ่มสร้างนครของพวกตนขึ้นมาเองตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
     


     

    ซึ่งบรรดายักษ์บริวารตัวหลักๆที่ตัดกำลังท้าวสหมลิวันด้วยการทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่ยอมยกกองพลของตนเองมาช่วยท้าวสหมลิวันทำศึกน่าจะมีอยูู่๔ตนด้วยกัน ซึ่งก็คือ บรรดาพ่อๆของมเหสีท้าวลัสเตียนทั้ง๔นาง(พ่อเขยของท้าวลัสเตียน)นั่นเอง


     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×