ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #47 : วิเคราะห์ข้อมูลพระภูมิ(ภุมมเทวดา)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 71
      0
      9 ก.ค. 60

    จาก วิเคราะห์ข้อมูลพระภูมิ(ภุมมเทวดา)


    จาก ตำราพรหมชาติ(หากมีข้อชี้แนะเพื่อแก้ไขข้อมูล สามารถแจ้งได้เพื่อทำการแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไป)
    คำประกาศสังเวยพระภูมิ(โดยย่อ)
    ชิเนนทรัง นมามิหัง ริปุมารัง วราหริ
    ภุมมเทวา
    มาตา ปุตตังวะ โอรสา
    เทวานุกัมปิโน โปโส
    สทา ภัทรานิ ปัสสติ
    ตัสสานุภาเวนะ
    วันทามหัง รัตนัตตยัง
    ปุญญักเขตตัง
    อายุวัฑฒโก
    ธนวัฑฒโก
    สิริวัฑฒโก
    สัพพทุกขา อุปัททวา ฯ

    จากข้อมูล พระภูมิ มีด้วยกัน ๙ ประเภท ซึ่งมีชื่อเรียก(ที่คาดว่าจะเป็นตำแหน่งที่ใช้เรียกตามหน้าที่)ต่างกัน ดังนี้
    ๑. พระชัยมงคล เป็นภูมิสถาน..ประจำเคหสถาน บ้านเรือน โรงร้านต่างๆ
    ๒. พระนครราช เป็นภูมิสถาน...ประจำประตู ป้อมค่าย บันได
    ๓. พระเทเพน เป็นภูมิสถาน...ประจำคอกสัตว์ต่างๆ
    ๔. พระชัยศรพ เป็นภูมิสถาน...ประจำคลังเสบียง ยุ้ง ฉาง
    ๕. พระคนธรรพ์ เป็นภูมิสถาน..ประจำโรงพิธีการแต่งงาน เรือนหอ
    ๖. พระธรรมโหรา เป็นภูมิสถาน...ประจำภูเขา ป่า นา ท้องทุ่ง
    ๗. พระวัยทัต เป็นภูมิสถาน..ประจำวัดวาอาราม ปูชนียสถาน
    ๘. พระธรรมิกราช เป็นภูมิสถาน...ประจำสวนผัก สวนผลไม้ อุทยาน สวนหย่อมต่างๆ
    ๙. พระทาษธารา เป็นภูมิสถาน...ประจำห้วย หนอง คลอง บัง แม่น้ำ ลำธาร สระใหญ่น้อยทั้งหลาย
    และยังระบุอีกว่า ตำแหน่งของพระภูมิแต่ละตนมี(หัวหน้า)คนใช้อีก ๓ นาย มีชื่อ(ตำแหน่ง)ว่า จัน จันทิศ และ อาจเสม

    พระภูมิ ๔ กลุ่ม(จากข้อมูลเรื่อง การบูชาพระภูมิ)
    ๑.เดือน ๕-๖-๗ พระภูมิเป็นมนุษย์ บูชาด้วยเครื่องกินทั้งปวง(แล้วแต่จะจัดถวาย)
    ๒.เดือน ๘-๙-๑๐ พระภูมิเป็นยักษ์ บูชาด้วยเนื้อพล่าปลาสด
    ๓.เดือน ๑๑-๑๒-๑ พระภูมิเป็นราชสีห์ บูชาด้วยเนื้อดิบ
    ๔.เดือน ๒-๓-๔ พระภูมิเป็นฤๅษี บูชาด้วยลูกไม้ผลไม้ทั้งปวงแล้วแต่จะหาได้
    *จากข้อมูลเรื่อง การบูชาพระภูมินี้ ทางเราคาดว่า อาจเป็นรูปแบบของการคัดเลือกเทวดาที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นพระภูมิตามสถานที่ต่างๆในช่วงเดือนนั้นๆก็เป็นได้ ซึ่งหากดูจาก จำนวนของเวลาที่แบ่งออกเป็น ๔ ช่วง และ มียักษ์เป็น๑ในพระภูมิแล้ว ทางเราคาดว่า เทวดาที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นพระภูมินี้ คือ กลุ่มของชาวจาตุมหาราชิกาทั้ง๔ทิศเป็นหลัก เมื่อพิจารณารูปแบบของเครื่องเซ่นที่ทำการจัดถวายแล้ว ตีความออกมาได้ ดังนี้
    ๑.เดือน ๕-๖-๗(๑๕เม.ษ.-๑๔ก.ค.) พระภูมิคือกลุ่มของนาคเป็นหลักและอาจรวมถึงกลุ่มเทวดาที่สูงกว่าชั้นจาตุมหาราชิกาบางกลุ่มด้วย เพราะสามารถบูชาด้วยเครื่องกินอะไรก็ได้ที่สามารถจัดหาได้
    ๒.เดือน ๘-๙-๑๐(๑๕ก.ค.-๑๔ต.ค.) พระภูมิคือกลุ่มของยักษ์ เพราะต้องบูชาด้วยเนื้อพล่าปลาสด
    ๓.เดือน ๑๑-๑๒-๑(๑๕ต.ค.-๑๔ม.ค.) พระภูมิอาจเป็นกลุ่มของกุมภัณฑ์เป็นหลักและอาจรวมถึงกลุ่มเวมานิกเปรตชั้นสูงบางกลุ่มด้วย เพราะมีการบูชาด้วยเนื้อดิบ
    ๔.เดือน ๒-๓-๔(๑๕ม.ค.-๑๔เม.ษ.) พระภูมิอาจเป็นกลุ่มของคนธรรพ์(คนธรรพ์ฤๅษี คือ วิทยาธร)และอาจรวมถึงกลุ่มเทวดาที่สูงกว่าชั้นจาตุมหาราชิกาบางกลุ่มด้วย เพราะมีการบูชาด้วยลูกไม้ผลไม้ต่างๆแล้วแต่จะหาได้(คนธรรพ์ชอบสถิตย์อยู่ตามพรรณไม้ที่มีกลิ่นเพื่อกินกลิ่นของไม้นั้น)
    ***ข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น ยังไม่ควรนำไปใช้ประกอบในกิจพิธีใดๆใดๆ!!!เด็ดขาด!!!

    เพิ่มเติมข้อมูลของเหล่าภุมมาเทวดาได้ที่ได้ที่
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×