ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #30 : ดั้งเดิมพราหมณ์ไม่มีคำว่านาค

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 77
      0
      4 ม.ค. 65

    จาก ดั้งเดิมพราหมณ์ไม่มีคำว่านาค

     

    แต่เดิมนั้น ศัพท์บัญญัติว่านาคนั้น มีแต่ในทางพุทธเท่านั้น พวกพราหมณ์นั้นบูชาสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่างูใหญ่ ซึ่งก็ไม่ใช่นาค แต่เรียกว่า อุรค(ะ)(Uraga) คาดว่า อุรคนี้สืบสายพันธุ์มาจากงูที่มีพิษเป็นฤทธิ์จากตำนานเทพกรีก?!(พวกไทฟอน-Typhon)

     

        อุรค เป็นคำใช้เรียกงูใหญ่(ใหญ่ยักษ์)ที่เฝ้าอยู่ตามสถานที่ต่างๆและได้รับการเคารพบูชาจากมนุษย์ทั้งหลายที่ดูแลสถานที่นั้นๆ ซึ่งมักเป็นศาสนสถานโบราณ ตั้งแต่งูใหญ่ไพธอนจากวิหารของอพอลโล ไล่มาถึงงูใหญ่อัมพติฏฐกะจากโรงไฟของชฎิล ๓ พี่น้อง ซึ่งลัทธิพราหมณ์ในสมัยนั้นได้นำคำว่า นาค ของพุทธไปใช้เรียก อุรคะ ที่พวกตนบูชาเพื่ออัพเกรดลัทธิด้วย

     

    แต่ทางพุทธก็ไม่ได้แบ่งแยกอุรคออกจากนาคแต่อย่างใด เพราะถือว่าพราหมณ์ยังเป็นลัทธิพื้นบ้าน(ในสมัยนั้น) จึงรวมอุรคไว้เป็นนาคอีกกลุ่มหนึ่ง

    ในขณะที่ทางพุทธค้นพบนาค ซึ่งเป็นทิพยกายหรือ เป็นเทวดาในคราบงูใหญ่ และเหล่าลัทธิโบราณก็มีอุรค และในหลายพระสูตรแม้จะเป็นการกล่าวถึง นาค แต่กลับมีการยกคำว่า อุรคะ ด้วย เพราะคำว่า อุรคะ เป็นศัพท์ดึกดำบรรพ์ซึ่งอธิบายใช้เรียกงูยักษ์ที่เฝ้าตามศาสนสถานต่างๆ และอุรคก็มีลักษณะคล้ายกับ นาค(ในร่างเดรัจฉาน) ดังนั้นจึงมีการยกคำว่า อุรคะ มาอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพของ นาค ด้วยเช่นกันเพื่อให้ประชาชนในยุคสมัยนั้นเข้าใจลักษณะในร่างเดรัจฉานของนาคได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

     

     

    ซึ่งอุรคก็มีลักษณะคล้ายนาค ทั้งรูปร่าง และการใช้พิษ(คล้ายสัตว์ไม่มีพิษในธรรมชาติที่เลียนแบบสัตว์มีพิษ อย่างแมงมุมแม่ม่ายดำที่มีทั้งตัวจริงและปลอม)

     

    นาคของชฎิล๓พี่น้องก็คือ นาค รึ อุรค นี้เอง เพราะเกิดก่อนศาสนาพุทธ แต่ที่บันทึกว่าเป็นนาคก็เพราะเป็นการบันทึกของฝ่ายพุทธในภายหลัง(ผู้เขียนคิดว่านาคของชฎิล๓พี่น้องนี้ น่าจะเป็นอุรคที่อาจารย์ของชฎิลทั้ง๓พี่น้องเลี้ยงไว้ปกป้องโรงไฟ และ เหล่าลูกศิษย์ นั่นเอง)

    อุรค เกิดจากอะไร และ ลักษณะเป็นอย่างไร?

    อุรค น่าจะเกิดจากงูที่ได้รับรังสีที่ฤๅษีแผ่ออกมาจนเกิดการกลายสภาพมีฤทธิ์เดชคล้ายนาค ทำให้เกิดความสับสนอยู่บ่อยครั้ง

     

    ลักษณะของอุรคนี้ต่างจากนาคบางประการ เช่น

     

    ๑.อุรคบางตนมีหงอน บางตนไม่มี(ดูได้จากภาพวาดของพราหมณ์)

    ๒.อุรคหางแหลมแบบงู แต่นาคหางเป็นแพพวง(แต่บ้างก็วาดเป็นหางแหลมแบบอุรคด้วย)

     

    โดยสรุปคร่าวๆ คือ อุรค(ะ) คือ คำที่ลัทธิพราหมณ์โบราณเคยใช้เรียกงูใหญ่ที่ตนบูชาก่อนที่จะนำคำว่า นาค ของศาสนาพุทธไปต่อยอดให้ลัทธิตนเองและแต่งเป็นตำนานสารพัดจนทำให้เกิดความสับสนเรื่องพญานาคในปัจจุบัน คำๆนี้ แปลว่า ผู้ไปด้วยอก(อุระ-อก/ค-ไป) เมื่อพิจารณาจากโครงกระดูกของงูแล้ว จะพบว่า วงกระดูกซี่โครงของงูตลอดลำตัวนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะทางกายภาพของมนุษย์แล้ว มันก็คือกระดูกช่วงอก แต่ในงูกระดูกอกนี้จะเรียงไล่ไปตามความยาวของลำตัวงูแทบตลอดตัว ซึ่งเท่ากับว่า งูนั้นเคลื่อนที่โดยใช้ช่วงอกเคลื่อนไปนั่นเอง

     

    และเนื่องจากอุรค เป็นสัตว์เดรัจฉานจริง ดังนั้น หากมีการค้นพบซากโครงกระดูกลักษณะคล้ายงูขนาดยาวใหญ่ นั่นเป็นกระดูกของอุรค ไม่ใช่นาค เพราะนาคเป็นทิพยกายมีกระดูกไม่ได้!!!(แต่หากอธิษฐานก่อนตายก็ไม่แน่ แต่คงไม่เหมือนกระดูกทั่วๆไปอย่างแน่นอน)

     

     

    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=526631230799357&set=a.112349908894160.9411.100003574546762&type=3&theater

     

    คลิปอธิบายเรื่องกระดูก(ฟิสซิล?)ของอุรค

     

    https://www.facebook.com/atthanij.pokkasap/posts/1024228167639112

    อันนี้ แชร์มาอีกทีนะครับโดยส่วนตนแล้ว...มีความเห็นว่า เป็นโครงกระดูกงูยักษ์ที่เฝ้าและอาศัยอยู่ ณ โพรงใต้ฐานเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเพราะ...พญานาค, พระยานาค เป็น เดรัจฉานแปลงของทิพยกายชั้น จาตุมหาราชิกา เนื่องจากเป็นทิพยกายที่มีกุศลกรรมที่ไม่สมบูรณ์....และก็ไม่สมควรมีกระดูกให้เห็นได้...เช่นเดียวกับ ยักษ์กุมภัณฑ์...ด้วยครับ

     

    โดย อาจารย์ อัตถนิช โภคทรัพย์(Atthanij Pokkasap)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×