ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #26 : เหล่าทายาทเลือดผสมในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดี

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 109
      1
      4 ม.ค. 65

    จาก เหล่าทายาทเลือดผสมในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดี


     

    ในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดีหลายเรื่อง มักมีการเพิ่มจุดเด่นของเนื้อด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของอาวุธวิเศษ การกำเนิดของตัวเอก การผจญภัยในสถานที่ต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเรื่องทายาทเลือดผสมนี้ ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกนำมาเพิ่มสีสันให้เนื้อเรื่องด้วย

     

    โดยทั่วไปแล้ว ทายาทเลือดผสมที่เรารู้จักมากที่สุด อยู่ในเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งเลือดผสมผู้นั้น คือลูกชายคนโตของพระอภัยมณีที่เกิดกับนางผีเสื้อสมุทร มีชื่อว่า สินสมุทร นั่นเอง

     

    สินสมุทร นับเป็นทายาทเลือดผสมระหว่างมนุษย์กับยักษ์ที่มีความโดดเด่นในหลายๆด้านทั้งพละกำลังความสามารถรวมไปถึงลักษณะทางกายภาพที่มีส่วนคล้ายกับแม่ คือ เขี้ยวเล็กๆคู่หนึ่งที่งอกพ้นริมฝีปากออกมา นอกจากนี้ยังมีนิทานพื้นบ้านอีกหลายเรื่องที่มีบุคคลเลือดผสมอยู่ในเรื่องด้วยแต่บทบาทของบุคคลเหล่านั้นไม่โดดเด่นนัก

     

    ทว่า สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยทราบ คือ เรื่องของทายาทเลือดผสมตามนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีนี้ มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อหาชาดกในศาสนาพุทธนี้เอง เช่น ปทกุสลมาณวชาดก ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนคล้ายกับเรื่องพระอภัยมณี คือ นางยักษีณีหน้าม้านางหนึ่งลักพาตัวบุรุษผู้หนึ่งซึ่งหลงทางเข้าไกในอาณาเขตของตนไปอยู่กินด้วยกันในถ้ำกลางป่าลึกจนให้กำเนิดลูกชายด้วยกัน ๑ คนซึ่งมีพละกำลังมากกว่าคนธรรมดา(แต่หน้าตาไม่ต่างกับคนทั่วไปแม้แต่น้อย)

     

    (นิทานพื้นบ้านแปลตามๆกันมาว่า ตัวละครที่มีหน้าเหมือนม้า เช่น นางแก้วหน้าม้า มีศีรษะเป็นม้า ซึ่งหากว่ากันตามจริงแล้ว ไม่มีทางเป็นไปได้ วิเคราะห์จากรากศัพพ์คำว่า หน้าม้า มาจากคำว่า อัศวมุขี[อัศวะ-ม้า + มุข-หน้า/ปาก] ซึ่งหากให้แปลตามจริงแล้ว หน้าม้าในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี จึงควรหมายถึง บุคคลที่มีใบหน้าเรียวยาวคล้ายกับม้า ไม่ใช่มีศีรษะเป็นม้า!!!)

     

    ซึ่งจากข้อมูลทั้งจากชาดกและนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี พบว่า บุคคลเลือดผสมจะถือกำเนิดจากอมนุษย์ที่เป็นเทวดาในระดับชั้นจาตุมหาราชิกา เช่น ยักษ์ ซะส่วนใหญ่

     

    อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ชาวจาตุมหาราชิกาที่มีลูกกับมนุษย์ส่วนมากมักเป็นเพศหญิง เช่น นางผีเสื้อสมุทร 
     

     

    แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีข้อมูลที่ระบุถึงชาวจาตุมหาราชิกาเพศชายที่ลักพาหญิงสาวชาวมนุษย์ไปอยู่กินกันจนเกือบจะให้กำเนิดบุตรด้วยเช่นกัน ซึ่งมีข้อมูลอยู่ใน ตำนานดาว ซึ่งเป็นนิทานของโหราศาสตร์ ความว่า

     

    แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีข้อมูลที่ระบุถึงชาวจาตุมหาราชิกาเพศชายที่ลักพาหญิงสาวชาวมนุษย์ไปอยู่กินกันจนเกือบจะให้กำเนิดบุตรด้วยเช่นกัน ซึ่งมีข้อมูลอยู่ใน ตำนานดาว ซึ่งเป็นนิทานของโหราศาสตร์ ความว่า

     

    นิทานัง ปกรานัง.....

     

    ครุฑไปลักพาเอาหญิงผู้หนึ่งที่เป็นมนุษย์มาอยู่กินจนมีลูก แต่หญิงนั้นได้ตายก่อนเพราะคลอดบุตร(เพราะผสมข้ามสายพันธุ์) พญาครุฑเสียใจร้องไห้โหยหวน ขาดสติ บินพาตัวเองขึ้นสู่ที่สูงเกินไป จนเจอลมจักรกรด ที่พัดบนชั้นบรรยากาศสูง(ความถี่ของกลุ่มคลื่นมิติอื่น?)พัดตัดปีกและร่างตัวเองขาด

     

    จากข้อมูลทั้งหลายนี้ จึงวิเคราะห์ประมวลความได้ว่า ชาวจาตุมหาราชิกาที่มีลูกกับมนุษย์ส่วนมากมักเป็นเพศหญิง แต่ชาวจาตุมหาราชิกาเพศชายที่มีลูกกับมนุษย์เพศหญิง(คือ หญิงสาวชาวมนุษย์ตั้งครรภ์ลูกของชาวจาตุมหาราชิกา)นั้นก็มี แต่เปอร์เซ็นต์การรอดของทั้งแม่และเด็กนั้นต่ำมากๆๆ มีอันตรายสูง โอกาสแท้งตายมีมากเป็นพิเศษ ส่วนมากชาวจาตุมหาราชิกาเพศชายที่อยู่กินกับมนุษย์เพศหญิงจึงไม่นิยมมีบุตรกันแต่อยู่เป็นคู่เท่านั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้เป็นภรรยา

     

    ส่วนพวกเลือดผสมมนุษย์นาค(พวกนาคมาเกิดด้วย)จะมีอุปนิสัยชอบสถานที่เปียกชื้นและสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง(เรื่องปัญหาสุขภาพนี้ เราคาดว่าน่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกระดูกสันหลังมีอาการปวดเมื่อยได้ง่ายเพราะนาคนั้นเคลื่อนไหวในแนวนอน) นอกจากมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกระดูกสันหลังแล้วน่าจะมีปัญหาเรื่องฟันด้วย อาจเผลอกัดลิ้น-กระพุ้งแก้มได้ง่าย ฟันกรามขึ้นลำบากจึงปวดเหงือก เพราะปกตินาคกลืนกินไม่ใช่เคี้ยวกิน รวมถึงมีอาการของโรคผิวหนังด้วย

     

    ส่วนพวกสายครุฑจะไม่กลัวงู เล่นกับงูได้เหมือนเล่นกับสัตว์เลี้ยงเลย(แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องกินงูนะ)

     

    ขยายความข้อมูลจาก ว่าด้วยเรื่อง"ลมจักรกรด"

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×