ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #16 : การพูดคุยกับสิ่งไร้ชีวิตในนิทาน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 88
      0
      6 ธ.ค. 58

    จาก การพูดคุยกับสิ่งไร้ชีวิตในนิทาน

    ในนิทานพื้นบ้านของหลายชนชาติ มีอยู่หลายเรื่องที่ตัวละครในเรื่องนั้น สามารถเจรจาโต้ตอบกับสิ่งไร้ชีวิตเช่นต้นไม้และวัตถุสิ่งของต่างๆได้ รึในบางเรื่องก็จะเป็นการเจรจาโต้ตอบกันไปมาระหว่างวัตถุสิ่งของรึต้นไม้ด้วยกันเองโดยไม่มีสิ่งมีชีวิตมาเกี่ยวข้องในท้องเรื่องเลย โดยเฉพาะในนิทานอีสป(Aesop's Fables)มีการเจรจาโต้ตอบกันระหว่างสัตว์กับต้นไม้ เช่น เรื่องกวางป่ากับพวงองุ่น ต้นไม้กับต้นไม้ เช่น เรื่องต้นโอ๊กกับต้นอ้อ ฯลฯ รวมถึงนิทานพื้นบ้านอีกหลายเรื่องที่สิ่งไร้ชีวิตสามารถเจรจาโต้ตอบได้
     
    หลังจากค้นหาข้อมูลในเชิงลึก จึงพบว่า ต้นกำเนิดคติการเจรจาโต้ตอบกับสิ่งไร้ชีวิตที่มีแพร่หลายอยู่ในนิทานพื้นบ้านหลายท้องถิ่นทั่วโลกนี้ มีต้นกำเนิดมาจากองค์ความรู้ในพระพุทธศาสนานี้เอง โดยมีปรากฏอยู่ในหมวดชาดก เรื่อง ผันทนชาดก ว่าด้วย การผูกเวรของหมีและไม้ตะคร้อ แะมีการนำมาขยายความเป็นคำถามใน มิลินทปัญหา เรื่อง รุกขานัง เจตนาเจตนปัญหา ที่ ๓ ถามว่าพระ(พุทธ)องค์ทรงตรัสว่า ต้นไม้ไม่มีเจตนาเจรจาไม่ได้ เหตุไรจึงตรัสให้ภารทวาชพราหมณ์ไปพูดกับไม้สะคร้อเล่า? ซึ่งในที่นี้จะนำข้อมูลคำตอบจากมิลินทปัญหามาสรุปความอธิบาย ดังนี้
     
    พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์มีพระพุทธฎีกาว่า ไม้หาจิตมิได้ คำเดิมตรัสฉะนี้ แต่คำภายหลัง(ในผันทนชาดก)ตรัสให้ภารทวาชพราหมณ์ไปพูดกับไม้สะคร้อ(ตะคร้อ)นั้น
    อันว่าคำที่ว่าไม้ไม่มีจิต สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัสตามภาษาสัตว์โลกพูดกัน จริงอยู่ไม้ทั้งหลายนั้นหาจิตไม่จะพูดจะเจรจาไม่ได้ ทว่ายังข้อหนึ่งที่จะไม้สะคร้อเจรจาได้นั้น นั่นคือ เทวดาผู้มีวิมานสิงอยู่ในไม้นั้น(พฤกษวิมาน)ได้พูดเจรจาออกมาโดยไม่เห็นตัว ตามโลกบัญญัติจึงเรียกกันว่า ไม้พูดได้
    อุปมาดุจ เกวียนบรรทุกข้าวเปลือกไว้ ที่จริงนั้นกระทำด้วยไม้ แต่ว่าเอาข้าวเปลือกบรรทุกไว้ เขาก็เรียกกันว่า เกวียนข้าวเปลือก ทั้งที่จริง เกวียนนั้นก็ไม่ได้สร้างจากข้าวเปลือก อันว่าต้นไม้นั้น ไม่มีจิต แต่ทว่าเทวดาที่สิงอยู่ในไม้นั้นพูดเจรจา โลกก็พลอยบัญญัติเรียกว่า ไม้พูดได้ อุปไมยเหมือนเรียกว่าเกวียนข้าวเปลือกนั้นเช่นกัน
     
    จากข้อมูลนี้ จึงพอสรุปได้ว่า การที่ต้นไม้ในนิทานต่างๆสาวมารถเจรจาโต้ตอบได้นั้น เป็นเพราะมีเทวดาสถิตย์อยู่นั่นเอง อย่างในเรื่องกวางป่ากับพวงองุ่น ก็จะเป็นการเจรจากันระหว่างกวางป่ากับเทวดาที่สถิตย์อยู่ในพวงองุ่น ส่วนในเรื่องต้นโอ๊กกับต้นอ้อ ก็เป็นการเจรจาโต้ตอบกันระหว่างเทวดาที่สถิตย์อยู่ในต้นโอ๊กกับต้นอ้อ เหล่าเทวดาซึ่งสถิตย์อยู่ในต้นไม้นี้ เรียกว่า รุกขเทวดา(เทวดาประจำต้นไม้) ซึ่งสามารถสถิตย์อยู่ได้ตามจุดต่างๆในต้นไม้ทั้งหมด ๑๐ จุด เรียกว่า กัฏฐยักขะ ๑๐
     
    ส่วนการเจรจาโต้ตอบของวัตถุสิ่งของนั้น ตามจริงคือการเจรจาโต้ตอบของเหล่าเทวดาที่สถิตย์อยู่ในวัตถุสิ่งของเช่นกัน เหล่าเทวดาผู้สถิตย์อยู่ในวัตถุสิ่งของนี้ เรียกว่า เทพารักษ์(เทวดาผู้รักษา) เทพารักษ์บางองค์นั้นก็มาจากรุกขเทวดานั่นเอง เช่น การนำต้นไม้ที่มีรุกขเทวดาสถิตย์อยู่มาทำเป็นของใช้ เทวดาบางพวกก็สามารถตามมาเป็นเทพารักษ์ในสิ่งนั้นได้ เพราะเป็นบ้านเดิมอยู่แล้ว(แต่เทวดาบางพวกมีฤทธิ์น้อยไม่สามารถย้ายมาเองได้ก็เท่ากับวิมานนั้นพังพินาศไปไม่มีให้อยู่ ต้องรอคำสั่งย้ายจากเบื้องบนลงมาอีกที)
     
    และในนิทานบางเรื่อง จะมีสถานที่และสิ่งปลูกสร้างที่สามารถเจรจาโต้ตอบได้ เช่น ภูเขา ถ้ำ บ้าน ฯลฯ ซึ่งก็เป็นการเจรจาของเหล่าเทวดาที่สถิตย์อยู่ตามสถานที่และสิ่งปลูกสร้างนั้นๆเช่นกัน เหล่าเทวดาที่ สถิตย์อยู่ตามสถานที่และสิ่งปลูกสร้างนี้ เรียกว่า ภุมมาเทวดา(พระภูมิ)
     
    แต่โดยรวมแล้ว เทวดาบางพวกสามารถมีสถานภาพทั้ง ๓ กลุ่มที่กล่าวมานี้อยู่ในตัวเทวดาองค์เดียวได้เช่นกัน ดังนั้น เทวดาองค์หนึ่ง อาจเป็นได้ทั้ง รุกขเทวดา เทพารักษ์ ภุมมาเทวดา ได้เช่นกัน(ควบ๓ตำแหน่ง)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×