ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #13 : ทฤษฎีเรื่องดอกไม้,ต้นไม้เสี่ยงทายในนิทานพื้นบ้านอันเป็นวิทยาศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 92
      1
      21 พ.ย. 58

    จาก ทฤษฎีเรื่องดอกไม้,ต้นไม้เสี่ยงทายในนิทานพื้นบ้านอันเป็นวิทยาศาสตร์

    เรื่องดอกไม้,ต้นไม้เสี่งทายในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ใช้แทนตัวเองในยามต้องแยกจากกัน หากมีอันตรายเกิดขึ้นกับเจ้าของดอกไม้,ต้นไม้ที่ได้เสี่ยงไว้ ต้นไม้นั้นจะส่งสัญญาณบอกโดยมีอาการเหี่ยวเฉาลงให้คนที่เก็บรักษาไว้ได้รู้ ตามที่ปารกฎในนิทานพื้นบ้านหลายเรื่อง ดังนี้

     

    ขุนช้าง-ขุนแผน ตอน พลายแก้วยกทัพ กล่าวไว้ว่า พลายแก้วได้ปลูกโพธิ์ ๓ ต้น ให้นางพิมพ์ไว้ดูแทนตัว

     

    ไปทัพทางไกลไม่รู้เหตุ จะสังเกตปลูกโพธิ์ไว้สามต้น

     ถ้าแม้นย่อยยับอับจน    ขอให้โพธิ์พิกลไปเหมือนกัน

     

    ปลาบู่ทอง

     

    ได้กล่าวไว้ตอนที่เอื้อยตกกระดานกลลงไปในหม้อเดือดจนตายและเกิดเป็นนกแขกเต้าว่า ต้นโพธิ์ทองแม่ของเอื้อยที่อยู่ในวัง เฉาลงจนสังเกตได้

     

    (พ)หลวิชัย-คาวี เป็นดอกบัวเสี่ยงทาย ดังนี้




    ทั้งหมดนี้ คือ ตัวอย่างในนิทาน และต่อไปนี้ คือ ทฤษฎีที่เกิดจากการทดลองกับต้นไม้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลงานของ cleve backster


     

    อนึ่ง ที่ในเรื่อง(พ)หลวิชัย-คาวี ใช้ดอกบัวเป็นสื่อของชีวิตนั้น อาจมีนัยยะว่า ดอกบัว(ตูม)มีลักษณะคล้ายกับหัวใจหงายขึ้นก็เป็นได้ และที่ปลาบู่ทองกับขุนช้าง-ขุนแผน ใช้เป็นต้นโพธิ์ก็น่าจะเป็นนัยยะเดียวกัน เพราะใบโพธิ์มีลักษณะคล้ายกับหัวใจเช่นกัน ฉะนั้น ต้นไม้ที่จะใช้เป็นสื่อแทนชีวิตควรจะต้องเป็นต้นไม้ที่มีส่วนประกอบคล้ายกับหัวใจด้วย!

     

    ขณะเดียวกันในขณะที่ไสยศาสตร์ไทยมีการเสี่ยงทายโดยใช้ดอกบัวรึต้นโพธิ์ ทางฝั่งยุโรปเองก็มีตำนานเรื่องของเทียนชีวิตที่ว่ากันว่า หากเทียนนี้ดับเมื่อไหร่แปลว่าเจ้าของเทียนได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่เนื่องจากทางไทยมีเนื้อหาวิชามากกว่าจึงเป็นได้ว่า วิชานี้ต้นกำเนิดดั้งเดิมมาจากเอเชีย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×