ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

    ลำดับตอนที่ #2 : อาริสโตเติ้ล

    • อัปเดตล่าสุด 9 มิ.ย. 50


    นักวิทยาศาสตร์ของโลก

    เกิดวันที่ 384 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองสการิตา แคว้นมาซีโดเนีย ประเทศกรีซ
    เสียชีวิต 322 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองคาลซิส ประเทศกรีซ
          อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยก่อนคริสต์กาลก็ว่าได้ เขาเกิดมาในตระกูลขุนนางฐานะร่ำรวย บิดขาชื่อ นิโคมาดัส (Nicomacus) เป็นแพทย์ประจำราชสำนักของพระเจ้าอามินตัสที่ 2 ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ มาจากพ่อ หลังจากนั้นหลังจากนั้นได้เข้าโรงเรียนสำนักอะคาเดมี (Academy) ที่กรุงเอเธนซ์ ของเพลโตนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เขาเป็นคนฉลาดรอบรู้ รักการอ่านหนังสือ ทำให้เป็นที่ โปรดปราณของเพลโต หลังเรียนจบเขาก็ช่วงงานของเพลโต จนเพลโตเสียชีวิต จึงเดินทางกลับบ้านจนเขาได้เข้าไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือแก่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์โอรสของพระเจ้าฟิลิป เพราะเขาเป็นคนมีความรู้มากมายหลายสาขาเช่น วิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ชิววิทยา ตรรกศาสตร์ และจริยธรรม หลังจากพระจ้าฟิลิปสิ้นพระชนม์ เขาได้ลาออกมาเปิดโรงเรียนชื่อ Peripatetic school ซึ่งเป็นโรงเรียนทีมีชื่อเสียงภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์
    เขาเป็นนักคิดนักเขียน นักเดินทางมีผลงานการเขียนมากกว่า 1,000 เล่ม มีการจำแนกหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการใช้ และหนังสือของเขา ถือว่าเป็นสารานุกรมเล่มแรกก็ว่าได้ มีเนื้อหาทฤษฎีอยู่มากมาย แม้ทฤษฎีจะผิดพลาดอยู่บ้าง เช่น โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและสารต่างๆ ในโลกประกอบไปด้วย ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบากว่า ทฤษฎีนี้ ไม่ถูกต้องภายหลัง กาลิเลโอนามาทดสอบดู ส่วนทฤษฎีที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับคือการจำแนกสัตว์ออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
    สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมักจะมีเลือดสีแดง เช่น คน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
    สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังมีเลือดเป็นสีอื่น เช่น กุ้ง ปู ปลาดาว แมลง หอย
    ภายหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ถูกลอบปลงพระชนม์ทำให้อริสโนเติลหนีภัยทางการเมืองออกจากรุงเอเธนส์ไปอยู่เมืองคาลซิลจนกระทั่งเสียชีวิต

    ผลงานการค้นพบ
    ทฤษฎีเกี่ยวกับสัตว์ โดยเขาแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 ชนิดคือ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง กับ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
    ทฤษฎีสลับกันของพื้นดินและแผ่นน้ำ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×