ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ไทยใหญ่ (ไต)

    ลำดับตอนที่ #4 : สัญญาปางหลวง Panglong Agreement 1947

    • อัปเดตล่าสุด 20 ม.ค. 50


    สัญญาปางหลวงที่เรียกในสำเนียงไทยใหญ่ว่า สัญญาปางโหลงที่โลกรู้จักกันในนามPanglong Agreement 1947 ไม่ได้รับการปฏิบัติ

    สัญญานี้ลงนามกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2490 เพื่อสร้างพันธมิตรต่อต้านอังกฤษ-กู้เอกราช โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าเมื่อครบกำหนด 10 ปี ทุกชนชาติจะแยกออกไปปกครองตนเอง

    อูอองซาน บิดาของนางอองซานซูจี ผู้นำพม่าที่ริเริ่มทำสัญญาปางหลวง ก็ถูกฆ่าตายเมื่อ 19 กรกฎาคม 2490 ก่อนได้เอกราชในปี 2491

    พม่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่มหาอำนาจต้องการใช้เป็นทางผ่านเข้าสู่จีน ถือว่าเป็นประตูหลังของจีนทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสคิดเช่นเดียวกันในยุคล่าอาณานิคม

    ประชากรในพม่าประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 100 ชนชาติ ชนชาติพม่ามากที่สุด คือ 68 % รองลงมาคือ ไทยใหญ่, กะเหรี่ยง, มอญ, ยะไข่, ชิน, ว้า

    การปกครองในอดีตมีลักษณะอาณาจักร กลุ่มชาติพันธุ์ใดเข้มแข็งก็จะรุกรานครอบครองอาณาจักรอื่น ก่อนตกเป็นอาณานิคมอังกฤษในปี 2329 ตรงกับรัชกาลที่ 3 อาณาจักรพม่าแผ่อำนาจไปครอบครองอาณาจักรอื่น ๆ เมื่ออังกฤษยึดอาณาจักรพม่าได้ จึงถือโอกาสผนวกดินแดนชนชาติอื่น ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษไปในคราวเดียวกัน

    การผนวกดินแดนครั้งนั้น - คือมูลเหตุสำคัญของสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองกำลังชนชาติต่าง ๆ นับจากพม่าได้รับเอกราชเมื่อปี 2491 มาจนถึงปัจจุบัน

    เพราะอังกฤษแบ่งแยกแล้วปกครอง คือ พม่าเป็น อาณานิคมแต่อาณาจักรอื่น ๆ เป็น เมืองในอารักขาประชากรชนชาติต่าง ๆ นอกเหนือจากพม่าก็เป็น คนในบังคับอังกฤษแล้วนำมาเป็นทหาร แต่พอให้เอกราช กลับให้เอกราชแต่เฉพาะพม่า ไม่ได้ให้เอกราชแก่บรรดา เมืองในอารักขาเช่น ไทยใหญ่, กะเหรี่ยง โดยปล่อยให้พม่าเป็นผู้ตัดสินใจ

    ทันทีที่ได้เอกราช แผ่นดินก็ลุกเป็นไฟ กะเหรี่ยงที่มีสัดส่วนประชากร 9 % ก่อกบฏ เพราะอยากอยู่กับอังกฤษมากกว่าพม่า

    อูนุได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตย แต่ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ เป็นเหตุให้ทหารเข้ามารัฐประหาร โดยเชิดอูนุอยู่อีก 2 ปี จากนั้นก็เข้าสู่ยุคระบอบเผด็จการทหารในปี 2505พม่าปกครองในระบอบเผด็จการทหารมายาวนานจนถึงปัจจุบัน สืบทอดต่อเนื่องมา 41 ปีเต็ม !

    สัญญาปางหลวงเป็นเศษกระดาษ

    แต่การต่อสู้ของชนชาติต่าง ๆ ก็เบาบางลงหลังสิ้นยุคสงครามเย็น เมื่อหมดยุค Buffer State (รัฐกันชน) สถานการณ์โลกเปลี่ยน ชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มเริ่มหมดสภาพที่จะต่อสู้ หลายกลุ่มทำสัญญาสงบศึก แบ่งผลประโยชน์ เหลืออยู่ก็แต่ไทยใหญ่ และกะเหรี่ยง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×