ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The Soldier ท.ทหารอดทน

    ลำดับตอนที่ #2 : ชุดลายพราง จากอดีต สู่ ยุคดิจิตอล

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 594
      0
      10 มี.ค. 53


    โดย พ.ต.ณัฐสิทธิ์ มงคลธรรม  
    วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2009
     


       ชุดลายพรางของทหาร (Military Camouflage) ได้รับแนวคิดมาจากบรรดาสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด ที่สามารถเปลี่ยนสีตัวเองให้กลืนไปกับสภาพแวดล้อม (camouflage) มนุษย์จึงนำเอาหลักการนี้มาใช้ในยุทธวิธีการรบทางการทหารตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มาแล้ว โดยเริ่มจากการทาหน้าตาเพื่ออำพรางตัวในป่า น่าประหลาดที่ยุทธวิธีการพรางตัวเริ่มมาจากจุดเล็กๆ ในการฝึกลูกเสือในอังกฤษ ก่อนที่จะมีการนำไปใช้จริงในกองทัพอังกฤษที่ไปประจำการที่อินเดีย ในปี ค.ศ.1857 โดยการทาตัวและหน้าตาเป็นสีต่างๆ ก่อนจะพัฒนาเป็นชุดสีกากี อันมาจากภาษาปากีสถาน แปลว่า ฝุ่น สำหรับเครื่องแบบทหารชุดแรกเกิดที่อังกฤษ ซึ่งนำไปใส่ครั้งแรกในสงครามบัวร์ ที่แอฟริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ.1902 เป็นชุดสีกากี 


            สหรัฐอเมริกาเองก็ออกแบบชุดทหารเป็นสีกากีตามมาติดๆ ในปีเดียวกัน ส่วนรัสเซียนั้นเริ่มมีชุดทหารกับเขาบ้าง ในปี ค.ศ.1908 และประเทศที่ซุ่มออกแบบชุดทหาร อย่าง อิตาลี ระหว่างปี ค.ศ.1906-1909 กลับแหวกแนวด้วยการออกแบบชุดมาเป็นสีเขียวหม่น เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศแถบเทือกเขาแอลป์ ส่วนเยอรมนีที่มีอากาศหนาว ออกแบบชุดทหารเป็นสีเทา ออกมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1910 


            สหรัฐอเมริกาเองก็ออกแบบชุดทหารเป็นสีกากีตามมาติดๆ ในปีเดียวกัน ส่วนรัสเซียนั้นเริ่มมีชุดทหารกับเขาบ้าง ในปี ค.ศ.1908 และประเทศที่ซุ่มออกแบบชุดทหาร อย่าง อิตาลี ระหว่างปี ค.ศ.1906-1909 กลับแหวกแนวด้วยการออกแบบชุดมาเป็นสีเขียวหม่น เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศแถบเทือกเขาแอลป์ ส่วนเยอรมนีที่มีอากาศหนาว ออกแบบชุดทหารเป็นสีเทา ออกมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1910 

          คนที่มาเปลี่ยนเทรนด์ใหม่ของชุดทหารให้มีสีสันขึ้น โดยเพิ่มสีแดงเข้าไป ได้แก่ ฝรั่งเศส ที่ออกแบบกางเกงสีแดงของทหารฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ช่วงปี ค.ศ.1915) เข้ากับแจ็กเกตสีน้ำเงิน และเข็มขัดสีดำ นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศแรกที่ตั้งฝ่ายออกแบบชุดลายพรางขึ้นอย่างเป็นทางการในปีเดียวกัน โดยการรวมเอาทั้งจิตรกร ประติมากร ศิลปินนักออกแบบฉากมาทำงานร่วมกัน จนได้ออกมาเป็นเสื้อลายพรางในยุคแรก ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากผ้าตาข่าย และอาศัยการระบายสีลงไปสดๆ 

           อังกฤษเห็นฝรั่งเศสทำอย่างนั้น ก็ตั้งฝ่ายออกแบบชุดลายพรางของตัวเองขึ้นมาบ้างในปี ค.ศ. 1916 เช่นเดียวกับอเมริกา ในปี ค.ศ. 1917 และพยายามก้าวล้ำกว่า ด้วยการตั้งหน่วยออกแบบชุดลายพรางสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ในปี ค.ศ.1918 นอกจากนั้น ยังมีเยอรมนี เบลเยียม รัสเซีย โดยเริ่มมีการใช้คำว่า ชุดลายพราง หรือ camouflage เป็นครั้งแรกในอังกฤษ ปี ค.ศ. 1917 ลายพรางจึงกลายเป็นลวดลายที่โด่งดังขึ้นมานับจากนั้น

            การพัฒนาเครื่องแบบชุดพรางของ ทบ. ในปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางทหารมีการพัฒนาไปมาก การตรวจจับฝ่ายตรงข้ามมิได้ใช้สายตามนุษย์เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีการใช้กล้อง Infrared และการตรวจจับจากดาวเทียม เป็นต้น เครื่องแบบชุดพรางของ ทบ. ที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งเป็นลวดลายการพรางตามแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า "Woodland" นั้น ดูเหมือนจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตรวจจับด้วยเครื่องมือสมัยใหม่นี้ได้ ซึ่งในต่างประเทศก็ตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้เริ่มปรับเปลี่ยนลายพรางจากเดิมเป็น ลายพรางแบบดิจิตอล ซึ่งมีคุณสมบัติในการพรางตัวจากเครื่องมือตรวจจับสมัยใหม่ได้ดีกันบ้างแล้ว สำหรับทบ.โดย พธ.ทบ.ได้จัดทำโครงการวิจัยผ้าสีพรางสำหรับตัดเย็บเครื่องแบบสนามลายพรางดิจิตอลขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว นอกจากนี้ยังทำให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีและเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศของประเทศไทย อีกด้วย

            โครงการวิจัยผ้าสีพรางฯ ของ ทบ. มีขั้นตอนสำคัญโดยสรุป คือ เริ่มจากการถ่ายภาพภูมิประเทศที่กำลังพลต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จริงในทุกภาคของประเทศไทย แล้วนำมาหาปริมาณค่าเฉลี่ยของสีด้วยคอมพิวเตอร์ โดยหนึ่งเนื้อสีที่ได้จะถูกแบ่งออกเป็นค่าสีสำหรับใช้ในการพิมพ์ที่เกิดจากการผสมสี 4 สี คือ C (Cyan:สีฟ้าเขียว) M (Magenta: สีแดงม่วง) Y (Yellow: สีเหลือง) และ B (Black:สีดำ) หลังจากได้ค่าเฉลี่ยของสีเรียบร้อยแล้วก็จะนำภาพของแต่ละแห่งมาทับซ้อนกันแล้วตัดต่อให้เป็นภาพเดียวกันด้วย Program Illustrator เพื่อให้ได้ภาพลายพราง ซึ่งหากเป็นการจัดทำลายพรางปกติก็ถือว่าเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนนี้ แต่สำหรับลายพรางดิจิตอลจะต้องนำภาพที่ได้ไปปรับแต่งให้ออกมาเป็นลวดลายลักษณะBitmap (เป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า Pixel ประกอบกันขึ้นเป็นรูปภาพ)ภาพลายพรางที่ได้จากการปรับแต่ง คือ ลายพรางดิจิตอล

           กระบวนการต่อไปคือ การนำลายพรางดิจิตอลที่ได้ไปผลิตเป็นผ้าตัวอย่างหรือภาพตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติการพรางตัว ว่าลวดลายและสีมีความกลมกลืนกับภูมิประเทศมากน้อยเพียงใด โดยทำการทดสอบทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนที่ระยะต่างๆ คือ 10 เมตร, 50 เมตร, 100 เมตร, 200 เมตร และ400 เมตร อันเป็นระยะตรวจการณ์ ระยะความสามารถในการยิงและทำลายด้วยอาวุธสังหารบุคคลระยะความสามารถของเครื่องมือตรวจจับบุคคล (รังสี Infrared) เมื่อผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจแล้วก็จะผลิตผ้าลายพรางดิจิตอลขึ้นเพื่อตัดเย็บเป็นเครื่องแบบให้พวกเราสวมใส่อย่างภาคภูมิใจต่อไป

          สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปชม ชุดลายพรางของทหารประเทศต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่
    http://camo.henrikc.dk/all.asp


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×