ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #2 : เกาหลีกับการเป็นชาตินิยม Nationalism of Korean [ตอนแรก]

    • อัปเดตล่าสุด 8 ก.พ. 53


    ก่อนอื่นก็มารู้จักกับคำว่าชาตินิยมก่อน


    ความหมายของ “ชาตินิยม”
     (น.) ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่, ความรักชาติ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 359)
     
    Nationalism
     (n.) 1.ลัทธิชาตินิยม 2.ลัทธินิยม 3.ลักษณะประชาชาติ, ลักษณะชนชาติ; ลักษณะพิเศษจำเพาะตัว(หรือประเพณีนิยม)ของชาวบ้าน 4.ลัทธิอุตสาหกรรมเป็นของรัฐ, ลัทธิอุตสาหกรรมดำเนินการโดยรัฐ (พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับใหม่ พ.ศ. 2536 หน้า 978)

    สาเหตุที่เกาหลีมีความเป็นชาตินิยมอย่างรุนแรง
                ยุคอาณานิคมของญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่สอง  เมื่อ พ.ศ. 2453 ญี่ปุ่นได้ผนวกเกาหลีเป็นดินแดนของตนตามสนธิสัญญาการรวมญี่ปุ่น-เกาหลี ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นที่ยอมรับของญี่ปุ่นฝ่ายเดียว แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในเกาหลี เพราะถือว่าไม่มีการลงนามของกษัตริย์เกาหลี เกาหลีถูกญี่ปุ่นปกครองจนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488
                       ในระหว่างการปกครองของญี่ปุ่น มีการสร้างระบบคมนาคมแบบตะวันตก แต่ส่วนใหญ่เพื่อประโยชน์ทางการค้าของญี่ปุ่นมากกว่าประโยชน์ของชาวเกาหลี ญี่ปุ่นล้มล้างราชวงศ์โชซอน ทำลายพระราชวัง ปรับปรุงระบบภาษี ให้ส่งข้าวจากเกาหลีไปญี่ปุ่น ทำให้เกิดความอดอยากในเกาหลี มีการใช้แรงงานทาสในการสร้างถนนและทำเหมืองแร่
    หลังการสวรรคตของกษัตริย์โกจง (Gojong) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2461 ด้วยยาพิษ ทำให้เกิดการเรียกร้องเอกราชทั่วประเทศ เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2461 ผลจากการลุกฮือขึ้นเรียกร้องเอกราชทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คนถูกฆ่าโดยทหารและตำรวจญี่ปุ่น ชาวคริสต์เกาหลีจำนวนมากถูกฆ่าหรือเผาในโบสถ์ระหว่างการเรียกร้องเอกราชมีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลีที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หลังจากการเคลื่อนไหว 1 มีนาคม เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น
                            การลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ต่อไป เช่น การลุกฮือของนักศึกษาทั่วประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2472 จนนำไปสู่การประกาศกฎอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2474 หลังจากเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นพยายามลบล้างความเป็นชาติของเกาหลี
    การสอนประวัติศาสตร์และภาษาเกาหลีในโรงเรียนถูกห้าม การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเกาหลีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเกาหลีถูกบังคับให้มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น สิ่งของมีค่าถูกนำออกจากเกาหลีไปยังญี่ปุ่น. หนังสือพิมพ์ถูกห้ามตีพิมพ์ด้วยภาษาเกาหลี หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จำนวนมากถูกเผาทำลาย
                            ชาวเกาหลีจำนวนมากอพยพออกจากเกาหลีไปสู่แมนจูเรียและรัสเซีย ชาวเกาหลีในแมนจูเรียจัดตั้งขบวนการกู้เอกราชชื่อ “ดุงนิปกุน” (Dungnipgun) ขบวนการนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ทำสงครามกองโจรกับกองทัพญี่ปุ่น กองทัพเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นกองทัพปลดปล่อยเกาหลี เมื่อราว พ.ศ. 2483 เคลื่อนไหวในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเกาหลีกว่าหมื่นคนเข้าร่วมในกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ
    ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีถูกบังคับให้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ชายชาวเกาหลีถูกเกณฑ์เข้าร่วมในกองทัพญี่ปุ่น ผู้หญิงจากจีนและเกาหลีราว 200,000 คน ถูกส่งตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น
                            เมื่อปลอดจากการปกครองของญี่ปุ่น คนเกาหลีเผาและทำลายทุกอย่างที่ญี่ปุ่นสร้างทิ้งไว้อย่างไม่แยแสให้สาสมกับสิ่งที่ญี่ปุ่นทำกับพวกเขา ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะสวยงามเก่าแก่หรือมีค่าเพียงใด การปล่อยให้ความเป็นญี่ปุ่นลอยหน้าลอยตาอยู่ในดินแดนของตน เท่ากับการละเลยการริดหนามที่ทิ่มแทงใจคนเกาหลีร่วมชาติให้ยิ่งนึกถึงความทรมานภายใต้การปกครองญี่ปุ่นอยู่ร่ำไป กระทั่งปัจจุบันการดำเนินการที่จะทำลายสิ่งก่อสร้างของญี่ปุ่นก็ยังคงดำเนินอยู่ อย่างเช่น เกาหลีกำลังยื่นขอเสนอให้พื้นที่แห่งใหม่กับบางสถานทูตและค่ายทหารสหรัฐฯ ในกรุงโซล เกาหลีต้องการเอาพื้นที่ที่ยังมีสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่หลงเหลืออยู่มาทำลายและจะปลูกสร้างสถาปัตยกรรมของตัวเองขึ้นแทน
    ความบอบช้ำจากการสูญเสียเอกราช ผลักดันให้ชาวเกาหลีมี สำนึกของความเป็นชาติ และ ชาตินิยม สูง อะไรก็ตามที่เป็นผลประโยชน์ของคนในชาติจะเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน เกาหลีประกาศนโยบายที่ไม่ได้เป็นแค่คำสวยๆหรือเป็นเพียงความฝันขายชาวบ้านไปวันๆ แต่ล้วนเกิดเป็นรูปธรรมได้จริงคือ “เราจะผลิตทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง” หรืออย่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่รัฐบาลจะส่งเสริมอย่างเดียวยังไม่พอ ยังต้องมีมาตรการปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วย
                            ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกาหลีเป็นชาติที่รักต้นไม้และหวงแหนทรัพยากรอย่างมาก เนื่องจากภูมิประเทศมีลักษณะเป็นป่าเขา จึงพยายามเลี่ยงอย่างที่สุดที่จะไม่ตัดต้นไม้เพื่อสร้างถนน แต่เปลี่ยนเป็นการเจาะอุโมงค์แทน แร่ธาตุที่ได้จากการขุดอุโมงค์นั้นก็นำไปทำประโยชน์ ไม่ได้ทิ้งให้เสียของ ต้นไม้ริมถนนส่วนใหญ่เป็นไม้ผลอย่างเช่น แป๊ะก้วย พลับ ฯลฯ ซึ่งได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เมื่อถึงฤดูออกผล รัฐบาลจะเป็นผู้เก็บ แล้วจึงนำไปขายกลับมาเป็นรายได้ให้แก่ชุมชนนั้นๆ

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×