คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ที่มาของไทใหญ่
ไทใหญ่
คำว่า " ไทใหญ่ " เป็นชื่อที่คนไทยคุ้นเคยมานาน ควบคู่กับคำที่คนไทยมักขนาม นามตนเองว่า "ไทยน้อย" แต่นอกเหนือจากคนไทยในประเทศไทยแล้วไม่มีคน รู้จักคำว่า ไทใหญ่ ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า "ไท" (ออกเสียงว่า ไต ) เช่นเดียว กับคนไทยเราเรียกตนเองว่า " ไทย" ไทที่เรียกตนเองว่า " ไท " หรือ " ไต " นั้นมีมาก และจะจำแนกกลุ่มด้วยการเพิ่มคำขยายเช่น ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทใต้ ไทเหนือ เป็นต้น ชาวไทยเรียกตนเองว่า " ไทย " แต่ชนชาติอื่นจะเรียกชื่อเราว่า เสียม เซียมหรือสยาม เป็นต้น และเรียกประเทศเราว่าสยาม ชาวไทใหญ่ก็เช่นเดียวกันมีชื่อที่ชนชาติอื่นเรียกแตกต่างกันไป เช่น พม่าเรียกว่า " ชาน" หรือ " ฉาน " ซึ่งเป็นต้นเค้าให้ชาวตะวันตกเรียกคนไทใหญ่ในเวลาต่อมา ในขณะที่ชาว คะฉิ่นหรือจิ่งโพเรียกว่า "อะซาม" ชาวอาชาง ชาวปะหล่อง และชาวว้าเรียกว่า "เซียม" คำทั้งหมดนี้มาจากรากเหง้าของคำเดิมคือ "สยาม" สาม หรือ "ซาม" ทั้งสิ้น
ชาวจีนฮั่นมีวิธีเรียกชาวไทใหญ่ที่แตกต่างออกไป คือ ใช้คำที่แสดงลักษณะของชนชาติมาขนามนาม เช่น เรียกว่า พวกเสื้อขาว (ป๋ายยี) พวกฟันทอง( จินฉื่อ ) พวกฟันเงิน (หยินฉื่อ ) พวกฟันดำ ( เฮยฉื่อ ) และยังมีชื่ออื่นๆ เช่น เหลียว หลาว หมางหมาน พวกเยว่ร้อยเผ่า และหยี เป็นต้น จีนจะมีการเรียกชื่อชาวไทเปลี่ยน แปลงไปตามระยะเวลาทางประวัติศาสตร์
ในกลุ่มของไทใหญ่เองก็มีชื่อเรียกออก เป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกหลายกลุ่มตามถิ่นที่อยู่ เช่น ชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพม่า มักเรียกชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีนว่าเป็นไทแข่หรือไทจีน ด้วยพวกเขาสามารถพูดภาษาจีนได้และรับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมจีนหลายอย่างตั้งแต่ภาษา วิธีการกิน อาหารด้วยตะเกียบ การตั้งบ้านเรือนแบบติดพื้นและขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น ในขณะที่ชาวไทใหญ่ในจีนมักจะเรียกตนเองว่าเป็นไทเหนือด้วยถือว่าตน อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง(สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใต้
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างไทเหนือกับไทใต้นอกจากภาษาและวัฒนธรรมหลายอย่างที่ได้รับอิทธิพลจากจีนคือเครื่องแต่งกายของผู้หญิงที่มี ลักษณะแตกต่างในแง่ของสีสัน รูปทรง และความหนาบางของเนื้อผ้า ชาวไทใต้ไม่ นิยมโพกผ้านัก ในขณะที่ชาวไทเหนือโพกผ้าด้วยสีขาวหรือสีดำหรือใช้หมวกทรง กระบอกสีดำ สูงราว 4-6 นิ้ว หากเป็นหญิงสาวไม่แต่งงานชาวไทเหนือมักนุ่ง กางเกงสีดำ และถักผมคาดรอบศรีษะ ประดับด้วยดอกไม้ แต่สาวชาวไทมาว หรือไทใต้นุ่งซิ่น ไม่คาดผมนอกจากนี้ ยังมีวิธีเรียกชื่อออกเป็นกลุ่มตามชื่อเมือง เช่น ชาวไทใหญ่เมืองมาวจะถูกเรียกว่าเป็นชาวไทมาว หากเป็นเมืองอื่นๆ จะเรียกว่าเป็น ไทเมืองวันไทเมืองขอน ไทเมืองหล้า เป็นต้น
แต่ก็มีบางเมืองที่ไม่ใช่คนไทใหญ่ แต่ก็ได้รับเรียกชื่อว่าเป็นคนไทใหญ่ด้วยเช่นเดียวกันเพราะได้ติดต่อกับคนไทมานานจนพูดภาษาไทใหญ่ได้และรับอิทธิพลพุทธศาสนาเช่นเดียวกับคนไทใหญ่ เช่น ไทเมืองสา ซึ่งเป็นชาวอาชางชาวไทใหญ่จะเรียกว่า ไทสาหรือไทดอยหมาย ถึงชาวตะอางหรือเต๋ออ๋าง เป็นต้น ชาวจีนฮั่นมักเรียกชาวไทเหนือว่าเป็นไทนา หรือไทบก ซึ่งจะตรงข้ามกับไทยน้ำ(สุยไต่ ) ซึ่งหมายถึงชาวไทใหญ่ในพม่า ( บางครั้งก็หมายถึงชาวไทลื้อด้วย ) และเรียกชาวไทเขตหลินซาง กึ๋งม้า เมืองติ่ง ว่าเป็นพวกไทป่อง ในภาคเหนือของพม่า ยังมีชาวไทคำตี่ ที่ยังคงใช้ช้างไถนา ส่วนในรัฐอัสสัมมีชาวไทอาหม ไทพ่าเก ไทคำยัง ไทโนรา ไทอ่ายตอน ไทตุรุง เป็นต้น ชาวไทเหล่านี้สามารถจัดอยู่ในกลุ่มชาวไทใหญ่ ด้วยภาษาและวัฒนธรรม ใกล้เคียงกันมากชาวไทใหญ่ส่วนมากทั้งในประเทศพม่า อินเดีย จีน และไทยนับถือพุทธศาสนามีอักษรเพื่อบันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาชาดก นิทาน ฯลฯ เรามักเรียกอักษรเหล่านี้ว่าอักษรไทใหญ่ แต่ชาวไทใหญ่มีชื่อเรียกอักษรของเขาเองแตกต่างออกไป คือ หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในเขตจังหวัดใต้คง เป่าซาน หลินซาง และซือเหมา จะเรียกว่า ตัวถั่วงอก หรือลิ่กถั่วงอก ด้วยรูปร่างของตัวอักษรที่เขียนด้วยก้านผักกูดหรือพู่กันจีนมีลักษณะยาว สูง ในขณะที่หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในพม่าจะเรียกว่า ตัวมน หรือ ตัวไทป่อง ด้วยมีรูปร่างกลมเช่นอักษรพม่า อักษรไทใหญ่จะมีรูปร่างต่างกันไปอีก กลายเป็น อักษรอาหม อักษรไทพ่าเกและอักษรไทคำคี่ เป็นต้น แต่ลักษณะพื้นฐานส่วนใหญ่จะหมือนกันคือ มีจำนวนพยัญชนะ และสระใกล้เคียงกัน และไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์มาแต่เดิม หากมีแต่การเพิ่มเติมรูปพยัญชนะและวรรณยุกต์ภายหลัง พยัญชนะส่วนใหญ่มีเพียง 16 19 รูป และรูปวรรณยุกต์ 4 -5 รูป
ปัจจุบันชาวไทใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ได้แก่
- ประเทศพม่า ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ในเขตรัฐไทใหญ่ (รัฐฉานหรือรัฐชาน )ใน ภาคเหนือของประเทศพม่า มีเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองของชาวไทใหญ่มาแต่โบ ราณอันได้แก่ เมืองแสนหวี สีป้อ น้ำคำ หมู่เจ เมืองนาย เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองต่องจี เมืองกาเล เมืองยาง เมืองมีด และเมืองอื่นๆ อีกมากมาย
- ประเทศจีน ชาวไทใหญ่จำนวนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณ ฑลยูนานอันมีเมืองมาว เมืองวัน เมืองหล้า เมืองตี เมืองขอน เจฝาง เมืองแลง เมืองฮึม เมืองยาง เมืองกึ๋งม้า เมืองติ่ง เมืองแข็งหรือเมืองแสง เมืองบ่อ หรือ เมืองเชียง หรือเมืองเชียงกู่ เมืองเมือง เป็นต้น
- ประเทศไทย มีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาทำมาหากินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เพิ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานได้ไม่มากนัก
- ประเทศอินเดีย ในรัฐอัสสัม มีชาวไทใหญ่ที่อพยพจากประเทศพม่าเข้าไปตั้ง รกรากทำมาหากินเป็นระยะเวลามากกว่า 600 ปีขี้นไป
- ประเทศลาว ในภาคเหนือก็มีชาวไทใหญ่ที่เรียกตนเองว่าไทเหนืออาศัยอยู่จำ นวนหนึ่งด้วยเช่นเดียวกันจะเห็นได้ว่าปัจจุบันชาวไทใหญ่มีถิ่นที่อยู่อาศัยกระจาย เป็นอาณาบริเวณกว้างขวางตั้งแต่บริเวณรัฐอัสสัมของอินเดียทางตอนเหนือของ พม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทางเหนือของไทยและลาว เขตนี้อาจถือได้ว่าเป็นเขตตะเข็บชายแดนของอำนาจรัฐหรืออาณาจักรใหญ่มาแต่เดิมไม่ว่า จะเป็น อาณาจักรปยู อาณาจักรจีน อาณาจักรเวียดนาม อาณาจักรมอญ และแม้ในปัจจุบันก็ยังถือได้ว่าเป็นเมืองชายขอบชายแดนของอินเดีย พม่า จีน และ ลาว ด้วยเหตุที่ว่าเขตนี้เป็นพื้นที่เขตป่าใหญ่เขาสูง ทุ่งราบแคบและไม่มีทางออกทะเล
ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ตามหุบเขา แต่ละหุบเขามักจะตั้ง ชื่อเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน หากเป็นที่ราบในหุบเขาที่กว้างใหญ่ก็อาจมีชุมชน ขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ม่าน หรือ ว่าน ( บ้าน ) มีขนาดตั้งแต่ 20 หลังคาเรือน และมีขนาดใหญ่จนถึงขนาด 700 1000 หลังคาเรือน เมืองมักจะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีหมู่บ้านหลายๆหมู่บ้านอยู่ใกล้ เคียงกันและด้านหลังของเมืองมักจะเป็นเชิงเขาหันหน้าเข้าสู่ทุ่งนา ชีวิตของไท ใหญ่ผูกพันอยู่กับทุ่งนา ปลูกข้าว ปลูกผัก ถั่ว ใบยาสูบ แตงโมและพืชล้มลุกอื่นๆ ชีวิตถูกกำหนดด้วยฤดูกาล ที่จะเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตการทำงาน การประกอบ พิธีกรรม และประเพณีทางศาสนาต่างๆ ตลอดปี เมืองไทใหญ่แต่ละเมืองเดิมมา นั้นมักจะมีต้นเสื้อเมือง อันเป็นต้นไม้ใหญ่ประจำเมือง อาจอยู่ห่างเมืองออกไป แต่ไม่ไกลนัก ทุกปีจะมีการไหว้เสื้อเมืองโดยมีเจ้าฟ้าขุนนางอำมาตย์ต่างๆ และ ปู่กั้ง ปู่เหง ปู่สึ่ง และปู่กาบ ของทุกเขตทุกกั้งและทุกหมู่บ้าบมาร่วมพิธีหมู่บ้าน ทุกแห่งจะมีเสื้อบ้านและหอเสื้อบ้านเพื่อให้ชาวบ้านทุกคนมาประกอบพิธีกรรมเพื่อ ความเป็นสวัสดิมงคลของหมู่บ้าน และเพื่อความอยู่ดีกินดี พืชพันธุ์เจริญงอกงาม วัวควาย สัตว์เลี้ยงทั้งหลายเติบโต ปราศจากโรคภัย
จากสภาพทางภูมิศาสตร์ ถิ่นที่อยู่ และความเชื่อประเพณี พิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องผีสางนางฟ้า ทำให้ชีวิตของชาวไทใหญ่ดูไม่แตกต่างจากชาว ไทลื้อ ไทยวน ลาว ไทดำ ไทขาว และไทกลุ่มอื่นๆ มากนัก ภูเขาสูง แม่น้ำกว้างใหญ่ เช่น แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง อันเป็นแม่น้ำใหญ่สามสายในเขต ชุมชนชาวไทใหญ่ไม่ได้เป็นเครื่องกีดขวางการติดต่อไปมาหาสู่กันระหว่างชาว ไทใหญ่และชาวไทกลุ่มอื่น ขณะเดียวกันชาวไทใหญ่ก็ติดต่อกับกลุ่มชาติพันธ์กลุ่ม อื่นๆ ในบริเวณเดียวกันและในดินแดนที่ห่างออกไปด้วย ในเขตภูเขาสูงมักมีชนเผ่า คะฉิ่นที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ขาง อาศัยอยู่ ในระดับสูงที่ไม่สูงมากนักมีพวกอาซาง เต๋ออ๋างและปะหล่อง ที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ไทสา และไทดอย( ออกเสียงว่า ไตลอย หรือ ไตหลอย ) นอกจากนี้ยังมีชาวจีนฮั่นหรือชาวจีนที่อพยพมาอยู่ตามเชิงเขาทำ ไร่ทำนาภูเขา ชาวฮั่นกลุ่มนี้ไม่กล้าอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มหรือในทุ่งนาเหมือน คนไทใหญ่ไทใหญ่สำหรับคนฮั่นแล้วถือว่าเป็นเขตไข้ป่ามาลาเรียที่รุนแรง มากแม้การเดินผ่านทุ่งนากลางวัน ก็ยังนับว่าเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง ถึงชีวิตเลยทีเดียวฉะนั้นในเขตนี้ ชาวฮั่นส่วนมากจึงอาศัยอยู่แต่ในเขตภูเขาเท่านั้น หลังการปฏิวัติในประเทศจีน เริ่มมีชาวคะฉิ่นอพยพลงมาอยู่ในที่ราบและทำนากัน มากขึ้น
เอามาจาก
http://www.lovemaesai.com/taiyai.htm
ความคิดเห็น