ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    AAK

    ลำดับตอนที่ #29 : เครื่องซักผ้า

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.52K
      0
      23 มิ.ย. 51

    เครื่องซักผ้า



      

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ในศตวรรษที่16-17ได้มีการคิดค้นเครื่องซักผ้าขึ้นมาใช้งาน โดยมีถังไม้ใหญ่บรรจุน้ำและผ้าซึ่งหมุนได้ด้วยแกนที่มีด้ามสำหรับหมุนด้วยมือ ผ้าจะผ่านลูกกลิ้งซึ่งคล้ายกับที่บดปลาหมึก ตราบจนถึงปีค.ศ.1907ชาวอเมริกันชื่ออัลวา ฟิสเซอร์ได้สร้างเครื่องซักผ้าทีทำงานด้วยระบบไฟฟ้าได้สำเร็จ

    เมื่อเริ่มกระบวนการทำงานของเครื่องซักผ้า จะเริ่มต้นขึ้นด้วยการปล่อยน้ำร้อนหรือน้ำเย็น หรือผสมกันเพื่อให้ได้น้ำอุ่นออกมา น้ำที่ถูกปล่อยเข้ามาจะบรรจุลงในถังน้ำภายในเครื่องซักผ้าซึ่งสามารถควบคุมระดับน้ำภายในถังน้ำได้โดยผ่านตัวตรวจจับความดัน และเมื่อระดับน้ำภายในถังน้ำสูงถึงระดับที่ตั้งไว้ตัวตรวจจับความดันก็จะส่งสัญญาณไปยังสวิตช์ความดัน เพื่อทำการปิดวาล์ว และตัวตั้งเวลาการทำงานยังควบคุมจังหวะและวัฏจักรการทำงานของมอเตอร์ที่หมุนใบตีผ้าและหมุนตะกร้ารับผ้าเพื่อเหวี่ยงน้ำออกจากผ้า

     

     

     


     

     

     

     

     

     

    ลิ้นผสมน้ำจะเป็นตัวควบคุมการเติมน้ำร้อน หรือ น้ำเย็นเข้าสู่เครื่องซักผ้าได้ตามความต้องการของผู้ใช้

    ลิ้นควบคุมน้ำเย็นอยู่ในสภาวะปิด ในสภาวะนี้ลูกสูบเล็ก(ซึ่งถูกควบคุมการทำงานด้วยขดลวดเหนี่ยวนำโซลินอยด์)จะเลื่อนลงมาปิดช่องเล็กๆในแผ่นไดอะแฟรม ซึ่งจะมีผลทำให้ความดันของน้ำบนทั้งสองหน้าของแผ่นไดอะแฟรมมากกว่าพื้นที่รับความดันทางด้านล่างจึงทำให้แรงกดลงบนไดอะแฟรมขึ้น ผลก็คือไดอะแฟรม(ซึ่งทำหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิด)จะปิดกั้นมิให้น้ำไหลเข้าสู่เครื่องได้

    ส่วนลิ้นควบคุมน้ำร้อนซึ่งอยู่ในสภาวะเปิด  จะทำให้ลูกสูบเล็กถูกขดลวดเหนี่ยวนำโซลินอยด์ดูดให้ยกตัวขึ้นมาเปิดช่องเล็กๆในแผ่นไดอะแฟรมให้เป็นอิสระ น้ำที่กักตัวเองอยู่ในที่ว่างเหนือแผ่นไดอะแฟรมจะไหลออกมา ทำให้แรงกดเหนือแผ่นไดอะแฟรมลดลงดังนั้น น้ำจากท่อน้ำจึงสามารถดันไดอะแฟรมขึ้นและเปิดช่องทางให้น้ำจากท่อน้ำไหลเข้าสู่ถังน้ำได้

     

     

     

     

     

     

     


    เมื่อมอเตอร์ของเครื่องซักผ้าทำงาน มันจะขับสายพานวิ่งไป โดยสายพานนี้จะไปขับลูกรอกสองตัว ตัวหนึ่งอยู่บนแกนเพลาของตระกร้ารับผ้า อีกตัวหนึ่งเรียกว่า ลูกรอกหลัก อยู่บนปลายด้านหนึ่งของแกนเพลาซึ่งมีเฟืองตัวเล็กนี้จะขับเฟืองตามให้หมุน และ บนเฟืองตามหมุนไปจะทำให้ก้านต่อเคลื่อนที่กลับไปมามีผลให้เฟืองรูปลิ่มซึ่งติดอยู่บนปลายอีกด้านหนึ่งของก้านต่อหมุนตัวกลับไปกลับมาตามไปด้วย ส่วนเฟืองรูปลิ่มวิ่งขบอยู่กับเฟืองของใบตีผ้าจะมีผลทำให้เฟืองของใบตีผ้าตัวนี้กลับไปกลับมาด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการที่จะควบคุมให้เครื่องซักผ้าทำการปั่นเหวี่ยงน้ำออกหรือให้ใบตีผ้าทำการปัดผ้านั้นขึ้นอยู่กับว่าได้มีการบังคับให้เฟืองของใบตีเข้ามายึดจับแกนเพลาของใบตีผ้าหรือไม่ ในรูปที่ 3 เป็นสภาวะที่มีการบังคับให้เฟืองของใบ

    ตีผ้าเลื่อนลงมาจับยึดอยู่บนสลักซึ่งยื่นออกมาจากแกนเพลาของใบตีผ้า ซึ่งมีผลให้แกนเพลาของใบตีผ้ามีการเคลื่อนไหวตามการหมุนกลับไปกลับมาของเฟืองของใบตีผ้า

     

     

     

     

     

     

    ในการเปลี่ยนสภาวะจากการปั่นตีผ้าเป็นการหมุนเหวี่ยงน้ำออกจากตระกร้ารับผ้านั้น จะเริ่มต้นกระบวนการโดยตัวตั้งเวลาการทำงานส่งสัญญาณไปหยุดการทำงานของขดลวดเหนี่ยวนำโซลินอยด์ ซึ่งจะมีผลทำให้กระเดื่องดันของใบตีผ้าเลื่อนขึ้นและไปทางซ้ายพร้อมๆกัน การเคลื่อนที่นี้จะมีผลให้เฟืองของใบตีผ้าถูกยกขึ้นมาพ้นจากการจับยึดกับสลักบนแกนเพลาของใบตีผ้า พร้อมกันนั้นด้วยสัญญาณจากตัวตั้งเวลาทำงานเดียวกันนี้จะทำให้เครื่องปั๊มซึ่งทำหน้าที่ถ่ายน้ำออกจากเครื่องซักผ้าเริ่มทำงาน และ ในเวลาเดียวกันขดลวดเหนี่ยวนำโซลินอยด์อีกตัวหนึ่งจะเริ่มทำงานเพื่อดึงให้กระเดื่องดันตระกร้ารับผ้าเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ซึ่งจะมีผลให้สปริงก้านกดหดตัวดึงเอาก้านกดลงมาการเคลื่อนที่ลงมาก้านกดนี้จะพาเอาแผ่นคลัตช์ของตะกร้ารับผ้าลงมาจับกับลูกรอกของตะกร้ารับผ้าซึ่งกำลังหมุนอยู่จึงทำให้สามารถถ่ายทอดการหมุนจากลูกรอกของตะกร้ารับผ้าสู่ตะกร้ารับผ้า

    และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมุนเหวี่ยนน้ำออกจากตะกร้ารับผ้าแล้ว ตัวตั้งเวลาการทำงานจะควบคุมให้กระเดื่องดันตะกร้ารับผ้าเคลื่อนที่กลับไปทางเดิม มีผลทำให้ก้านกดยกตัวขึ้นปลดแผ่นคลัตช์ออกจากสภาพจับตัวอยู่กับลูกรอกของตะกร้ารับผ้า และขณะเดียวกัน ก็ดันให้กลไกของชุดเบรกซึ่งอยู่เหนือตัวก้านรับผ้า เพื่อกลับเข้าสู่สภาพปกติ และพร้อมที่จะรับสัญญาณควบคุมจากตัวตั้งเวลาการทำงานเพื่อให้ใบตีผ้าเริ่มทำงานอีก หลังจากที่มีการเติมน้ำเข้าสู่เครื่องใหม่ครั้งต่อไป

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×