ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อิเหนา

    ลำดับตอนที่ #31 : วัตถุประสงค์ของการแต่ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.79K
      7
      15 มิ.ย. 52

    วัตถุประสงค์ของการแต่ง
    อิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ นี้ มีคำกลอนปรากฏอยู่ท้ายเรื่อง แสดงวัตถุประสงค์ของการแต่งว่า
     
                                    “อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง                        สำหรับงานการฉลองกองกุศล
                                    ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์                          แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
                                    หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น                   ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
                                    เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้                 บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
     
                    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ตามเค้าเรื่องเดิมที่มีมาจากกรุงเก่า
    และรัชกาลที่ ๑ ทรงให้รวบรวมและแต่งเติมไว้ ทรงแก้ไข ถ้อยคำให้เข้ากับท่ารำและเปลี่ยนวิธีดำเนินเรื่องไปจากเดิมเพื่อให้เนื้อ เรื่องกระชับและสมเหตุสมผล ทั้งยังนำมาเล่นละครได้ไม่ยืดยาวจนเกินไป
    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงวิจารณ์ชมเชย ไว้ว่า “ทรงดัดแปลงร้อยกรองโดยเฉพาะให้เป็นท่วงทีงดงามดี เหมาะแก่การเล่น ละครในเชิงรำก็ให้ท่าทีจะรำได้แปลก ๆ งาม ๆ ในเชิงจัดคุมหมู่ละครก็ให้ท่าทีให้เป็นภาพงาม ในเชิงร้องก็ให้ท่าทีจะจัดสู่ทางทำนองไพเราะเสนาะโสต กลอนก็สละสลวยเพราะพริ้งไม่มีที่เปรียบ อาจเล่นละครให้สมบูรณ์ครบองค์ ๕ ของละครก็ได้คือ ตัวละครงาม รำงาม   ร้องเพราะ    พิณพาทย์เพราะ   กลอนเพราะ  
                    อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นต้นฉบับสำหรับพระนครด้วย เพราะอิเหนาฉบับก่อน ๆ   ไม่สมบูรณ์   แม้ในฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑   ที่รวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์ก็ยังขาดความประณีต เพราะรัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชประสงค์เพียงซ่อมแซมบทของเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×