ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กระบี่กระบองและมวยไทย

    ลำดับตอนที่ #2 : ประวัติกระบี่กระบอง

    • อัปเดตล่าสุด 11 เม.ย. 51


    คำปรารภของ อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา

    กระบี่กระบอง " อันวิชากระบี่กระบองนี้ ข้าพเจ้ากล้าพูดได้อย่างเต็มปากโดยไม่มีความกระดากเลยแม่แต่น้อย ว่าเป็นกีฬาของไทยเราแท้ๆ เป็นน้ำพักน้ำแรงของบรรพบุรุษผู้เป็นนักรบที่กล้าหาญ ซึ่งได้ลงทุนลงแรงไว้ด้วยความเสียสละ อุตส่าห์บากบั่นหาทางที่จะอบรมให้มีเลือกเนิ้อเชิ้อชาติทหาร อันเป็นวีระกรรมประจำชาติของไทย ซึ่งมีมาแต่ไหนแต่ไร มิให้เสื่อมคลายหรือจืดจางลงไปได้ จึงได้อบรมสั่งสอนสืบเนื่องมาจนกระทั้งถึงพวกเราสมัยนี้ การที่ข้าพเจ้ากล้สยืนยันได้หนักแน่นขนาดนี้ ก็เพราะข้าพเจ้าไม่เคยเห็นกีฬาชนิดนี้ในต่างประเทศเลย จะเป็นทางตะวันตกหรือตะวันออกก็ตาม และถ้าเคยมีปรากฏในสมัยก่อนๆ มาบ้างแล้ว เชื่อแน่ว่าคงจะไม่สูญสิ้นพันธุ์เสียทีเดียว คงจะยังเหลือเป็นมรดกตกทอดเอาไว้ใหเแก่ชนชั้นหลังบ้างไม่มากก็น้อย แต่นี่ก็ไม่มีร่องรอยเอาเสียเลยจึงทำให้ภาคภูมิใจที่จะกล่าวได้ว่ากระบี่กระบองของเราเป็นหนึ่งเดียวในโลก " 

                      กระบี่กระบอง จัดเป็น ศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่มีความสำคัญอย่างสูงยิ่ง กระบี่กระบอง มีประวัติมายาวนาน ใช้ต่อสู้ ปกบ้านป้องเมืองเรามาหลายครั้ง กษัตริย์ไทยในสมัยเก่าก่อนนั้น ก็ใช้ดาบ พลอง ง้าว ต่อสู้เพื่อป้องกันจากผู้รุกราณมากมาย จนปัจจุบัน กระบี่กระบอง ได้เป็น กีฬาไทยที่คู่ควรแต่การ อนุรักษ์เอาไว้ เป็นอย่างมาก ยิ่งนับวันยิ่งหาดูได้ยากยิ่ง แต่ก็ยังมี หลายที่ หลายสำนัก พยายามอนุรักษ์วิชา กระบี่กระบอง นี้เอาไว้ เพราะคนไทยปัจจุบัน เห็น วิชากระบี่กระบอง เป็นวิชาที่ดูโหดร้าย จึงไม่นิยมให้บุตรหลาน มาเล่นกีฬากระบี่กระบอง จึงทำให้ค่อยหายไปจากคนไทยไป มีเพียงแค่การเรียนในหลักศุตรของมัธยม และ มหาลัย เท่านั้น

    เริ่มต้นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ ได้เคยเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยในอันที่จะสั่งสอนในทางทฤษฎีเลย ฉะนั้นศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้กันเสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทยเราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกันเป็นเวลานานมาแล้วด้วยเหมือนกัน หลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้นั้นคาดว่าคงมีแล้วในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสืออิเหนา ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า 

    “ เมื่อนั้นท้าวหมันหยาปรีเปรมเกษมสันต์ เห็นอิเหนาเข้ามาบังคมคัล จึงปราศรัยไปพลันทันที ได้ยินระบือลือเล่า ว่าเจ้าชำนาญการกระบี่ ท่าทางทำนองคล่องดี วันนี้จงรำให้น้าดูแล้วให้เสนากิดาหยัน จัดกันขึ้นตีทีละคู่ โล่ดั้งดาบเชลยมลายู จะได้ดูเล่นเป็นขวัญตา ”

    ตามข้อความที่กล่าวนี้ย่อมจะชี้ให้เห็นว่า กระบี่กระบองคงเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนี้แล้ว

    ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 3 ท่านสุนทรภู่ได้แต่งเรื่องพระอภัยมณีกับศรีสุวรรณ สององค์พี่น้อง ทูลลาสมเด็จพระราชบิดาไปป่าเพื่อแสวงหาวิชาความรู้อันเป็นประเพณีนิยมจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ซึ่งในที่สุดก็ได้พบเล่าเรียนกับอาจารย์ ผู้ซึ่งมีวิชาต่างกัน ดังปรากฏในข้อความตอนหนึ่งว่า

    “ สิบห้าวันดั้นเดินในไพรสณฑ์ ถึงตำบลบ้านหนึ่งใหญ่หนักหนา เรียกว่าบ้านจันตคามพราหมณ์พฤฒา มีทิศาปาโมกข์อยู่สองคน อาจารย์หนึ่งชำนาญในการปี่ ทั้งดีดสีแสนเสนาะเพราะหนักหนา ผู้ใดฟังวังเวงในวิญญา เคลิ้มนิทราลืมกายดังวายปราณ ”

    ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง และเมื่อปีขาล พุทธศักราช 2409 ซึ่งเป็นปีที่กำหนดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ครั้นเมื่อพระองค์ทรงผนวชแล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่งพระองค์อย่างราชกุมาร ทรงเล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายที่ทรงกระบี่กระบองในครั้งนั้นคือ

    คู่ที่ 1 กระบี่กระบอง เจ้าฟ้าตุรนตรัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์

    พระองค์เจ้ากัมลาศเลอสรร (กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร)

    คู่ที่ 2 พลอง พระองค์เจ้าคัดนางยุคล (กรมหลวงพิชิตปรีชากร)

    พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ (กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์)

    คู่ที่ 3 ง้าว พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ (กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)

    พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม)

    คู่ที่ 4 ดาบ 2 มือ พระองค์เจ้าอุนากรรณอนันตนรชัย

    พระองคืเจ้าชุมพลรัชสมโภช ผกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์)

    การเล่นกระบี่กระบองเริ่มฟักตัวเป็นการใหญ่ในแผ่นดินนี้เอง เพราะตามปกติ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดกีฬาอะไร กีฬาชนิดนั้นก็ย่อมเจริญและเฟื่องฟู ประชาชนพลเมืองก็หันหน้ามาเอาใจใส่ตามไปด้วย ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเล่นกันแพร่หลายในงานสมโภชต่าง ๆ เช่น งานโกนจุก งานบวชนาค งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า ฯลฯ

    เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในรัชกาลที่ 4 ทรงเล่นกระบี่กระบองเป็นกันหลายพระองค์เช่นนี้ เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะทรงกีฬาชนิดนี้เป็นในครั้งนั้นด้วยพระองค์เองด้วยเหมือนกัน เพราะตามหลักฐานปรากฏว่า พระองค์ได้เคยทรงศึกษาวิชามวยและวิชากระบี่กระบอง ฟันดาบกับหลวงพลโยธานุโยค ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเล่นเป็นนี้เองในรัชกาลของพระองค์ พระองค์จึงได้โปรดฯ ให้มีการตีกระบี่กระบองและชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนืองๆ พระองค์เสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดงและแข่งขันบ่อยๆ ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากในกรุง และอาจจะดูได้หลายครั้งในปีหนึ่งๆ สมัยนี้เป็นสมัยที่นิยมชมชอบกันมากที่สุด จึงทำให้กระบี่กระบองมีอยู่ดาษดื่น และมีมากคณะด้วยกัน






    ครั้นถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองชักจะลดน้อยลงไป ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงฝักใฝ่ในวิชานาฎศิลป์ และทรงเข้าพระทัยในศิลปะของวิชากระบี่กระบองก็ตาม แต่ก็ไม่ทรงโปรดปรานมากเท่ากับพระราชบิดาของพระองค์ ถึงกระนั้น ก็ยังมีการจัดกีฬาชนิดนี้ขึ้นถวายเพื่อถวายทอดพระเนตรบ้างเป็นครั้งคราว เช่น ในปีพุทธศักราช 2460 กับ 2462 กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในงานกรีฑาประจำปี ได้จัดการแสดงกระบี่กระบองขึ้นถวายทอดพระเนตรที่สนามหน้าสามัคยาจารย์สมาคม ในการแสดงทั้งสองครั้งนี้ ท่านอาจารย์ นาคเทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้แสดงถวายทั้งสองครั้ง ครั้งแรกแสดงง้าว ครั้งหลังแสดงพลอง ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ กระบี่กระบองชักน้อยลงไป แต่มวยเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่น สมัยที่มีการแข่งขันเก็บเงินค่าผ่านประตู เพื่อซื้ออาวุธให้เสือป่าที่สนามสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นต้น รู้สึกว่าสนุกสนานและครึกครื้นยิ่งอยู่พักหนึ่ง ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองก็ค่อยๆ หมดไปๆ จนเกือบจะหาดูไม่ค่อยได้

    ท่านอาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านได้แลเห็นต่างชาติเขาภูมิใจในศิลปะประจำชาติของเขา เช่น ชาติเยอรมันและญี่ปุ่น เขายกย่องวิชาฟันดาบและวิชายูโดของเขาว่าเป็นเลิศ พยายามสงวนและเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่โลกมากเพียงใด ก็ยิ่งทำให้ท่านบูชาวิชากระบี่กระบองของไทยไว้เหนือสิ่งใด ๆ มากขึ้นเพียงนั้น ในโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้เริ่มลองสั่งสอนนักเรียนพลศึกษากลางขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 ทดลองสอนอยู่ 1 ปี ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ.2479 นับแต่นั้นมาได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นเป็นลำดับ
                                                                                         ฉบับต่อไปพบกับ ประเภทอาวุธที่มีใรกระบี่กระบองน้ะ ติดตามด้วยนะ
                             

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×