ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตู้ยาภายนอก

    ลำดับตอนที่ #1 : ตุ้ยาประจำบ้าน

    • อัปเดตล่าสุด 2 พ.ย. 50


    ตู้ยาประจำบ้าน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัยอย่างหนึ่งสำหรับครอบครัว เมื่อเกิดเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เราไม่จำเป็นต้องพึ่งหมอ หรือโรงพยาบาลทุกครั้งไป เนื่องจากโรค หรืออาการเจ็บป่วยทั่วไปบางอย่าง สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง เช่น ไข้หวัด ลมพิษ ท้องอืด- ท้องเฟ้อ ท้องเสีย และหากเกิดป่วยในยามดึกดื่น การไปสถานพยาบาลกลางดึก อาจจะลำบาก ไม่สะดวก โดยเฉพาะ ในชนบทที่ห่างไกล อีกทั้งยังลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ หากเรารู้จักรักษาตนเองโดยเบื้องต้นได้

    ตู้ยาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ตู้ยาที่ดีจะต้องกันแสงได้ หรือเป็นตู้ทึบได้ก็ยิ่งดี นิยมทำข้างหน้า เป็นบานกระจก เลื่อนเปิดปิดได้ เพื่อให้มองเห็นข้างในได้ง่าย ตู้ยาควรแบ่งเป็นช่องชัดเจน สำหรับจัดแยกยาใช้ภายใน ยาใช้ภายนอก เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์พยาบาลต่าง ๆ ส่วนขนาดนั้น ควรเลือกให้เหมาะสม กับจำนวนสมาชิก ในครอบครัว และจำนวนยาที่จะเก็บ ก่อนการติดตั้ง ควรจัดมุมหนึ่งในบ้าน ไว้เป็นที่เก็บยา ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้

    • สูงพ้นมือเด็ก และเด็กไม่สามารถปีนหยิบยาได้เอง
    • ไม่ถูกแสงแดด ห่างจากแหล่งความร้อน และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
    • ไม่อับชื้น พ้นจากแหล่งความชื้น เช่นห้องน้ำ
    ยาที่ควรมีไว้ประจำตู้ยา
    อาจใช้วิธีพิจารณาจากประเภทยา ซึ่งควรเป็นยาที่มีอันตรายน้อยที่สุด สามารถใช้ได้เองอย่างปลอดภัย ซึ่งก็ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้าน (หรือยาตำราหลวงที่องค์การเภสัชกรรมผลิต) ที่แนะนำให้มีไว้มีดังนี้
    • ยาใช้ภายใน หรือยาใช้รับประทาน (ฉลาก ยาจะมีตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีน้ำเงิน) ที่ควรมีไว้ได้แก่
    • ยาแก้ปวด-ลดไข้ เช่น ยาเม็ดหรือยาน้ำพาราเซตามอล, ยาลดน้ำมูก แก้แพ้ แก้คัน เช่น ยาเม็ดคลอเฟนนิรามีน, ยาแก้ไอ เช่น ยาแก้ไอขับเสมหะ, ยาแก้ท้องเสีย เช่นผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ.อาร์.เอส.), ยาแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาขับลม, ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาเม็ดและยาน้ำอะลูมิน่า-แมกนีเซียม
    • ยาใช้ภายนอก (ฉลากต้องมีคำว่า ยาใช้ภายนอกหรือยาใช้เฉพาะที่ ห้ามรับประทาน พิมพ์ด้วยอักษรสีแดง) ที่ควรมีไว้ได้แก่ ยาทาแก้ผดผื่นคัน หรือคาลาไมน์โลชั่น, ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม หรือ ยาหม่อง, ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือทิงเจอร์ไอโอดีน หรือยาแดง, ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก เหล้าแอมโมเนียหอมแก้วิงเวียน
    การจัดยา มีหลักการจัดดังนี้
    1. ควรแบ่งช่องยาของชนิดยาใช้ภายใน ยาใช้ภายนอก และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ออกจากกัน
    2. ยาแต่ละชนิดต้องมีฉลากปิดขวดให้เรียบร้อยครบถ้วน
    3. ยาทุกชนิดต้องมีภาชนะบรรจุเรียบร้อยฝาสนิทแน่น
    4. ควรมีถ้วย ช้อนตวงยา และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น สำลี ผ้าพันแผล ปลาสเตอร์ ปรอทวัดไข้ กรรไกรเล็ก ๆ จัดเก็บแยกต่างหาก
    นอกจากยาสามัญประจำบ้านดังที่กล่าวแนะนำมาแล้วนั้น อาจมีการเพิ่มเติมรายการอื่น บ้าง เช่น ยาสมุนไพร ที่ทำสำเร็จรูป (Herbal Medicine) ซึ่งจัดเป็นยา อีกประเภทหนึ่ง ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีพิษค่อนข้างต่ำ ใช้ง่าย และยังเป็นการสนับสนุน การใช้สมุนไพรไทยด้วย

    ยาสมุนไพร ที่ผลิตออกจำหน่ายและหาซื้อได้ ได้แก่ ขมิ้นชันแคปซูล (แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ) มะแว้ง (แก้ไอ ขับเสมหะ) ยาระบายมะขามแขก (แก้ท้องผูก) ครีมไพลจีซาล (แก้ปวดเมื่อย ปวดบวมจากกล้ามเนื้ออักเสบ) เจลหว่านหางจระเข้ (แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก) โลชั่นกันยุงตะไคร้หอม

    การใช้และดูแลรักษาตู้ยา

    1. จัดระเบียบของตู้ยา แยกยาใช้ภายใน ยาใช้ภายนอก เวชภัณฑ์ออกจากกันอย่างชัด เจน รวมทั้งจัดให้มีฉลากชัดเจน ทั้งชื่อยาสรรพคุณ วิธีใช้ ขนาดใช้ ข้อห้ามใช้ คำเตือนต่าง ๆ
    2. ก่อนใช้ยา ควรศึกษา วิธีใช้ คำเตือน ข้อห้ามใช้ของยานั้น ๆ ให้เข้าใจจริง ๆ เสียก่อน โดยอ่านจากฉลากยาที่ติดบนกล่อง ขวดยา แผงยา หรือเอกสารกำกับยาให้ละเอียด หรือถ้ามีเวลาว่างพอก็อาจศึกษาจากตำราการใช้ยา คู่มือการใช้ยา หรือปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้รู้อื่น ๆ เช่น อาสาสมัครหมู่บ้าน
    3. หมั่นดูแลฉลากยาทุกชนิดในตู้ยา หากลบเลือนควรรีบแก้ไขให้ชัดเจน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ยาที่ไม่มีฉลากหรือฉลากลบเลือนไป หากไม่แน่ใจ ไม่ควรนำมาใช้
    4. ตรวจดูยาที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบอย่าเสียดาย ควร ทำลายหรือทิ้งไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×