ศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิยาย ศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : Dek-D.com - Writer

    ศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    โดย Toiyung

    มาดูกันว่าเอกประวัติศาสตร์ ที่ธรรมศาสตร์เขาเรียนอะไรกันบ้าง ยากง่ายแค่ไหน ต้องจำเยอะมั้ย มาดูกันเล๊ย

    ผู้เข้าชมรวม

    24,319

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    24.31K

    ความคิดเห็น


    72

    คนติดตาม


    22
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 เม.ย. 54 / 12:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ประวัติความเป็นมาของคณะศิลปศาสตร์


                      คณะศิลปศาสตร์ได้จัดตั้งตามพระราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.
      2504 โดยศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ ผู้ริเริ่มจัดตั้งและเป็นคณบดีคนแรกของคณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ “Liberal Arts’’  ซึ่งได้ชื่อนี้โดยการประทานนามคณะจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

                     วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ในครั้งนั้น ก็เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ก่อนเลือกเข้าแขนงวิชาเฉพาะด้านในคณะต่างๆ กล่าวได้ว่าคณะศิลปศาสตร์กำเนิดมาเพื่อสอนวิชาศึกษาทั่วไปแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้รอบ โดยจะมาเรียนที่คณะศิลปศาสตร์เป็นเวลา 1  ปีซึ่งก่อนหน้านี้คนที่เข้าเรียนก็จะเรียนวิชาเอกของตนเองเลย ทำให้มีความรู้ไม่กว้างขวาง รู้เฉพาะศาสตร์ของตนเอง จึงให้มาเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ 1 ปี   ต่อมามหาวิทยาลัยมีมติให้นักศึกษาทุกคนเรียนวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยคณะศิลปศาสตร์ และต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยในสมัยนั้นได้บังคับให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีวิชาศึกษาทั่วไปบรรจุอยู่ในหลักสูตรด้วย นับว่าการเกิดขึ้นของคณะศิลปศาสตร์ได้ก่อผลอย่างสำคัญแก่วงการอุดมศึกษาไทย


      ปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์มีเอกต่างๆมากมายเลย เยอะจริงๆ มาดูกันว่ามีเอกอะไรบ้าง

       

      1 สาขาวิชาจิตวิทยา (Psychology)
      2 สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์  (Library and Information Science)
      3 สาขาวิชาประวัติศาสตร์  (History)
      4 สาขาวิชาภาษาศาสตร์    (Linguistics)
      5 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ     (English)
      6 สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ  (English Language and Literature)
      7 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส  (French)
      8 สาขาวิชาภาษาไทย       (Thai Language)
      9 สาขาวิชาปรัชญา           (Philosophy and Religion)
      10 สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (Geography)
      11 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (Japanese Language)
      12 สาขาวิชาภาษาจีน (Chinese Language)
      13 สาขาวิชาภาษาเยอรมัน(German Language)
      14 สาขาวิชาภาษารัสเซีย (Russian Language)
      15 สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (British and American Studies-BAS)----ท่าพระจันทร์
      16 สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Studies-SEAS)---ท่าพระจันทร์
      17 สาขาวิชารัสเซียศึกษา(Russian Studies)
      18 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ (Business English communication-BEC)


      **** มีเพียง 2 สาขาวิชาเท่านั้นของคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเรียนที่ท่าพระจันทร์ หลักสูตรอื่นๆเรียนรวมกันที่ศูนย์รังสิต รวมไปถึงหลักสูตรอื่นๆที่กำลังจะเปิดในอนาคตด้วยครับ เช่น สาขาการท่องเที่ยว สหวิทยาการศิลปศาสตร์ เป็นต้น


       

      ข้อมูลภาควิชาประวัติศาสตร์ (หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต)
        
                     
      ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นมาเป็น 1 ใน 5 สาขาแรกของคณะ คือเมื่อปีพ.ศ. 2508 เพื่อสอนวิชาศึกษาทั่วไปแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกคน คือ วิชาอารยธรรมตะวันออกและวิชาอารยธรรมตะวันตก บัณฑิตรุ่นแรกของคณะศิลปศาสตร์มีจำนวน 71 คน จากสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้
      1. สาขาคณิตศาสตร์
      2. สาขาบรรณารักษศาสตร์
      3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
      4. สาขาวิชาภาษาศาสตร์
      5. สาขาวิชาสถิติ
         

      *** เกร็ดเล็กน้อยจ้า สาขาวิชาสถิติและสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ต่อมาย้ายไปอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์มาก่อนอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่ก่อนการกำเนิดของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งในระเยะเวลาไล่เลี่ยกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกาตรศาสตร์ แต่ธรรมศาสตร์เน้นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงยังไม่ได้ก่อตั้งคณะ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีวิสัยทัน์กว้างไกล จึงได้มีดำริให้หาสถานที่ก่อตั้งเพิ่มเติม เพื่อให้มีสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในธรรมศาสตร์
                      การสอบเข้าเอกประวัติศาสตร์นั้นมี 2 ทาง คือให้เลือกศิลปศาสตร์ เอกรวม หรือจะเลือกตรงมาเลยก็ได้  สำหรับการ admission เข้ามา จะแบ่งเป็น 2 สาย คือ ใช้พื้นฐานวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์สอบเข้า รับรวมเลยจ้า เอาคะแนนสอบเข้าของคนที่ยื่นวิทย์เข้ากับยื่นภาษาเข้ามาเรียงลำดับเป็นจำนวน 30 คนจ้า
                 สำหรับการยื่นของพื้นฐานวิทย์มีองค์ประกอบดังนี้จ้า
                 - O-net            50 เปอร์เซนต์  
                 - PAT 71          10 เปอร์เซนต์
                 - GAT              40 เปอร์เซนต์
                      สำหรับการยื่นขอวพื้นฐานศิลป์ มีให้ยื่นโดยใช้ภาษาฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน บาลี อาหรับจ้า คนที่เข้าส่วนใหญ่ก็มาจากฝรั่งเศสจ้า อาหรับนี่ไม่เคยเจอ บาลีนานทีปีหน 555 เยอะรองจากยื่นฝรั่งเศสคือ ญี่ปุ่น เพราะส่วนใหญ่คะแนนจะดี รายละเอียดการยื่นมีดังนี้จ้า
                 - O-net            50 เปอร์เซนต์
                 - PAT ภาษา      10 เปอร์เซนต์
                 - GAT              40 เปอร์เซนต์
                       ส่วนใหญ่ก็จะรับ 30 คนจ้า และรับจากเอกรวมประมาณ 10 คน เป็นทั้งหมด 40 คน ซึ่งจากที่พี่เคยเจอมา มาจากเอกรวมประมาณปีละไม่เกิน 2 คนจ้า เรามาดูกันดีกว่าว่าคนที่จะเรียนสาขานี้ได้ดีนั้นควรจะมีบุคลิกยังไง ไปดูกันเลย

      ลักษณะบุคลิกภาพของผู้ที่จะเข้าศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์

      1.อ่านหนังสือเยอะๆได้ภายในเวลาอันจำกัด หรือไม่ก็อ่านทน

      2.มีทักษะการเขียนที่ดี หรือหากไม่มีหรือมีน้อย ก็ฝึกเขียนเยอะๆ

      3.ชอบอ่านหนังสือทุกประเภท ไม่จำกัดแนว

      4.มีความรู้ความชำนาญภาษาต่างประเทศ ควรจะมีภาษาที่สาม

      5.มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา

      6.ช่างสงสัย ช่างคิด ทักษะการคิดวิเคราะห์

               เมื่อเราดูแล้วว่าเราชอบและมีความเหมาะสมที่จะเรียนสาขานี้ได้ ก็มาดูรายละเอียดวิชาและโครงสร้างหลักสูตรกันได้เลย หลักสูตรนี้ชื่อทางการก็คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษคือ Bachlor of Arts (History)

      วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

      ส่วนที่ 1 : วิชาศึกษาทั่วไป 21 หน่วยกิต ประกอบด้วย

      หมวดมนุษยศาสตร์ บังคับ 1 วิชา 3 หน่วยกิต
      มธ.110 สหวิทยาการมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต

      หมวดสังคมศาสตร์ บังคับ 1 วิชา 3 หน่วยกิต
      มธ. 120 สหวิทยาการสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
       
      หมวดวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บังคับ 1 วิชา 3 หน่วยกิต
      มธ. 130 สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 หน่วยกิต

      และจากวิชาต่อไปนี้ เลือก 1 วิชา ได้แก่
      มธ.151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย 3 หน่วยกิต

      มธ. 152 หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต

      มธ. 153 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต

      มธ. 154 รากฐานคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต

      มธ. 155 สถิติพื้นฐาน 3 หน่วยกิต

      มธ. 156 คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น 3 หน่วยกิต

      หมวดภาษา อันนี้วิชาบังคับจ้า

      ท. 161 การใช้ภาษาไทย 3 หน่วยกิต

      สษ. 070 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 0 หน่วยกิต อันนี้ไม่คิดหน่วยกิต สำหรับคนที่ได้อังกฤษต่ำกว่า 30-35 คะแนน แล้วแต่ปีจ้า ดังนั้นคนที่ได้ O-net Eng 40 ขี้นก็สบายใจได้ ไม่ต้องเรียนอันนี้

      สษ.171 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 3 หน่วยกิต คนที่ได้ O-net Eng 40-65 คะแนน จะต้องเรียนจ้า พวกที่ได้ 65-70 ขั้นไปไม่ต้องเรียน

      สษ. 172 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 3 หน่วยกิต อันนี้คนที่ได้ O-net Eng 80 ขึ้นไปไม่ต้องเรียนจ้า

      ส่วนที่ 2 : นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามเงื่อนไขรายวิชาที่คณะฯ กำหนดไว้ จำนวน
      9 หน่วยกิต  อันนี้บังคับของคณะจ้า มีดังนี้
      ท. 162 การเขียนรายงานวิชาการ 3 หน่วยกิต

      มธ. 112 มรดกโลกก่อนสมัยใหม่ 3 หน่วยกิต

      มธ. 117 พัฒนาการของโลกสมัยใหม่ 3 หน่วยกิต

      วิชาเอก 75 หน่วยกิต มีดังนี้

      วิชาบังคับ
      นักศึกษาต้องศึกษาวิชาบังคับในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ 21 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้และต้องสอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่าระดับ C ทุกรายวิชา

      ป200 พื้นฐานการศึกษาประวัติศาสตร์ 3 หน่วยกิต

      ป230 ประวัติศาสตร์ไทย 1 3 หน่วยกิต

      ป231 ประวัติศาสตร์ไทย 2 3 หน่วยกิต

      ป300 วิธีการทางประวัติศาสตร์ 3 หน่วยกิต

      ป304 การอ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ 3 หน่วยกิต

      ป350 ประวัติศาสตร์เอเชียร่วมสมัย 3 หน่วยกิต

      ป360 ประวัติศาสตร์ตะวันตกร่วมสมัย 3 หน่วยกิต

      วิชาเลือก นักศึกษาต้องเลือกศึกษารายวิชาอื่น ๆ ในสาขาวิชา ประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต
      โดยจะต้องศึกษารายวิชาระดับต้น (ระดับรหัส 200), ระดับกลาง (ระดับรหัส 300) และระดับสูง (ระดับรหัส 400) ระดับละไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต ดังนี้

      ป255 ประวัติศาสตร์จีน 3 หน่วยกิต
       
      ป.256 ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น 3 หน่วยกิต

      ป.257 ประวัติศาสตร์อินเดีย 3 หน่วยกิต

      ป.258 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 หน่วยกิต

      ป.265 ประวัติศาสตร์ตะวันตกก่อนสมัยใหม่ 3 หน่วยกิต
       
      ป.266 ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ 3 หน่วยกิต

      ป.267 ประวัติศาสตร์รัสเซีย 3 หน่วยกิต

      ป.268 ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา 3 หน่วยกิต

      ป.269 ประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา 3 หน่วยกิต

      ป.305 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยและตะวันออก 3 หน่วยกิต

      ป.306 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก

      ป.316 ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประชาชนร่วมสมัย

      ป.337 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

      ป.338 ประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย

      ป.339 ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาไทย

      ป.346 ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว

      ป.356 ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่

      ป.357 ประวัติศาสตร์เอเชียใต้สมัยใหม่

      ป.358 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่

      ป.359 ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่

      ป.365 ประวัติศาสตร์สหภาพยุโรป

      ป.366 ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

      ป.367 ประวัติศาสตร์สเปน


      ป.369 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองร่วมสมัยของละตินอเมริกา

      ป.405 การอ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ขั้นสูง

      ป.406 ปรัชญาและทฤษฎีประวัติศาสตร์

      ป.407 สัมมนาประวัติศาสตร์

      ป.408 ภาคนิพนธ์

      ป.409 สหกิจศึกษา
      ******เกร็ดเล็กๆจ้าวิชานี้วิชาฝึกงานจ้า รุ่นของพี่มีสถานทูต แบงค์ชาติ ตอนนี้ไม่รู้เป็นที่ไหน แล้วแต่ละปีจ้า ที่แบงค์ชาติ ไปฝึกส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์จ้า

      ป.415 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์

      ป.416 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์

      ป.417 สัมมนาประวัติศาสตร์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน

      ป.418 สัมมนาประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

      ป.425 ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

      ป.426 ความรู้สึกนึกคิดในประวัติศาสตร์

      ป.427 ประวัติศาสตร์ความทรงจำสาธารณะ

      ป.435 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

      ป.436 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย

      ป.466 ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาตะวันตก

      ป.467 หัวข้อเฉพาะในสเปนศึกษา

      ป.468 หัวข้อเฉพาะในละตินอเมริกันศึกษา

       วิชานอกสาขา 15 หน่วยกิต  นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาต่อไปนี้
      อ. 216 โครงสร้างในภาษาอังกฤษ

      อ.221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล

      อ.222 การอ่านเชิงวิเคราะห์ความเห็น
      นักศึกษาต้องเลือกศึกษาภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่งที่เปิดสอนใน
      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก 6 หน่วยกิต หรือ เลือกศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในภาควิชาภาษาอังกฤษอีก 6 หน่วยกิต

       วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต นักศึกษาอาจเลือกศึกษาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาเลือกเสรีจำนวน อย่างน้อย 6 หน่วยกิต ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงวิชาศึกษาทั่วไปหมวดภาษาต่างประเทศด้วย

                  ดูโครงสร้างโดยรวมแล้ว ตอนนี้มาดูรายวิชาต่างๆที่น่าสนใจกันเลยจ้า

      ชั้นปีที่ 1

          

              ช่วงเวลาปี 1 นั้น จะเป็นการเก็บวิชาพื้นฐานทั่วไป ขอบอกไว้ก่อนว่าเป็นช่วงวลาแห่งการกอบโกบ Gpa อันแสนหรูหรา เพราะหลังจากปี 1 เกรดของน้องก็จะลดลงมาตามลำดับ 555 น้องต้องเก็บให้ครบ 30 หน่วยกิต คือในระบบมหาวิทยาลัย จะนับวิชาหนึ่ง เท่ากับ 3 หน่วยกิต เทอมละ 5 วิชา 15 หน่วยกิต แต่ถ้าจะเกินก็ได้นะ มหาวิทยาลัยให้ลงได้ไม่เกิน 19 หน่วยกิต และไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต แต่พี่ไม่แนะนำให้ลงเกิน 15 หน่วยกิต เพราะว่าปี 1 เป็นช่วงเวลาแห่งการปรับตัวอ่ะนะ  ประกอบกับวิชาพื้นฐานทั่วไป 3 วิชาที่ยากทีเดียว ซึ่งทั้งสามวิชานี้เป็นลักษณะวิชาแบบสหวิทยาการและนักศึกษาระดับปริญญาตรีของธรรมศาสตร์ทุกคนต้องเรียน 3 วิชานี้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกคนต้องเรียนและผ่านทุกตัว ไม่เช่นนั้นจะไม่จบ  คือ นั่นก็คือ

       
      1.TU110 (Integrated to Humanities)

      - ชื่อเต็มของวิชานี้ก็คือ สหวิทยาการมนุษยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาทั้งตะวันตกและตะวันออก ยกตัวอย่างเช่น ขงจื๊อ เต๋า ลัทธิเชน อิริค ฟรอมม์ โสเคติส เพลโต อริสโตเติล และอีกมากมายที่ยกขบวนกันมา ซึ่งอันนี้จะเป็นส่วนแรก เรียนในช่วงกลางภาค หลังกลางภาคไปก็จะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ปัจจุบัน ข้อสอบก็อัตนัยและปรนัย ซึ่งปรนัยมี 5 ตัวเลือก หุหุ 4 ตัวเลือกก็แย่แล้ว อ่านหนังสือหลายเล่ม เช่น ปลาย่าง เจ้าชายน้อย ช่างมันเถอะ บทบัญญัติแห่งความขัดแย้ง และอีกหลายเล่ม บอกแล้วไงว่ามหาวิทยาลัยมันไม่เหมือนประถมแล้วนะ เตรียมไว้แต่เนิ่นๆ อ้อ แล้วก็มีควิซในคาบเรียน มีดูหนังด้วย เช่น odyssey  troy เป็นต้น


      2.
      TU120 (Integrated to Social Sciences)

      -ชื่อเต็มวิชานี้ คือ สหวิทยาการสังคมศาสตร์ จะคล้ายๆกับ TU110 แต่จะเน้นภาคแรกของ TU110 คือเป็นปรัชญา และเป็นปรัชญาการเมืองเป็นส่วนใหญ่ เพราะจัดการเรียนการสอนโดยคณะรัฐศาสตร์ หุหุ แล้วก็ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยามานุษยวิทยา คละเคล้ากัน กลมกล่อมทีเดียว หุหุ ข้อสอบมีทั้งถูกผิด อัตนัย ปรนัย มีควิซในห้องเรียน หลายครั้งเลย เพราะฉะนั้นไม่ควรขาดเรียน และเป็นวิชาเดียวที่มีติวด้วย 


      3.TU130 (Integrated to Sciences)

      -ชื่อเต็มวิชานี้ คือ สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชื่อก็บอกแล้วน๊าว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร ยกตัวอย่างเช่น  สิ่งทอ เทคโนโลยีการเกษตร พลังงาน คือคล้ายๆวิทย์ตอนมอปลายอ่า ข้อสอบวิชานี้เป็นปรนัยทั้งหมด แค่ 100 กว่าข้อเองง หุหุ ตอนเรียนเกือบทำไม่ทันอ่า มีปลายภาค ส่วนกลางภาคไม่มี มีโครงงานวิทยาศาสตร์ 1 โครงการ ทำเป็นกลุ่ม 10 คน สนุกดี เหมือนตอนเรียนมัธยมเลย แต่ตอนสอบนี่สิ ไม่สนุกเลยจริงๆ

       

      วิชาหมวดภาษา

              นอกจากวิชาบังคับ 3 ตัวนี้ น้องจะต้องเรียนวิชาภาษาไทย 1(TH161) และ ภาษาไทย 2  (TH162)  TH161 ก็เป็นการอ่านเอาความ จับใจความสำคัญ การพูด การเขียน คือ 4 ทักษะอ่า ต่อยอดจากมอปลาย ส่วน TH162 เน้นการเขียนต่างๆ การเขียนจดหมาย รายงานการประชุม บทความ เป็นต้น และภาษาอังกฤษ อันนี้น้องจะต้องเรียนตามคะแนน O-net ที่น้องได้ แบ่งตามเกณฑ์ประมาณนี้  ประมาณนะ เพราะว่าแต่ละปีอาจไม่เหมือนกัน
      ---80-100 คะแนน  ได้รับการยกเว้นการเรียนภาษาอังกฤษ(
      Exemption) ที่ธรรมศาสตร์จะเรียกว่า
      เซ้ม  คือน้องไม่ต้องเรียนอังกฤษเลย  เซ้มไป 2 วิชาโดยที่เพื่อนๆส่วนใหญ่เค้าก็ต้องมานั่งเรียนกัน เพราะฉะนั้นทำคะแนนวิชานี้ให้ดีๆ จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลา ไปลงวิชาอื่นๆเลยที่เป็นของปี 2 ไง
      ---65-79   คะแนน น้องต้องเรียนภาษาอังกฤษ
      EL172 เป็นภาษาอังกฤษ 3 น้องก็ไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษ 1 และ 2 เซ้มไป 1 วิชา คือ EL171
      ---64-40   คะแนน อันนี้น้องต้องเรียน
      EL171  เรียนทั้งสี่ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน และเทอมต่อไปเรียน EL172 วิชานี้เรียนเน้นไปทางการเขียนและการอ่าน แต่ก็ยังมีครบ 4 ทักษะ
      ---39-0     คะแนน น้องต้องเรียนอังกฤษถึง 3 ตัว คือ
      EL070 วิชานี้มีแค่ ผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้น เรียนตั้งแต่คำนาม คำกริยาคืออะไร หุหุไม่มีการวัดเกรด และไม่นับหน่วยกิตด้วย เสียเวลามั้ยละ ดังนั้นทำคะแนนอังกฤษดีๆ แล้วต่อไปก็เรียน EL171 และ EL172 ซึ่ง EL172 น้องก็ต้องมาลงเรียน Summer

       

            ส่วนวิชาหมวดคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ น้องก็เลือกเอาว่าจะเรียนคณิตหรือเรียนคอม เรียนคอมดีกว่านะ แนะนำ หุหุ แบบว่าเด็กศิลป์ รู้กันน๊า แล้วเลขมหาวิทยาลัยมันก็แบบว่า... สำหรับเอกประวัติศาสตร์ ปี 1 นั้นบังคับ 2 วิชา คือ




      1. TU112 (Western Civilization)

      --- วิชานี้เรียนตั้งแต่กรีก สงครามกรุงทรอย สงครามเพโลโพนิเชียน สงครามเปอร์เชีย ยุคสิ้นสุดกรีก ยุคโรมัน ยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ยุคใหม่ มาจนถึงสงครามโลก และปัจจุบันเลยทีเดียว วิชานี้ก็ยากเอาการอยู่ แต่ถ้าตั้งใจก็ทำได้แน่นอน


      2. TU117 (Eastern Civilization)

      ---เรียนอินเดีย ตั้งแต่สมัยฮารัปปา โมเหนโจดาโร มาจนถึงสมัยเรียกร้องเอกราช มหาตมะคานธี ปากีสถาน พื้นฐานความรู้ทางเอเชียตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเอชียตะวันออกเฉียงใต้

       

            2 วิชาข้างต้นนี้ก็จะเรียนเป็นพื้นๆไปก่อน เพื่อปรับความรู้ แล้วเมื่อเรียนปี 2 ก็จะตามอาจารย์ได้ทันไง  ปี 1 วิชาพื้นฐานทั่วไปอื่นๆๆ น้องสามารถเลือกได้มากมายหลายวิชา หลายคณะ นี่คือข้อดีของธรรมศาสตร์ นั่นคือ เราสามารถลงวิชาข้ามคณะได้ เช่น ลงนิติ ลงเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น วิชาโทก็เช่นกัน แต่แนะนำให้โททางด้านภาษา เช่น จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออังกฤษ เพราะจะช่วยให้เราอ่าน text ได้กว้างมา  วิชาที่ให้เลือกลงตอนปี 1 นอกจากวิชาบังคับแล้วก็มี ก็มีเช่น

      -นาฏศิลป์ไทย
      -เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
      -การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล
      -การฟัง-พูด 1
      -ภาษาอังกฤษ หลัก 1 2 และ 3
      -ภาษาจีน
      -ภาษาฝรั่งเศส
      -ภาษาเยอรมัน
      -ภาษาญี่ปุ่น
      -ภาษาเกาหลี
      -ภาษารัสเซีย
      -ภาษาไทย
      -จิตวิทยาทั่วไป
      -อารยธรรมตะวันตก
      -อารยธรรมตะวันออก
      -คอมพิวเตอร์
      -เลขแบบง่าย และยาก

      ชั้นปีที่ 2

          พอขึ้นปี 2 น้องก็จะได้เรียนลึกขึ้น แต่เรียนเป็นพื้นสำหรับการเจาะลึกต่อไป คือเรียนประเทศสำคัญๆ เหตุการณ์สำคัญๆ เพื่อจะได้เชื่อมต่อเหตุการณ์ได้ ซึ่งวิชาที่จะมีให้เรียน มีดังนี้

      -ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกและตะวันออก ศึกษาประวัติของศิลปะตะวันตกและตะวันออก


      -ประวัติศาสตร์ไทย ศึกษาตั้งแต่กำเนิดชาติไทยจนถึงปัจจุบัน เรียนทุกอย่างที่เป็นประวัติศาสตร์ของไทย(อย่างกว้างๆ) เน้นการเรียนที่เป็นกลาง การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยนี้จะไม่ใช่อย่างที่เราเรียนกันในตอนมัธยมแล้วน๊า เพราะนั่นคือ ประวัติศาสตร์ชาตินิยม แต่นี่คือประวัติศาสตร์ไทยในความเป็นจริง เมื่อพี่ได้เรียนวิชานี้ รู้เลยว่าที่เรียนตอนมัธยมมันชาตินิยมชัดๆ แต่ก็นะ มีประโยชน์ในเรื่องของความรักชาติที่จะต้องมีการปลูกฝัง

      -ประวัติศาสตร์รัสเซีย
      ศึกษาประวัติศาสตร์รัสเซียตั้งแต่เริ่มต้น สมัยจักรวรรดิ การปฏิวัติบอลเชวิก สหภาพโซเวียต จนถึงสภาพภายหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น

      -ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
      ศึกษาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาตั้งแต่การตั้งอาณานิคมจนถึงสงครามโลก

      -พื้นฐานการศึกษาประวัติศาสตร์
      ศึกษาความหมายและความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์ หลักการและวิธีการเบื้องต้นในการศึกษาค้นคว้าจาก สื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็คทรอนิกส์ และการนำเสนอผลงานเขียนทางประวัติศาสตร์ มีหนังสือที่ควรอ่าน คือ What is History ของ EH.Car ลองไปหาอ่าน หรือซื้อมาอ่านได้ มีภาษาไทยด้วยนะ

      -ประวัติศาสตร์จีน
      ศึกษาลักษณะการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของจีนที่เป็นจารีตนิยม อิทธิพลตะวันตกต่อการเปลี่ยนแปลงของ จีน และการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับวิชานี้เป็นวิชาที่พี่ชอบมาก เรียนตั้งแต่ราชวงศ์ซางหรือชาง โจว ฉิน ฮั่น เรื่อยมาจนถึงสมัยใหม่ คือ จนถึง ค..1949 ต่อจากนี้ก็จะเป็นวิชาในระดับปี 3 วิชานี้สนุกมาก อาจารย์เสนอมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับจีนที่เราไม่รู้เยอะมาก จนพี่คิดว่า จีนเป็นดินแดนที่น่าค้นหา ศึกษาเท่าไหร่ก็ไม่รู้จบ และทำให้พี่สนใจจีนมาจนถึงตอนนี้ มุมมองในการสอนของอาจารย์จะมีหลักการอย่างมาก ไม่ได้ยึดในส่วนของเนื้อหามากนัก เน้นการเชื่อมโยงของเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้สนุก เพราะเหมือนเรากำลังต่อจิ๊กซอร์อยู่ และอาจารย์ก็จะไม่บอก เราก็จะต้องค้นหาคำตอบนั่นเอาเองในตอนสอบ หุหุ ซึ่งความจริงอาจารย์ได้บอกคร่าวๆแล้ว สนุกมากจริงๆ ยังไงถ้าได้เข้ามาเรียนอย่าลืมลงวิชานี้นะ หุหุ

      -ประวัติศาสตร์อินเดีย
      ศึกษาลักษณะการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของอินเดียสมัยโบราณ อิทธิพลของอิสลามและอังกฤษ การเรียกร้องเอกราชและการแบ่งแยกประเทศ วิชานี้คนที่ชอบคานธี ต้องลงเลย น้องจะได้ศึกษาตั้งแต่สมัยฮารัปปา โมเฮนโจดาโร ราชวงศ์ทั้งหมด จนถึง 1947 ซึ่งต่อจากนี้ก็จะมีตัวต่อคือ ประวัติศาสตร์เอเชียใต้สมัยใหม่ ใครสนใจเชิญลงได้เลยจ้า

      -ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
      ศึกษาลักษณะการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมญี่ปุ่นภายใต้ระบบฟิวดัล อิทธิพลตะวันตกต่อการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่น การปฏิรูปประเทศและบทบาทของญี่ปุ่นต่อสังคมโลก วิชานี้ก็เป็นวิชาที่พี่ชอบมากเช่นกัน จะมีชื่อแปลกๆมาให้น้องได้จำกัน เพราะเป็นชื่อญี่ปุ่น แต่ไม่ต้องห่วง ไม่ได้จำอะไรมากมาย เพราะเน้นการวิเคราะหืมากกว่าการจดจำรายละเอียดเป็นนกแก้วนกขุนทอง

      -ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      ศึกษาพัฒนาการของรัฐต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของภายนอก ลัทธิจักรวรรดินิยม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม วิชานี้เป็นวิชาที่ยากวิชาหนึ่ง เพราะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายในตนเองสูงมาก ดังนั้นการศึกษาค่อนข้างทำได้ยาก

      -ประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา
      ศึกษาความเป็นมาของอาณาจักสำคัญในละตินอเมริกาก่อนการเข้ามาของชาติตะวันตกสมัยอาณานิคมและการ ได้เอกราช ตลอดจนพัฒนาการทางการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
      -ประวัติศาสตร์ตะวันตกก่อนสมัยใหม่
      ศึกษาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกตั้งแต่สมัยกรีก - โรมัน ยุคกลาง จนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
      -ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่
      ศึกษาประวัติศาสตร์ยุโรปตั้งแต่สมัยการปฏิรูปศาสนา จนถึงสงครามโลก

               โดยพอขึ้นปี 2 เราควรจะเลือกว่าเราจะเรียนเน้นภูมิภาคไหน เช่น เน้นเอเชียใต้ คือ อินเดีย  เน้นเอเชียตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่น เน้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจะเน้นยุโรปก็แล้วแต่ เพื่อให้การเรียนของเราเป็นระบบไม่สะเปะสะปะไง แต่ถ้าจะเรียนตามใจก็ได้ ไม่มีการบังคับ  ปี 2 ก็จะมีวิชาบังคับ 2 วิชา คือ
      HS200(Introduction to History) และ HS 230(Thai History) ซึ่งไม่ต่ำกว่า C ไม่เช่นนั้นน้องจะต้องเรียนใหม่น๊า  

              พูดถึง HS200 ก่อน วิชานี้ก็เรียนพื้นฐานต่างๆทางประวัติศาสตร์ เช่น แนวคิด ทฤษฎี ปรัชญาประวัติศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์คืออะไร อ่าน text “What is History” น้องลองไปหามาอ่านก่อนก็ได้น๊า หุหุ มีตามศูนย์หนังสือทั่วไป มีแปลภาษาไทย แต่ขอบอกว่าภาษาอังกฤษง่ายกว่า ส่วน HS230 วิชานี้เขียนเป็นว่าเล่น มีงานทั้งหมด 13 ชิ้น เขียนเป็นบทความวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ลอกมานะ วิเคราะห์ด้วยตัวเอง อาจารย์รู้แน่ๆถ้าไปลอกมา พูดแค่นี้ก่อน หุหุ ก่อนที่จะถลำลึกและจะแฉไปมากกว่านี้ 55
                  นอกจากนี้ในหมวดภาษาอังกฤษ ทางภาควิชาได้บังคับให้มีการเรียน 2 วิชา คือ Reading for Information และ Paragraph Writing ด้วย เพราะมีความจำเป็นในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ต่อไปในการทำรายงานก็จะต้องใช้ textbook จำนวนมาก



      ชั้นปีที่ 3


                  ในชั้นปีที่
      3 นั้น จะแตกต่างจากการเรียนในปี 2 ในส่วนของเนื้อหานั้นจะมีรายละเอียดมากขึ้น และการวิเคราะห์มากขึ้น มีมุมมองในการมองปัญหาในเชิงแนวคิด ทฤษฏี มากกว่าการวิเคราะห์แบบลอยๆอย่างปี 2 ที่ไม่มีแนวคิด ทฤษฏีมารองรับมากนัก เรียนเจาะลึกในประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งจะเชื่อมโยงมาถึงภาวะการณ์ในปัจจุบัน คือ เน้นการศึกษาในเชิงบูรณาการ และเน้นการเชื่อมโยงนั่นเอง และแน่นอน หนังสือที่อ่านก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว วิชาที่เปิดในชั้นปีที่ 3 ก็จะมีมากขึ้น และจะเห็นได้ว่าเจาะลึกเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นการแบ่งช่วงเวลาก็ได้ รายงานที่อาจารย์สั่ง บางครั้งต้องใช้ textbook จำนวนมาก หุหุ ไม่ต้องตกใจ ถ้าน้องไม่ทำเรื่องที่มันแปลกประหลาดเกินไปจนหาข้อมูลภาษาไทยไม่ได้ เหมือนอย่างที่พี่ทำ หุหุ แปล text เล่มโต และยังเป็นศัพท์เฉพาะอีก ว่ากันไป 55  วิชาที่เปิดในชั้นปีที่ 3 มีต่อไปนี้

       

      -ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์
                 
      วิชานี้พี่กว่าจะผ่านมาได เลือดตาแทบกระเด็น อันนี้ไม่ได้พูดเวอร์ มันหนักหน่วงจริงๆ ต้องวิ่งหาข้อมูลตั้งแต่หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดธรรมศาสตร์ ทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต หอสมุดจุฬา มศว ศิลปากร รวมไปถึงวัดต่างๆ วัดมหาธาตุ อันเนื่องมาจากทำวิจัยเอกสารโบราณ งานนี้เหงื่อตกเลยทีเดียว แต่ว่าอาจารย์ไม่ได้บังคับนะว่าต้องเป็นเรื่องโบราณ เพราะเพื่อนพี่บางคนก็ทำเรื่อง ภาพยนต์ เพลง อะไรอย่างเงี๊ย แต่เป็นการศึกษาวิเคราะห์ในมุมมองทางประวัตศาสตร์ วิชานี้ต้องขยันมากๆนะ ต้องไปพบอาจารย์บ่อยๆ มีการนำเสนอต่อหน้าอาจารย์ด้วย อันนี้เครียดไปตามๆกัน และจะมีการส่งร่างงานวิจัย แล้วก็งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ส่วนเรื่องที่พี่ทำ คือ ประวัติศาสตร์นิพนธ์จากชินกาลมาลีปกรณ์ ประมาณนี้ เป็นเชิงประวัติศาสตร์สังคมอ่ะนะ


      -ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยและนิพนธ์ตะวันออก

                
      น้องอาจสงสัย ประวัติศาสตร์นิพนธ์ คืออะไร มันคือ การศึกษางานเขียนประวัติศาสตร์ ศึกษาในเรื่องของการเขียน ไม่ได้ศึกษาในเชิงเนื้อหา หรือ content นะ อย่าสับสน เพราะหากเราศึกษาดีๆกฌจะพบว่าเขามีวัตถุประสงค์อย่างไรถึงเขียนประวัติศาสตร์ออกมาเช่นนั้น เช่น ประวัตศาสตร์นิพนธ์ญี่ปุ่น ทำไมจีนจึงออกมาประท้วง ถ้าน้องติดตามข่าต่างประเทศคงจะเข้าใจได้เป็นอย่างดี หรืออย่างพงศาวดารไทย มันก็มีนัยวำคัญที่ซ่อนอยู่หลังการเขียนงานเหล่านี้ วิชานี้เป้นวิชาบังคับเลือก จะเลือกก็ได้นะ ถ้าไม่เลือกก็ต้องไปเลือกวิชานิพนธ์ตะวันตก ซึ่งในมุมมองพี่มันยากกว่า เพราะเป็นการเรียนแนวคิดปรัชญาพวกเพลโต อริสโตเติล พวกฮุมอะไรพวกนี้ 

       

      -ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก
                  วิชานี้เป้็นวิชาที่พี่ชอบมากๆๆจ้า เราจะได้เรียนงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของตะวันตก ตั้งแต่กรีก โรมัน ยุคกลาง จนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจารย์ก็จะนำเอกสาร (ภาษาอังกฤษ) จำนวนมาก 555 มาให้เราอ่าน ตแอนพี่เรียนก็อ่านไม่หมดหรอกนะ มันเยอะมากๆๆๆๆๆๆ แล้วเป้นภาษาอังกฤษตที่อ่านยากมาก ยังไเราก็ยังมีเพื่อนจ้า ช่วยๆกัน อาจมีงานแปลแล้วสรุปเนื้อคาวมในงานชิ้นนั้นๆว่าเขาต้องการเสนออะไร และมีอะไรที่แฝงอยู่ในการเขียนของเขา สนุกมากๆๆ
       

       

      -ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่

                
      วิชานี้เป็นวิชาที่พี่ชอบวิชาหนึ่ง เพราะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นสมัยใหม่ ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเขาถึงก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกทั้งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจได้ภายในช่วงระยะเวลาอันสั้น โดยอาจารย์นั้นมีความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นอย่างมาก มีมุมมองต่างๆที่น่าสนใจที่นำมาเสนอ เช่น ประเด็นเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ในก๊อตซิลล่า หลายคนคงนึกไม่ถึงละซิ 555 ประเด็นปัญหาปัจจุบัน เช่น ปัญหาเกาหลี-ญี่ปุ่น เกาหลีในที่นี้ คือ เกาหลีใต้นะจ๊ะ ความขัดแย้งจีน-ญี่ปุ่น ความขัดแย้งญี่ปุ่น-รัสเซีย โดยอาจารย์จะยกตัวอย่างอย่างชัดเจน แยกการศึกษาออกเป็นด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความมั่นคงละการทหาร เป็นต้น วิชานี้มีรายงาน 1 ชิ้น 50 คะแนน ซึ่งเป็นรายงานการสำรวจองค์ความรู้ ที่ตอนนี้บางคนในคลาสก็ยังไม่เข้าใจ หุหุ มันคือการดูว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเรื่องนี้เติบโตมาอย่างไร แตกแขนงไปอย่างไรบ้าง

       

       

      -ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่
                          วิชานี้จะเรียนประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ ค.ศ.1945 หรือหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา และเน้นการเรียนเรื่องของ ASEAN ว่าเป็นมาอย่างไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร มีประเด็นปัญหาอะไรบ้าง เป็นต้น มีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนแล้วให้คนจากคณะอื่นๆมาฟังด้วยจ้า ก็สนุกดี คล้ายๆเราจัดรายการทีวีที่พูดเชิงวิชาการเลย  

       

      -ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่

                            
      วิชานี้ป็นวิชาที่พี่ชอบมากที่สุดของปี 3 เพราะได้มุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับประเทศจีน จากประสบการณ์ของอาจารย์เอง เพราะอาจารย์ผู้สอนจบมาทางด้าน Asian studies โดยตรง เราจะได้เข้าใจแนวความคิดเรื่องสังคมนิยม คอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางเลยทีเดียว โดยเป็นการศึกษาเชิงบูรณาการ คือ ใช้ศึกษาจากวรรณกรรม เช่น เรื่อง หงส์ป่า น้องๆลองไปหาอ่านดู แล้วน้องจะเข้าใจจีนแดงอย่างมาก ทรัพย์ในดิน อะไรพวกนี้ และจากภาพยนตร์ จากนั้นอาจารย์จะนำประเด็นที่น่าสนใจมา discuss ในคลาส มันสนุกมาก แต่ก็เครียดมากด้วยเช่นกัน หุหุ

                 
       ส่วนเนื้อหาในส่วนชั้นปีที่ 4 จะขอพูดเพียงวิชาเดียวจ้า คือ Research Project หรือภาคนิพนธ์ วิชานี้สนุกมากๆๆๆๆๆและเครียดมากๆๆๆๆๆๆ เพราะเราจะได้ทำงานที่ใกล้เคียงกับวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาดทเลย คือมันเป้นการเตรียมตัวสำหรับการเรียนป.โทไง ใครอยากจะเรียนต่อก็ควรเรียนตัวนี้ ของพี่ชอบเรื่องประเทศจีน ก็จะมีการจัดที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเรื่องจีนมาคุมงานเราจ้า one by one เข้มข้นมากกก แนะนำให้เรียนจ้า

                         
      สุดท้ายสิ่งที่อยากฝากไว้ก็คือ การศึกษาประวัติศาสตร์มิใช่เพียงเพื่อรู้ และเข้าใจอดีตที่ผ่านมา และสักแต่ว่าจำ แต่ศึกษาเพื่อเป็นบทเรียนสู่ปัจจุบัน และเป็นแนวทางในอนาคตด้วย เข้าใจมุมมองทางสังคมในมิติใหม่ๆที่ทำให้้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ทำไมประเทศนี้ต้องทำอย่างนี้ เป้นต้น ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะเราลืมประวัติศาสตร์ มีหลายคนบอกว่าคนไทยเป็นคนลืมง่าย พี่คิดอีกมุมหนึ่งคือ ไม่ได้ลืมหรอก แต่เจอแล้วไม่หลาบจำมากกว่า บทเรียนต่างๆในอดีตพร่ำสอนเราอยู่เสมอ เพียงแต่เราปล่อให้มันเป็นเพียงฉากหลังแห่งกาลเวลาเท่านั้น ซึ่งนั่นคือ การเสียคุณค่าของประสบการณ์ชาติไปอย่างน่าเสียดาย เพราะการขาดความตระหนักรู้ในความป็นชาติของเรา อ้างเอาสิ่งต่างๆมาบังเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะ ก่อนที่จะร่ายยาวจนฟั่นเฝือ หุหุ

       

       

       

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×