การบ้าน - การบ้าน นิยาย การบ้าน : Dek-D.com - Writer

    การบ้าน

    ผู้เข้าชมรวม

    159

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    159

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 ก.ย. 54 / 07:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    .................................
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      พระราชดำรัสประทับใจ
      ปิดทองหลังพระ
       
      "...การทำงานด้วยน้ำใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้นจะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง ที่พูดเช่นนี้เหมือนกับสอนให้ปิดทองหลังพระ การปิดทองหลังพระนั้นเมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็นแต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองข้างหลังเลย พระจะเป็นพระที่งามสมบูรณ์ไม่ได้..."
      พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                                                            ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2506
       
                  ในหลวงต้องการให้เราทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ต้องหวังจะได้รับคำชม ถึงใครไม่เห็นแต่ถ้าเราทำแล้วผลของการทำดีนั้นจะส่งผลดีออกมาเอง ถึงการทำดีนั้นไม่มีใครเห็นแต่เราก็ควรทำ เพราะถ้าเรามุ่งทำดีกันแต่ภายนอก สังคมก็ดีแค่เปลือกนอก ข้างในอาจไม่ดีก็ได้ 
       
       
                                                                                       นางสาวสาวิตรี ไมตรีจิตร์ เลขที่ 27
                                                                                          รหัสนักศึกษา 54181202427
                                                                                    คบ.อังกฤษ sec.4

      โครงงาน
      เรื่อง ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
      คณะผู้จัดทำ
                                                นางสาวชุติมา                      หน่อคำ      
                                                นางสาว ชมพูนุช                 เรืองเรื่อ  
                        นางสาวนาฏชนก                 ฉิมงาม  
                        นางสาวจันวิภา                     สวนเมือง  
                        นางสาวณัฐิกา                     เมืองชัย  
                        นางสาววนิดา                       ผาลอด  
                        นางสาวสาวิตรี                           ไมตรีจิตร์  
       
      นักศึกษาชั้นปีที่ ๑
      คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 4
       
      เสนอ
      อาจารย์คชรัตน์ ภูฆัง
      โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาตามรอยเบื้องพระยุคลบาท
      ปีการศึกษา ๒๕๕๔
       
       
      สารบัญ
       
      เรื่อง                                                                                                               หน้า
      บทคัดย่อ                                                                             
      กิตติกรรมประกาศ                                                                    
      สารบัญ                                                                               
      บทที่ 1 บทนำ                                                                         1
                  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                            1
      วัตถุประสงค์ของการศึกษา                                                   1
      ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                   1
      ขอบเขตการศึกษา                                                                                          1
      บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                          2
      บทที่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน                                                       46
      เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา                                  46
      วิธีการศึกษา                                                                                                    46
      บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                                                                   47
      บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา                                                                                            48
      สรุปผลการศึกษา                                                                                             48
      ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน                                                                      48
      ข้อเสนอแนะ                                                                                                    48
      บรรณานุกรม                                                                                                               49
      ภาคผนวก                                                                                                                    50
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      คำนำ
       
      “ พอเพียง ” เป็นพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทานให้แก่ชาวไทยมาช้านาน ในสังคมปัจจุบันที่มีค่านิยมความฟุ้งเฟ้อ สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน สมควรเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะนำพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ เพื่อให้ใช้ชีวิในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ เลี้ยงครอบครัวได้
      รายงานชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงไว้อย่างครอบคลุม อีกทั้งได้นำโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด โครงการในพระราชดำหริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาเป็นตัวอย่างการใช้ชีวิตพอเพียงในชีวิตประจำวัน ในระดับครอบครัว และชุมชน ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเหลือให้ประชาชนได้มีอาชีพ มีที่อยู่อาศัย เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่เราควรศึกษา และนำไปปรับใช้ในชีวิต
      คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องนี้ คงเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจไม่มากก็น้อย หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดตกบกพร่อง คณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
       
       
      คณะผู้จัดทำ
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2540 ให้ก่อสร้างศูนย์ศิลปาชีพแห่งใหม่ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะเกิด และได้มอบแนวทางการดำเนินโครงการศิลปาชีพเกาะเกิด โดยให้ใช้เงินของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดซื้อผลงานที่เกษตรกรจัดทำขึ้น เพื่อช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีกิจกรรมศิลปาชีพควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมทำให้เกษตรกรไม่ละทิ้งถิ่นฐานไปประกอบอาชีพอื่นในยุคที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจตลอดจนมีพระราชประสงค์เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทย และเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมของทุกภาคจัดให้มีพิพิธภัณฑ์อาคารจัดแสดงและสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ โรงฝึกงานและแผนกต่างๆ หมู่บ้านศิลปาชีพ 4 ภาค สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพฯ ในพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นแหล่งรวมของศิลปาชีพสาขาต่างๆ ในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ มีโรงงานศิลปาชีพฯ มีพื้นที่ทำการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา และปศุสัตว์ เป็นต้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี 2542 ในปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่โครงการมากขึ้นเป็นงบประมาณ 2,060 ไร่
       
      1
      ข้อมูลทั่วไป
      พระราชดำริ : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
      ประเภทของโครงการ : โครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร

       

       

      หน่วยที่รับผิดชอบในโครงการ : สำนักงานเลขาธิการ และกรมวิชาการเกษตร
      หน่วยปฏิบัติ : ร.21 รอ.
      ที่ตั้ง : ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13160
      พิกัดที่ตั้งทางทหาร : PR 6871
      พิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ : Latitude 14º 12' 23.4" N
              Longitude100º 33' 25.7" E
      เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ : 035-336655
      ข้อมูลการติดต่อ : www.thaywat.moobanthai.com
      อธิบายการเดินทาง :
                 ทางรถยนต์ จากกรุงเทพ ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน-รังสิน จากนั้นวิ่ง ต่อมาที่วงแหวนบางบัวทองจนถึงวงแหวนรอบนอกที่จะไปบางปะอิน ตรงไปไม่เกิน 2 กิโลเมตร ให้ข้ามสะพานปูนขวามือ เลี้ยวเข้าซอยวิ่งตรงไปจะเห็นซอยสร้างสรรค์ 2 ก็จะถึงโฮมสเตย์เกาะเกิด
                 รถตู้ประจำทาง จากกรุงเทพนั่งรถตู้จากหมอชิต 2 สายกรุงเทพ- บางปะอิน มาลงที่ บขส.บางปะอิน แล้วนั่งรถสองแถวมาลงที่เกาะเกิด
                 รถประจำทาง นั่งมินิบัสสายบางปะอิน-กรุงเทพฯ มาลงที่ บขส. บางปะอิน แล้วนั่งรถสองแถวมาลงที่เกาะเกิด
                  รถไฟ สถานีรถไฟหัวลำโพง-สถานีรถไฟบางปะอิน ต่อรถรอบเมือง บางปะอิน-เกาะเกิด
       
       
      2
      วัตถุประสงค์ของโครงการ
      1. เพื่อให้เป็นที่ตั้งของศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากทุกศูนย์ฯ
      2. เพื่อให้มีอาคารแสดงผลิตภัณฑ์ โรงฝึกงานแผนกต่างๆ
      3. เพื่อจัดเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพที่มีกิจกรรมศิลปาชีพควบคู่กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่แสดงภาพวิถีชีวิตไทยโบราณ การเกษตรแบบดั้งเดิม ศาลาริมน้ำและที่ประทับรับรองแขกชาวต่างประเทศ
      4. เพื่อให้เกษตรกรและนักเรียนศิลปาชีพมีสถานที่เพื่อศึกษาทดสอบสาธิตการทำนาแบบก้าวหน้า และ พืชอื่น ๆ ให้เป็นต้นแบบ และทางเลือกแก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
      5. เพื่อนำเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาแล้ว ของกรมวิชาการเกษตร มาปรับใช้ในพื้นที่ของโครงการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
      6. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวกับการทำนาปลูกข้าวแผนใหม่ เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพทางการเกษตรต่อไป
       
            
            
       
       
      3
      ด้านปศุสัตว์
      วัตถุประสงค์ด้านปศุสัตว์
                  1. ส่งเสริมราษฎรและนักเรียนศิลปาชีพในพื้นที่โครงการให้ทำการเลี้ยงสัตว์เป็นแหล่งอาหารโปรตีน เพื่อบริโภคและมีรายได้เสริม
                  2. ดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                                              
                  3.อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
      วิธีการดำเนินงานด้านปศุสัตว์
                 
      1. ฝึกอบรมเกษตรกรและนักเรียนศิลปาชีพให้มีความรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์ และมีการป้องกันโรคระบาดสัตว์
                  2. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกแก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการและนักเรียนศิลปาชีพ ให้การสนับสนุนพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ระยะแรก วัคซีนเวชภัณฑ์ตามความจำเป็น ให้เกษตรกร/นักเรียนผลิตอาหารโปรตีนบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
                  3. การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ สัตว์ปีก เป็ดอี้เหลียง เป็ดเทศ ไก่ป่า ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ นกกระจอกเทศ นกยูง กระบือ
                  4. การประมง มีแผนงานการเลี้ยงปลาพืชสาธิต การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ การเลี้ยงปลาแรดในกระชังการเลี้ยงปลาในร่องสวน การปล่อยปลาเพื่อการอนุรักษ์ การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว หมู่บ้านประมงปลานิล

      4
      การเลี้ยงไก่ไข่
       
      เลี้ยงปลาในกระชัง
       
       
       
       
       
       
       
       
      5
      ภาพกิจกรรม - กิจกรรมด้านประมงในศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด
       
      6
       
      7
      ภาพจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง
      8
      ด้านเกษตร
      การจัดงานด้านการเกษตร
                 1. พืชสวนครัว โดยทำการปลูกพืชหมุนเวียนหลายชนิด ส่งจำหน่ายที่พระตำหนักจิตรลดาฯ ร้านพระดาบส    ตลาดในหมู่บ้าน  มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อยู่ด้านหน้าโครงการ    จัดตั้งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและทำการคัดเลือกเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เพื่อเข้ารับการอบรมให้ความรู้ด้านเกษตรต่างๆ เช่นพืชไร่ พืชสวน ผักสวนครัว ทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งให้ความรู้เรื่องปุ๋ย ยาเคมี ปุ๋ยชีวภาพเสริมสร้างความคิดด้านการทำกิน
                  2. ไม้ผล มีการปลูกไม้ผลหลายชนิด ได้แก่ มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม ขนุน ชมพู่ และทำสวนผลไม้ กล้วย กระท้อน ส้ม ทุเรียน ทับทิม
                  3. การทำนา โดยศูนย์บริการวิชาการด้านพืช และปัจจัยการผลิตมีแผนงานปลูกข้าว จำนวน 260 ไร่             
                  4. ตั้งโรงสีชุมชน    โดยงบประมาณของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
       
       
      แปลงนาข้าว ในโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา
      9
      สวนผลไม้โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา
      10
       
                                                                            ผักสวนครัว โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด
      โรงสีชุมชน โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จ.พระนครศรีอยุธยา
       
      11
      ประโยชน์ที่ได้รับ
      1. พื้นที่บริเวณหมู่บ้านศิลปาชีพสามารถส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม โดยมีแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อการเกษตรและทำการประมงสอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโบราณ
      2. สภาพพื้นที่ได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมอนุรักษ์ดินและน้ำเพิ่มขึ้น โดยมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่บริเวณโครงการฯ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับดำเนินงานตามโครงการต่อไป
      3. พื้นที่แหล่งเก็บกักน้ำสามารถใช้เป็นบริเวณที่รับน้ำช่วยบรรเทาอุทกภัยและสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เพิ่มมากขึ้น
      4. มีอาคารสถานที่สำหรับฝึกงานและมีสาธารณูปโภค เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานฝึกอบรมศิลปาชีพให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
      5. ได้ผลการศึกษาทดสอบ สาธิตการทำนาปลูกข้าวแผนใหม่ ทำให้เกิดทักษะในทางการเกษตรแผนใหม่ และได้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ราษฎรมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตด้านข้าวและมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
      6. พื้นที่เป้าหมายและพื้นที่ใกล้เคียงทุกหมู่บ้านสามารถนำเทคโนโลยีปรับใช้ได้
       
       
                                            
       
       
       
       
       
       
      12
      เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2548     สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ    ได้ทรงเสด็จเยี่ยมโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด   นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะทำงานฯ และพสกนิกรชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างหาที่สุดมิได้    การเสด็จครั้งนี้นับเป็นครั้งที่  2 ที่ทรงเสด็จเยี่ยมโครงการ ฯ หลัง จากเคยเสด็จครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 การเสด็จครั้งนี้เป็นการเสด็จส่วนพระองค์
                   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลื้มพระทัยที่ทรงทราบว่างานต่างๆ   เป็นไปตามพระราชเสาวนีย์ และทรงรับสั่งว่า ......
      “ ฉันจะกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าได้ประสบความสำเร็จแล้ว ”
      สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงาน
      โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา
       
       
       
      13
      ตัวอย่างครอบครัวพอเพียง
      จากชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา
       
       
      ครอบครัวฤทธิลึก
      นายจรัล   ฤทธิลึก           อายุ 62 ปี
      นางเกษร ฤทธิลึก           อายุ 50 ปี
      นางสาว รุ่งภัทร ฤทธิลึก อายุ 21 ปี
       
                      ครอบครัวลุงจรัลเข้ามาอยู่ในโครงการของศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พุทธศักราช 2547 โดยลุงจรัลหัวหน้าครอบครัวเล่าว่า ก่อนหน้าที่จะเข้ามาอยู่ในโครงการนี้ ตนและครอบครัวแทบจะไม่มีรายได้เลย ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชดำหริจั้งตั้งศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2540 โดยพลและเอกมนัส คล้ายมณีเป็นประธานโครงการหัวหน้าโครงการรับพระราชดำหริจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์จัดหาพื้นที่เพื่อทำโครงการจนได้ที่ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์จึงขยายโครงการจากเดิมพื้นที่โครงการ 700 ไร่ เป็น 2060 ไร่ และจัดจั้งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เป็นหมู่บ้านตัวอย่าง มีจำนวน 20 หลังคาเรือน และให้ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาอยู่อาศัย ลุงจรัลจึงได้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้
       
      คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในโครงการ
      1.    มีแรงทำงาน ทำไร่ ทำไสวนเป็น
      2.    ไม่มีหนี้สิน 
      3.    ไม่มีที่ดินทำกิน
      4.    ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
       
      ปรัชญาของหมู่บ้าน
       “ ให้โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง ”
       
       
       
       
       
       
      14
      การใช้ชีวิต
                      ลุงจรัลเล่าว่า ผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ามาอยู่ในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ จะได้รับที่ครอบครัวละ 2 ไร่ และมีบ้านสร้างเสร็จแล้วพร้อมเข้าอยู่อีก 1 หลัง พื้นที่ 2 ไร่ตอนเข้ามาอยู่ครั้งแรกลุงจรัลเล่าว่าเป็นที่ดินเปล่า โล่งเตียน แต่มีการขุดคันร่องน้ำให้ มีแปลงผัก มีบ่อน้ำ ครอบครัวลุงจรัลช่วยกันปลูกผัก ทั้งพืชผักสวนครัว คะน้า แตงกวา บวบ มะเขือ ฟักทอง พริก ไม้ยืนต้นและผลไม้ มะพร้าว มะม่วง ต้นยอ ทับทิม มะละกอ และพืชไร่จำพวกถั่ว และข้าวโพด
                      โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันปลูก ลุงจรัลแนะว่าการปลูกผักนั้น ไม่ใช่หว่านที่เดียวพร้อมกันทุกแปลง วันนี้อาจหว่าน 2 แปลง ปล่อยแปลงให้ว่างปล่าวไว้ซักอาทิตยแล้วค่อยหว่านแปลงที่เหลือต่อ เพื่อจะได้มีผักไว้รับประทานและขายได้ทุกวัน
                      ด้านปศุสัตว์ ครอบครัวลุงจรัลเลี้ยงกบ และมีบ่อน้ำมีปลา ซึ่งใช้ประกอบอาหาร
      ที่บ้านลุงจรัลมีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้ ประกอบอาหารโดยการใช้เตาฟืน ไม่ได้ใช้แก็ส ทำให้ชีวิตแต่ละวันแทบไม่ต้องใช้เงินเลย
                      ข้าวสารที่ใช้รับประทาน จะเป็นข้าวจากส่วนกลางแปลงนาของโครงการ ซึ่งมีโรงสีชุมชน สามารถซื้อข้าวที่นี่รับประทานได้ในราคาที่ถูก
                      คนในชุมชนที่นี่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน มีการแบ่งปันผักอาหารร่วมกัน
                     
                      อาชีพของลุงจรัลคือเป็นลุกจ้างในโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด ได้ค่าแรงวันละร้อยกว่าบาท ส่วนแม่บ้านซึ่งก็คือน้าเกษรมีหน้าที่ดูแลผักที่บ้าน คนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงนี้ต้องไม่ทำงานที่อื่น รายได้ของครอบครัวมาจากการส่งผักไปจำหน่าย โดยนำไปจำหน่ายที่หน้าโครงการ บางครั้งก็นำส่งสวนจิตรลดา บางทีก็ขายตามตลาด ในชุมชน   รายได้ทั้งหมดโครงการไม่เรียกเก็บ เราผลิตผลผลิตได้เท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ก็เป็นกำไรของเรา แต่ที่ดินที่เราใช้ทำกินอยู่นั้น ไม่สมารถนำไปขายหรือจำนองได้
       
                      ทุกวันนี้ครอบครัวลุงจรัลมีความสุขกับการใช้ชีวิตอยู่ในโคงการแห่งนี้ มีเงินสามารถส่งลูกเรียนต่อระดับสูงได้ ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พออยู่ พอกิน พึ่งตนเองได้ นับเป็นชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถโดยแท้จริง
       
       
       
       
       
       
       
      15
       
      ภาพบริเวณบ้าน และเนื้อที่ทางการเกษตร
      ครอบครัว ฤทธิลึก
       
       
      นางเกษร ฤทธิลึก(ซ้าย )   นายจรัล ฤทธิลึก(กลาง)   นางสาวรุ่งภัทร ฤทธิลึก(ขวา)
       
      แบบบ้านพระราชทาน
       
      16
       
       
       
      แปลงถั่วแระ
       
       
       
       
       
       
      17
       
       
       
       
      แปลงฝักทอง
       
       
       
      18
       
       
       
      เลี้ยงกบ
       
       
       
      19
      ต้นยอ
       
       
       
      ดงกล้วย
       
       
      20
      ต้นทับทิม
       
      สวนผลไม้ และคูน้ำ
       
       
       
      21
      รั้วกระถินหน้าบ้าน
      แปลงผัก และสวนผลไม้
       
       
       
       
       
      22
       
       
      บ้านและแปลงผักหลังอื่นๆ
       
       
       
       
       
       
      23
      กิจกรรมและความสำเร็จในชุมชน
       
           กิจกรรมในชุมชน
       
      - ปลูกข้าว                              - ปลูกพืชผักสวนครัว
      - ปลูกผล                                - ไม้เลี้ยงแพะ
      - เลี้ยงควาย                           - เลี้ยงไก่
      - เลี้ยงปลา                            - เลี้ยงกบ
      - โรงสีข้าวชุมชน
       
      ความสำเร็จในชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง : “ สามห่วงสองเงื่อนไข ”
       
      ด้านความพอประมาณ : กิจกรรมที่บอกให้เห็นถึงความพอประมาณคือ
      - การปลูกผักไว้กินเอง
      - การเลี้ยงกบไว้ในกระชัง ส่วนหนึ่งเอาไว้กินเอง ส่วนหนึ่งไว้ขาย
      - การทำนาปลูกข้าวในชุมชน
      - เลี้ยงแพะไว้กินนม ขายนม
      - เลี้ยงปลาไว้กิน และขาย
      - เลี้ยงไก่ไว้กินไข่และเนื้อ
      ด้านความมีเหตุผล : กิจกรรมที่บอกถึงความมีเหตุผลคือ
      - การเลี้ยงกบในกระชัง
      - การทำบัญชีรายรับรายจ่าย
      ด้านภูมิคุ้มกัน : กิจกรรมที่บอกในด้านภูมิคุ้มกันคือ
      - มีการประชุมกันภายในชุมชน
      - มีการตรวจยาเสพติด การพนันในชุมชน
      เงื่อนไขคุณธรรม : กิจกรรมที่บอกถึงคุณธรรมคือ
      - แบ่งปันพืชผักกันภายในชุมชน
      - มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
      เงื่อนไขความรู้ : กิจกรรมที่บอกถึงเงื่อนไขความรู้คือ
      - ภูมิปัญญาทำน้ำหมักชีวภาพปราบศัตรูพืช
      - ภูมิปัญญาทำน้ำยาล้างจานจากมะกรูด
       
       
       
      00
      ผลที่ได้จากการศึกษา
       
      ผลการศึกษา
      จากการศึกษาโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด พบว่าความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิดมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยสุ่มสำรวจจากครอบครัวลุงจรัล ฤทธิลึกที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงบริโภคอาหารที่มาจากผลผลิตของตนเอง อาทิ ผักสวนครัว ไม้ผล พืชไร่ และเนื้อสัตว์จากบ่อกบบ่อปลาของตนเอง ชีวิตประจำวันใช้จ่ายน้อยมาก มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ซึ่งก่อนเข้ามาโครงการนี้รายได้แทบไม่มีหรือเป็นคนไม่มีรายได้ เพราะไม่มีงานทำ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่ปัจจุบันมีรายได้ต่อเดือนกว่าหนึ่งหมื่นบาทจากการทำการเกษตร โดยรายได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลผลิตแต่ละเดือน แต่ก็พอใช้พึ่งตนเองได้ ไม่มีหนี้สิน
       
      สรุปผลการศึกษา
                      เศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจริง 
       
      อภิปรายผลการศึกษา
                  การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้โดนเฉพาะเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจริง โดยวัดจากสภาพครอบครัวและฐานะทางการเงินก่อนเข้าโครงการ จนถึงปัจจุบันนี้หลังจากใช้ชีวิตแบบพอเพียงก็พออยู่ พอกิน มีรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างมีความสุข
       
      ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
                  1. ได้เห็นตัวอย่างการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
                      2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับโครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด
                      3. ได้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      00
      อ้างอิง
       
      http://meetinginthailand.com/attraction/3963/overview
       
      http://www.prdnorth.in.th/The_King/justeconomic.php
       
      http://thaweeto.multiply.com/photos/album/57/57
       
      http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html
       
      http://www.rta.mi.th/21000u/king_project1/Thai/Central/AYutThaYa02-(KerdIsland)Main(Q-Tra).html
       
      http://www.biogang.net/ecotourism_view.php?menu=ecotourism&uid=19510&id=123788
       
      http://www.fisheries.go.th/iari/web2/index.php?option=com_phocagallery&view=category&id=3&Itemid=27
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
      00
       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×