ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แคนตอน 2 และต่อไปเรื่อยๆ

    ลำดับตอนที่ #5 : การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 143
      0
      17 ต.ค. 49

    การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน

     

    อันดับแรก ช่างแคนจะจัดทำลูกแคนลูกแรก ขึ้นมาเป็นแม่แบบ เรียกลูกแคนนี้ว่า ลูกยั้ง เพราะถือเป็นฐานหรือแม่แบบ แล้วสืบสาวออกไปยังเสียงอื่นๆ ต่อไป นอกจากนั้น ลูกแคนลูกแรกนี้ จะเป็นตัวกำหนดขนาดความยาวต่ำสุดของแคนดวงนั้น คือจะสั้นกว่าลูกนี้ไปไม่ได้... ลูกแรกนี้ จึงต้องเป็นลูกที่ยาวที่สุด... ลูกแคนที่น่าจะยาวที่สุด คือลูกที่รูแพวบนอยู่ไกลที่สุด และลูกแคนที่รูแพวบนอยู่ไกลที่สุด จะให้เสียงต่ำที่สุด และในแคนทุกดวง เสียงที่ต่ำที่สุด คือเสียงลูกทุ้ง หรือโป้ขวา ซึ่งหมอแคนสมัยใหม่ เมื่อเทียบกับดนตรีสากล จึงตั้งชื่อลูกนี้ว่า เสียงลาต่ำ

    ช่างแคน จะจัดทำลูกโป้ขวา เป็นอันดับแรก โดยมีบันไดเสียง หรือคีย์ ตามที่ผู้มาซื้อแคนร้องขอ เช่น หากผู้มาซื้อแคน ต้องการแคน แปดโป้ ช่างแคน ก็จะบากรูสำหรับใส่ลิ้น จากนั้น ก็วัดนับจากรูลิ้นนั้นลงไปด้านล่างให้ได้ระยะ แปดโป้ (ความกว้างนิ้วหัวแม่มือต่อกันแปดครั้ง) แล้วบากตรงจุดนั้น เรียกว่า รูแพวล่าง จากนั้น ก็บากรูแพวบน โดยวัดนับจากลิ้นแคนขึ้นไปด้านบน ระยะประมาณ 3 ทบของรูแพวล่าง เช่น รูแพวล่าง แปดโป้ รูแพวบน ก็ประมาณ 24 โป้ ...เมื่อบากรูแพวบนเสร็จแล้ว ใส่ลิ้นที่เตรียมไว้เข้าไป ลองเป่า ได้เสียงที่พอใจแล้ว ถือว่า ลูกแคนนี้ คือลูกมาสเตอร์(ลูกยั้ง)ของแคนดวงนั้น

    กรณีที่ ผู้ซื้อ ต้องการระดับเสียงที่แน่นอน ควรเอาตัวอย่างเสียง ตัวอย่างเครื่องดนตรีซึ่งมีคีย์เสียงที่เราต้องการ ไปให้ช่างแคนเทียบด้วย เพื่อให้ได้เสียงที่ถูกต้องแม่นยำ

    ซึ่งหากระบุคีย์เสียงที่แน่นอน ช่างแคน ก็จะขูดลิ้น ปรับแต่งเสียงแคนของลูกมาสเตอร์ให้ได้ตามเสียงที่เราต้องการก่อน

    เมื่อได้ลูกมาสเตอร์แล้ว ช่างแคน ก็จะสืบสาวไปหาลูกอื่นๆ ที่เสียงเดียวกันแต่อยู่คนละช่วงทบเสียง (เสียงถูกกัน) เช่น ลา ต่ำ กับ ลา กลาง กับ ลา สูง เป็นต้น สืบไปหาเสียงร่วมคอร์ด (เสียงกินกัน) เช่น เทียบ ลา กับ โด, เทียบ ลา กับ มี, เทียบ ลา กับ เร, เทียบ เร กับซอล, เทียบ ซอล กับ โด, เทียบ โด กับฟา, เทียบ ฟา กับ ที, เทียบ ที กับ มี, ซึ่งการเทียบเสียง หาเสียงที่กินกัน และถูกกันนี้ เป็นความสามารถพิเศษของหูช่างแคน...

    หลังจาก เสร็จทุกลูกแล้ว ช่างแคน ก็จะประกอบลูกแคนทั้งหมด เข้าในเต้าแคนที่เตรียมไว้ โดยเรียงลำดับลูกแคน ดังนี้ (กรณีแคนแปด)

     

     

     

     

     

    ลำดับลูกแคน เรียกชื่อตามช่างแคนไทย

     

    คู่ที่1

    คู่ที่2

    คู่ที่3

    คู่ที่4

    คู่ที่5

    คู่ที่6

    คู่ที่7

    คู่ที่8

    ซ้ายมือ

    โป้ซ้าย

    เวียงใหญ่ หรือ แม่เวียง

    แม่แก่

    แม่ก้อยขวา

    แม่ก้อยซ้าย

    สะแนน

    ก้อยซ้าย

    เสพซ้าย

    ขวามือ

    ลูกทุ้ง หรือ โป้ขวา

    แม่เซ

    สะแนน

    ฮับทุ่ง

    เวียงน้อย หรือ ลูกเวียง

    แก่น้อย

    ก้อยขวา

    เสพขวา

     

    ลำดับลูกแคน เรียกชื่อตามช่างแคนลาว

     

    คู่ที่1

    คู่ที่2

    คู่ที่3

    คู่ที่4

    คู่ที่5

    คู่ที่6

    คู่ที่7

    คู่ที่8

    ซ้ายมือ

    โป้ซ้าย

    ซี้ซ้าย

    แม่เวียง

    ซะซ้าย

    จุ้มเมืองหลวง

    สุดสะแนน

    ก้อยซ้าย

    สร้อยสุดสะแนน

    ขวามือ

    ลูกทุ้ง

    ติดสูดใหญ่

    สุดสะแนน

    ฮับทุ้ง

    ลูกสอง

    ติดสูดน้อย

    สร้อยล่อง

    สร้อย

     

    แคนแต่ละลูกข้างต้น เมื่อนำมาเทียบเป็นโน้ตดนตรีสากล จะได้ดังนี้

     

    คู่ที่1

    คู่ที่2

    คู่ที่3

    คู่ที่4

    คู่ที่5

    คู่ที่6

    คู่ที่7

    คู่ที่8

    ซ้ายมือ

    ทฺ

    รฺ

    มฺ

    ซํ

    ขวามือ

    ลฺ

    ดฺ

    ลํ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    โดยขณะที่ใส่ลูกแคนเข้าไปในโพรงเต้าแคนแต่ละลูก ก็จะใช้ขี้สูดติดลุกแคนกับเต้าแคน และเมื่อเรียงครบทุกลูกแล้ว ก็จะติดขี้สูดปิดผนึกให้ทั่วอุดรูรั่วให้มิด... เมื่อเสร็จแล้ว ช่างแคนจะลองเป่าดูอีกทีสำรวจตรวจสอบว่ายังมีเสียงไหนที่ยังเพี้ยนอยู่หรือไม่... หลังจากปรับแต่งเสียงจนกลมกล่อมถูกต้องดีแล้ว ช่างแคน ก็จะนำเครือหญ้านาง หรือเส้นตอกหวายที่เตรียมไว้แล้ว มาจัดการมัดรอบลูกแคน ทั้งสามจุด คือด้านล่างของแคน, ตรงช่วงปลายลูกแคนที่สั้นที่สุด และตรงช่วงปลายลูกแคนที่ยาวที่สุด โดยจุดที่มัดนี้ จะใส่ไม้หมอน หรือไม้กั้นระหว่างลูกแคนแพซ้ายกับแพขวา... เป็นอันทำแคนเสร็จหนึ่งดวง

    แคนที่ทำเสร็จแล้วใหม่ๆ หลาบโลหะลิ้นแคน ยังไม่อยู่ตัว คือเมื่อเป่าไปๆ มาๆ ลิ้นแคนอาจเด้งออกมา หรือหลบเข้าไป เป็นผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า ลิ้นนอง ได้ ดังนั้น แคนที่ทำเสร็จใหม่ๆ ยังไม่ถือว่าเป็นแคนที่คุณภาพดี เพราะลิ้นยังไม่อยู่ตัว... ช่างแคน จะคอยหมุนเวียนเป่าแคนที่ทำเสร็จแล้วอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ลิ้นแคนเซ็ตตัวเองจนเข้าที่ เมื่อพบว่าลูกใดลิ้นนอง ก็จะทำการปรับแก้ไข ดังนั้น หากผู้ซื้อไม่รีบเอาไปจนเกินไป ช่างแคน เมื่อทำแคนเสร็จแล้ว อาจจะยังไม่ใช้เชือกมัดแคน เพราะมัดแล้วก็ต้องแก้เชือกออก ถอดลูกแคนออกมาแต่งลิ้นอยู่ดี.... แคนที่เป่าจนลิ้นอยู่ตัวแล้วช่างแคนปรับแก้ให้หายลิ้นนองนี่แล ถือว่าเป็นแคนคุณภาพดีสมบูรณ์

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×