สมเด็จพระเอกาทศรถ - สมเด็จพระเอกาทศรถ นิยาย สมเด็จพระเอกาทศรถ : Dek-D.com - Writer

    สมเด็จพระเอกาทศรถ

    มา แว้ววววววว เกร็ดประวัติศาสตร์ เรื่องของคนที่เคียงข้างพระนเรศวรชิงเอกราชคืนมา

    ผู้เข้าชมรวม

    2,149

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    2.14K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  31 มี.ค. 49 / 18:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                        สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ชาวพิษณุโลกรู้จัก และกล่าวถึงด้วยความจงรักภักดียิ่ง พระองค์ทรงเคียงคู่กับพระนเรศวรมหาราช ในพระราชพงศาวดาร มักจะกล่าวถึงสองพระองค์ว่า “พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวสองพระองค์”อยู่เสมอ เมื่อมีการตั้งค่ายทหารทางฝั่งตะวันตกเป็นค่ายใหญ่ ที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๓ เรียกค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ ๓ เรียกค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อันแสดงถึงความมีใจผูกพันจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เป็นอย่างยิ่ง


                        สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระโอรสองค์น้อยของสมเด็จพระมหาธรรมธิราช และพระวิสุทธิกษัตรี ประสูตรเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๔ ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระชันษาอ่อนกว่าสมเด็จพระนเรศวร ๖ ปี ในปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาตีอยุธยาโดยยกมาทางสุโขทัยและเข้าตีเมืองพิษณุโลกได้นั้น ได้นำเอาพระมหาธรรมราชาธิราช พระยาสวรรคโลก พระยาพิชัยเข้าร่วมกองทัพพม่ายกไปตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุดทาง       กรุงศรีอยุธยาต้องยอมแพ้ในสงครามช้างเผือก แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าเล่าว่าเมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชายอมแพ้พระเจ้าบุเรงนองนั้น ได้นำเอาสมเด็จพระนเรศวร และพระสุพรรณกัลยาลงไปกรุงศีอยุธยาพร้อมกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชด้วยแล้วจึงให้พระเอกาทศรถพระโอรสองค์น้อยอยู่รักษาเมืองพิษณุโลกและต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยาแล้ว ได้ตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๑๓๔ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสวรรคต บรรดาข้าราชการทั้งปวง จะยกสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัติ แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอม อ้างว่าพระเชษฐายังมีชีวิตอยู่ที่เมืองหงสาวดี      พระเอกาทศรถยังคงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชอยู่อย่างเดิม แต่บังคับบัญชาสิทธิขาดราชการแผ่นดินทั่วไป ส่วนในหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดไม่ได้กล่าวถึงตอนพระองค์รักษาเมืองพิษณุโลก กล่าวถึงเฉพาะการขึ้นรักษาการพระนคร                 หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในตำแหน่งพระมหาอุปราช ด้วยเหตุผลเดียวกันว่าที่ไม่กระทำพิธีราชาภิเศกนั้นด้วยพระองค์รักใคร่พระเชษฐายิ่งนักจึงว่าราชการงานกลุ่มทั้งปวงแทนและรักษาราชธานีเขตขัณฑ์ไว้ท่าพระเชษฐาธิราช ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มมีข้อความต่างจากพงศาวดารไทยทั้งปวง และยังเล่าความที่พิศดารต่างไปจากพงศาวดารไทยอีกคือ เรื่องสมเด็จพระนเรศวรหนีจากกรุงหงสาวดีแล้วถูกพม่าตามตีต้องถอยลงมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ความรู้ถึงกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระเอกาทศรถจึงยกกองทัพมาช่วยพระเชษฐาถึงสุพรรณบุรี “ ทั้งสองพระองค์ได้โสมนัส ทรงพระยินดียิ่งนักพระเอกาทศรถจึงกราบลงกับพระบาทพระยา พระเชษฐานั้นก็สวมกอดเอาทันใจ ทั้งสององค์ปรีเปรมเกษมศรี ” สมเด็จพระเอกาทศรถทรงอาสาเข้าทำการรบกับพม่า แต่สมเด็จพระเชษฐาทรงตรัสบอกว่าแม่ทัพฝ่ายพม่านั้นมีความสามารถสูงพระองค์จะเข้าต่อกรกับพม่าเอง แล้วให้สมเด็จพระเอกาทศรถนั้นเป็นกองหนุน ครั้งนั้นนับเป็นศึกครั้งแรกที่สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำการสู้รบและทรงมีชัยไล่ทัพพม่ากลับไปได้


                      จากสงครามครั้งนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถก็เสด็จเข้าร่วมทำสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระเชษฐาตลอด ในปี ๒๑๑๔ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก และเสด็จลงมาเยี่ยมพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา คราวนั้นพระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรที่เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย แล้วต่อมาเอาใจออกห่าง ลอบลงเรือสำเภาจะหนีออกทะเลกลับไปยังกัมพูชา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถจึงทรงเร่งลงเรือเร็วไปตามทันพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำเจ้าพระยา พระยาจีนจันตุหันหัวเรือเข้ามาสู้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จออกไปยืนที่หัวเรือทรงพระแสงปืนต่อสู้กับข้าศึกโดยมิยอมหลบ จึงถูกพระยาจีนจันตุ ยิงปืนมาถูกรางพระแสงปืนที่ทรงอยู่แตกกระจายไป สมเด็จพระเอกาทศรถทรงห่วงใยในพระเชษฐายิ่งนัก และด้วยความกล้าหาญได้เร่งเรือทรงของพระองค์ เข้าบังคับเรือของสมเด็จพระนเรศวรไว้ เป็นการเอาพระชนม์ชีพเข้าปกป้องพระเชษฐาครั้งสำคัญ


                       หลังจากการสู้รบกับพระยาจีนจันตุแล้ว สงครามใหญ่ๆ ที่พม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ ทั้งสองพระองค์เข้าร่วมทำสงครามคู่กันมา และในคราวสงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับมังจาปะโร เจ้าเมืองแปร และทรงสามารถฟันแม่ทัพพม่าสิ้นชีวิตบนคอช้างได้ เช่นเดียวกับพระเชษฐา


                       สมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากจะมีความสามารถความกล้าหาญแล้ว ทรงมีน้ำพระทัยเยือกเย็นสุขุมคัมภีรภาพ จะเห็นได้จากเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งพระรามเดโชชาวเชียงใหม่ ที่รับราชการมีความดีความชอบขึ้นไปครองเมืองเชียงแสน ต่อมาเจ้าเมืองพะเยา เมืองแพร่ เมืองลอ เมืองน่าน เมืองฝาง ซึ่งเคยขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่ ได้หันมาเข้ากับพระรามเดโชไม่ยอมขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่ซ้ำจะรวมกันโจมตีเมืองเงชียงใหม่ จนทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ไม่กล้ายกกองทัพไปสมทบกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปตีเมืองตองอู เมือยกทัพกลับจากตีเมืองตองอูสมเด็จพระนเรศวรยกทัพลงไปที่เมืองสุพรรณบุรี แล้วตรัสให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกกองทัพขึ้นไปว่าเจ้าเมืองทั้งหลายให้ยินยอมอยู่ใต้อำนาจของเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่เมื่อเสด็จขึ้นไปถึงเมืองเถินก็ได้มีพระราชโองการก็ได้มีเจ้าเมืองเหนือมาเฝ้า แต่เจ้าเมืองเชียงใหม่ยงไม่เชื่อมั่นในพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระเอกาทศรถจึงมิได้ลงมาเฝ้าซ้ำยังให้กองทัพซุ่มโจมตีกองทัพพระรามเดโชที่จะยกมาเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถความทราบถึงพระองค์ก็มิได้ทรงพิโรธ เหล่าแม่ทัพนายกองกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับไม่ให้ช่วยเหลือเจ้าเมืองเชียงใหม่ต่อไป แต่พระองค์เกรงจะเสียพระเกียรติยศพระเชษฐา ทรงอดกลั้นดำเนินการให้เจ้าเมืองเหนือทั้งหลายยอมอ่อนน้อมต่อเมืองเชียงใหม่


                         เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตั้งทัพหลวงอยู่ที่เมืองราชบุรี สมเด็จพระเอกาทศรถได้แยกทางเสด็จประพาสทางชลมารคถึงเมืองพิษณุโลกในท้องที่ต่างหลายตำบล ในครั้งนั้นเสือตัวใหญ่เข้ามาทำร้ายคนพิษณุโลกพระองค์ได้เสด็จประทับช้างพระที่นั่งบัญชาการปราบเสือได้สำเร็จและได้ทรงโปรดเกล้าทองนพคุณเครื่องราชูปโภคของพระองค์ทำเป็นทองประทาศี จากนั้นได้เสด็จไปปิดทองทาศีพระพุทธชินราชจนเสร็จสมบูรณ์นับว่าพระองค์ทรงมีพระทัยผูกพันกับเมืองพิษณุโลกอันเป็นดินแดนมาตุภูมิของพระองค์เป็นอย่างมาก


                           ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จยกกองทัพไปตีตองอูของพม่าไปเสด็จรวมพลที่เชียงใหม่ก่อนจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพไปเมืองหาง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไปทางเมืองฝาง แต่พอถึงเมืองหางสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวรหนักและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อทรงทราบข่างก็ทรงเสด็จไปเฝ้าที่เมืองหางทันทีทรงโศการ่ำรักพระบรมเชษฐาเป็นที่โศกสลดแก้แม่ทัพนายกองที่ได้เห็นยิ่งนัก


                           ครั้นเมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัตินั้นทรงมีพระชนม์ได้ ๔๔ พรรษาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๕๖ ครองราชสมบัติอยู่ ๘ ปี พระราชโอรสของพระองค์คือเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา


      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×