ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    【How To】 รวมทุกอย่างเกี่ยวกับการวาดการ์ตูน

    ลำดับตอนที่ #2 : [Manga] “9 สเต็ป” ควรจำสู่ระดับ Beginner ตอนที่ 1: สนามรบบนหน้ากระดาษ!!

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 213
      0
      28 ก.ค. 57

     Credit : CG Step
    ปล. สำหรับผู้ใช้งาน Manga Studio โดยเฉพาะจ้า

    คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่


    Tool หลักกับ Interface ที่เป็นมิตร



    ก่อนอื่นเรามาตรวจดูกันสักหน่อยดีกว่าว่าหน้าตาและเหล่าเครื่องมือใช้สอย พื้นฐานของ Manga Studio นั้นมีอะไรบ้าง เมื่อได้เห็น หลายคนคงรู้สึกเหมือนกันว่ามันค่อนข้างเป็นมิตรกับผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับ Photo Shop เป็นอย่างดี เพราะมีสิ่งที่คล้ายกันอยู่หลายจุด ทั้งการวางตำแหน่งเครื่องมือหลัก นาวิเกเตอร์ และเลเยอร์พาเนล แต่แน่นอนว่ามันมีอะไรที่พิเศษไปกว่านั้นเยอะเลยทีเดียว เอาเป็นว่ามาลองสำรวจเครื่องมือเครื่องใช้กันคร่าวๆ ก่อนครับ

    1. Main Function
     
     
    ส่วน ควบคุมหลักทั่วไปในโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไฟล์โปรเจ็กต์งาน เซฟ พริ้นต์ รวมถึงคำสั่งปลีกย่อยต่างๆ ที่ควบคุมการเปิดปิดหน้าต่างเครื่องมือ เมนูเรียกใช้สกรีนโทนและฟิลเตอร์ต่างๆ ด้วย โดยแบ่งออกเป็น

    1. File - เมนู คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง-เซฟไฟล์งาน นำเข้า-ส่งออกไฟล์สกุลต่างๆ เช่น .PSD, .JPEG, .BMP และยังมีคำสั่ง Preference เพื่อใช้ปรับแต่งการทำงานโปรแกรมรวมอยู่ด้วย

    2. Edit - รวมคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปรับแต่งภาพทั่วไป เช่น Cut, Copy, Paste และ move and Transform

    3. Story - การกำหนดโปรเจ็คต์เพื่อการเขียนการ์ตูนเป็นเรื่องๆ โดยสามารถกำหนดโครงงานแบบละเอียดตั้งแต่ชื่อเรื่อง จำนวนหน้า และขนาดของหน้ากระดาษ

    4. View - คำสั่งเมนูปรับหมุนมุมมองและกำหนดการแสดงผลต่างๆ เช่นเลขหน้ากระดาษ ไม้บรรทัดวัดระยะ และพื้นที่การแสดงผลของเลเยอร์แบบต่างๆ

    5. Selection - เมนูคำสั่งที่เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือ Selection เพื่อกำหนดพื้นที่ที่ต้องการเลือกปรับแต่ง

    6. Layer - เมนูคำสั่งใช้งานการสร้าง ก็อปปี้ รวม หรือลบเลเยอร์ที่เลือกไว้

    7. Ruler - การเรียกใช้งานไม้บรรทัดในรูปแบบพิเศษต่างๆ ที่ช่วยในการตีเส้นทุกรูปแบบ ทั้งแนวตรง เฉียง เอียง โค้ง หรือวงกลม

    8. Filter - ฟิลเตอร์ หรือเครื่องมือที่ใช้สร้างเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ อย่างเส้นสปีดไลน์ สายฟ้าฟาด โฟกัสไลน์ อีกทั้งยังรวมเครื่องมือปรับแต่งขนาดเส้น สกรีนโทน(Computone) และคำสั่งตกแต่งรูปพภาพอีกหลายชุด

    9. Window - ส่วนเปิด-ปิดการแสดงผลหน้าต่างเครื่องมือทั้งหลายบนหน้าจอโปรแกรม

    10. Help - รวม ลิ้งก์ไปยังเว็บไซต์ Smith Micro เพื่อตรวจสอบเวอร์ชันอัพเดต รวมถึงการลงทะเบียนโปรแกรมและยังมีคำสั่ง Dynamic Help เครื่องมือช่วยเหลือแนะนำคำสั่งการใช้งานเมนูออฟชันต่างๆ ที่สามารถเปิด-ปิดการทำงานได้

    11. New Page & Save Files (ไล่จากซ้ายมาขวา)

    11.1 New Page - สร้างหน้ากระดาษใหม่

    11.2 New Story - สร้างโครงงานการ์ตูนโดยกำหนดชื่อเรื่อง และจำนวนหน้ากระดาษ

    11.3 Open - เปิดไฟล์งาน

    11.4 Save File - บันทึกไฟล์งาน

    11.5 Save All - บันทึกงานทั้งหมดลงในไฟล์งาน

    12. Edit Tool

    12.1 Cut - ตัด

    12.2 Copy - ก็อปปี้

    12.3 Paste - วาง

    12.4 Clear - ลบ

    13. Undo & Redo

    13.1 Undo - ยกเลิกการกระทำล่าสุด

    13.2 Redo - ยกเลิกการ Undo

    14. Print

    15. Control Panel

    15.1 Tools - เปิด-ปิดหน้าต่าง Tools palette

    15.2 Tool Options - เปิด-ปิดหน้าต่าง Tool Options palette

    15.3 Layers - เปิด-ปิดหน้าต่าง Layers palette

    15.4 Navigator - เปิด-ปิดหน้าต่าง Navigator palette

    15.5 Materials - เปิด-ปิดหน้าต่าง Materials palette

    15.6 Properties - เปิด-ปิดหน้าต่าง Properties palette

    15.7 History - เปิด-ปิดหน้าต่าง History palette

    15.8 Color - เปิด-ปิดหน้าต่าง Color palette

    15.9 Custom Tools - เปิด-ปิดหน้าต่าง Custom Tools palette

    15.10 Actions - เปิด-ปิดหน้าต่าง Actions palette



     
    2. Tool 
     
    หน้าต่าง สำคัญที่รวบรวมเครื่องมือการทำงานวาดเกือบทั้งหมดเอาไว้ เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ และเครื่องมือพิเศษต่างๆ สำหรับเพิ่มขนาดเส้น ทำเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอ หรือสปีดไลน์เป็นต้น

    1. กลุ่มเครื่องมือจำพวก Selection ออปเจ็กต์ทั้งที่ใช้กับภาพแบบ Rasterและโมเดล 3D

    2. บรัชแบบต่างๆ ยางลบ ถังสี ตัวอักษร เครื่องมือสร้างเส้นและรูปทรงเรขาคณิต

    3. เครื่องมือพิเศษสำหรับใช้งานทั้งภาพแบบ Raster และ Vector เช่น เพิ่มขนาดเส้น ลบรอยฝุ่น รวมถึงคำสั่งที่คุ้นตากันดีอย่าง Dodge, Burn และ Blur

    4. เครื่องมือเลื่อนหน้ากระดาษและแว่นขยายสำหรับซูมภาพ

    5. โทนสีสำหรับบรัช ค่าดีฟอลต์คือ ดำ ขาว และ Transparent (โปร่งใส) นอกจากนั้นด้านล่างยังเป็นส่วนแสดงสกรีนโทนที่เลือกใช้ล่าสุดให้ดูในแบบPreview ด้วย



     
    3. Page 
     
    หน้า กระดาษวาดรูปหรือหน้าต่างทำงานของเรานั่นเอง สามารถเลือกทำงานแบบหน้าเดี่ยวหรือแสดงผลแบบหน้าคู่ได้ในคราวเดียว ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าหน้ากระดาษในตอนเริ่มต้นโปรเจ็กต์ เมื่อเริ่มสร้างหน้ากระดาษใหม่จะมีเครื่องมือเสริมแสดงขึ้นมาที่ด้านล่างของ Main Function แบ่งออกเป็น

    1. ส่วนแสดงสถานะว่ากำลังทำงานอยู่บน Page หรือ Story

    2. ย่อ-ขยาย รวมถึงปรับมุมมองแสดงผลหน้ากระดาษ

    3. หมุนมุมมอง 180 องศา และปรับพลิกหน้ากระดาษไปมา

    4. แสดงเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ เช่น ไม้บรรทัดหรือพื้นหลังแบบโปร่งใส

    5. ส่วนปรับการแสดงผลหน้า Page บนหน้าต่างวินโดวส์

    6. เครื่องมือปรับค่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไม้บรรทัด ไกด์ไลน์ และเส้นกริด

    7. เมนูย่อยรวมคำสั่งทั่วๆ ไป


     
    4. Navigator
     
    หน้าต่าง ฉบับกระเป๋าที่สามารถลาก ซูม ย่อ ขยาย เพื่อตรวจสอบพื้นที่ทำงานได้อย่างหมดจดทุกตารางนิ้ว ทั้งยังมีเครื่องมือหมุนหน้ากระดาษได้ถึง 180 องศา ซึ่งมีประโยชน์มากเวลาที่ต้องวาดภาพในมุมอับ หรือเมื่อต้องการตรวจสอบความถูกต้องของภาพในมุมมองอื่นๆ

    1. เครื่องมือซูมเข้า-ออก สามารถเลื่อนแถบบาร์หรือกำหนดค่าแบบแมนวลเอาก็ได้

    2. เครื่องมือหมุนหน้ากระดาษทั้งแบบกำหนดหมุนทีละ 90 องศา และสามารถเลื่อนแถบบาร์หรือกำหนดค่าแบบแมนวลเอาเองได้อีกเช่นกัน



     
    5. Layer
     
    หน้าต่าง ทำงานบนระดับเลเยอร์ซึ่งหน้าตาและการใช้งานพื้นฐานทั่วๆ ไปนั้นแทบไม่ต่างไปจากโปรแกรมโฟโต้ชอปเลยก็ว่าได้ เพียงแต่สามารถกำหนดคุณลักษณะพิเศษของเลเยอร์ในแบบต่างๆ ได้ และยังช่วยแบ่งชนิดของเลเยอร์ทั้งหมดไว้เป็นสัดส่วนเพื่อความสะดวกในการจัด เก็บและจดจำ

    1. เครื่องมือปรับโทนสีเลเยอร์ ค่าดีฟอลต์ตั้งไว้เป็นสีฟ้า ใช้สำหรับทำเลเยอร์ที่เก็บลายเส้นสเก็ตซ์ภาพก่อนตัดเส้นจริงด้วยปากกาหมึกดำ บนเลเยอร์อื่น (สามารถเลือกโทนสีอื่นได้โดยเข้าไปปรับที่ Properties ของเลเยอร์นั้นๆ) และในส่วนนี้ยังสามารถปรับค่า Opacity ของเลเยอร์ที่เลือกไว้ได้อีกด้วย

    2. สร้างเลเยอร์และโฟลเดอร์ใหม่ หรือลบเลเยอร์-โฟลเดอร์ที่เลือก

    3. ล็อคเลเยอร์หรือโฟลเดอร์ที่เลือก

    4. แสดงเลเยอร์พื้นฐานทั้งหมดที่มี

    5. ส่วนที่ใช้จัดเก็บเลเยอร์คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น Ruler Layer ที่ใช้สำหรับสร้างเส้นไม้บรรทัดแบบพิเศษสำหรับการเขียนเส้นในแบบต่างๆ หรือ Selection Layer ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล Selection ที่ต้องการเก็บไว้เพื่อเรียกใช้ในภายหลังเป็นต้น


     


    การทำงานกับโปรแกรม Manga Studio ตามแบบฉบับพื้นฐานของผมจะแบ่งออกเป็น 9 สเต็ปด้วยกัน เพื่อนๆ หลายคนอ่านดูแล้วคงชักรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ว่าทำไมกับอีแค่ระดับพื้นฐานมันยังปาเข้าไปตั้ง 9 ขั้นเลยละเนี่ย ไม่เยอะเกินไปเหรอไง (ฟะ)...

    อันนี้ก็คงต้องลองติดตามดูครับว่าจะหืดขึ้นคอกันจริงมั้ย? แต่ที่แน่ๆ รับรองได้ว่าหลังจากอ่านครบจบทั้ง 9 สเต็ป แม้จะไม่เคยแตะโปรแกรมนี้มาก่อนก็สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานการ์ตูนของตัว เองกันได้ชัวร์ 100 เปอร์เซนต์ (ถ้าไม่ได้ละก็ งานนี้อย่ามาดักตีหัวผมนะคร๊าบ...)

    แรกเริ่มในการทำงานทุกครั้ง ก่อนอื่นเราก็ต้องเริ่มต้นสร้างหน้ากระดาษสำหรับวาดรูปกันก่อน (ไม่สร้างแล้วจะไปวาดกันตรงไหนล่ะ - -) ตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่มีอะไรเด่นเป็นพิเศษ แต่สำหรับ Manga Studio นั้นต่างออกไปเล็กน้อยเพราะเราจะมีตัวเลือกสำหรับสร้างอยู่ 2 วิธี

    อย่างแรกคือสร้างหน้ากระดาษเปล่าทั่วไป โดยไปที่เมนู File-> New-> Page (หรือจะกด Ctrl+N ก็ได้) ส่วนอีกแบบคือการเลือกสร้างแบบโครงงานที่สามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้มากมายตั้งแต่ชื่อโปรเจ็ค จำนวนหน้ากระดาษ รูปแบบการเปิดจากขวาไปซ้าย (แบบสไตล์ญี่ปุ่น) หรือซ้ายไปขวา (แบบสากลนิยม) และอื่นๆ อีกสารพัก โดยเลือกสร้างได้จาก File-> New-> Story แต่สำหรับการสร้างงานด้วยคำสั่ง Story นี้ผมขอยกไปอธิบายในคราวหลังครับ เพราะมันค่อนข้างจะแอดวานซ์ไปสักหน่อยสำหรับการทำงานเบื้องต้น


    ดังนั้นในสเต็ปแรกนี้เรามาลองสร้างหน้ากระดาษเปล่าแบบพื้นฐานกันดูก่อนครับ โดยไปที่เมนู File-> New-> Page จะมีหน้าต่าง New Page เปิดออกมาให้เราปรับแต่งค่าต่างๆ ดังในภาพตัวอย่าง





    จะเห็นว่าที่หน้าต่างนี้มีแท็ปย่อยอยู่ 2 แท็ป คือ Custom Page กับ Page Templates 

    - Custom Page คือส่วนที่เราสามารถปรับแต่งค่าหน้ากระดาษได้ตามต้องการโดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วนย่อยๆ ดังนี้

    1. Basic Info เราจะสามารถตั้งค่า Resolution ซึ่งก็คือความคมชัดหรือค่าdpi ได้ ค่ามาตรฐานของมันก็คือ 600 dpi จะปรับให้มากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ เพียงแต่ต้องจำไว้ว่าค่านี้มีผลอย่างมากกับคุณภาพของลายเส้นและขนาดของรูป ยิ่งปรับมากก็จะยิ่งคมชัดและขนาดไฟล์ภาพจะใหญ่ขึ้น

    ผลที่ตามมาคือความละเอียดของภาพสูงแต่อาจทำให้เครื่องหน่วงได้ถ้า CPUผอมแห้งแรงน้อย ส่วน Basic Color Model คือโหมดสีที่ต้องการใช้ในงานวาด ถ้าต้องการวาดการ์ตูนขาวดำธรรมดาก็เลือกเป็น Monochrome ไปเลยจะเหมาะกว่า (สำหรับบทความนี้จะอิงการทำงานในโหมด Monochrome นะขอรับ) ส่วนใครอยากทำการ์ตูน 4 สีละก็ให้เลือกเป็น Color แทน แต่สำหรับผม ถ้าจะทำการ์ตูน 4 สีละก็ ไว้ค่อยยกไปทำในโปรแกรมอื่นจะสะดวกกว่าเยอะ แล้วแต่ความถนัดละครับ


    2. Page Size ตรงนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก แค่ใช้ปรับความกว้าง ยาว และหน่วยวัดตามมาตราต่างๆ เช่น นิ้ว เซนต์ หรือแบบพิกเซล และถ้าไม่อยากยุ่งยากภายหลังก็สามารถกำหนดขนาดกระดาษไซส์มาตรฐานอย่าง A4, A3 หรือแบบโปสการ์ดได้ตามต้องการ

    3. Inside Dimensions ปกติแล้วค่ามาตรฐานโปรแกรมจะติ๊กถูกเปิดการแสดงผลของมันไว้เป็นแถบเส้นสี น้ำเงินโปร่งใสเพื่อให้เราสามารถกะระยะตัดตกของภาพและขอบกระดาษได้อย่างแม่น ยำ

    4. Basic Frame เป็นส่วนที่เราจะใช้กำหนดขอบเขตของพื้นที่วาดส่วนด้านในของกระดาษว่าต้องการ เนื้อที่วาดภาพขนาดเท่าใด โดยจะแสดงเส้นขอบไกด์ไลน์ด้วยสีน้ำเงินโปร่งใสเช่นเดียวกัน แนะนำว่าในเบื้องต้นนี้ให้เรายึดเอาค่าดีฟอลต์ของโปรแกรมไว้ก่อนจะสะดวกมาก ที่สุด

    5. Bleed Width เป็นการกำหนดค่าระยะความกว้างของเส้นขอบกระดาษ อันนี้ก็ยังไม่ควรไปยุ่งอะไรกับมันตอนนี้ครับ

    6. Page Settings ส่วนสำคัญที่ใช้เลือกสร้างหน้ากระดาษ สามารถเลือกได้ว่าต้องการสร้างแค่หน้าเดียว (Single) หรือเลือกสร้างแบบหน้าคู่ (Double)ซึ่งมีประโยชน์มากทีเดียวสำหรับเวลาที่ต้องวาดฉากใหญ่อลังการหรือภาพที่ต่อ เนื่องกันการเลือกวาดแบบหน้าคู่จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก (แต่ก็ต้องระวังสับสนเรื่องลำดับของหน้าไว้ด้วยเหมือนกันนะ)

    เมื่อปรับแต่งจนพอใจแล้ว กดปุ่ม OK ก็จะได้หน้ากระดาษจริงสำหรับใช้งานมาอยู่ในกำมือแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่อยากปวดหัวกับการเซ็ตค่าจิปาถะทั้งหลายแหล่หรือยังไม่สัน ทัดเรื่องไซส์กระดาษนักละก็ ให้ลองคลิ้กเลือกแท็ป Page Templates แทน

     
    แท็ป Page Templates


     
    Page Templates การเลือกรูปแบบไซส์กระดาษพื้นฐานจากเท็มเพลตที่มีมาให้มากมายนี้น่าจะช่วยลด ความวุ่นวายลงไปได้มากสำหรับนักวาดมือใหม่ บนแท็ปนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

    ส่วนแรกด้านซ้ายมือจะเป็นไดเร็กทอรี่เก็บเท็มเพลตรูปแบบต่างๆ ส่วนกลางจะเป็นรายละเอียดของไซส์กระดาษแต่ละรูปแบบ หากต้องการเท็มเพลตแบบใดให้คลิ้กเลือกที่ไฟล์นั้นๆ (สามารถปรับแต่งค่ามันได้ด้วยการคลิ้กขวาที่ตัวไฟล์เลือกPaper Settings) และดูการแสดงผลกับรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ได้จากหน้า Preview ที่ส่วนขวามือ

    นอกจากนี้ยังมี Page Settings ให้ปรับเป็นหน้าเดี่ยวหรือคู่เหมือนอย่างในCustom Page ด้วย เมื่อเลือกเท็มเพลตที่ถูกใจได้แล้วค่อยกดปุ่ม OK ที่ด้านล่างขวาของหน้าต่าง เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ


    เป็นยังไงกันบ้างครับกับ “สเต็ปแรก” หรือก้าวแรกกับการเซ็ตค่าหน้ากระดาษวาดการ์ตูน เมื่อเราได้พื้นที่ทำงานกันเรียบร้อยแล้วในบทความครั้งต่อไปเราจะมาลองลง เส้นสเก็ตซ์ภาพกันดูบ้างละ น่าสนุกแล้วใช่มั้ยเอ่ย อิอิ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×