ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ '

    ลำดับตอนที่ #6 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 54


                     สมัยโบราณ ( 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 535 ) สมัยของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และอารยธรรมชนเผ่าอารยันในภูมิภาคเอเชียใต้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่

    1. เมืองโบราณโมเฮนโจดาโรและฮารัปปา
    เป็นแหล่งหลักฐานทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำ สินธุ หลักฐานทางด้านโบราณสถาน ได้แก่ เมืองโบราณ อาคารบ้านเมือง ถนนหนทาง สระอาบน้ำสาธารณะ เป็นต้น ส่วนหลักฐานด้านโบราณวัตถุ เช่น ประติมากรรม หล่อด้วยโลหะ ดินเผา หินทราย เพศชายและเพศหญิง บางรูปก็มีตราประทับและตัวอักษร รูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น จากข้อมูลที่ค้นพบทำให้ทราบถึงสภาพชีวิตของประชากร ศิลปวัฒนธรรมของชาวดราวิเดียน ระบบชลประทาน เศรษฐกิจแบบเกษครกรรม การปกครองที่รวบอำนาจของชาวดราวิเดียน

     

    2. คัมภีร์พระเวทของชาวอารยัน
    ( 1,500
     ปีก่อนคริสต์ศักราช ) อารยธรรมใหม่ของชาวอารยัน เรียกว่า อารยธรรมพระเวท หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางศาสนาของชาวอารยัน ในสมัยแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย คัมภีร์พระเวทประกอบด้วย ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท เนื้อหาคัมภีร์พระเวทเป็นเรื่องราวของชาวอารยันที่ได้อพยพเข้ามายังภาคเหนือ ของอินเดีย และให้ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา การเมือง สังคมวัฒนธรรมด้วย เช่น กรอบความคิดทางการเมือง เรื่องของเทวราชาหรือการอวตารของเทพเจ้าลงมากษัตริย์ พระราชพิธีที่มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี กรอบปรัชญาของชาวอารยัน


         


    3. ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช
    จารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้บันทึกเรื่องราวของพระองค์โดยจารึกไว้ตาม ผนังถ้ำ ศิลาจารึกหลักเล็ก ๆ จารึกบนเสาหินขนาดใหญ่มีลักษณะศิลปกรรมที่งดงาม เช่น ที่สารนาถ จากรามปรวา เป็นต้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาทรงใช้หลักธรรมทาง พุทธศาสนาปกครองประเทศ หลักศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชได้ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์อินเดียด้านการ เมือง การปกครอง การสร้างจักรวรรดิ ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมของอินเดีย


                             

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×