ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ '

    ลำดับตอนที่ #4 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง

    • อัปเดตล่าสุด 8 ธ.ค. 54


    หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 - ค.ศ. 1368)
    เป็นช่วงที่รับอารยธรรมต่างชาติเข้ามาโดยเฉพาะอิทธิพลพุทธศาสนา ปรากฏหลักฐานที่สำคัญ เช่น งานบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์  หลังจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกแล้ว ทุกราชวงศ์โดยจักรพรรดิราชวงศ์ใหม่ทรงโปรดฯ ให้ราชบัณฑิตจัดทำประวัติศาสตร์ราชวงศ์เก่าที่ล่มสลายไปแล้วเรียกว่า เจิ้งสื่อ วัตถุประสงค์ของการจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ คือ การบันทึกพฤติกรรมชนชั้นปกครอง เป็นบทเรียนทางศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครองในราชวงศ์ปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจดหมายเหตุประจำรัชกาล หรือสื่อลู่ เป็นต้น บันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ที่สำคัญ คือ โฮ่วฮันฉู่ สุยฉู่ ถังฉู่ ซ่งสื่อ หยวนสื่อ

    - หลักฐานแหล่งโบราณคดีถ้ำพุทธศิลป์ สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25 – ค.ศ.220)
    พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน โดยผ่านเส้นทางสายไหม จนพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายทั่วไปในสังคมจีน สมัยราชวงศ์เว่เหนือ มีการขุดเจาะถ้ำ สร้างสรรค์ศิลปกรรมด้านประติมากรรมและจิตรกรรม เช่น ถ้ำหยุนกัง มณฑลล่านซี ถ้ำตุนหวง มณฑลกันซู ราชวงศ์ถัง มีการสร้างถ้ำหลงเหมินมณฑลเหอหนาน ผู้อุปถัมภ์สร้างถ้ำพุทธศิลป์ตั้งแต่พระจักรพรรดิ พระราชวงศ์ พระภิกษุ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เพราะมีการพบจารึกของผู้สร้างพระพุทธรูปกำกับไว้ด้วย นอกจากนี้หลักฐานที่ค้นพบในถ้ามีทั้งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ประติมากรรมสมัยต่าง ๆ เช่น ที่ถ้ำหยุนกังและหลงเหมิน ส่วนภาพจิตรกรรมพบที่ถ้ำตุนหวง มีความงดงาม แสดงถึงเนื้อหาในคัมภีร์พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่ แพร่หลายในเอเชียกลางและประเทศจีน
        หลักฐานทางด้านพุทธศิลปะให้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม การค้าระหว่างจีน อินเดีย เอเชียกลาง และในประเทศจีน จากคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด และแหล่งโบราณคดี ศิลปะจีนแสดงให้เห็นว่าจีนรับอิทธิพลทางศิลปะจากอินเดีย โดยที่ศิลปะอินเดียและเอเชียกลางนำมาพัฒนาการเป็นศิลปะอย่างแท้จริงในสมัย ราชวงศ์ถัง


      
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×