คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : หลวงตาคุยโววินัยเรื่องการปลงผม การโกนคิ้ว
หลวงตาสงบกระหยิ่มยิ้มในใจเพราะจะได้แสดงความรู้บ้าง หลังจากที่ต้องฟังโยมลูกสาวเทศนามาพักหนึ่ง พลางคิดในใจว่า ไม่ใช่โยมจะรู้คนเดียว เที่ยวมาสอนคนอื่น อาตมาเรียนจบนักธรรมเอกเชียวนา เดี๋ยวจะว่าให้ฟัง แล้วหลวงตาก็กล่าวอย่างมั่นใจว่า
การโกนผมของพระภิกษุนี่ ทางพระเรียกว่า ปลงผม ก็อย่างโยมว่านั่นแหละ เป็นความเรียบง่ายของการเป็นพระภิกษุ ไม่ต้องมีกังวล ปลอดโปร่ง แสดงถึงการสละทางโลกแล้ว โดยปกติ ตั้งแต่โบร่ำโบราณมีการปลงผมกันในวันโกน คือ ก่อนวันอุโบสถหนึ่งวัน หรือที่เรียกว่าวันพระใหญ่
พระมหานิกายนิยมปลงผมกันทุกกึ่งเดือน ส่วนพระ-ธรรมยุตนิยมปลงผมกันทุกเดือน อันนี้เป็นความนิยม แต่พระพุทธบัญญัติให้พระภิกษุไว้ผมได้ โดยต้องยาวไม่เกิน ๒ ข้อนิ้วมือ หรือไม่เกิน ๒ เดือน แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะถึงก่อน ถ้าไว้ผมยาวเกิน ๒ นิ้ว หรือเกิน ๒ เดือน ก็ต้องอาบัติทุกกฏi เพราะฉะนั้น ถ้าผมยาวยังไม่ถึง ๒ ข้อนิ้วมือหรือยังไม่เกิน ๒ เดือน แม้จะยาวจนสามารถเสยผมได้ก็ยังไม่มีอาบัติ แต่ถ้าเสยผมหรือหวีผมเพื่อแต่งให้หล่อ ให้งาม ก็จะมีอาบัติทุกกฎii
ส่วนผู้ที่จะปลงผมนั้น ถ้าปลงเองได้ก็ดี ถ้าปลงเองไม่ได้ก็ไหว้วานให้ภิกษุหรือสามเณร หรืออุบาสกปลงให้ก็ได้ และจะปลงเมื่อไร เวลาไหนได้ทั้งนั้น ไม่มีจำกัดเวลา เช้า สาย บ่าย เย็น แล้วแต่สะดวก แต่วัดที่มีระเบียบ ต้องการให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ก็จะนิยมปลงในวันเดียวกัน คือ วันโกนนั่นแหละ
อีกประการหนึ่ง มีพระพุทธบัญญัติให้ปลงผมและหนวดเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้โกนคิ้ว ในประเทศที่นับถือพระพุทธ-ศาสนาทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลังกา จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ธิเบต ฯ พระภิกษุไม่ได้โกนคิ้วกันทั้งนั้น มีแต่ประเทศไทยนั่นแหละที่พระภิกษุโกนคิ้ว จนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว
---------------------------------------------------------------------------------------
i พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ขุททกวัตถุขันธกะ เบอร์ ๙ หน้า ๖
ii พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ขุททกวัตถุขันธกะ เบอร์ ๙ หน้า ๖
ความคิดเห็น