คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : โยมปรับอาบัติพระ ?
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โยมปรับอาบัติพระ ?
และที่สำคัญ หลวงพ่อก็ยังรับและใช้เงินทองเอง มีเก็บสะสมไว้อีกต่างหาก โยมทราบว่าพระภิกษุรับหรือใช้ให้ผู้อื่นรับ หรือแม้ยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้ให้ก็เป็นอาบัติ นิสสัคคิย-ปาจิตตีย์
ถ้าไม่สละเงินทองให้หมดเสียก่อนก็แสดงอาบัติไม่ตก คือยังไม่พ้นจากอาบัตินั่นเอง ใช่ไหมเจ้าคะ ? (หลวงตาสงบพยักหน้ารับอย่างงวยงงสงสัยเล็กน้อยว่า ไปรู้มาได้อย่างไร ?)
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุยินดีในปัจจัย ๔ ที่มีไวยาวัจกรหรือคนวัดเป็นคนดูแล เก็บเงินทองไว้ให้ แต่ไม่ให้ยินดีในตัวเงินทอง
ถ้ายินดีในเงินทองก็ต้องอาบัติเหมือนกัน ไม่ใช่หรือเจ้าคะ ? ทำไมหลวงพ่อจึงไม่ให้ไวยาวัจกรดูแลเงินทองให้ ถ้าต้องการสิ่งใด ก็ให้ไวยาวัจกรไปจัดหามาให้ ไม่ดีกว่าหรือเจ้าคะ ? โยมก็จะได้เอาเงินทองไปฝากไว้กับไวยาวัจกร ดีไหมเจ้าคะ ?
หลวงตาสงบสั่นหัวพร้อมกับโต้แย้งว่า จะมีไวยาวัจกรคนไหนที่เข้าใจธรรมวินัย ยอมเสียสละมาดูแลพระภิกษุ คอยจัดหาสิ่งของให้ล่ะ ? ถ้าจะไปธุระหรือไปโรงพยาบาล จะมีไวยาวัจกรคนไหนที่จะเสียสละเวลา คอยติดตามพระภิกษุไปอำนวยความสะดวก จ่ายเงินทองค่ารถ ค่ายา ค่ารักษา พยาบาลให้ล่ะ ? จะมีไวยาวัจกรคนไหนที่ไว้ใจได้ ในเรื่องเงินทอง โยมไม่เคยได้ยินบ้างหรือ ? ที่เขาว่า วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง ! รู้สึกว่า มันจะยุ่งยาก
อีกอย่างหนึ่ง ไม่อยากจะไปทะเลาะเรื่องเงินทองกับคนวัดที่คอยมาเก็บเงินให้ เงินทองมันไม่เข้าใครออกใครไม่ใช่หรือ ? สู้เก็บเอง จับจ่ายใช้สอยเองจะสะดวกกว่า จริงไหม ?
โยมลูกสาวกล่าวตอบว่า มันก็จริงอยู่ล่ะเจ้าค่ะ แต่โยมคิดว่า หลวงพ่อน่าจะเอื้อเฟื้อต่อพระวินัย ยอมลำบากหน่อย เพื่อความถูกต้อง เพื่อพระศาสนาและเพื่อรักษาตนเองด้วยนะเจ้าคะ แทนที่บวชมาเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาเรียนรู้สิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิดตามพระธรรมคำสอนแล้ว จะได้สอนญาติโยมให้ประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง และละเว้นสิ่งที่ผิด แต่ถ้าพระภิกษุยังปฏิบัติผิดต่อพระธรรมวินัยอยู่ แล้วจะไปสอนให้ญาติโยมประพฤติถูกต้องได้อย่างไรเล่าเจ้าคะ ?
i พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ภาค ๓ มหาวิภังค์ นิสสัคคิยกัณฑ์ โกสิยวรรคที่ ๒ รูปิยสิกขาบทที่ ๘ เบอร์ ๓ หน้า ๙๔๐ (ชุดมหามกุฏราชวิทยาลัย)
ความคิดเห็น