คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : 1.2.2 ความสัมพันธ์กับรัฐในเอเชีย
1. จีน อยุธยาทำการติดต่อกับจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 2187-2454) โดยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับจีนเป็นไปในรูปความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ คือ กษัตริย์อยุธยาจะจัดส่งคณะทูตพร้อมกับนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน แล้วจักรพรรดิจีนจะทรงตอบแทนคณะทูตอยุธยาด้วยการพระราชทานของขวัญมีค่าที่มากกว่าให้ และอนุญาตให้ อยุธยาซื้อสินค้าจากจีนได้ โดยอยุธยาสามารถนำสินค้าและของขวัญจีนไปขายต่อในราคาสูง ทำให้อยุธยาได้รับผลประโยชน์จากการมีความสัมพันธ์กับจีน อยุธยาจึงรักษาความสัมพันธ์กับราชสำนักจีนมาโดยตลอด
ในระบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการนั้น จักรพรรดิจีนถือว่าอยุธยาคือประเทศราชของจักรวรรดิจีน แต่สำหรับราชสำนักอยุธยาแล้วถือว่าความสัมพันธ์กับจีนเป็นในรูปแบบของการค้าเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากอยุธยาส่งคณะทูตพร้อมเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิบ่อยครั้งกว่าที่จีนกำ-หนอไว้คือ 3ปีต่อครั้ง เป็นเพราะอยุธยาเห็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้เป็นสำคัญ ผลประโยชน์ของอยุธยาคือเรือสำเภาที่แล่นกลับอยุธยาบรรทุกสินค้าจากจีนมาด้วย เช่น ผ้าไหมและเครื่องลายคราม บางส่วนก็เป็นสินค้าที่ซื้อมาจากจีนและบางส่วนก็เป็นของกำนัลจากจักรพรรดิจีน การติดต่อในรูปแบบนี้จึงเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังทำให้อาณาจักรอยุธยากลายเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายการค้าทางเรือสำเภาของจีนในแถบทะเลจีนใต้ เรือสำเภาจีนจะแวะเข้าอยุธยาทุกๆปี และถึงแม้จะเป็นในระหว่างช่วงที่จีนประกาศกีดกันเรือการค้าของตนไม่ให้ออกค้าขายในต่างแดน เรือสำเภาของพ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลที่อยู่นอกประเทศก็ยังสามารถแล่นเข้ามาค้าขายในทะเลแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
การค้าและการทูตระหว่างจีนกับอยุธยา เป็นผลให้ชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากเป็นชุมชนขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นพวกพ่อค้า มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการค้าและการเดินเรือ และมีจำนวนไม่น้อยเข้ารับราชการในราชสำนักอยุธยาโดยเฉพาะในกรมพระคลัง ซึ่งรับผิดชอบทางด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศและการค้า รวมทั้งในกรมกองอื่นๆอีกด้วย
เรื่องน่ารู้
หมู่เกาะริวกิว ( Ryukyu Islands )อยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปรซิฟิกระหว่างเกาะไต้หวันกับเกาะคีวซู หมู่เกาะนี้เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณ คือ อาณาจักรริวกิว ราชธานีชื่อ นะฮะ ตั้งอยู่บนเกาะ โอะกินะวะ อาณาจักรริวกิวเป็นประเทศราชของจีน ในพุทธ-ศตวรรษที่ 19 และเป็นประเทศราชของญี่ปุ่นด้วย ในพุทธศตวรรษที่ 20 รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2422
2. ญี่ปุ่น ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 อยุธยาได้ติดต่อกับริวกิว และญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ระหวางอยุธยากับริวกิวมีการแลกเปลี่ยนคณะทูต ของกำนัล และการค้าได้เข้ามาในรูปของการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและริวกิวเจริญงอกงามเพราะญี่ปุ่นและจีนต่างก็ใช้ริวกิวเป็นศูนย์กลางในการค้าทางทะเล เครื่องบรรณาการของริวกิวที่ส่งมาอยุธยาประกอบด้วยสินค้าจากจีนและญี่ปุ่น เช่นผ้าแพร ดาบญี่ปุ่น พัดกระดาษ และกำมะถัน ในขณะที่อยุธยาส่งสินค้าของป่า เช่น ไม้ฝาง กลับไปยังเมืองนะฮะเมืองหลวงของริวกิว ริวกิวถูกญี่ปุ่นยึดครองในพุทธศตวรรษที่ 22
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ญี่ปุ่นกลายเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของอยุธยา ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าประเภทไม้ฝาง หนังกวาง หนังปลา กระเบน และหนังสัตว์อื่นๆ จากอยุธยา เรือสำเภา ไทยเข้าไปค้าขายในเมืองท่าของญี่ปุ่น เช่น นะงะซะกิ ส่วยเรือสำเภาญี่ปุ่นที่จะเดินทางค้าขายจะต้องรับใบอนุญาตจากโชกุนเรียกว่า ใบเบิกร่อง ประทับตราแดงจึงสามารถค้าขายกับจีนและประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
ขณะที่ญี่ปุ่นขยายตัวทางการค้า รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีนโยบายกีดกันการเผยแผ่คริสต์ศาสนาชาวญี่ปุ่นที่เข้ารีตจึงอพยพออกมาจากต่างประเทศ มีบางส่วนเข้ามาตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยา และได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการประกอบอาชีพ จึงเกิดชุมชนญี่ปุ่นขึ้นในอยุธยา ประกอบด้วยพ่อค้าและทหารรับจ้าง
ความกล้าหาญและการเป็นนักรบของชาวญี่ปุ่นเป็นที่เลื่องลือ ทำให้ราชสำนักอยุธยารับทหารรับจ้างชาวญี่ปุ่นเข้ารับราชการการจัดตั้งเป็นกองทหารอาสาญี่ปุ่น หัวหน้าชาวญี่ปุ่นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญา-เสนาภิมุก แม้ว่ากองทหารอาสาญี่ปุ่นจะมีบทบาทสำคัญเป็นกำลังของกษัตริย์ในการปราบกบฏ แต่บางครั้งกองทหารอาสาญี่ปุ่นก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายในราชสำนัก จนต้องถูกขับไล่ออกไปจากกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม ชุมชนญี่ปุ่นยังคงอยู่ต่อมาจนกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยาใน พ.ศ. 2310
นับตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 อยุธยากับญี่ปุ่นไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน เพราะญี่ปุ่นประกาศปิดประเทศ ห้ามคนญี่ปุ่นออกนอกประเทศ อนุญาตให้เฉพาะฮอลันดาและจีนเท่านั้นที่ค้าขายกับญี่ปุ่นได้เฉพาะที่เมืองนะงะซะกิ แต่การค้าระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นยังคงดำเนินต่อไป โดยผ่านพ่อค้าจีนที่ตั้งหลักแหล่งในกรุงศรี-อยุธยา เรือสำเภาจากอยุธยาและหัวเมืองปักษ์ใต้ที่ไปค้าขายกับญี่ปุ่นทั้งหมดล้วนดำเนินโดยพ่อค้าคนจีนทั้งสิ้น การติดต่อการค้ากับญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะเช่นนี้จนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
3. ชาติเอเชียตะวันตก พ่อค้าจากชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกที่มีอิทธิพลและบทบาททางการค้าสูงมาก คือ พวกมัวร์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกชาวอินเดียมุสลิม ชาวเปอร์เซีย หรืออิหร่าน ชาวตุรกี และชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม
พ่อค้าชาวมัวร์เดินทางเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นานมาแล้ว และคงได้ติดต่อค้าขายกับอยุธยามาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 จนกระทั่งบางคนตั้งรกรากและรับราชการเป็นขุนนางอยู่ที่กรุงศรี-อยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพวกมัวร์โดยเฉพาะชาวเปอร์เซียเข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในราชสำนัก โดยมีอับดุลราซัก และอุกามุฮัมมัด เป็นตัวแทนที่มีอำนาจสูงสุด โดยเฉพาะอะกามุฮัมมัดได้รับเอกสิทธิ์ผูกขาดในการขายไม้กฤษณา นอกจากนี้ชาวมัวร์ยังรับราชการเป็นเจ้าเมืองท่าหาลายแห่ง ทำให้มีอิทธิพลและสามารถควบคุมการค้าส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้จากบันทึกของชาวต่างชาติ พบว่าอยุธยามีการแลกเปลี่ยนคณะทูตกับอาณาจักรเปอร์เซียด้วย
พ่อค้ามัวร์นำผ้าพิมพ์และผ้าชนิดอื่นๆ มาขายให้แก่อยุธยา และนำไม้กฤษณา ดีบุก และงาช้าง จากอยุธยากลับไปขายยังเมืองท่าในแถบอินเดีย
ชาวมัวร์ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหญ่ที่กรุงศรีอยุธยา ทำให้มีการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมระหว่างชาวมัวร์ที่นับถืออิสลามกับชาวพื้นเมืองสืบทอดเชื้อสายที่อยู่ที่กรุงศรีอยุธยาจนถึงคราวเสียกรุงครั้งที่ 2
ความคิดเห็น