ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อนการเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก

    • อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 52


    1.1สมัยสุโขทัย

    สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานเกือบ 200 ปี จึงมีการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน และรัฐที่อยู่ห่างไกลออกไป กิจกรรมความสัมพันธ์ที่มีทั้งด้านการค้า การทูต การศาสนา และการสงคราม

    โดยส่วนรวมสุโขทัยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐเพื่อนบ้าน เช่น  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัยทรงเป็นพระสหายสนิทกับกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา และกับพญางำเมืองแห่งแคว้นพะเยา นอกจากนี้ พระเจ้าฟ้ารั่วกษัตริย์มอญยังผูกพันกับสุโขทัยในฐานะเป็นพระราชบุตรเขยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    ความสัมพันธ์ในรูปแบบที่กล่าวมาส่งผลกระทบต่อการค้า การศาสนา และวัฒนธรรม เช่น พระมหาธรรมราชาที่1 (ลิไทย) ได้ส่งพระสุมนเถระไปเผยแพร่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ตามคำขอของพระเจ้ากือนาแห่งอาณาจักรล้านนา ทำให้ศิลปกรรมและตัวอักษรของสุโขทัยเผยแพร่ในอาณาจักรล้านนา

    สุโขทัยยังได้อาศัยเมืองเมาะตะมะของมอญ เป็นเมืองท่าส่งสินค้าไปขายในประเทศแถบฝั่งทะเลตะวันตก รวมทั้งเมืองท่าอื่นๆ โดยลำเลียงสินค้าผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ออกสู่อ่าวไทยไปคาบสมุทรมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ

    สำหรับความสัมพันธ์กับอยุธยา เนื่องจากอยุธยาพยายามแผ่ขยายอำนาจเหนืออาณาเขตของสุโขทัยทำให้เกิดสงครามเป็นระยะๆ โดยสุโขทัยจะเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของอยุธยามาโดยตลอด และต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1921 หลังจากนั้นสุโขทัยพยายามแยกตัวเป็นอิสระ ส่วนอยุธยาก็พยายามผนวกสุโขทัยด้สยกุศโลบายทางการปกครองและการเมือง ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ในที่สุดสุโขทัยก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาโดยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2006

    ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับประเทศที่ตั้งอยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์กับจีน จีนถือว่าตนเป็นชาติที่มีอารย-ธรรมสูง กษัตริย์ผู้ปกครองรัฐต่างๆจะต้องอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ต่อพระจักรพรรดิจีน โดยการสางเครื่องราชบรรณาการไปถวายในระบบบรรณาการ เมื่อมีการผลัดแผ่นดินแต่ละครั้งแต่ละครั้งจีนจะส่งทูตไปแจ้งให้รัฐต่างๆทราบ เพื่อที่รัฐเหล่านั้นจะนำเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ในทำนองเดียวกันเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนผู้ปกครองขึ้นในรัฐใด ผู้ปกครองใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายเป็นการแจ้งให้ทางจีนรับทราบเพื่อให้พระจักรพรรดิจีนทรงรับรองฐานะ

    ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แคว้นต่างๆ เช่น พุกาม เวียดนาม จัมปา และเขมร ถูกคุกคามจากกองทัพมองโกล เพราะกุบไลข่านได้ชัยชนะเหนือจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1802-1911) ขึ้น จีนได้ส่งทูตมาทวงถามเครื่องราชบรรณาการจากผู้ปกครองรัฐต่างๆ แต่ได้รับการปฏิเสธ กองทัพของราชวงศ์หยวนจึงยกมาปราบ ทำให้อาณาจักรพุกามต้องสลายตัวลง เวียดนามและจัมปาต้องต่อสู้ยืดเยื้อกับจีนนนานหลายปี

    สำหรับสุโขทัย จีนส่งทูตเพื่อมาทวงถามเครื่องราชบรรณาการใน พ.ศ. 1825 แต่คณะทูตจีนเดินทางมาไม่ถึงเนื่องจากถูกทางอาณาจักรจัมปาจับไว้ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1837 ราชสำนักจีนได้ส่งคณะทูตมายังอาณาจักรสุโขทัย พร้อมกับที่สุโขทัยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีน หลังจากนั้นสุโขทัยได้ส่งทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นระยะๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับจักรพรรดิราชวงศ์หยวนจึงดำเนินไปอย่างราบรื่น

    การที่สุโขทัยยอมรับความสัมพันธ์ระบบบรรณาการกับจีนทำให้ได้รับผลประโยชน์หลายประการ เช่น ไม่ถูกคุกคามจากกองทัพจีน ได้ทำการค้ากับจีน เป็นต้น นอกจากนี้ การติดต่อกับจีนยังนำความรู้เกี่ยวกับการทำเครื่องถ้วยชาม ซึ่งจีนมีความชำนาญเข้ามาช่วยเสริมสร้างความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วในสุโขทัย ทำให้สุโขทัยมีชื่อเสียงในการทำเครื่องถ้วยชามที่เรียกว่า สังคโลก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×