เสรีไทย - เสรีไทย นิยาย เสรีไทย : Dek-D.com - Writer

    เสรีไทย

    ไม่จำเป็นอย่าเข้ามาอ่าน เราเทสครับ ให้เพื่อนทำวารสารดูว่าความคืบหน้ามีมากขนาดไหน หรือถ้าใครเข้ามาอ่าน ก็ฝากด้วยครับ

    ผู้เข้าชมรวม

    855

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    855

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  19 มิ.ย. 50 / 10:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      .=h ---------------------------------------- กับ อองครี "เสรีไทย" กลุ่มบุคคลที่ประเทศลืม ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากจะต้องสูญเสียชีวิตผู้คนทหาร และพลเรือนไปมากกว่า 75 ล้านคนแล้ว ยังทำให้ความเชื่อว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและศิลปะวิทยาการจะทำให้มนุษยชาติก้าวหน้าต่อไปไม่สิ้นสุด ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป แต่โศกนาฎกรรมของสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เป็นเพียงปฐมบทของโศกนาฎกรรมครั้งใหม่ที่จะตามมาอีก 2 ทศวรรษ นั่นคือเหตุการณ์ที่เรียกว่า "สงครามโลกครั้งที่ 2" ผลจากสงครามโลกครั้งที่1 และผลจากสงครามครั้งนี้เองที่ทำให้เกิดสันนิบาตชาติขึ้นในปี 2462 เยอรมัน ในฐานะผู้แพ้สงคราม นอกจากความเสียหายที่ได้รับในระหว่างสงครามแล้ว จำเป็นต้องทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่นอกจากต้องยินยอมจำกัดกำลังรบของตนแล้ว ยังจะต้องจ่ายค่าปฎิกรรมสงครามเป็นจำนวนมหาศาล ในสภาวะเช่นนี้เองที่เปิดโอกาสให้ อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ หัวหน้าพรรคนาซี ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นจากประชาชนชาวเยอรมัน จากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำให้เยอรมันหลุดพ้นจากการบีบคั้นของฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์เริ่มต้นด้วยการประกาศความเสมอภาคทางอาวุธ ต่อมาเขาได้นำเยอรมัน ออกจากสันนิบาตชาติ โดยไม่ใยดีต่อเสียงทักท้วงใดๆ และในเดือนสิงหาคม 2476 การพัฒนาอาวุธเป็นไปอย่างเปิดเผยและได้ยึดครองดินแดนต่างๆเริ่มที่ยึดแคว้นไรน์ ขณะที่เยอรมันกำลังสะสมกำลังเพิ่มขึ้นอยู่นั้น กลับไม่มีมหาอำนาจใดๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออกมาปราบปรามการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละประเทศกำลังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สภาครองเกรสถึงกับออกรัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลางขึ้นมา และในอีกซีกโลกหนึ่งก็มีความตรึงเครียดไม่แพ้กัน ญี่ปุ่นที่ได้รับการขนานนามว่า "มหาอำนาจใหม่แห่งเอเชีย"และครอบครองประเทศเพื่อนบ้าน โดยญี่ปุ่นเริ่มจากที่สามารถยึดครองแมนจูเรียซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจีนซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากร และยังลุกคืบต่อไปด้วยการครองชายฝั่งตะวันออกของจีนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยผลจากการต้องเสียดินแดนในวิกฤตการณ์ร.ศ.112เพื่อรักษาเอกราชอธิปไตย ทำให้การเข้าสู่ศตวรรษที่20ต้องเต็มไปด้วยความบอบช้ำกลับการล่าอารานิคมของชาติตะวันตก ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์สงครามโลกครั้งที่1มากนั้น แต่ก็ต้องทำให้ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ต้องอวสานไป กลุ่มผู้นำใหม่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะนำประเทศไทยไปสู่ เอกราชสมบูรณ์ โดยเฉพาะประเด็นอำนาจอธิปไตยที่ประเทศต้องเสียไปจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งเมื่อพ.ศ.2398 ดังปรากฎในข้อที่1ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎรว่า จะต้องรักษาเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ของประเทศไว้ให้มั่นคง ขณะที่นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือนมีความแน่วแน่เป็นอย่างยิ่งที่จะให้รัฐบาลรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดท่ามกลางสถานการณ์สากลที่มีแน่วโน้มว่าสงครามเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้อีกต่อไปที่ทว่าจอมพล ป.พิบูลสงครามขึ้นสู่ตำแหนนายกรัฐมนตรีปี2481 รัฐบาลได้เริ่มนำนโยบายชาตินิยมทางการทหารขึ้นมาโดยเริ่มต้นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยม การใช้ชื่อประเทศ,ประชาชนและสัญชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 และตามด้วยรัฐนิยมอีกมากกว่าสิบฉบับ ขณะที่สถานการณ์ในยุโรปกลับเต็มไปด้วยความตึงเครียดเมื่อเยอรมันได้ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ในวันที่ 12 มีนาคม 2482 4 วันต่อมาเยอรมันได้ยึดครองเชคโกสโลวาเกีย และโรงงานผลิตอาวุธโกดาซึ่งเป็นคลังแสงสรรพาวุธที่มีคุณภาพดีเยี่ยม ส่งผลให้เยอรมันอยู่ในฐานะได้เปรียบยิ่ง เมื่อถึงเวลานั้นสถานการณ์สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไปเพียงแต่ว่าใครจะเริ่มต้นก่อน และใครจะยืนอยู่ฝ่ายไหน หรือรักษาความเป็นกลางให้ได้ตลอดรอดฝั่งเท่านั้น อีกไม่กี่เดือนต่อมา สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้น ." อย่างเป็นทางการ" เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2482 เมื่อกองทัพนาซีตัดสินใจเข้ายึดครองโปแลนด์ ส่งผลให้อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมันในอีก 2 วัน ต่อมาและนั่นเป็นระฆังที่ให้สัญญาณว่า โศกนาฏกรรมบทใหม่ของมวล มนุษยชาติได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ทันทีที่สงครามครั้งที่2ได้ประทุขึ้นในแผ่นดินยุโรปนั้น ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศเอกราชเพียงแห่งเดียวในดินแดนเอชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจทั้งเก่า เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมทั้งมหาอำนาจใหม่แห่งเอเชียบูรพา คือ ญี่ปุ่น ทราบดีว่า สถานการณ์สงครามที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจยุติได้เร็ววัน และอาจมีแนวโน้มที่จะขยายสู่ภูมิภาคอื่นของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการแสดงตัวอย่างที่ชัดเจนของประเทศไทยต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และทำให้มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้ปฎิบัติตามความเป็นกลาง ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480 โดยมีใจความสำคัญคือ ให้บันดาข้าราชการและอาณาประชาราษฎรไทย และบันดาบุคคลซึ่งมีถิ่นอยู่ในประเทศไทยให้ปฎิบัติตามความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม ในระหว่างที่มีสถานะสงครามอยู่นี้ และให้ปฎิบัติตามบันดากฎหมายแห่งราชอาณาจักรนี้ กับทั้งข้อผูกพันตามสนธิสัญญา และกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลาง ในวันที่ 12 มิถุนายน 2483 มีการทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับทั้ง 3 มหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียบูรพาในขณะนั้นคือ ไทย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส แต่นั่นก็เป็นแค่เพียงเศษกระดาษ เพราะฝรั่งเศสในขณะนั้นกำลังจะประสบความพ่ายแพ้ต่อกองทัพนาซี อีกทั้งในทัศนะของจอมพลป.พิบูลสงครามฝรั่งเศสเป็นประเทศที่สร้างความบอบช้ำให้กับไทย เมื่อครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ชนชั้นสยามต้องบอบช้ำกับการเสียดินแดนไป ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ที่ฝรั่งเศสกำลังตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ รัฐบาลจึงเห็น "ช่อง"ที่จะฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการรณรงค์ "ดินแดนที่เสียไปเมื่อครั้งร.ศ.112" ทางฝรั่งเศสปฎิเสธและยืนยันว่าจะรักษาอินโดจีนให้ถึงที่สุด รัฐบาลไทยได้เตรียมกำลังสู้รบกับฝรั่งเศส โดยได้ให้สิทธิ์ขาดกับจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีสิทธิ์ในการบังคบ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ กองทัพบก และการจัดตั้งกองทัพบูรพาประจำอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี และ กองทัพอีสานประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน นายปรีดี พนมยงค์ นอกจากจะดำรงตำแหน่งว่าการกระทรวงการคลังแล้วนั้น ยังดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองด้วยจึงได้อาศัยประสบการณ์เรียกร้องให้วิธีทางการทูตเท่านั้น และขอให้รักษาความเป็นกลาง แต่การรณรงค์ดังกล่าวมิได้ประสบผลสำเร็จ ทำให้จอมพลป.พิบูลสงครามดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดเมื่อขอความช่วยเหลือกับ ญี่ปุ่น ให้เป็นผู้เจรจาไกลเกลี่ยจนฝรั่งเศสต้องยอมจำนนโดยจำใจ แต่ก็ทิ้งท้ายว่า ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่ญี่ปุ่นไม่ใช่ไทย ภายหลังจากสงครามกับฝรั่งเศส ไทยประสบผลสำเร็จเมื่อได้ดินแดนคืน 4 จังหวัดเพิ่มคือ พระตะบอง พิบูลสงคราม จำปาศักดิ์ ล้านช้าง ถ้าดูเพียงเฉพาะหน้าก็เหมือนกับว่าการดำเนินนโยบายของรัฐบาลประสบผลสำเร็จ แต่การดำเนินนโยบายดังกล่าวก็เหมือนเป็นการ "ชักศึกเข้าบ้าน" เพราะหลังจากนั้นไม่นานญี่ปุ่นก็ได้บุกเข้ายึดครองอินโดจีนจนสำเร็จในเดือนสิงหาคม 2484 เมื่อถึงเวลานั้น รัฐบาลเริ่มรู้สึกว่าข้าศึกเข้ามาประชิดหน้าบ้านแล้ว เพราะท่าทีที่ชัดเจนของญี่ปุ่นคือ ภายหลังจากได้ดินแดนของฝรั่งเศส (อินโดจีน) แล้ว เป้าหมายต่อไปคือการโจมตีอาณานิคมของอังกฤษ (พม่า มลายู สิงคโปร์ ) สหรัฐอเมริกา (ฟิลิปปินส์) เพื่อจุดหมายหลักคือ การยึดครองภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งจะทำเช่นนั้นคือการที่ญี่ปุ่นต้องผ่านประเทศไทยเพื่อเป็นเส้นทางผ่าน สิ่งที่รัฐบาลทำได้ในขณะนั้นคือ การเตรียมพร้อมสำหรับสงครามาเท่านั้น 8 กันยายน 2484 รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่ของคนไทยในเวลารบ โดยมีทั้งหมด 9 มาตรา แต่เนื้อหาที่สำคัญ คือ มาตรา 5 คนไทยทุกคนต้องทำการต่อต้านข้าศึกทุกวิถีทาง ด้วยกำลังอาวุธกำลังทรัพย์หรือกำลังอื่นใดตามคำสั่งของราชการ แต่เมื่อตกอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถรับทราบคำสั่งของทางราชการได้ ก็ต้องจัดการต่อต้านไปตามวิถีทางที่ทำได้ดีที่สุด ถ้าไม่สามรถต่อต้านได้ ให้ทำการขัดขวางหรือก่ออุสรรค์ต่างๆเพื่อมิให้ข้าศึกได้รับความสะดวก และให้ทำลายเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอุปโภค บริโภค บ้านเรือนที่อยู่อาศัย สัตว์พาหนะ และสิ่งของต่างๆไม่ว่าของตน ของผู้อื่น หรือของทางราชการ อันจะอำนวยให้ข้าศึกเสียสิ้น โดยกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนให้ประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ทรัพย์สมบัติให้ริบเสียสิ้น ขณะที่มีการเตรียมพร้อมสำหรับสงครามที่อาจเกิดขึ้นกับญี่ปุ่นรัฐบาลก็มีความพยายามในการเจรจากับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย แต่คำตอบที่ได้รับของ 2 มหาอำนาจคือ จะให้ความช่วยเหลือประเทศไทยก็ต่อเมื่อประเทศไทยถูกรุกรานเท่านั้น หากแปลภาษาทางการทูตมาเป็นภาษาทางราชการคือ การปฎิเสธที่จะให้ได้รับความช่วยเหลือในการป้องกันภัยจากญี่ปุ่น แต่ถึงกระนั้น นายซูโบกามิ เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยก็ยังให้ความมั่นสัญญาต่อนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในวันที่ 5 ธันวาคม 2484 ว่า "ญี่ปุ่นจะไม่ใช้กำลังอินโดจีนเข้ามารุกรานไทยเป็นเด็ดขาด แต่จะใช้เพื่อชุมนุมกำลังทางด้านถนนสายพม่าฉะนั้นไทยไม่ต้องห่วง" 7 ธันวาคม 2484 เวลาย่ำค่ำ ขณะที่จอมพลป.พิบูลสงครามไปตรวจราชการอยู่ที่ชายแดนภาคตะวันออกอยู่นั้นเซอร์โจซาย ครอสบี้ อัคราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยได้แจ้งแก่นายดิเรก ชัยนาม ให้ทราบว่า เครื่องบินตรวจการของอังกฤษตรวจเห็น "กองเรือรบญี่ปุ่นมาจากแหลมญวนกำลังอยู่ในบริเวณอ่าวไทย" หลังจากนั้น นายพลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจและรองนายกรัฐมนตรีได้มาปรึกษาราชการกับนายดิเรก ชัยนาม ทั้งคู่เห็รร่วมกันว่า "ญี่ปุ่นเข้าสงครามแน่"และนายพลตำรวจเอกอดุลยังเปรยว่า "ยามคับขันเช่นนี้ จอมพลป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีไม่ควรออกนอกประเทศ" 23.00น. ของวันที่ 7 ธันวาคม คณะญี่ปุ่นอันประกอบด้วย นายซูโบกามิ , ผู้ช่วยทูตทหารเรือ, ผู้ช่วยทูตทหารบก, ที่ปรึกษาและเลขานุการล่าม ขอเข้าพบตัวแทนรัฐบาลไทยเพื่อแจ้งว่า ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษแล้ว ฉะนั้นฑูตจึงได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้มาแจ้งรัฐบาลไทยว่าเนื่องด้วยเหตุจำเป็นกองทัพญี่ปุ่นต้องขอเดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อไปโจมตีประเทศทั้งสองซึ่งเป็นศัตรูกับญี่ปุ่น นายดิเรก ชัยนามได้แจ้งให้ทราบว่า ประเทศไทยประกาศตนเป็นกลาง ฉะนั้นไม่มีนโยบายช่วยเหลือฝ่ายใด และเมื่อทางญี่ปุ่นแจ้งความจำนงว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเป็นความตายของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจำต้องได้รับอนุญาตให้เคลื่อนกำลังทางบก ทางทะเล ทางอากาศผ่านประเทศไทยให้จงได้ โดยให้เวลาตัดสินใจภายใน 4 ชั่วโมง ซึ่งนายดิเรก ชัยนามได้กล่าวแทนคนไทยทั้งประเทศว่า การที่จะอนุญาตหรือไม่นั้น ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจแต่อย่างใด เพราะท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ข้าพเจ้าเป็นเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อำนาจสั่งไม่ให้ต่อสู้คือนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่ง...ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ประกาศเป็นคำสั่งประจำแล้วว่า ไม่ว่ากองทหารประเทศใด ถ้าย่างกายเข้ามาบนผืนแผ่นดินไทย ให้ต่อต้านอย่างเต็มที่ ฉะนั้นผู้ที่จะยกเลิกคำสั่งนี้คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งก็หมายความว่า เพื่อรักษาความเป็นกลาง ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้กับมหาอำนาจอย่างญี่ปุ่น ซึ่งในเวลานั้นกล้าหาญถึงขนาดโจมตีฐานทัพเรือเพริล์ ฮาเบอร์ ของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกเช่นสหรัฐอเมริกา เมื่อไม่ได้รับความช่วยเหลือ จอมพลเคานท์ ฮิซะอิจิ แม่ทัพใหญ่ภาคใต้ที่มีกองบัญชาการอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน ได้สั่งการให้กองทัพญี่ปุ่นทุกหน่วยเคลื่อนที่เข้าประเทศไทยตามจุดต่างๆที่กำหนดไว้ การเคลื่อนทัพผ่านไทย ผ่านมาทางพระตะบอง ไม่ปรากฏการต่อต้านจากกองทัพไทย เนื่องจากไม่แน่ใจว่ารัฐบาลอาจทำความตกลงกับกองทัพญี่ปุ่นไว้แล้ว เนื่องจากจอมพลป. พิบูลสงครามเพิ่งเดินทางออกจากจังหวัดพระตะบองเพียงไม่กี่ชั่วโมงไว้ก่อนหน้า ขณะที่การยกพลขึ้นบกที่จังหวัดสมุทรปราการ ต้องพบกับการเตรียมการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างรัดกุม ทำให้ทั้งสองฝ่ายทำได้เพียงการคุมเชิงกัน แต่การยกพลขึ้นบกที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร,สุราษฎธานี,นครศรีธรรมราช,สงขลา,ปัตตานี ต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างเข็มแข็งทั้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ยุวชนทหาร ตลอดจนประชาชนทั่วไป มีทั้งการตอบโต้ทางอากาศ การต่อสู้ระยะใกล้ จนถึงการรบที่มีลักษณะประชิดและถึงขั้นเข้าตะลุมบอนกันของทั้งสองฝ่าย รุ่งเช้าวันที่ 8 ธันวาคม เวลา 06.50 น. จอมพลป. พิบูลสงครามเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งได้มีการประชุมต่อเนื่องมาตั้งแต่ 23.00น.ของวันที่ 7 ธันวาคม 2484 เมื่อได้รับฟังการประเมินศักยภาพทางการทหารแล้วมิอาจต่อสู้กับญี่ปุ่นได้ขฯเดียวกันความหวังที่จะได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรก็เป็นไปได้อย่างยิ่ง คำตอบที่ได้จากนายกรัฐมนตรีคือ ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต่อต้าน เพราะไทยไม่มีกำลัง ทางที่ดีที่สุดคือ รักษาชีวิตพลเมืองไว้ก่อน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ ในเวลา 07.30น. ให้ยุติการสู้รบ และได้มีการลงนามยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไปได้โดยมีเงื่อนไขคือ ญี่ปุ่นต้องไม่ปลดอาวุธฝ่ายไทย,ญี่ปุ่นต้องไม่พักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร,ให้มีข้อตกลงเฉพาะทางทหารเท่านั้น,ข้อตกลงนี้เด็ดขาดจะไม่มีการขออะไรให้มากกว่านี้ และรัฐบาลได้แถลงต่อประชาชนในเวลา 12.00น. ถึงการยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านประเทศไทย โดยจดหมายในคำแถลงการณ์ได้มีเนื้อหาที่สำคัญว่า รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณากันโดยคอบแล้วเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แม้แต่ประเทศไทยพยายามจนสุดกำลังก็ไม่สามรถหนีเหตุการณ์นี้พ้น และเนื่องจากสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การที่จะต่อสู้กันไปก็มีแต่จะเสียเลือดเสียเนื้อเสียเปล่าโดยไม่สำเร็จประโยชน์ จึงจำเป็นที่จะต้องผ่อนผันให้ทางเดินแก่กองทัพญี่ปุ่น โดยได้รับคำมั่นสัญญาจากญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะเคารพเอกราชอธิปไตย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยจึงตกลงให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทยได้ และขอให้การต่อสู้สิ้นสุดลง เมื่อถึงเวลานั้นสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ที่เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยไทย แต่ความจริงแล้วหาไม่ เนื่องจากเพริล์ ฮาเบอร์ ถูกถล่มแล้ว แล้วสหรัฐอเมริกายังต้องป้องกันฟิลิปปินส์จากการเคลื่อนทัพของญี่ปุ่น และยิ่งอังกฤษก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะหลังจากไทยให้ทางผ่าน อังกฤษก็ต้องนำกำลังรักษาพม่า และ มลายู และในวันที่ 23 มกราคม 2485 เรือปลิ้นออฟเวลส์ ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของอดีตมหาอำนาจทางทะเลของอังกฤษ เมื่อถึงเวลานั้น ดูเหมือนว่าฝ่ายอักษะจะได้รับชัยชนะทั้งยุโรป และเอเชีย โดยเยอรมันสามารถยึดกรุงปารีสของฝรั่งเศสได้ และการที่เยอรมันทิ้งระเบิดที่ลอนดอนอย่างต่อเนื่อง ท่าทีของรัฐบาลเริ่มโน้มเอียงไปทางญี่ปุ่นมากขึ้น 11 ธันวาคม 2484 รัฐบาลทำสัญญาพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่น 10 วันต่อมา รัฐบาลทำสัญญาพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่น และในเวลานั้นฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพ และนี่น่าจะเป็นสัญญาณเตือนว่า ไทยควรรักษาความเป็นกลางตามที่รัฐบาลเคยประกาศไว้ก่อนหน้านั้น แต่รัฐบาลกลับเอาเหตุดังกล่าวเป็นข้อที่ทำให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดคือการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ในวันที่ 25 มกราคม 2485 และเหตุข้างต้นทำให้ผู้ที่มีอุดมการณ์ไม่ตรงกับรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามในขณะนั้น ซึ่งอาจเกือบทั้งประเทศ เพราะจากข้อเขียน ของนาย ปรีดี พนมยงค์ ที่ได้เล่าให้ความรู้สึกของคนไทยในสมัยนั้น ราษฎรทุกคนที่เห็นภาพกองทัพทหารญี่ปุ่นเดินเหยียบผืนแผ่นดินไทย รู้สึก "แค้นใจ"และ "เจ็บใจ"ที่ว่า "เจ็บใจ"นั้นเพราะถูกต่างชาติรุกราน แต่ที่ว่า "แค้นใจ"เพราะรัฐบาลไม่ทำตามที่เคยปล่าวประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ที่ให้ต่อสู้เต็มที่ ถ้าสู้ไม่ไหว ให้ทำสิ่งกรีดขวางไว้ แต่เมื่อถึงคราวที่ญี่ปุ่นบุกเข้ามาจริงๆ ทหาร ตำรวจ ราษฏรที่ชายแดน ก็ได้พร้อมกันเสียสละชีวิตกันต่อสู้ แต่รัฐบาลก็ทำตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นขอ โดยไม่ทำตามที่ตนชักชวนเรียกร้องให้ราษฎรต่อสู้ และนี่เองเป็นที่มาของ ขบวนการเสรีไทย ขบวนการที่รวบรวมคนที่มีความหลากหลายทั้งในสถานภาพ ความคิด ความเชื่อทางการเมืองเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเป้าหมายอันเดียวกันคือ การรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ ภายหลังจากการยึดครองของญี่ปุ่นและการประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยที่ท่านผู้อ่านจะได้อ่านต่อไปนี้คือ ภารกิจขบวนการเสรีไทยทั้งใน และ ต่างประเทศ ก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูทั้ง นางาซากิ และ ฮิโรชิมา ที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้สงคราม ขบวนการเสรีไทยในประเทศ หลังจากที่จอมพลป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยในเช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เย็นวันเดียวกันที่ "บ้านพูนศุข" อันเป็นที่พักของนาย ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ ได้บันทึกเหตุการณ์ในเย็นวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ซึ่งถือเป็นวันกำเนินขบวนต่อต้านญี่ปุ่นว่า เมื่อข้าพเจ้าได้กลับถึงบ้านพบเห็นเพื่อนหลายคนที่มาคอยอยู่ เพื่อนที่มาพบก็ได้ชี้แจงถึงความรู้สึกของตนเองและราษฎรส่วนมากที่ได้ประสบเห็นกองทัพญี่ปุ่นเข้ามารุกรานประเทศไทย เพื่อนที่มาร่วมปรึกษาหารือกันในขณะนั้นเห็นว่าราษฎรไม่อาจหวังพึ่งรัฐบาลว่ารักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติให้สมบูรณ์ จนกระทั่งนำประเทศชาติเข้าผูกพันกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว เมื่อได้ปรึกษาหารือพอสมควรแล้ว ผู้ที่มาประชุมในวันนั้นได้ตกลงพลีกายเพื่อชาติ เพื่อการนั้นจึงตอบตกลงจัดตั้ง "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น"ประกอบด้วยคนไทยที่รักชาติทุกชนชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในและต่างประเทศ ที่ประชุมได้มอบภาระให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าและกำหนดแผนการที่จะต้องปฏิบัติต่อไป องค์การต่อต้านญี่ปุ่นมีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ 2 ด้านคือ ต่อสู้ผู้รุกราน โดยพลังคนไทยผู้รักชาติ และร่วมมือกับสัมพันธมิตรในสมัยนั้น และ ปฎิบัติการเพื่อให้ฝ้านสัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์ที่แม้จริงของคนไทยไม่เป็นศัตรูกับฝ่ายสัมพันธมิตร องค์การต่อต้านญี่ปุ่นได้รวมตัวกันในปลายปี 2484 โดยจำกัด พรางกูล ได้มอบแผนการของเขาให้แก่นายปรีดี พนมยงค์ 4 ประการคือ พยายามโค่นล้มอำนาจของจอมพลป.พิบูลสงคราม,พยายามก่อวินาศกรรมต่อญี่ปุ่น,พยายามโฆษณาทำลายความน่าเชื่อถือและความนิยมของจอมพลป.พิบูลสงคราม และ พยายามติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร 5 วันภายหลังจากกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในกรุงเทพฯ องค์กรนำต่อต้านพรรคใต้ดินก็ได้มีมติชูธง "ต่อต้านญี่ปุ่น คัดคานเผด็จการจอมพลป.พิบูลสงคราม" และดำเนินการจัดตั้ง "กองอาสาต่อต้านญี่ปุ่น" ขึ้น เพื่อเตรียมตัวต่อสู้ด้วยอาวุธเมื่อเงื่อนไขสุกงอม ขณะที่องค์การต่อต้านญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ มีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์รวมของบุคคลต่างๆ ที่มีจิตใจร่วมกันในการต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มพลังที่อยู่ในอำนาจรัฐ กองอาสาต่อต้านญี่ปุ่น ที่เริ่มต้นจากการเป็นองค์กรนอกรัฐนั้น มีเป้าหมายสำคัญไปที่มวลชนผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยหวังว่าจะใช้พลังของผู้ใช้แรงงานในฐานกำลังสำคัญในการผลิตหยุดยั้งการขยายตัวของ กองทัพญี่ปุ่นในรูปแบบของการสไตค์ และนัดหยุดงาน ในโรงงานที่ผลิต อาวุธและเครื่องสาธารณูปโภคให้แก่กองทัพญี่ปุ่น พร้อมๆกับการปลุกจิต-สำนึกทางการเมืองไปด้วยพร้อมๆกัน สำหรับปฏิบัติการของเสรีไทยภายในประเทศนั้น สถานการณ์ในประเทศก็ตึงเครียดที่กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาปฏิบัติการทางทหารในประเทศไทย แต่นั่นมิได้เป็นอุปสรรค์ที่ทำให้จิตใจของพลพรรคเสรีไทยหวั่นไหว แต่กลับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการทำงาน และภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เอง ทำให้ปฏิบัติการณ์ของเสรีไทยจะต้องปฏิบัติงานใต้ดินที่ต้องปิดเป็นความลับ ไม่ให้ญี่ปุ่นรับรู้ ทำให้บางครั้งเมื่อกลับไปมองปฏิบัติการของเหล่าพลพรรคเสรีไทยที่แยกออกเป็นส่วนๆจนบางครั้งดูเหมือนไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ความจริงแล้วทุกองค์ประกอบที่หลอมรวมมาเป็นขบวนการเสรีไทยนั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เปรียบได้กับเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยการที่ฟันเฟืองทุกตัวทำงานประสานสอดคล้องกัน ดังนั้นปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทยที่เกิดขึ้น ความสำคัญจึงมิใช่อยู่ที่ว่าแต่ละคน/แต่ละฝ่ายทำอะไร แต่ความสำคัญอยู่ที่ทุกคนตระหนักถึงภารกิจเดียวกัน และทำหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุดเพื่อเป้าหมายเดียวกัน โดยที่การปฎิบัติของพลพรรคเสรีไทย(ทั้งในและต่างประเทศ)สามรถแบ่งออกเป็น 3 ปฏิบัติการที่สำคัญคือ ปฏิบัติการทางมนุษยธรรม : คือการช่วยเหลือเชลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งตกอยู่ในเงื้อมมือของกองทัพญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหด ปฏิบัติการทางการทหาร : คือการดำเนินการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นร่วมกับกองกำลังฃของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยท่านผู้อ่านสามารถอ่านปฏิบัติการทางการทหารของแต่ละที่ของพลพรรคเสรีไทยได้ที่หัวข้อเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ การฝึกพลพรรคเสรีไทยในประเทศ การจัดตั้งพลพรรคเสรีไทย เริ่มต้นเมื่อมีการโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจัดตั้งรัฐบาลเสรีไทยขึ้นในเดือนสิงหาคม 2487 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเป็นโอกาสอันดีที่จะเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการขับไล่ญี่ปุ่น โดยมีกองกำลังเป็นของตัวเอง การฝึกพลพรรคเสรีไทยในประเทศนั้นมีอยู่ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การจัดเตรียมบุคคล เพื่อที่จะเป็นหัวหน้าทำการฝึกอาวุธ และสอนยุทธวิธีการสู้รบให้แก่พลพรรคเสรีไทยที่มีการจัดตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งนอกจะส่งตำรวจ ทหาร พลเรือน ในค่ายของสัมพันธมิตรในอินเดียและเกาะลังกาแล้ว ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายสารวัตรขึ้นอีกด้วย พล.ร.ต.สังวร สุวรรณชีพ เจ้ากรมทหารสารวัตร ได้รับมอบหมายจาก ปรีดี พนมยงค์ ให้จัดหาผู้ที่จะเข้ามาฝึกภายใต้เงื่อนไขที่ห้ามใช้กองกำลังทหารฝ่ายไทยจของสัมพันธมิตร ขณะเดียวกันก็จะต้องปฎิบัติการเพื่อพรางไม่ให้ญี่ปุ่นได้ทราบว่ามีการฝึกกองกำลังทหารเสรีไทยภายใต้จมูกญี่ปุ่น ดังนั้นทางออกของ พล.ร.ต.สังวร คือ การใช้นิสิต นักศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำการฝึก (ซึ่งขณะนั้นมหาวิทยสลัยปิดทำการสอนเพราะอยู่ระหว่างสงคราม) ขณะเดียวกันก็ต้องบอกกับญี่ปุ่นว่าการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารรุ่นพิเศษขึ้นมาก็เพื่อจัดการรักษาความสงบภายในประเทศ จากนิสิตจุฬาที่เข้ามาประชุมประมาณ 300-400 คน ได้มีการคัดเลือกให้เหลือ 298 คากนั้นมีการฝึกที่โรงเรียนนายทหารสารวัตร และหลังจากนั้นได้มีการเคลื่อนย้ายไปยังค่าย "สวนลดาพันธ์"อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยพรางญี่ปุ่นว่าไปทำหารฝึกภาคพื้นสนามเพื่อหาความชำนาญพิเศษ แต่ความจริงที่นั่นได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว โดยมีอาวุธ ยุทโธปกรณ์ของทหารอเมริกาที่ทิ้งร่มไว้ ณ.อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ลำเรียงมาไว้เป็นระยะๆ และได้มีทหารอเมริกากระโดดร่มมาประจำการอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีการใช้กลไกของราชการเข้าจัดตั้งขบวนการเสรีไทยด้วย โดยการข้อความร่วมมือจากข้าราชการระดับสูงหลายฝ่าย เช่น ข้าหลวงจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และตามกระทรวงต่างๆ โดยมรนายทวี บุณยเกตุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ประสานงานการปฏิบัติการนอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจังหวัดต่างๆที่เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทยก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจัดตั้งพลพรรคเสรีไทยในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมการส่งเหล่าพลพรรคเสรีไทยออกไปฝึกอาวุธทั้งที่ประเทศอินเดียและเกาะลังกา ซึ่งมีทหาร ตำรวจ และพลเรือน โดยมีเป้าหมายคือ การให้เป็นผู้นำในการขยายผลการจัดตั้งพลพรรคเสรีไทยในประเทศอีกต่อไป ขั้นตอนต่อมา คือ การจัดจัดตั้งพลพรรคเสรีไทยใต้ดิน โดยบ่งตามพื้นที่รับผิดชอบของผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัด ประสานกับนายทหารเสรีไทยทั้งอังกฤษและอเมริกาที่แบ่งรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน จากการรวบรวมของนายฉันทนา ใน xo GROUP เรื่องภายในขบวนการเสรีไทย แสดงจำนานพลพรรคที่ผ่านการฝึกแล้วดังนี้ 1.เพชรบุรี พลพรรคที่ผ่านการฝึกแล้ว 1000 คน ทหารในบังคับบัญชาของพ.ท.หวังชัย อีก 3300 คน 2.หัวหิน พลพรรคที่ได้รับการฝึกอย่างดี มีอาวุธจ่ายได้ครบตัว 1000 คน 3.สกลนคร มีกำลัง 3500 คน 4.นครพนมมีกำลัง 800 คน 5.อุดรธานีมีกำลัง1200คน 6.หนองคาย มีกำลัง 200คน 7.มหาสารคาม มีกำลัง 4000 คน 8.ฉะเชิงเทรา มีกำลัง 132 คน 9.ชลบุรี มีกำลัง 2000 คน 10. อุบลราชธานี มีกำลัง 3000 คน ทั้งนี้ยังไม่นับกำลังทหารและตำรวจสนามในภาคพายัพ ภาคใต้และภาคอื่นๆ ตลอดจนพลพรรคอีกหลายหน่วยในหลายจังหวัด ซึ่งนายทหารเสรีไทยจากต่างประเทศช่วยกันฝึกหัดอบรมอยู่อย่างเคร่งครัด ขบวนการเสรีไทยต่างประเทศ โดยขบวนการเสรีไทยต่างประเทศที่เด่นชัดมีอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ ขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา ภายหลังรับทราบการที่รัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ดินแดนประเทศไทยเป็นเส้นทางในการเดินทางไปโจมตีดินแดนของฝ่านสัมพันธมิตร ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชฑูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่า ประเทศไทยและคนไทยทุกคนเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยจะร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านการบีบบังคับของญี่ปุ่น รวมทั้งได้ออกวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกจากนครซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่10 ธันวาคม 2484 ไม่ยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และประกาศต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น 12 ธันวาคม 2484 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แถลงข่าวต่อหนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา สถานอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ไม่รับรู้ความร่วมมือทางการทหารระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับรัฐบาลไทย โดยสถานทูตที่วอชิงตันจะทำตามคำสั่งของรัฐบาลเฉพาะที่เห็นว่าไม่ใช่เป็นคำสั่งของญี่ปุ่นสั่งให้ทำเท่านั้น และประกาศตัวเป็นอิสระจากรัฐบาลไทย โดยชักชวนให้คนไทยทั้งในและนอกประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น และร่วมกันกอบกู้เอกราชอธิปไตยของชาติ พร้อมกันนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยังได้นำคำประกาศดังกล่าวไปประกาศแจ้งให้แก่ นายคอเดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาให้ทราบ และคำประกาศดังกล่าวนี้ได้ออกไปเผยแพร่ไปทั่วโลก เมื่อนายคอเดล ฮัลล์ ส่งคำประกาศนี้ออกไปทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา การดำเนินการดังกล่าวก้ได้ส่งไปถึงรัฐบาลไทยเช่นกัน เพราะจอมพล ป. พิบูลสงครามถึงกับห้ามคนไทยรับฟังวิทยุดังกล่าว สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ เมื่อรัฐบาลประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และอังกฤษเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 แต่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แจ้งให้สื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกาได้ทราบว่า ได้เก็บคำประกาศสงครามไว้ในกระเป๋าเสื้อ ขณะที่เข้าพบ นายคอเดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อว่าการประกาศสงครามของรัฐบาล มิได้เป็นเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทย แม้ว่าความจริงรัฐบาลไทยจะแจ้งการประกาศสงครามให้แก่กงสุลสวิตเซอร์แลนด์ที่กรุงเทพฯ ได้รับทราบ ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์ของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งในทางการทูตถือว่าการประกาศสงครามสมบูรณ์แล้ว แต่รัฐบาลอเมริกาไม่รับรู้การประกาศสงครามของประเทศไทย เนื่องจากถือว่าประเทศไทยเป็นดินแดนที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง รัฐบาลไทยได้ประกาศให้ข้าราชการและนักเรียนไทยในสหรัฐฯ เดินทางกลับระหว่างแลกเปลี่ยนเชลยกับฝ่ายสัมพันธ์มิตร แต่ปรากฏว่ามีคนไทยเดินทางกลับมาเพียง18 คนยังเหลือแต่ข้าราชกาลสถานทูตและนักเรียนไทยอยู่ในสหรัฐฯและแคนาดาจำนวน82 คน โดยที่ผู้ที่ไม่เดินทางกลับประเทศนั้นต้องถูกถอนสัญชาติไทย 4 มีนาคม 2485 สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกันได้ออกหนังสือเวียนเรื่องการการแบ่งงานของ " คณะไทยอิสระ" ภายหลังจากการได้รับหนังสือเวียน"คณะไทยอิสระ " แม้ว่าทุกคนจะอยู่ในสหรัฐอเมริกันจะเห็นด้วยกับหลักการใหญ่คือไม่เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทยและต้องการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น แต่ด้วยพื้นฐานที่แตกต่างกัน ประกอบกับความขัดแย้งที่มีก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นความไม่ลงรอยกันระหว่าง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูต กับยอมรับบทบาทของสถานทูตโดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียวจึงได้นำมาสู่การประชุมร่วมกันบนเรือ Grip holms ในกรุงวอชิงตัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2485 ซึ่งได้ทางออกของภารกิจการกู้เอกราชของคนไทยในสหรัฐฯ ก็คือ จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนของขบวนการโดยมีข้าราชการสถานทูตและคณะนักเรียน ไทยเป็นกรรมการ และมอบให้อัครราชทูตเป็นประธาน ซึ่งการดำเนินการใดๆจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดังกล่าวว่า เสรีไทย( Free Thai) โดยการดำเนินการทางการทหารนั้นได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกัน จึงนำมาสู่การจัดตั้งกองทหารอาสาสมัครเสรีไทยขึ้น โดยอยู่ใต้การบังคับบัญชาจากหน่วยกิจการยุทธศาสตร์(The office of strategiceo: o.s.s.)โดย เฉเพาะกองบังคับการกองบัญชาการ 404 (Detachment404) ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองแคนดี เกาะลังกา ทั้งนี้การดำเนินการของกองทหารอาสาสมัครเสรีไทยเป็นการดำเนินการโดยคนไทยโดยแท้จริง เพราะสถานการณ์อัครราชทูตสามารถเจรจาขอถอนเงินของรับบาลไทยถูกกักเอาไว้มาใช้ได้ โดยก้อนแรกเป็นจำนวนเงินห้าแสนเหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นการดำเนินการของสถานอัครราชทูตกับกองทหารอาสาสมัครเสรีไทยก็แยกออกจากกัน โดยสถานอัครราชทูตดำเนินการทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการกระจายเสียงออกอากาศจากสหรัฐอเมริกัน ทั้งการส่งข่าวสารแดนไกลกลับมายังบ้านเกิด หรือการสร้างความเข้าใจอันดีกับฝ่ายสัมพันธ์มิตร ขณะทำกองทหารอาสาสมัครเสรีไทยต้องเข้ารับการฝึกเพื่อเตรียมพร้อมเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทย โดยรับคำสั่งจากกองบังคับการกองบัญชาการ 404 (Detachment 404) ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองแคนดี เกาะลังกา การฝึกพลพรรคเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากการตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะไม่กลับประเทศไทย นักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาอันประกอบด้วยนักเรียนทุนรัฐบาล53คน นักเรียนทุนส่วนตัว15คน ได้ตัดสินใจร่วม " คณะไทยอิสสระ" ร่วมกับสถานทูตโดยมีการสมัครเข้าเป็น " ทหารอาสาเสรีไทย" ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำประจำกุงวอชิงตัน ได้บันทึกเกี่ยวกับงานด้านนี้ว่า มองไม่เห็นทางอื่นอะไรที่จะทำให้เขาเห็นใจได้ดีกว่าการอาสาสมัครเข้าเป็นทหาร ซึ่งเป็นการชาติพลีอย่างสูงสุด...เริ่มต้นทีเดียวคนของเราสมัครเข้าเป็นทหารอเมริกัน ทางการเขาฝึกหัดให้ดำเนินงานตั้งนี้งานใต้ดินและกองโจรมาตั้งแต่ทั้งนี้ก็เพราะมีจำนวนทีแรกตั้งเป็นทหารอเมริกันรู้สึกว่าเอาแน่นอนไม่ได้เพราะรู้สึกว่าเมือเป็นทหารของเขา เขาจะส่งไปรบที่อิตาลีหรือที่ไหนก็ได้ ไม่มีความผูกพันจะต้องส่งมาประเทศไทย...แต่เคราะห์ดี ต่อมาภายหลังสถานทูตเจรจาถอนเงินมาใช้ในการทหารของเราได้ครึ่งล้านเหรียญ เมื่อเงินเป็นของเราเขาก็ต้องยอมจัดเป็นหน่วยทหารไทย จึงได้เข้าประจำการในเครื่องแบบของตนเองภายใต้ร่มธงของไทยเราเอง กองทหารเสรีไทยมี พล.ท.ม.ล ขาบ กุญชร เป็นผู้นำร่วมกับฝ่ายสืบราชการลับของหน่วย โอ.เอส.เอส. ซึ่งมีพันโทนิคอล สมิท ผู้ที่มีประสบการณ์จัดตั้งขบวนการฝรั่งเศลเสรี เข้าต่อสู้กับกองทัพนาซี มาจัด ตั้งหน่วยเสรีไทยเพื่อต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น เมื่อสงครามเกิดขึ้น มีนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาประกอบด้วยข้าราชกาลที่ลาไปศึกษาต่อ 6 คนนักเรียนทุนรัฐบาล53 คน และทุนส่วนตัว 15 คน รวมทั้งหมด 74 คน เมื่อถึงเดือนมิถุนายน 2485 คณะนักเรียนไทยรุ่นแรก ที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานทูต ที่มีการสอบประวัติ และสอบสัมภาษณ์จำนวน 21 คน เป้า ขำอุไร นักเรียนทุนรัฐบาล ซึ่งกำลังศึกษาวิชาเกษตรกรรมเล่าถึงการฝึกในครั้งนั้นว่า เสรีไทยชุดแรก21คน ซึ่งมีผลรวมอยู่ด้วยทำการฝึกการรบใต้ดิน งานจารกรรม ก่อวินาศกรรม ภายใต้ o.s.s. ในอเมริกาเราฝึกในค่ายของ u.s.Marines หลายแห่ง ฝึกหนักยิ่งกว่าทหารธรรมดาหลายเท่า ต่อมามีการคัดเลือกรุ่นพิเศษจำนวน3คน ประกอบด้วย บุญมาก เทศะบุตร วิมล วิริยะวิทย์ และอานนท์ ศรีวรรธนะ เข้าการฝึกในเอนสิงหาคม 2485 วิมล วิริยะวิทย์ นักเรียนทุนรัฐบาล ซึ่งกำลังศึกษาวิชาวิศกรรมโยธาเล่าถึงประสบการณ์การฝึกครั้งนั้นว่า ผมไปสมัครเป็นรุ่นแรก ปรากฏว่าเมื่อสอบประวัติกันผมไม่ผ่านเพราะที่เอ็มไอทีผมมีเพื่อนร่วมห้องแล้ว ผลออกมาไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อสหรัฐ ผมมีเพื่อนร่วมห้องเป็นชาวเยอรมัน...หลังจากสอบประวัตินักเรียนเยอรมันเพื่อนร่วมห้องแล้ว ผลออกมาไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อสหรัฐ ผมจึงถูกกำหนดตัวเข้าอบรมรุ่นที่สอง แต่ต้องเข้าฝึกรุ่นพิเศษเสียก่อนเพื่อรับภารกิจเร่งด่วน ผมต้องฝึกจารกรรมทั้งหมด การฝึกหนักมากเพื่อจุดประสงค์เพื่อเข้าไปเป็นแนวที่5(The Fifth Column) ในประเทศไทยเป็นการเฉเพาะ การฝึกเน้นไปที่การใช้วิทยุ ส่งรับสัญญาmorse code การใส่และถอดรหัสต่างๆได้อย่างแม่นยำ เรียนการใช้อาวุธจู่โจมข้าศึก และป้องกันตัวเอง และรุ่นที่2 ที่ผ่านการคัดเลือกมีทั้งหมด 1514 รุ่นที่ 2 ที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานทูตประกอบด้วย กุศะ ปันยารชุน,เจริญ เจริญรัชตภาคย์, ฉลอง ปึงตระกูล, เฉลิม จิตตินันทน์ ชโรช โลห์สุวรรณ, บุญยง นิโครธานนท์, ประยูร อรรถจินดา, สละ ทศานนท์, สิทธิ เศวตศิลา, สุนทร สุนทรากูล, อายุส อิศรเสนา, อำนวย พูนพิพัฒน์, อุดม พัฒนพงษ์พานิช, อุดมศักดิ์ ภาสวณิช,และไฉน เรืองศิริ เข้ารับการฝึกในเดือนตุลาคม 2486 และเสรีไทยสายสหรัฐอเมริการุ่นสุดท้าย ซึ่งป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจากสถานทูตไทยในวอชิงตัน ประกอบด้วยพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ สมจิต ยศสุนทร และเชื้อ หุ่นจำลอง ขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ ขณะที่สถานอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตัน สามารถเป็นที่พึงได้สำหรับกลุ่มคนไทยที่ต้องการต่อต้านรัฐบาล แต่สถานการณ์ในอีกซีกโลกหนึ่งกลับต่างกันไม่มีจดหมายเวียนก่อตั้งคณะไทยอิสระเหมือนเช่นที่วอชิงตัน เมื่อพระมนูเวทวิมลนาท (เบี๋ยน สุมาวงศ์) อัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ได้ปรามนักเรียนไทยในประเทศให้คณะนักเรียนไทยฟังว่า " รัฐบาลเปรียบเหมือนช้างเท้าหน้าหลัง ฉะนั้นขอวิงวอนให้คนไทยทุกคนร่วมใจกันสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลทุกประการ" พร้อมทั้งยังกำชับด้วยว่า การที่ต่อต้านญี่ปุ่น จะทำให้นักเรียนมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 104 ฐานกบฏนอกประเทศ มีความผิดร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต ถึงแม้คนไทยในประเทศอังกฤษต่างไม่พอใจการตัดสินใจของรัฐบาลเป็นอย่างมาก แต่การทำงานร่วมกับฝ่ายสัมพันธ์มิตร จึงต้องเริ่มต้นจากปัจเจกบุคคลมากกว่า ดังนั้น ความใน บันทึกลับของพันโท อรุณ เสรีไทย 136 ของ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน หรือท่านชิ้น ซึ่งเล่าไว้ว่า ข้าพเจ้าได้เขียนจดหมายถึงนายเชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เพื่อขอรับอาสาเข้าช่วยร่วมมือทำการสู้รบญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เขียนจดหมายลงวันที่ 1 มกราคม 2485 แสดงความขอบใจที่จะเข้าร่วมมือ และขอให้ข้าพเจ้าช่วยทำการในกรมเสนาธิการข่าวของอังกฤษ ในการทำแผนที่ในประเทศไทย และรวบรวมข่าวคราวเกี่ยวกับประเทศไทย สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อรัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ วันที่ 25 มกราคม 2485 และรัฐบาลอังกฤษประกาศสงครามตอบในเวลาต่อมา สถานภาพของคนไทยในตอนนั้นจะอยู่ในสภาพคนของชนชาติศัตรู หม่อมเจ้ากาวิก จักรพันธุ เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในขณะนั้นว่า เมื่อเยอรมันบุกอังกฤษในปี 2482ผมเป็นมหาดเล็กกึ่งราชเลขาส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็ดพระปกเกล้าฯเมื่อท่านสวรรคต ผมมารับใช้พระนางรำไพพรรณี ในฐานะที่อยู่ในอังกฤษเมื่อทหารไม่พอ ผมก็สมัครเป็นอาสาสมัครปกป้องผืนแผ่นดินไทย Local Defense Volunteer (LDV) มีหน้าที่ต้องผลัดเวรกันเดินตรวจตามบ้าน ถ้าใครปล่อยแสงออกมา ก็ต้องไปเคาะประตูบอกว่าให้ปิดเสีย เพราะเยอรมันจะทิ้งระเบิด เมื่อญี่ปุ่นโจมตรีเพิร์ลฮาร์เบอร์ อังกฤษก็ประกาศสงครามด้วยทางอังกฤษก็ทราบว่าญี่ปุ่นคงจะบุกสิงคโปร์ตีอินเดียด้วย แต่คงต้องผ่านเมืองไทย เค้าก็เอาแผนที่เมืองไทย ตอนนั้นเราก็ยังไม่ได้เป็นศัตรูกับญี่ปุ่นแต่ในฐานะที่อยู่กับอังกฤษ ก็ช่วยเค้าแปลแผนที่ แต่ญี่ปุ่นเข้าเมืองไทยไม่ได้เชิญเข้ามาเราก็รู้สึกโกรธ ตอนนั้นกำลังเป็นหนุ่มอายุ 25 ปี คิดอย่างเดียวคือต้องสู้ เราไม่รู้ใครแพ้ใครชนะ ยังไงก็ต้องสู้ เขาก็รับสมัครไปรบ อังกฤษเขาก็บอก จะก่อตั้งกองทัพไทยไม่ได้ ขณะนั้นเรามีคนไม่มากถ้าจะสู้ก็ต้องสมัครมาเป็นกองทัพอังกฤษ เป็นหน่วยไทยในกองทัพอังกฤษ บังเอิญมีญาติคนนึงเค้าอพยพมาจากเบลเยียมซึ่งถูกเยอรมันบุก ค้ำก็เป็นเพื่อนกับคุณป๋วยที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เขาก็บอกว่าคุณ ป๋วยมันเป็นตัวตั้งตัวตี ก็แนะนำให้รู้จัก เราก็เขียน หนังสือไปถึงคุณป๋วย เขียนมาก็ชอบพอกัน พอเค้าตั้งเป็นศูนย์กลางของคนไทย อพยพจากกลอนดอน หนีระเบิดมาอยู่ที่เคมบริดจ์ พวกที่เคมบริดจ์เค้ามี 5-6 คนเป็นตัวตั้งตัวตี เราก็ขอเขาด้วยคนเค้าก็รับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีท่านก็บอกว่า เอาเลย ถ้าเผื่อฉันเป็นผู้ชาย ฉันก็ไปด้วย แต่เมื่อรัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอังกฤษในวันที่ 25 มกราคม 2485 รัฐบาลไทยโดยพระมนูเวทวิมลนาท อัครราชทูตไทยประจำ
      ยังไม่เสร็จ เอามาให้เบิ่งดู นี่เป็นเรื้อหาจากหนังสือ "อุดมการณ์ที่ไม่ตาย"

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×