ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    stellariam

    ลำดับตอนที่ #1 : การใช้งานเบื้องต้น

    • อัปเดตล่าสุด 28 มิ.ย. 51


    การใช้งานเบื้องต้น Stellarium 0.9.0

    วิเชียร  เพียงโงก*

    ฐากูร  เกิดแก้ว**

              สเตลลาเรียม (Stellarium)   เป็นซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลองเสมือน (Virtual planetarium)  ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้ฟรี   ภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU (General Public License) โดยมีผู้เขียนหลักคือ Matthew Gates เว็บไซต์ www.stellarium.org  สเตลลาเรียมคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์  โลก และดวงดาวต่าง ๆ  เพื่อแสดงวัตถุท้องฟ้าในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้จริง  ตามวัน  เวลา  และสถานที่ที่สังเกต   ซอฟต์แวร์นี้สามารถแสดงกลุ่มดาว (Constellations) และจำลองปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้ เช่น ฝนดาวตก  สุริยุปราคา และจันทรุปราคา เป็นต้น    จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการเรียนการสอนดาราศาสตร์  การใช้เพื่อวางแผนการสังเกตวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์     และการใช้สำหรับสร้างแผนที่ดาวเฉพาะภูมิภาคสำหรับนักดูดาวสมัครเล่น   

    การติดตั้งซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม

              เอกสารนี้แนะนำการติดตั้ง Stellarium 0.9.0    ซึ่งบันทึกในแผ่นซีดี LESA หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ http://www.stellarium.org/     การติดตั้ง Stellarium รุ่นดังกล่าว ควรติดตั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นไม่ต่ำกว่านี้  คือ  Linux, Unix, Windows 98, Windows 2000, Windows NT, Windows XP,   MacOS X 10.3.x    มีการ์ดจอแสดงภาพแบบสามดีที่รองรับ OpenGL  และมีแรมขนาดไม่น้อยกว่า 256 เมกะไบต์     แต่อาจใช้ขนาดแรมถึง 1 กิกะไบต์      เมื่อต้องการแสดงดาวตามรายการให้ได้มากที่สุด

              ขั้นตอนการติดตั้ง  ขอกล่าวถึงเฉพาะการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP  ดังนี้

    1. เปิดชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ของ LESA Project จากแผ่นซีดี   เมื่อใส่แผ่นซีดีเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว  โปรแกรมจะเปิดกรอบสนทนา (Dialog Box) ดังภาพที่ 1 (ก) เพื่อสอบถามความต้องการที่จะยอมให้ซีดีแอ็กทิฟเนื้อหาลงในคอมพิวเตอร์  ควรเลือกตอบโดยการคลิกที่ปุ่ม Yes     หลังจากนั้นโปรแกรมจะเปิดกรอบสนทนา เพื่อแสดงให้ทราบว่า มีการจำกัดการเข้าถึงไฟล์ที่แสดงเนื้อหาที่แอ็กทิฟของโปรแกรม Internet Explorer  คลิกที่แถบสีเหลือง ซึ่งมีข้อความว่า To help protect your security,… จะปรากฏข้อความให้เลือก 3 แถบ  ควรเลือกแถบ Allow Blocked Content…  ดังแสดงในภาพที่ 1 (ข)

     

    *ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

    **ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

         

    (ก)                                                                       (ข)

    ภาพที่ 1 การเปิดโปรแกรมชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โลก และดาราศาสตร์จากแผ่นซีดี

    หลังจากนั้น จะมีกรอบสนทนา Security Warning สอบถามเพื่อยืนยันการดำเนินงานเพื่อแอ็กทิฟเนื้อหาในไฟล์จากแผ่นซีดีหรือไม่ ให้เลือก Yes ดังแสดงในภาพที่ 2 (ก)    โปรแกรมชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โลก และดาราศาสตร์ จะแสดงเมนูให้ผู้ใช้เลือกจำนวน 3 เมนู ได้แก่ Copy CD, Update  และ Enter ดังภาพที่ 2 (ข)   ควรเลือก Enter

        

    (ก)                                                                                     (ข)

    ภาพที่ 2 การยืนยันการดำเนินงานเพื่อแอ็กทิฟเนื้อหา และเมนูสำหรับเลือกการทำงานของซอฟต์แวร์

              เมื่อเลือก Enter แล้ว จะปรากฏหน้าหลักของโปรแกรม  ซึ่งมีเมนูให้เลือกทั้งหมด 7 เมนู ให้เลือกเมนูอวกาศ   หลังจากนั้นจะปรากฏเนื้อหาบทที่ 1 การสังเกตการณ์ท้องฟ้า  และบทที่ 2 ระบบสุริยะ  ให้เลือกหัวข้อกลุ่มดาวจากบทที่ 1    เนื้อหากลุ่มดาวจะมีหัวข้อย่อยสี่หัวข้อ ให้เลือกหัวข้อย่อยเรื่อง ซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลอง Stellarium จะปรากฏเนื้อหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์และการดาวน์โหลด 

    1.    ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม  จากเนื้อหา เรื่อง Stellarium โดยการเลือก คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด (32.7 MB)    ซึ่งจะดาวน์โหลดไฟล์ชื่อ Stellarium.rar เป็นไฟล์ชนิด WinRAR archive  ก่อนดาวน์โหลดจะมีกรอบสนทนาสอบถามความต้องการ ว่าต้องการเปิดไฟล์ (Open) หรือบันทึกไฟล์ (Save)   ควรเลือกบันทึกเพราะต้องคลายไฟล์ (Unzip) ก่อน  จึงจะนำไปใช้งานได้    หลังจากเลือกบันทึก จะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ต้องการบันทึกไว้ที่ไหน  เพื่อความสะดวกในการใช้  ขอแนะนำให้บันทึกไว้ที่ Desktop    เสร็จแล้วให้เลือก Save  คอมพิวเตอร์จะดาวน์โหลดไฟล์ Stellarium.rar จากแผ่นซีดีมาไว้ใน Desktop ตามความต้องการ

    2.         คลายไฟล์ Stellarium.rar ด้วยโปรแกรม WinRAR  โดยการใช้เมาส์คลิกขวาเพื่อเลือกเมนู Extract Here โปรแกรม WinRAR จะคลายไฟล์ลงในโฟลเดอร์ใหม่ชื่อว่า Stellarium

    3.    เลือกไฟล์ ชื่อ Stellarium (.exe) ในโฟลเดอร์ ชื่อ Stellarium   ให้สังเกตไอคอนของไฟล์นี้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม  ด้านบนของไอคอนมีแถบสีน้ำเงินคาด  และมีจุดสีขาวจำนวนสามจุด ที่แถบสีน้ำเงิน

    4.    ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Stellarium คอมพิวเตอร์จะติดตั้งซอฟต์แวร์เข้าสู่ระบบเพื่อเปิดโปรแกรมให้ใช้งานได้ตามต้องการ

    แถบเครื่องมือในซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม

    แถบเครื่องมือหลัก

    แถบเครื่องมือ

    ควบคุมเวลา

              เมื่อเข้าสู่ซอฟต์แวร์สเตลลาเรียมครั้งแรกจะเห็นภาพในจอดังแสดงในภาพที่ 3  ด้านซ้ายของภาพแสดงให้เห็นเป็นเวลากลางคืน ส่วนด้านขวามือของภาพแสดงให้เห็นเป็นเวลากลางวัน  การแสดงภาพจริงจะเห็นเพียงลักษณะเดียว คือ กลางคืนหรือกลางวัน  ด้านบนของจอจะปรากฏวันที่ เวลา ตัวเลขแสดงรุ่นของซอฟต์แวร์  ตำแหน่งที่สังเกต  ฟีลด์การมองเห็น (Field of view; FOV)   และอัตรากรอบภาพ (Frame rate) มีหน่วยเป็นกรอบภาพต่อวินาที (FPS)   ที่มุมซ้ายล่างของจอภาพเป็นแถบเครื่องมือหลัก (Main tool bar) ที่มุมด้านขวาล่างเป็นแถบเครื่องมือควบคุมเวลา (Time tool bar)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ภาพที่ 3 ส่วนประกอบของภาพที่ปรากฏเมื่อใช้ซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม  (ที่มา: Gate, 2007)

     

              แถบเครื่องมือในซอฟต์แวร์มี 2 แถบ ได้แก่ แถบเครื่องมือหลัก และแถบเครื่องมือควบคุมเวลา  รายละเอียดมีดังนี้

    1.  แถบเครื่องมือหลัก (Main tool bar)  เป็นแถบเครื่องมือที่อยู่ทางด้านซ้ายของภาพในจอภาพ  ซึ่งประกอบด้วยปุ่มจำนวน 16 ปุ่ม  บางปุ่มใช้สำหรับการเลือกเปิด-ปิดลักษณะบางประการเพื่อความเหมาะสมต่อการนำเสนอหรือความเหมือนจริงของซอฟต์แวร์  บางปุ่มใช้เปิดหน้าต่าง (Windows) เพื่อตั้งหรือกำหนดค่าต่าง ๆ   การเปิด-ปิดปุ่มสามารถทำได้ 2 วิธี คือ ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่มแถบเครื่องมือ หรือกดแป้นอักขระบนคีย์บอร์ด  รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 1

    ตารางที่ 1  ปุ่มแถบเครื่องมือหลัก

    ลักษณะ

    ปุ่มแถบเครื่องมือ

    แป้นอักขระ

    รายละเอียด

    กลุ่มดาว

    C

    วาดเส้นเชื่อมระหว่างดาว ช่วยให้เห็นเป็นกลุ่มดาว

    ชื่อกลุ่มดาว

    V

    เปิด-ปิดป้ายชื่อกลุ่มดาว

    ภาพกลุ่มดาว

    R

    เปิด-ปิดการซ้อนภาพสัญลักษณ์ในกลุ่มดาว

    กริดแอซิมัท

    Z

    เปิด-ปิดเส้นกริดในระบบพิกัด Alt/Azi

    กริดศูนย์สูตร

    E

    เปิด-ปิดเส้นกริดในระบบพิกัด RA/Dec

    พื้นดิน

    G

    เปิด-ปิดภาพพื้นดินให้ทะลุเห็นดาวใต้พื้นดิน

    จุดทิศหลัก

    Q

    เปิด-ปิดให้เห็นเครื่องหมายจุดทิศหลัก

    บรรยากาศ

    A

    เปิด-ปิดให้สามารถมองเห็นดาวได้ในเวลากลางวัน

    เนบิวลาและกาแล็กซี

    N

    เปิด-ปิดเครื่องหมายแสดงตำเหน่งเนบิวลาและกาแล็กซี  เมื่อฟีลด์การมองเห็นกว้างเกินไป

    ระบบพิกัด

    Enter

    เปิดสลับกันระหว่าง Alt/Azi และ RA/Dec

    ไปดูที่

    Space

    เลื่อนและตรึงวัตถุท้องฟ้าที่เลือกไว้ให้อยู่ตรงกลางจอภาพ

    ค้นหา

    Ctrl+f

    เปิดหน้าต่าง Search สำหรับการค้นหาวัตถุและแสดงผลการค้นหาไว้กลางจอภาพ

    ตั้งค่าโครงแบบ

    1

    เปิดหน้าต่าง Configuration สำหรับตั้งค่าต่าง ๆ

    โหมดกลางคืน

     

    เปิด-ปิดการแสดงภาพด้วยแสงสีแดง

    คำอธิบาย

    H

    เปิดหน้าต่าง Help สำหรับการแสดงคำอธิบายเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งาน

    ออกจากโปรแกรม

    Ctrl+q

    ปิดโปรแกรมสเตลลาเรียม

     

    2.  แถบเครื่องมือควบคุมเวลา (Time control tool bar) เป็นแถบเครื่องมือที่อยู่ด้านขวาของภาพในจอภาพ  ซึ่งประกอบด้วยปุ่มปรับจำนวน 4 ปุ่ม ใช้สำหรับการเปลี่ยนทิศทางหรือปรับอัตราการเคลื่อนของเวลา  เมื่อเริ่มเปิดซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม โปรแกรมจะกำหนดวันและเวลาตามค่าของระบบ  การแสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนของเวลาในระบบ  อย่างไรก็ตาม สามารถปรับให้เวลาเคลื่อนไปข้างหน้า (เดินหน้า) หรือเคลื่อนถอยหลังได้    นอกจากนี้ ยังสามารถปรับความเร็วได้อีกด้วย  หน้าที่ของปุ่มต่าง ๆ ในแถบเครื่องมือควบคุมเวลามีดังนี้


    ตารางที่ 2  ปุ่มในแถบเครื่องมือควบคุมเวลา

    ลักษณะ

    ปุ่มแถบเครื่องมือ

    แป้นอักขระ

    รายละเอียด

    เวลาถอยหลัง

    J

    ปรับเวลาให้เคลื่อนถอยหลัง   เลือกซ้ำความเร็วเพิ่มขึ้น

    ความเร็วปกติ

    K

    ปรับเวลาให้เคลื่อนไปด้วยความเร็วปกติ

    เวลาเดินหน้า

    L

    ปรับเวลาให้เคลื่อนไปข้างหน้า  เลือกซ้ำความเร็วเพิ่มขึ้น

    กลับสู่เวลาปัจจุบัน

    8

    เลือกกลับมาสู่เวลาและวันที่ที่เป็นปัจจุบัน

     

    การกำหนด Configuration ของซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม

              ก่อนเริ่มต้นใช้ Stellarium เพื่อศึกษาด้านดาราศาสตร์  หลังจากเปิดโปรแกรมแล้ว ควรกำหนดวันที่และเวลา  ตำแหน่งที่สังเกต  ภูมิทัศน์ โหมดภาพ  และตัวเลือกสำหรับการแสดงภาพวัตถุท้องฟ้าและแถบเครื่องมือหลักก่อน  จึงจะสามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้เต็มประสิทธิภาพและตรงตามความเป็นจริง  ซึ่งการกำหนดค่าเหล่านี้จะต้องเปิดหน้าต่าง  Configuration โดยการคลิกเลือกปุ่ม   จากแถบเครื่องมือหลัก  หรือกดแป้นเลข “1” ที่คีย์บอร์ด   หน้าต่าง Configuration จะมีแท็บสำหรับเลือกกำหนดค่าดังนี้  Language,  Date&Time,  Location,  Landscapes, Video  และ Rendering   ซึ่งแท็บทั้งหกแท็บใช้สำหรับการเลือกหรือการกำหนดค่าการทำงานของโปรแกรมดังนี้

    1.  การกำหนดภาษา โดยการเลือกแท็บ Language  จะมีเมนูให้เลือกสำหรับการกำหนดค่าจำนวน 3 เมนู  ได้แก่  Program Language, Sky Language และ Sky Culture   ภาษาที่มีไว้ให้เลือกไม่มีภาษาไทย    ดังนั้นควรเลือกเป็นภาษาอังกฤษทั้งเมนู Program Language และ Sky Language   ส่วน Sky Culture ให้เลือกที่ Western เพราะตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะอ้างอิงมาจากทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา   หลังจากกำหนดภาษาเสร็จแล้วให้เลือก Save as default ดังแสดงตามภาพที่ 4 (ก)

      

     

     

     

     

     

     


    (ก)                                                                                           (ข)

    ภาพที่ 4  แท็บสำหรับกำหนดภาษาและแท็บสำหรับกำหนดวันที่และเวลา

    2.  การกำหนดวันที่และเวลา  โดยการเลือกแท็บ Date&Time จะมีเมนูสำหรับกำหนดวันที่และเวลาจำนวน 3 เมนู ได้แก่ Current Time,  Time Zone  และ Time Speed  ปกติแล้วซอฟต์แวร์นี้จะใช้เวลาปัจจุบัน (Current Time)  และเขตเวลา (Time Zone) จากระบบคอมพิวเตอร์  หากเวลาไม่ตรงตามความเป็นจริง สามารถคลิกลูกศรที่เมนูขึ้นหรือลง  เพื่อปรับตัวเลขของปี (Year)  เดือน (Month)  วัน (Day)  ชั่วโมง (Hour)  นาที (Minutes)  และวินาที (Seconds)  ให้ถูกต้อง  ดังแสดงในภาพที่ 4 (ข)     ส่วนความเร็วในการเคลื่อนเวลา สามารถปรับโดยการกดที่แป้น J ให้เวลาเคลื่อนถอยหลัง  กดที่แป้น L ให้เวลาเคลื่อนไปข้างหน้า  และกดที่แป้น K ให้เวลาเคลื่อนไปด้วยความเร็วปกติ  การปรับเวลามีผลต่อตำแหน่งของดาว  

    ***ปกติเราจะตั้งวันที่และเวลาในระบบปฏิบัติการ Windows    ให้ตรงเวลามาตรฐานประเทศไทย  เพื่อที่จะให้ Stellarium แสดงท้องฟ้าในเวลาปัจจุบัน ทุกครั้งที่เปิดโปรแกรม***

    3.  การกำหนดตำแหน่งที่สังเกต  ตำแหน่งของดาวที่เห็นบนท้องฟ้าจะเปลี่ยนแปลงตามเวลาและตำแหน่งที่สังเกต  ดังนั้น ควรระบุตำแหน่งที่สังเกตบนโลกให้ซอฟต์แวร์สเตลลาเรียมทราบ  ด้วยการกำหนดตำแหน่งที่สังเกต แต่ไม่จำเป็นต้องกำหนดทุกครั้งที่เปิดโปรแกรมหากไม่เปลี่ยนตำแหน่งสังเกต  โดยเลือกแท็บ Location ในหน้าต่าง Configuration ดังแสดงในภาพที่ 5 (ก)  การกำหนดตำแหน่งสังเกตมีสองวิธี คือ

    3.1   การกำหนดโดยการใช้เมาส์เลือกตำแหน่งสังเกตในแผนที่โดยตรง การกำหนดด้วยวิธีนี้อาจได้ตำแหน่งไม่ตรงกับที่ต้องการมากนัก แต่ก็ใกล้เคียง 

    3.2   การใช้เมาส์เลื่อนปุ่มควบคุม ให้เลื่อนขึ้นหรือลงจนได้ค่าละติจูดและลองจิจูดตรงกับตำแหน่งที่สังเกต วิธีการนี้จะต้องทราบค่าละติจูดและลองจิจูดของตำแหน่งที่สังเกต  ***ในขั้นตอนนี้ให้นำเมาส์ไปวางบนประเทศไทย เลื่อนหาเมืองที่ใกล้กับท่านอยู่ให้มากที่สุด แล้วคลิก เช่น   Bangkok ลองจิจูด 100° 39¢ 11²  ละติจูดที่ 12°  57¢  36² N เมื่อกำหนดค่าตามความต้องการแล้ว  ทำการบันทึกค่าด้วยการเลือก Save location ทางด้านล่างขวามือ ดังภาพที่ 5 (ก) แล้วใส่ชื่อสถานที่ กดปุ่ม  ที่มุมขวาบน เพื่อปิดหน้าต่าง***

       

    (ก)                                                                            (ข)

    ภาพที่ 5  แท็บสำหรับการกำหนดตำแหน่งที่สังเกตและแท็บสำหรับการกำหนดภูมิทัศน์

    4.    การเลือกภูมิทัศน์   ซอฟต์แวร์สเตลลาเรียมได้นำภาพภูมิทัศน์จำนวน 6 แห่ง คือ Garching,  Guereins,  Hurricane,  Moon,  Ocean  และ Trees  ที่มีผู้สร้างขึ้นจากตำแหน่งที่เขาสังเกต มาเป็นฉากแสดงเส้นขอบฟ้าให้เรา   เมื่อผู้ใช้เลือกปุ่ม  จากแถบเครื่องมือหลักเพื่อเปิดให้เห็นพื้นดิน จะปรากฏภาพภูมิทัศน์ที่เลือกไว้เป็นเส้นขอบฟ้าให้เรา   โดยตำแหน่งดาวยังคงเป็นตำแหน่งที่ละติจูดและลองจิจูดที่เรากำหนดไว้    การเลือกภูมิทัศน์ดังกล่าว  จะเลือกจากแท็บ Landscapes   รายละเอียดของข้อมูลของภูมิทัศน์ 6 แห่งนั้น ดูได้จาก Info ในแท็บ Landscapes

    หากเราต้องการเห็นดาว ณ ภูมิทัศน์เดียวกันกับผู้สร้างภูมิทัศน์นั้น ให้เลือก Setting landscape updates the location  หลังจากเลือกแล้วจะปรากฏเครื่องหมายกากบาทในช่องสี่เหลี่ยม  ทุกครั้งที่เราเปลี่ยนภูมิทัศน์ ตำแหน่งดาวจะเปลี่ยนแปลงตาม  ดังนั้น หากเลิกใช้งานควรยกเลิกการเลือก Setting landscape updates the location  เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

    5.                  การกำหนดโหมดภาพ  เป็นการเลือกวิธีการฉายหรือการแสดงภาพท้องฟ้า ในลักษณะต่าง  ๆ ได้แก่ ทัศนมิติ (Perspective)  ออร์โทกราฟิก (Orthographic)  บริเวณเท่ากัน (Equal area)    ตาปลา (Fisheye)   สเตริโอกราฟิก (Stereographic)  และทรงกระบอก (Cylinder)   ซึ่งการแสดงภาพแต่ละลักษณะมีความแตกต่างกันควรเลือกใช้ให้เหมาะสม การฉายภาพบนจอรับภาพโดยทั่วไปควรกำหนดโหมดภาพโดยการเลือก Perspective  ในแท็บ Video ดังแสดงในภาพที่ 6 (ก)  ส่วนการฉายภาพบนโดมครึ่งวงกลมในท้องฟ้าจำลองควรเลือกแบบ Fisheye ซึ่งต้องใช้ร่วมกับเลนส์ฉายแบบ  Fisheye ด้วย ในแท็บ Video นอกจากมีรายการให้เลือกวิธีฉายภาพแล้ว  ยังมีกรอบตรวจสอบ (Check Box)  สำหรับให้เลือกการแสดงภาพท้องฟ้าอีก 2 กรอบ คือ Disk Viewport และ Viewport Distorter   การเลือก Disk Viewport จะเกิดขอบวงกลมสีดำขึ้นในจอคอมพิวเตอร์ ภาพจะปรากฏเฉพาะภายในวงกลม ภายนอกวงกลมเป็นสีดำ   เมื่อซูม (Zoom) ภาพให้เห็นฟีลด์การมองเห็น  ซึ่งคล้ายกับการมองภาพผ่านกล้องส่องทางไกล หรือมองภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์    ส่วน Viewport Distorter เป็นกรอบตรวจสอบที่ออกแบบเตรียมไว้สำหรับใช้กับการฉายภาพด้วยเครื่องฉายบนจอรับภาพทรงกลม  ที่ใช้ในท้องฟ้าจำลองแบบประหยัด

     

        

           (ก)                                                              (ข)

    ภาพที่ 6 แท็บสำหรับการกำหนดโหมดภาพและการกำหนดตัวเลือกการแสดงภาพ

    6.  การกำหนดตัวเลือกการแสดงภาพวัตถุท้องฟ้าและแถบเครื่องมือหลัก   ที่หน้าต่าง Configuration จะมีแท็บ Rendering ไว้สำหรับให้ผู้ใช้ปรับหรือเลือกกรอบตรวจสอบเพื่อควบคุมให้ซอฟต์แวร์สเตลลาเรียมแสดงภาพในฉากท้องฟ้าตรงตามความต้องการ  หลังจากการปรับหรือเลือกกรอบตรวจสอบแล้ว  ควรบันทึกข้อมูลไว้  ด้วยการคลิกเลือกที่ Save as default  

       กรอบตรวจสอบในแท็บ Rendering มีไว้สำหรับการปรับหรือเลือกใช้งานดังนี้

    6.1  Stars  ใช้สำหรับเลือกแสดงดาวฤกษ์  ยกเว้นดวงอาทิตย์

    6.2  Stars Names Up to mag  ใช้สำหรับเลือกเปิดป้ายชื่อดาว  ยังมีปุ่มปรับสำหรับควบคุมการเลือกขนาดความสว่างของดาว เพื่อเปิดป้ายชื่อดาว

    6.3  Star Twinkle Amount ใช้สำหรับการเลือกเปิดการกระพริบของดาว  ยังมีปุ่มสำหรับปรับอัตราการกระพริบอีกด้วย

    6.4  Constellations Lines ใช้สำหรับการเลือกวาดเส้นเชื่อมระหว่างดาว ช่วยให้เห็นเป็นกลุ่มดาว

    6.5  Constellations Names ใช้สำหรับเลือกเปิดป้ายชื่อกลุ่มดาว

    6.6  Nebulas Names. Up to mag ใช้สำหรับเลือกเปิดเนบิวลาและกาแล็กซี   

    6.7    Also display Nebulas without textures  ใช้สำหรับเลือกเพื่อแสดงเนบิวลาที่ไม่มีภาพด้วย

    6.8    Planets  ใช้สำหรับเลือกเปิดดาวเคราะห์ 

    6.9    Moon Scale  เพิ่มขนาดของดวงจันทร์เป็น 4 เท่า

    6.10  Planets Hints ใช้สำหรับเลือกวาดวงกลมเล็ก ๆ รอบดาวเคราะห์พร้อมกับแสดงป้ายชื่อของดาวเคราะห์

    6.11  Equatorial Grid ใช้สำหรับเลือกแสดงเส้นกริด ในระบบพิกัด RA/Dec (Right ascension/Declination)

    6.12  Equator Line ใช้สำหรับเลือกแสดงเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial equator)

    6.13  Azimuthal Grid ใช้สำหรับเลือกแสดงเส้นกริด ในระบบ Altitude/Azimuth

    6.14  Ecliptic Line ใช้สำหรับเลือกแสดงเส้นสุริยวิถี

    6.15  Ground   ใช้สำหรับเลือกแสดงพื้นดิน  ถ้าหากไม่เลือกแสดง  พื้นดินจะโปร่งใส จึงสามารถมองทะลุพื้นไปได้

    6.16  Cardinal Points ใช้สำหรับเลือกแสดงเครื่องหมายของทิศหลัก คือ ทิศเหนือ (N)  ทิศใต้ (S)  ทิศตะวันออก (E)  และทิศตะวันตก (W) ในแนวระดับ

    6.17  Atmosphere ใช้สำหรับเลือกแสดงปรากฏการณ์ของบรรยากาศ  เช่น ท้องฟ้าจะสว่างมากเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือแนวระดับเส้นขอบฟ้า ไม่สามารถมองเห็นดาวได้  และการเกิดฟ้าหลัวรอบ ๆ ดวงจันทร์ เป็นต้น

    6.18  Fog ใช้สำหรับเลือกแสดงหมอกบาง ๆ ในแนวเส้นขอบฟ้า  ช่วยให้ทราบแนวเส้นขอบฟ้าเมื่อปิดพื้นดิน

    6.19  Meteor Rate per minute ใช้สำหรับเลือกอัตราดาวตก (ดวงต่อนาที)

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×