การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์&ตัวอย่าง - การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์&ตัวอย่าง นิยาย การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์&ตัวอย่าง : Dek-D.com - Writer

    การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์&ตัวอย่าง

    ผู้เข้าชมรวม

    447,501

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    18

    ผู้เข้าชมรวม


    447.5K

    ความคิดเห็น


    398

    คนติดตาม


    34
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      โครงงานวิทยาศาสตร์

      -      คือ การที่นักเรียนมีปัญหา หรือข้อสงสัย แล้วนำปัญหานั้นไปทดลองศึกษาแก้ปัญหา โดยใช้  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำผลงานมาเสนอวิเคราะห์

      -     เป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วรวบรวมสรุป วิเคราะห์ รายงานผลที่ได้จากการศึกษา

           ความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

      การศึกษาค้นคว้าด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนเกิด   การเรียนรู้ มีประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ฝึกแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะติดตัว
      ผู้เรียนไปตลอด
         เมื่อมีข้อสงสัย หรือปัญหาเกิดขึ้น จะแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
      ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าความรู้ที่ขาดการปฏิบัติ ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าว
       จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าแสดงออก

      โครงงานวิทยาศาสตร์ ทำได้หลายรูปแบบ จ๊ะ

                        โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง      โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ 

                        โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์   โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี

          แต่ที่นักเรียนนิยมทำกัน มี 3 ประเภท  คือ ทดลอง  สำรวจ   และ สิ่งประดิษฐ์    สำหรับ
          ประเภท ทฤษฎี เหมาะสมสำหรับระดับมัธยมปลาย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ชั้นสูง

       โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง 

         มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรต้น ที่มีผลต่อ
         ตัวแปรตาม โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อผลการทดลอง

       โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี

               เป็นโครงงานที่ผู้ทำโครงงาน ได้เสนอทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ
               ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือ คำอธิบายก็ได้

        โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทประดิษฐ์

         เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยต่าง ๆ อาจคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือดัดแปลง ปรับปรุง ของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

       โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ

          เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่นำมาเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะ หรือรูปแบบสัมพันธ์ของเรื่องที่ศึกษาได้ชัดเจนขึ้น

       

      วิธีการทางวิทยาศาสตร์

      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

       

      1. กำหนดปัญหา
        2. ตั้งสมมติฐาน
        3. รวบรวมข้อมูล
        4. ทดลอง
        5. สรุปผล

       

       

       

       

       

       

       

       1. ทักษะการกำหนด และควบคุมตัวแปร
      2. ทักษะการคำนวณ
      3. ทักษะการจัดทำ และสื่อความหมายข้อมูล

      4. ทักษะการจำแนกประเภท
      5. ทักษะการตั้งสมมติฐาน

      6. ทักษะการตีความหมาย
      7. ทักษะการทดลอง
      8. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
      9. ทักษะการพยากรณ์
      10. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
      11. ทักษะการวัด

      12. ทักษะการ สังเกต
      13. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติและ      มิติกับเวลา

       

          ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

       การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
      ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ

           
      การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม
      ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน

          
      ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน

          
      ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง
      ให้แตกต่างกัน

          
      ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง
      เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

      ทักษะการคำนวณ  คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้
                   มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

      ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล

      เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่
      เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย
      ของข้อมูลดียิ่งขึ้น     โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร
      กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย

      ทักษะการ จำแนกประเภท

                   
      คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์
      โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

       

      ทักษะการทดลอง

                 มี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม
      เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก

                 การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ
      สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
      การออกแบบการทดลอง
      การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอง

      ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

              คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ
                   (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง)
                   ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้

      ทักษะการพยากรณ์

               คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์
               ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น
               มาช่วยในการสรุป

           การพยากรณ์มีสองทาง

               คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ
                    การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่

      ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

                คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล
                     โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย

       

      ทักษะการวัด 

                คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ
                     ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง
                    โดยมีหน่วยกำกับเสมอ

      ทักษะการ สังเกต

             คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
                  เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น
                  ส่วนตัวลงไป

       

      ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา

               วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง
               ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี 2 มิติ ได้แก่ มิติยาว
               มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา

      ขั้นตอนการวางแผน

      ปัญหา

      จุดประสงค์

      สมมุติฐานการศึกษาและทดลอง

      การกำหนดและควบคุมตัวแปร

      วัสดุอุปกรณ์

      ขั้นตอนการทดลอง

      การออกแบบ

      การดำเนินการและบันทึกผล

      สรุปรายงานผล

       

       

       

       

       

      ศึกษาสถานการณ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม

      ถ้าฉันปล่อยก้อนหินก้อนเล็ก และ ก้อนใหญ่ที่ถือ
      อยู่ในมือของฉันพร้อมๆกัน
      เธอคิดว่าก้อนหินจะตกถึงพื้นพร้อมกันไหม ?

      จากสถานการณ์ จุดประสงค์ของการศึกษาทดลอง คือ

      - เพื่อเปรียบเทียบการตกถึงพื้นของก้อนหินก้อนใหญ่ และก้อนเล็ก

       

       

      จากสถานการณ์ จุดประสงค์ของการศึกษาทดลอง คือ อะไร?
      (เลือกข้อที่ถูก 1 ข้อ)

      -เพื่อเปรียบเทียบการตกถึงพื้นของก้อนหินก้อนใหญ่ และก้อนเล็ก

      จากสถานการณ์ คาดว่าจะได้ผลการทดลองอย่างไรบ้าง

      จากสถานการณ์ นักเรียนคิดว่าข้อความด้านล่างเป็นตัวแปรชนิดใด ?
      ตัวแปรต้น 1. ก้อนหินก้อนเล็ก
                         2. ก้อนหินก้อนใหญ่
                         3. นักเรียน
      ตัวแปรตาม4. การตกถึงพื้นของก้อนหินก้อนเล็ก
                         5. การตกถึงพื้นของก้อนหินก้อนใหญ่
      ตัวแปรควบคุม6. ปล่อยก้อนหินจากความสูงเท่ากัน
                              7. ปล่อยก้อนหินในเวลาเดียวกัน(พร้อมกัน)
                              8. ก้อนหินชนิดเดียวกัน

      จากสถานการณ์ นักเรียนคิดว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง ?
      1. ก้อนหินก้อนเล็ก
      2. ก้อนหินก้อนใหญ่
      3. นักเรียน
      6. นาฬิกาจับเวลา

      จากสถานการณ์ จะทำการทดลองอย่างไร ? เรียงลำดับให้ถูกต้อง
         
      1.นักเรียนคนหนึ่งยืืนกางแขน มือข้างหนึ่งถือก้อนหินก้อนใหญ่
              อีกข้างหนึ่งถือก้อนหินก้อนเล็ก

       2.ปล่อยก้อนหินทั้งสองก้อน พร้อมกัน
         3.สังเกตจับเวลาที่ก้อนหินทั้งสองก้อนตกถึงพื้น ( มีผู้จับเวลา 2 คน)

             บันทึกผล
         

       การทดลอง (ใบความรู้)
        เป็นการปฏิบัติจริงซึ่งจะทดลองหลาย ๆ ครั้ง อย่างน้อยต้อง 3 ครั้ง เพื่อจะได้ผลที่น่าเชื่อถือ แต่การทดลอง บางครั้งผลการทดลองอาจขัดแย้งกัน ต้องเพิ่มการทดลองให้มากขึ้นเป็น 5 ครั้ง หรือ 10 ครั้ง แล้วจึงใช้วิธีเฉลี่ยข้อมูลหรือเลือกครั้งที่เป็นไปได้มากเป็นผลการทดลอง ข้อมูลที่ได้ต้องบันทึก และนำเสนอทั้งหมด มิใช่เลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่เป็นไปได้ตามสมมติฐานเท่านั้น   

      การออกแบบการทดลอง
      เป็นการบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดให้เป็นรูปธรรม
      ปฏิบัติได้จริงน่าเชื่อถือ จะใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใดบ้าง
      จะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองเป็นอย่างไร
      ในบางครั้งต้องไปค้นคว้าว่ามีผู้เคยทำการทดลองมาแล้วหรือยัง
      ผลการทดลองเป็นอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

      ตัวอย่างการบันทึก

      ก้อนหิน

      เวลาที่ก้อนหินตกถึงพื้น (วินาที)

      ก้อนหินก้อนใหญ่

      1

      ก้อนหินก้อนใหญ่

      1

      การทดลองและการบันทึกผล

      ให้ดำเนินการตามการทดลองที่ได้วางแผนไว้ และ บันทึกผลลงในตาราง  

      ตารางการบันทึกผลการทดลอง

      ก้อนหิน

      เวลาที่ก้อนหินตกถึงพื้น (วินาที)

      ก้อนหินก้อนใหญ่

      1

      ก้อนหินก้อนใหญ่

      1

       

      การอภิปรายผล สรุปผล และนำเสนอ

      นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาประเมินผล อภิปรายโดยการศึกษาจากเอกสารหลักฐาน มาประกอบ ว่ามีข้อความแตกต่างกันเพราะอะไร จะต้องหาเหตุผลหรือข้อเสนอแนะให้ได้ การนำเสนอต้องนำเสนอข้อมูลที่มาของความรู้ใหม่ กระบวนการทำงาน โดยการเขียนรายงาน และ จัดบอร์ดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้จัดทำ

      เค้าโครงงาน

      บทคัดย่อ

      กิตติกรรมประกาศ

      บทนำ

      เอกสารที่เกี่ยวข้อง

      อุปกรณ์และวิธีดำเนินงาน

      ผลการศึกษาทดลอง

      สรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ

      เอกสารอ้างอิง

      แหล่งเรียนรู้

      ผู้จัดทำ

      รูปภาพและเกียรติบัตร

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      บทคัดย่อ 

           โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง
      ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า เป็นโครงงานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดทำขึ้นเพื่อ เปรียบเทียบว่าผ้าชนิดใดเหมาะสมกับการเพ้นท์ผ้า  ศึกษาสีของผ้าหลังจากเพ้นท์
        ด้วยยางกล้วย นำไปย้อม ซัก แล้วตากให้แห้ง  และศึกษาความคงทนสีของผ้าหลังจากเพ้นท์ด้วยยางกล้วย โดยได้ทำการศึกษาทดลอง ตอนที่ 1  นำผ้าแมมเบอร์กผ้ามัสลิน   ผ้าดิบ นำมาตัดให้มีขนาด 11 x11 นิ้ว จำนวน ชนิดละ 1 ผืน  เย็บริมให้เรียบร้อย นำไปซักตากให้แห้ง รีดให้เรียบ นำผ้าแต่ละชนิดไปขึงกับเฟรมวาดรูปตามต้องการ นำช้อนตักแกง ทุบที่ปลายด้ามด้วยค้อนให้มีรูขนาดเล็ก ใช้สำหรับเขียนเทียน ต้มเทียนไขให้ละลาย นำช้อนที่เตรียมไว้   มาชุบเทียนที่ละลายแล้วเขียนตามเส้นลวดลายที่วาดไว้ นำยางกล้วยมาระบายตามรูปภาพโดยใช้พู่กัน ตากให้แห้ง ต้มน้ำเตรียมสีย้อมผ้า นำผ้าลงย้อมใช้แท่งแก้ว-คนสาร คนไปมาเพื่อให้ผ้าที่ย้อมสัมผัสกับสีย้อมผ้าทุกส่วน ประมาณ 5 นาที ซักตากให้แห้ง   สังเกตสีของผ้า บันทึกผล

       กิตติกรรมประกาศ

           โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง
      "ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า" สำเร็จด้วยความกรุณาจาก
        อาจารย์อัจฉรา โกมลเปลิน ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลลำพูน ที่ให้ข้อคิดเห็น และสนับสนุน
        ด้านงบประมาณ ให้มีการศึกษาโครงงาน ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์เสาวลักษณ์ ณ ลำพูน, อาจารย์จตุรพร เชี่ยววานิช อาจารย์จิราภรณ์ จันทนุปาน
        ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลลำพูน และอาจารย์ทวี สีวิจี๋ ที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขโครงงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ถนอมจิต ปิ่นกันทา  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ให้ความ ช่วยเหลือ แนะนำ ในการศึกษาโครงงานอย่างใกล้ชิดจนทำให้โครงงาน ที่ศึกษาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


      คณะผู้จัดทำ

      บทที่ 1
                                             บทนำ
       
      1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
            ในชีวิตประจำวันของเรากล้วยนับว่าเป็นพืชที่ให้ประโยชน์แก่คนและสัตว์อย่างมากเรารับ ประทาน ผลกล้วยสุก ซึ่งให้คุณค่าสารอาหารคาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และวิตามิน นำผลกล้วยสุกและกล้วยดิบที่แก่จัด มาแปรรูปเพื่อ ให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เช่น กล้วยกวน กล้วยเชื่อม   กล้วยฉาบ ฯลฯ   ใบกล้วยนำมาใช้ห่อขนม เย็บเป็นถาด ใส่อาหาร ใช้ทำบายศรี ฯลฯ ส่วนก้านใบกล้วยนำมาเป็นอาหารสัตว์ ทำเชือก ฯลฯ จะเห็นได้ว่าทุกส่วนของกล้วยให้ประโยชน์มากมาย  คณะผู้จัดทำสังเกตเห็นว่าเมื่อเรานำเอากล้วยมาใช้ประโยชน์โดยไม่ระมัดระวังยางกล้วยถ้าติดบนเสื้อผ้าแล้ว จะซักไม่ออกจะเป็นสีน้ำตาลติดแน่น ซึ่งคุณสมบัติของยางกล้วยนี้   คณะผู้จัดทำคิดว่าจะนำไปเพ้นท์ลงบนผ้าเขียนเป็นลวดลายต่าง ๆ แล้วนำไปย้อม จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น

       

       

        บทที่ 2
                                             เอกสารที่เกี่ยวข้อง


           ผ้าแมมเบอร์ก เป็นผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ยับง่าย
           ผ้ามัสลิน เป็นผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด บาง
           ผ้าดิบ เป็นผ้าฝ้าย เนื้อหยาบ มีสีขาวขุ่น

                                                     กล้วย
      ประวัติของกล้วย

            กล้วยเป็นพืชเขตร้อนพืชหนึ่งของไทยที่มีประโยชน์มากมาย ถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเซียตะวันออก เฉียงใต้   มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ที่รู้จักกันดีและปลูกแพร่หลายในเขตนี้คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม (กล้วยหอมทอง   หอมเขียว หอมค่อม) และกล้วยไข่ ซึ่งโดยเฉพาะกล้วยหอมได้รับความนิยม จากในและต่างประเทศมาก   กล้วยใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เช่น รับประทานสุกและแปรรูป สำหรับแปรรูป สามารถทำของหวาน    กลั่นเป็นสุรา เครื่องดื่ม ทำน้ำส้มสายชู ใบแห้งใช้ทำมวนบุหรี่ ปลีใช้เป็นอาหารเป็นต้น

      ประวัติกล้วย
           ล้วยมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล้วยในปัจจุบันกลายพันธุ์ มาจากกล้วยป่า
       ที่มีรสหวาน และได้สืบพันธุ์หน่อกล้วย กันออกไป ต่อมาได้มีการคัดเลือกพันธุ์ ุ์กล้วยที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ  จึงเกิด  การผสมพันธุ์กล้วยขึ้นในปัจจุบัน ทำให้กล้วยที่ปลูกเป็นการค้า ในปัจจุบันนี้ไม่มีเมล็ด
           ปัจจุบันกล้วยมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วไปในแถบเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือ และลงมาทางใต้
       ในประเทศ ที่มีภูมิอากาศเหมาะสมแก่การปลูกกล้วย มีทั้งประเทศในทวีปแอฟริกา เอเชีย และหมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก ถึงแม้ว่า ประเทศ ไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า พบ เห็นหรือนำพันธุ์กล้วยพันธุ์ใดเข้ามาครั้งแรก แต่มีผู้กล่าวว่ากล้วยมากกว่า 13 สายพันธุ์มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยนั่นเอง    กล้วยที่นิยมปลูกกันในประเทศไทย กล้วยที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันดีและนิยมปลูกกันแพร่หลายมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ได้แก่ กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยพันธุ์ หนึ่งที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันในปัจจุบัน และได้รับความนิยม จากผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศมาก มีลักษณะ ลำต้นใหญ่  แข็งแรง กาบใบชั้นใน มีสีเขียวหรือสีชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐานดี มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดแบบคอขวด เปลือกหนา เมื่อผลสุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีรสชาติอมหวาน กล้วยหอมทอง  เครือหนึ่ง ๆ เฉลี่ย แล้วมีประมาณ 13 หวี แต่กล้วยพันธุ์นี้มีข้อเสียคือ ไม่ทนทานต่อโรคตายพราย และโรคใบจุด

      1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงงาน
             ตอนที่ 1
             เพื่อเปรียบเทียบว่าผ้าชนิดใดเหมาะสมกับการเพ้นท์ผ้า
             ตอนที่ 2
               1. เพื่อศึกษาสีของผ้าหลังจากเพ้นท์ด้วยยางกล้วย นำไปย้อม ซัก แล้วตากให้แห้ง
               2. เพื่อศึกษาความคงทนสีของผ้า หลังจากเพ้นท์ด้วยยางกล้วย นำไปย้อมซัก ตากให้แห้ง
      1.3 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาการเพ้นท์ผ้าในครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะการนำเอายางกล้วย มาทดลองเพ้นท์ลงบนผ้ามัสลิน
        ผ้าแมมเบอร์ก และผ้าดิบ เท่านั้น กำหนดเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544
        โรงเรียนอนุบาลลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
      1.4 ตัวแปรที่ศึกษา
           ตอนที่ 1
              ตัวแปรต้น ผ้าแมมเบอร์ก ผ้ามัสลิน ผ้าดิบ
              ตัวแปรตาม ลักษณะ สี ของผ้าแมมเบอร์ก ผ้ามัสลิน ผ้าดิบ หลังจากเพ้นท์ด้วย
              ยางกล้วย นำไปย้อม ซักแล้วตากให้แห้ง
              ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาที่ใช้ในการย้อมผ้าท่ากัน สีย้อมผ้าชนิดเดียวกัน
              ภาพวาดเหมือนกัน ผ้าหลังจากทีเพ้นท์ด้วยยางกล้วยแห้ง เหมือนกัน

      ตอนที่ 2
           ตัวแปรต้น สีย้อมผ้าสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน
           ตัวแปรตาม สีของผ้าหลังจากเพ้นท์ด้วยยางกล้วย นำไปย้อม ซัก แล้วตากให้แห้ง
      1.5 สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า
           ตอนที่ 1 ถ้านำยางกล้วยมาเพ้นท์ลงบนผ้าแมมเบอร์ก ผ้ามัสลิน และผ้าดิบแล้ว
        ผ้าแมมเบอร์กน่าจะมีความเหมาะสมกับการเพ้นท์ผ้า
           ตอนที่ 2 ถ้านำยางกล้วย มาเพ้นท์ผ้าแล้วนำไปย้อมด้วยสีย้อมผ้าสีต่าง ๆ แล้ว
        ผ้าที่เพ้นท์ จากยางกล้วยน่าจะให้สีเหมือนกับสีที่นำมาย้อม
      1.6 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
            ทำให้ทราบการเพ้นท์ผ้าที่ให้สีเรียบ สวยงาม สีไม่ตก และผ้าที่เหมาะ
        สำหรับการ เพ้นท์ ด้วยยางกล้วย และนำความรู้ที่ได้รับจากการทำ
        โครงงานไปใช้ ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และ เผยแพร่ให้ผู้สนใจโดยทั่วไป
      1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ
           1) ผ้าที่เหมาะสมกับการเพ้นท์ หมายถึง ได้สีเรียบสวยงาม สีไม่ตก
               หลังจากเพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อม ซัก ตากให้แห้ง
           2) ยางกล้วย หมายถึง ของเหลวที่ไหลออกมาจากต้นกล้วยเมื่อเราตัด
              ก้านกล้วยปลีกล้วย หน่อกล้วย
           3) ความคงทนสีของผ้า หมายถึง สีของผ้าไม่ซีดจาง หลังจากซักรีดแล้ว 5 ครั้ง

      บทที่ 3
      อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน

      3.1 สถานที่ทำการศึกษา
           โรงเรียนอนุบาลลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
      3.2 วัสดุ /อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
           1. ผ้ามัสลิน ผ้าแมมเบอร์ก ผ้าดิบ    2. ยางกล้วย
           3. ช้อนตักแกง                              4. สีย้อมผ้า
           5. บิกเกอร์                                   6. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด
           7. เฟรม                                      8. ถังน้ำ
           9. ช้อนตักสาร                             10. แท่งแก้วคนสาร
          11. พู่กัน                                    12. เทียนไขสีขาว
          13. ไม้ขีดไฟ                               14. สก็อตเทปใส

      3.3 วิธีการศึกษาทดลอง
      ตอนที่ 1
          1. นำผ้าแมมเบอร์ก ผ้ามัสลิน ผ้าดิบ นำมาตัดให้มีขนาด 11 x11 นิ้ว จำนวน
              ชนิดละ 1 ผืน เย็บริมให้เรียบร้อย นำไปซัก ตากให้แห้ง รีดให้เรียบ
          2. นำผ้าแต่ละชนิดไปขึงกับเฟรม วาดรูปตามต้องการ
          3. นำช้อนตักแกง ทุบที่ปลายด้ามด้วยค้อนให้มีรูขนาดเล็ก ใช้สำหรับเขียนเทียน
          4. ต้มเทียนไขให้ละลาย นำช้อนที่เตรียมไว้ในข้อ 3 โดยนำมาชุบเทียนที่ละลายแล้ว
             เขียนตามเส้นลวดลายที่วาดไว้
          5. นำยางกล้วยมาระบายตามรูปภาพโดยใช้พู่กัน
          6. นำไปตากให้แห้ง
          7. ต้มน้ำเตรียมสีย้อมผ้า นำผ้าลงย้อม ใช้แท่งแก้วคนสารคนไปมาเพื่อให้ผ้าที่ย้อม
             สัมผัสกับสีย้อมผ้าทุกส่วน ประมาณ 5 นาที
          8. นำไปซักตากให้แห้ง
          9. สังเกตสีของผ้า บันทึกผล
        10. ทดลองซ้ำ ตั้งแต่ข้อ 1-9

      ตอนที่ 2
         1. นำผ้ามัสลินมาตัดให้มีขนาด 11 x11 นิ้ว เย็บริมให้เรียบร้อย นำไปซัก ตาก
           ให้แห้ง รีดให้เรียบ
         2. นำผ้าแต่ละชนิดไปขึงกับเฟรม วาดรูปตามต้องการ
         3. นำช้อนตักแกง ทุบที่ปลายด้ามด้วยค้อนให้มีรูขนาดเล็ก ใช้สำหรับเขียนเทียน
         4. ต้มเทียนไขให้ละลาย นำช้อนที่เตรียมไว้ในข้อ 3 โดยนำมาชุบเทียนที่ละลายแล้ว
            เขียนตามเส้นลวดลายที่วาดไว้
         5. นำยางกล้วยมาระบายตามรูปภาพโดยใช้พู่กัน
         6. นำไปตากให้แห้ง
         7. ต้มน้ำเตรียมสีย้อมผ้าสีแดง นำผ้าลงย้อมใช้แท่งแก้วคนสารคนไปมา
            เพื่อให้ผ้าที่ย้อมสัมผัสกับสีย้อมผ้าทุกส่วน
         8. นำไปซักตากให้แห้ง
         9. สังเกตสีของผ้า บันทึกผล
         10. ทดลองเหมือนกับข้อ 1-9 แต่เปลี่ยนสีย้อมผ้าเป็นสีเขียว เหลือง ส้ม น้ำเงิน
         11. ศึกษาความคงทนสีของผ้าโดยนำผ้ามัสลินที่มีขนาดเท่ากัน เย็บริมให้เรียบร้อย
              มาจำนวน 10 ผืน นำผ้าจำนวน 5 ผืนไปเพ้นท์ด้วยยางกล้วยให้ทั่วทุกผืน
              ตากให้แห้ง เตรียมสีย้อมผ้าแล้วนำผ้าทั้งหมดลงย้อม นำผ้าไปซัก ตากให้แห้ง
              สังเกต บันทึกผลหลัง การซัก

      บทที่ 4
      ผลการศึกษาทดลอง

          จากการศึกษาโครงงานเรื่อง ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา มีดังนี้
          ตารางบันทึกผลการศึกษาทดลอง
      ตอนที่ 1 ชนิดของผ้าที่นำมาเพ้นท์จากยางกล้วย
      ผลการสังเกต
            ผ้าแมมเบอร์ก บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยมีสีค่อนข้างเรียบ  ส่วนบริเวณที่ไม่ได้เพ้นท์ด้วยยางกล้วย
        จะมีสีซีดจางแต่เข้มกว่าผ้ามัสลิน
           ผ้ามัสลิน บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยมีสีเรียบ สีเข้ม สวยงาม ส่วนบริเวณที่ไม่ได้เพ้นท์
        ด้วยยางกล้วยจะมีสีซีดจาง
           ผ้าดิบ บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยมีสีไม่เรียบ เป็นด่าง ส่วนบริเวณที่ไม่ได้เพ้นท์
        ด้วยยางกล้วยจะมีสีเข้มกว่า
           ผ้าแมมเบอร์ก
      สรุปลจากการศึกษาค้นคว้า ตอนที่ 1
           จากการศึกษาการเพ้นท์ผ้าจากยางกล้วยด้วยผ้าแมมเบอร์ก ผ้ามัสลิน และผ้าดิบ
        ผลศึกษาพบว่า ผ้าที่เหมาะสำหรับเพ้นท์ด้วยยางกล้วยคือ ผ้ามัสลิน รองลงมาคือ
        ผ้าแมมเบอร์ก  ส่วนผ้าดิบไม่เหมาะสำหรับนำมาเพ้นท์ด้วยยางกล้วย เพราะจะให้สีขรุขระ ไม่เรียบ

      บันทึกผลการศึกษาทดลอง ตอนที่ 2
      สีที่นำมาย้อมหลังจากเพ้นท์ด้วยยางกล้วย
      ผลการสังเกต
      สีแดง บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยมีสีชมพูเข้ม สีเรียบ ส่วนบริเวณที่ไม่ได้เพ้นท์
                ด้วยยางกล้วยจะมีสีชมพูอ่อน
      สีเขียว บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วย มีสีเขียว สีเรียบ ส่วนบริเวณ ที่ไม่ได้เพ้นท์ด้วยยางกล้วย
               จะมีสีเขียวอมฟ้า ซีดจาง
      สีน้ำเงิน บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วย มีสีนำเงิน สีเรียบ ส่วนบริเวณ ที่ไม่ได้เพ้นท์
                 ด้วยยางกล้วย จะมีสีฟ้าอมเทา
      สีส้ม บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วย มีส้มอมน้ำตาล สีเรียบ ส่วนบริเวณที่ไม่ได้เพ้นท์ด้วยยางกล้วยจะมีสีส้มอ่อน
      สีเหลือง บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยมีสีเหลือง สีเรียบ ส่วนบริเวณ ที่ไม่ได้เพ้นท์ด้วยยาง
                 กล้วยจะมีสีเหลืองอ่อน
      ผลการศึกษาความคงทนของสีผ้า ลักษณะของผ้าที่ย้อม
      ผลการสังเกต
           ผ้าที่เพ้นด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อม เมื่อนำผ้าไปซักจำนวน 5 ครั้ง สีของผ้าไม่ซีดจาง
      ผ้าที่ไม่ได้เพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อม เมื่อนำผ้าไปซักจำนวน 5 ครั้ง ผ้าจะมีสีซีดจางลงตามลำดับ

      สรุปผลการศึกษาค้นคว้า ตอนที่ 2
      1. ผ้าที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อมด้วยสีเขียว สีเหลือง และสีน้ำเงิน บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วย
          จะให้สีผ้าเหมือนกับสีที่นำมาย้อม บริเวณอื่นจะให้สีซีดจางลง ส่วนสีแดง บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วย
          จะให้สีผ้าเป็นสีชมพูเข้ม    สีส้มให้สีผ้าเป็นสีส้มอมน้ำตาล และบริเวณอื่นจะให้สีซีดจางลง
      2. ผ้าที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อม สีของผ้าจะมีความคงทน ส่วนผ้าที่ไม่ได้เพ้นท์ด้วยยางกล้วย
          สีจะซีดจางลงตามลำดับ

      บทที่ 5
                                         สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ


      5.1 สรุปผลการศึกษา
             จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า ผลการศึกษาพบว่า
      1. ผ้าที่เหมาะสำหรับเพ้นท์ด้วยยางกล้วยคือ ผ้ามัสลิน รองลงมาคือผ้าแมมเบอร์ก
         ส่วนผ้าดิบไม่เหมาะสำหรับนำมาเพ้นท์ด้วยยางกล้วย เพราะจะให้สีขรุขระ ไม่เรียบ
      2. ผ้าที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อม บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยจะให้
          สีผ้าเหมือนกับสีที่นำมาย้อมหรือสีใกล้เคียง ส่วนบริเวณอื่นจะให้สีจางลง
      3. ผ้าที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปย้อม สีของผ้าจะมีความคงทน ส่วนผ้าที่ไม่ได้
         เพ้นท์ด้วยยางกล้วยสีจะซีดจางลงตามลำดับ
      5.2 อภิปราย การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า
             คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า
      1. ยางกล้วยที่ได้จากการตัดก้านกล้วย ปลีกล้วย หน่อกล้วยที่สูงไม่เกิน 1 เมตร    
          จะนำมาใช้ในการเพ้นท์ผ้าได้ดี ส่วนน้ำที่คั้นได้จากลำต้นของกล้วยที่โตเต็มที่
          กาบของปลีกล้วย เพ้นท์ผ้าไม่ดี

      2. บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยแล้วนำไปตากจนแห้งจะดูดสีย้อมผ้าได้ดีกว่าแห้งหมาด ๆ หรือยังเปียกอยู่
          และขณะเพ้นท์ผ้าไม่ควรให้ยางกล้วยหยดลงบนผืนผ้าที่ไม่ต้องการเพ้นท์เพราะเวลาย้อมผ้าออกมาแล้ว
         จะให้สีเลอะเทอะ ไม่สวย
      3. การเพ้นท์ผ้าด้วยยางกล้วย ถ้าเราใส่สารช่วยย้อม ไม่ว่าจะย้อมด้วยสีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน
         บริเวณที่เพ้นท์ด้วยยางกล้วยจะให้สีน้ำตาล ส่วนบริเวณอื่นจะให้สีเหมือนกับที่นำมาย้อมหรือใกล้เคียง
          แต่สีจะเข้มกว่าที่ไม่ได้ใส่สารเคมีที่ช่วยในการย้อมผ้าลงไป
      4. ในการย้อมผ้าควรคลี่ผ้าให้สัมผัสกับสีย้อมผ้าให้ทั่ว ถ้ามีบางส่วนของผ้าไม่ได้สัมผัสกับสีย้อมผ้า
          สีที่ได้จะไม่เรียบ
      5. การคำนวณหาต้นทุน-กำไรในการทำผ้าเช็ดหน้าตามโครงงาน ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ ผ้ามัสลิน 1 เมตร  
         ราคา 55 บาท นำไปตัดผ้าเช็ดหน้าได้ 15 ผืน นำไปจ้างเย็บริมผ้า ผืนละ 2 บาทค่าสีย้อมผ้าผืนละ
         1 บาทคิดเป็นต้นทุนประมาณ ผืนละ 7 บาท ถ้าขายผืนละ 10 บาท จะได้ค่าแรงและกำไรผืนละ 3 บาท

      5.3 ข้อเสนอแนะ

           ควรมีการศึกษานำผ้าที่เพ้นท์จากยางกล้วยแล้วนำไปย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ

      เอกสารอ้างอิง

         สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2537). หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
         0110 เส้นใยกับสีย้อม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
         Maejo.com - Agricuture of Thailand - การปลูกกล้วย.

      แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

          เรื่อง กล้วย

      www.mahidol.ac.th/mahidol/py/mpcenter/html/musa.html
      http://www.bangkokhealth.com/consumer_htdoc/consumer_health_detail.asp?Number=9154
      http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no01/banana.html
      http://www.thai.net/kochkorn/Co/Banana.html
      http://se-ed.net/thaieducate/7fruit3.html
      http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-4064.html
      http://suan_naratip.tripod.com/banana.htm


           โครงงานวิทยาศาสตร์
      http://www.jstp.org/science_project.htm
      http://www.jstp.org
      http://www.nstda.or.th/index.php
      http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-5726.html
      http://www.ipst.ac.th
      http://www.onec.go.th/publication/t_boonma/index_boonma.htm

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      "ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ"

      (แจ้งลบ)

      ขอบคุณจริงๆ นะค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ รอดแล้วเรา เกือบแล้วมั้ยล่ะ ( เกือบโดนครูว่า เพราะไม่มีโครงงาน ) ... อ่านเพิ่มเติม

      ขอบคุณจริงๆ นะค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ รอดแล้วเรา เกือบแล้วมั้ยล่ะ ( เกือบโดนครูว่า เพราะไม่มีโครงงาน )   อ่านน้อยลง

      วานิลา | 25 พ.ค. 53

      • 17

      • 1

      คำนิยมล่าสุด

      "ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ"

      (แจ้งลบ)

      ขอบคุณจริงๆ นะค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ รอดแล้วเรา เกือบแล้วมั้ยล่ะ ( เกือบโดนครูว่า เพราะไม่มีโครงงาน ) ... อ่านเพิ่มเติม

      ขอบคุณจริงๆ นะค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ รอดแล้วเรา เกือบแล้วมั้ยล่ะ ( เกือบโดนครูว่า เพราะไม่มีโครงงาน )   อ่านน้อยลง

      วานิลา | 25 พ.ค. 53

      • 17

      • 1

      ความคิดเห็น

      ×