คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : วิธีการดำเนินเรื่อง
ว่าไปแล้ว การดำเนินเรื่องก็เป็นเทคนิคของแต่ละคนอ่ะนะ ว่าแต่ละคนจะใช้วิธี
ไหน
แต่จุดหลักสำคัญ มี 2 ประการคือ
1. ให้เกิดการน่าติดตาม
2.นำไปสู่จุดเหตุการณ์ของเรื่องที่เราต้องการ นั่นคือไคลแมกซ์
แต่ว่าไปแล้ว การเขียนเรื่องๆหนึ่ง ทำไมต้องนึกถึงจุดไคลแมกซ์ ทำไมต้อง
กำหนดจุดไคลแมกซ์ไว้ว่าจะให้อยู่บทไหน พอพูดกันถึงตรงนี้ ก็ทำให้เกิดข้อคิด
ว่า.. เราแบ่งตอนในการเขียนนิยายอย่างไร
เท่าที่ดู.. จุดประสงค์หรือเหตุผลในการแบ่งตอนของเราเวลาเขียน มักมี
4 ลักษณะ
1. แบ่งตามความยาว.. คือพอเขียนไปสักช่วงหนึ่ง จนรู้สึกว่ามันเยอะ ก็หยุดเพื่อ
ขึ้นตอนใหม่.. ลักษณะนี้ มักเป็นสำหรับคนที่เขียนเรื่องไปเรื่อย ไม่ได้กำหนดพล็อต
กะเกณฑ์ไว้อย่างตายตัว แค่มีพล็อตลอยๆอยู่ในใจ
2. แบ่งตามจังหวะเหตุการณ์ของท้องเรื่อง ตั้งใจให้จบลงตรงจุดที่น่าสนใจ...
ลักษณะนี้ผู้เขียน มักมีพล็อตวางไว้ค่อนข้างชัดเจน.. บางคนก็วางกำหนดแต่ละบท
ไว้เลยว่าจะให้มีเหตุการณ์อะไรบ้าง.. การเขียนแบบนี้มักค่อนข้างกดดันคนเขียน
เพราะต้องเขียนให้อยู่ในวงกำหนดที่ตนวางไว้ แต่มีข้อดีคือ.. แต่ละบทแต่ละตอน
จะมีความน่าสนใจ
3. ใช้ทั้ง ข้อ 1 + 2 ผสมกัน คือวางพล็อตไว้แบบคร่าวๆ แล้วพอเขียนไปสักช่วง
รู้สึกว่ามันเนื้อเรื่องมันยาวแล้ว จึงตัดบททิ้งท้ายโดยเลือกไว้สักจุดที่น่าสนใจ เพื่อ
กระตุ้นให้เกิดความน่าติดตามตอนต่อไป .. ( วิธีนี้พี่จะใช้บ่อย.. เพราะว่ามันลด
ความกดดันกว่าวิธีที่ 2 )
4. ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์.. ซึ่งก็มีหลายคนที่ใช้ในบอร์ดนิยายของเรา โดย
เฉพาะนิยายแบบตอนสั้นๆ แค่ 1-2 ฉาก หรือ สิบกว่าบรรทัดก็จบบทแล้ว ( วิธีนี้ขอ
อนุญาตให้ใช้ได้แค่การเขียนเรื่องแรกๆ ที่ทดลองเขียนนะคะ แต่อย่าใช้ต่อไป
เรื่อยๆ ไม่งั้นมันจะไม่เกิดการพัฒนาในการเขียน)
ในการเขียนนิยาย ในส่วนของการเดินเรื่องนั้น ว่าไปแล้วก็อาจแบ่งออก
ได้ตามจุดประสงค์หลัก 3 ชนิด (พี่แบ่งเองนะ..บทความนี้เขียนจาก
ประสบการณ์ ไร้ทฤษฏีค่ะ)
1. การเปิด... ได้แก่ การเปิดเรื่อง การเปิดเหตุการณ์ เปิดปม.. การเปิดตัว
ละคร... หัวใจหลักสำคัญในการเปิดก็อยู่ที่จุดประสงค์ของคนเขียนต่อตัวละคร
หรือปมนั้นๆของเรื่อง นั่นคือ...
- เปิดให้น่าสนใจ.. คนอ่านพออ่านปั๊บก็บอกกับตนเอง.. ตัวละครตัวนี้
คงสำคัญแน่ๆ.. ตรงนี้ต้องเป็นปมอะไรสักอย่างของเรื่องเป็นต้น
- เปิดให้ประทับใจ.. คือคนอ่านแล้วพอเจอตัวละครตัวนี้ ก็ X งขึ้นมา
หรือสะดุดใจกับปมที่เราเปิดขึ้น
- เปิดให้ชวนติดตาม.. เมื่อเกิดความสนใจ คนอ่านก็จะคอยติดตาม
ว่าตัวละครตัวนี้เป็นอย่างไร เหตุการณ์ตรงนี้จะดำเนินอย่างไร
- เปิดเพื่อเสริม.. คือ เปิดเพื่อให้เข้ามาเสริมคำอธิบาย หรือความ
เป็นเหตุเป็นผลของเนื้อเรื่อง
2. การปู... ได้แก่ ปูความเป็นมาของตัวละคร การขยายความถึงปมที่เราเปิด
ไว้ เช่น.. ตัวละครตัวหนึ่งโกรธแค้นตัวละครอีกตัว ตรงนี้จะเป็นการอธิบาย
เหตุผล สร้างฐานของเหตุการณ์ให้มันแน่นขึ้น ว่าทำไมถึงจึงเกิดปมนั้นขึ้นมา
ได้...
ในการปู... เราอาจจะมีการเปิดเหตุการณ์รอง หรือเปิดตัวละครที่อื่นเข้ามา เพื่อ
ทำให้สิ่งที่เรานำเสนอ มันอ่านแล้วสมจริงสมจัง หนักแน่น..น่าเชื่อถือ ในนิยาย
แต่ละเรื่อง..มักมีเหตุการณ์การหลายเหตุการณ์ มีปมหลายปม ที่มาเกี่ยวพันกัน
เหมือนลูกโซ่ที่คล้องกัน ไปโยงไปสู่อีกจุดของเหตุการณ์ที่เป็นจุดหลักของเรื่อง
3. การปิด... เมื่อเราเปิดเราก็ต้องมีการปิด.. นั่นคือการสรุปของปม ของ
เหตุการณ์ หรือของตัวละครนั้นๆ การปิดในบางครั้ง ก็อาจเป็นการเปิดไปสู่อีก
เรื่องราว อีกปม อีกเหตุการณ์ของในเรื่องนั้นๆก็ได้
สำหรับการปิด.. เราไม่จำเป็นต้องนำทุกอย่างไปปิดในตอนท้ายของเรื่อง แต่เรา
อาจจะทะยอยปิดเป็นช่วงๆ โดยใช้เทคนิค ปิดเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อนำไปสู่การเปิด
ของอีกอย่าง.. การทำแบบนี้จะทำให้เรื่องดำเนินไปชวนน่าติดตาม กระตุ้นความ
สนใจของคนอ่านในแต่ละฉากแต่ละตอนที่เราเขียนขึ้น
ดังนั้นพี่จึงอยากแนะนำ.. ให้เรานำเทคนิคการดำเนินเรื่อง โดยการใช้
การ เปิด ปู และปิด.. ไปทุกบทที่เราเขียนขึ้น กล่าวคือ ให้เราวางพล็อต
กว้างๆของเรื่องเอาไว้ จากนั้น ก็กำหนดพล็อตคร่าวๆของแต่ละบทเอาไว้เลย ว่า
เราจะจบบทนั้นอย่างไร (โดยอาจไม่ต้อง กำหนดไว้ล่วงหน้าทุกบทก่อน แต่ปล่อย
ให้เป็นไปตามเหตุการณ์ เพื่อที่จะไม่กดดันเวลาเราเขียน และทำให้คนเขียนรู้สึก
ตื่นเต้น และสนุกไปกับการเขียน เพราะว่าคนเขียนเอง บางครั้งก็ไม่รู้ว่าตอนจบ
ของเรื่องจะเป็นอย่างไร เพียงแต่เราวางไว้คร่าวๆ แล้วเป็นคนถือหางเสือของเรือ
เพื่อให้มันทรงตัวลอยไม่ล่ม เพียงแต่การพายเรือ.. มันก็ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ ให้เรา
รู้แค่ว่า เราจะพาเรือไปจอดเทียบที่ท่าไหน ก็พอแล้ว )
ยกตัวอย่างการเขียนสักเรื่อง ( ออกตัวว่ามันไม่ใช่เรื่องมาตรฐานหรอกนะคะ
เพียงแต่เอามายกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเท่านั้น) พี่ขอยกเรื่อง "สัญญา
รัก" ก็แล้วกัน
ตัวละครหลักของเรื่องคือ ดรัณภพ มรรษมน และ รินรดา
พล็อตหลักของเรื่องก็คือ การรอคอยของชายหนุ่มต่อหญิงสาวที่ไม่มีวันหวนคืน
กลับ
แรงบันดาลใจมาจากเรื่อง มังกรหยกภาค 2 ที่เอี้ยก้วยเฝ้ารอคอยการกลับ
มาของเซียวเหล่งนึ่ง โดยเซียวเล่งนึ่งรู้ตัวเองว่าต้องตาย จึงสร้าง "สัญญา" ให้เขา
รอนาง 16 ปีค่อยมาพบกันอีกครั้ง เพื่อใช้เวลายืดชีวิตของเขาออกไป ให้เขาเกิด
ความฮึดสู้ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
จากเรื่องมังกรหยกภาค 2 จึงเกิดความคิดว่า ถ้าหากเซียวเหล่งนึ่งตายจริงๆล่ะ
เอี้ยก้วยจะเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงเขียนเป็นเรื่อง 'สัญญารัก' โดยใช้หัวใจของเรื่อง
คือ "คำสัญญา" ที่มรรษมนมีกับดรัณภพ เพื่อให้เขาฮึดสู้ ที่จะมีชีวิตต่อไป และ
สร้างชีวิตของเขาไปสู่จุดความสำเร็จ ให้ได้ แม้ว่าจะไม่มีเธอ
จึงสร้างโครงเรื่องคร่าวๆ ว่า มรรษมนรู้ตัวเองว่าต้องตายด้วยโรคร้าย จึงจึง
ขอให้คุณหญิงย่าช่วยแสดงละครฉากหนึ่ง ก่อนที่เธอจะเดินทางไปรักษาตัวที่ต่าง
ประเทศ ต่อดรัณภพเด็กหนุ่มที่เพิ่งสูญเสียพ่อไป และทั้งชีวิตมีเพียงมรรษมนที่เป็น
หลักยึดเหนี่ยวในจิตใจ โดยคุณหญิงย่าจะทำเป็นขัดขวางสองหนุ่มสาว และใช้คำ
พูดดูถูกให้ดรัณภพพิสูจน์ตัวเอง ว่าคู่ควรกับหลานสาวของท่านหรือไม่ จากนั้นให้
เวลาดรัณภพ 10 ปี เพื่อสร้างตัวเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต นั่นคือเรียนให้จบสร้าง
หลักฐานตนเองให้ได้ ก่อนที่จะมาคบกับหลานของท่าน
มรรษมนเสียชีวิตลงหลังจากรักษาตัวต่อไปได้ปีกว่าๆ แต่เธอก่อนตายเธอเขียน
โปสการ์ดขึ้น 10 ใบ ให้ป้าจิตรซึ่งเป็นคนดูแลเธอช่วยส่งให้ดรัณภพทุกปี เพื่อเป็น
สิ่งกระตุ้นเตือนคำสัญญา ด้วยเธอหวังว่า เวลา 10 ปีที่ผ่านไป เมื่อเขาเติบโตเป็น
ผู้ใหญ่ขึ้น เขาคงมองโลกได้กว้าง และอาจจะเจอใครสักคนในหัวใจ มาทดแทน
เธอและลืมเธอไปได้
เมื่อกำหนดโครงไว้แบบนี้ ก็เกิดความคิดว่า.. ดรัณภพโดดเดี่ยวเกินไป ที่จะรับ
สภาพที่จะต้องเจอได้ ดังนั้นจึงสร้างตัวละครขึ้นอีกตัว คือ รินรดา เพื่อนหญิงของ
เขา ซึ่งรินรดา จะแอบรักดรัณภพ แต่ก็คอยให้กำลังใจเขาเพื่อให้ได้พบกับมรรษ
มนที่เขารอคอย หากแต่ต่อมา เมื่อรินรดารู้ความจริงว่ามรรษมนตายไปแล้ว เธอ
จึงต้องหาทางอย่างสุดความสามารถที่จะช่วยดรัณภพ ดังนั้นจึงใช้วิธีการเลียนแบบ
ก้วยเซียงในเรื่องมังกรหยก คือทำให้เขาติดคำสัญากับเธอข้อหนึ่ง เพื่อที่เธอจะได้
นำสัญญาข้อนี้ มาประคับประคองดรัณภพ ให้เขามีกำลังใจที่จะมีชีวิตต่อไปอีกครั้ง
ปม หรือ ปัญหาที่สร้างให้คนอ่านติดตามคือ
1. ดรัณภพจะทำอย่างไร หากรู้ว่ามรรษมนที่เขาเฝ้ารอคอยมาถึง 10 ปีได้ตาย
จากไปนานแล้ว
2. รินรดาจะทำอย่างไร เพื่อช่วยให้ดรัณภพซึ่งเป็นชายหนุ่มที่เธอแอบรัก ข้าม
พ้นจุดวิกฤติของเขาในข้อ 1 ได้
เมื่อได้พล็อต ได้โครง ได้ ปมของเรื่องแล้ว ต่อไปเราต้องหาเหตุผลที่จะ
มาสร้างฐานของเรื่องให้แน่นขึ้น โดยต้องสร้างปมย่อย ตัวละครรองนั่น
คือ
1. ให้ดรัณภพ กับ รินรดามีอาชีพเป็นหมอ เพื่อที่ทั้งสองจะได้เข้าใจถึงชีวิต
ได้ง่ายขึ้น และเนื่องจาก ดรัณภพรู้ว่ามรรษมนสุขภาพไม่ค่อยดี จึงตั้งความฝัน
อยากเป็นหมอ เพื่อที่จะได้ดูแลรักษามรรษมนได้ (ความคิดของเด็กหนุ่มในเวลา
นั้น)
2. ให้ดรัณภพชอบอ่านนิยายกำลังภายใน และให้เขาประทับใจในความรัก
ที่เอี้ยก้วยมีต่อเซี่ยวเหล่งนึ่ง และมรรษมนจึงใช้คำสัญญาที่เซียวเหล่งนึ่งให้ไว้กับ
เอี้ยก้วย มาเลียนใช้กับเขา จึงทำให้ดรัณภพยอมรับตรงนี้ได้ง่าย และมุ่งมั่นที่จะทำ
ตามคำสัญญา เพื่อที่จะให้เจอกับเธออีกครั้ง
3. ให้ดรัณภพเป็นคนที่เปลือกนอกสุขุม มั่นคง แต่ข้างในจิตใจดื้อรั้น และ
อ่อนไหว เป็นคนที่โหยหาความรักและความอ่อนโยน เขาจึงยึดติดกับมรรษมน
แต่ขณะเดียวกัน ในสายตาของรินรดา ที่เป็นผู้หญิงที่เปลือกนอกอ่อนโยน น่ารัก
และดูบอบบาง หากข้างในจิตใจเข้มแข็งและมุ่งมั่น มองโลกในแง่ดีและไร้
เดียงสา เธอจึงมองดรัณภพอย่างวีรบุรุษและเลื่อมใสในความรักที่เขามีต่อมรรษ
มน และให้ดรัณภพคอยปกป้องช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเธอในเรื่องต่างๆ ราวจอม
ยุทธที่คอยปกป้องหญิงสาวผู้บอบบาง .. และจุดตรงนี้คือเหตุผลหนึ่งที่ดึงมาใช้ใน
เรื่อง นั่นคือ ให้รินรดาพยายามดึงเอาความเข้มแข็งของดรัณภพออกมา ให้เขา
สามารถลุกขึ้นยืนหยัดได้อีกครั้ง..หลังการล่มสลายของจิตใจ
4. แต่พอเขียนไป เหตุผลในข้อ 3 มันยังไม่พอ ที่จะทำให้คนๆหนึ่งฮึดสู้ขึ้น
อีกครั้ง ด้วยแรงกระตุ้นจากภายนอก เพราะคนเรา พึงมีกำลังใจในชีวิต ด้วยความ
คิดและแรงจากภายในตัวเราเองด้วย ดังนั้นจึงเพิ่มเหตุการณ์อื่นขึ้นมา เพื่อให้ดรัณ
ภพ เกิดสำนึกได้และตระหนัก ถึงคุณค่าแห่งชีวิต นั่นคือ การได้ช่วยเหลือหญิงท้อง
แก่คนหนึ่งคลอดลูกที่บ้าน ท่ามกลางแรงลุ้นและกำลังใจของสามีและลูกๆน้อยๆ
ของเธอเพื่อบุคคลที่พวกตนรัก ให้ดรัณภพได้สัมผัสถึง ความเจ็บปวดของคนเป็น
แม่ที่ให้กำเนิดชีวิตลูกขึ้นมา กระตุ้นให้เขาได้คิดเองว่า.. เขาควรที่จะเห็นคุณค่า
ของมีชีวิตแค่ไหน ให้เขาได้คิดว่าวิชาชีพของเขาสามารถอยู่ช่วยชีวิตคนมากมาย
แค่ไหน..เพื่อให้เขาได้ตระหนักว่า.. ชีวิตของเขายังมีความสำคัญต่อโลกใบนี้
..............ฯลฯ............
ทั้งหมดมันมีเยอะ เวลาเราเขียนบางทีพล็อตย่อยต่างๆ เราต้องสร้างขึ้นมาใหม่
เพื่อมาเสริมการเหตุการณ์ที่เรากำลังเขียน.. ด้วยเหตุนี้พี่ถึงบอกว่า ให้เขียนไปตาม
สถานการณ์ของเรื่อง.. บางครั้งก็อย่างกำหนดทุกอย่างให้มันชัดๆเกินไป ไม่งั้นจะ
เขียนลำบาก จากนั้นก็จะมาใช้เทคนิคในกาารเขียน แบบ เปิด..ปู..ปิด..ดังนี้คือ
(ขอยกแค่ตัวอย่างนิดหน่อยนะ ไม่งั้นคงพูดกันยาวไม่จบแน่)
บทแรก... เปิดตัวละคร... เปิดเรื่องที่รินรดา และ ดรัณภพ เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ว่า
ทั้งสองเป็นใคร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อเปิดแล้วก็ต้องปู นั่นคือปูนิสัย
ใจคอของตัวละคร ความสัมพันธ์ของตัวละคร โดยทำการเปิดเหตุการณ์ที่กำลังช่วย
ชีวิตคนไข้บนวอร์ด ปูเหตุการณ์นั้นโดยเขียนบรรยายขั้นตอนการช่วยเหลือ โดยให้
รินรดาใส่ tube ช่วยหายใจคนไข้ไม่ได้ แล้วดรัณภพก็เข้ามาพอดี จึงช่วยไว้ได้
สำเร็จ จึงปิดเหตุการณ์ ซึ่งตรงนี้ ก็จะทำให้คนอ่านได้รับรู้คร่าวๆ ถึงอาชีพของตัว
ละครทั้งสอง ความสามารถ ความคิดที่รินรดามีต่อดรัณภพ ความเก่งและนิสัยใจ
คอของดรัณภพ
เมื่อปิดเหตุการณ์ที่บนวอร์ด..ก็จะเปิดไปสู่อีกเหตุการณ์คือ รินรดาชวนดรัณภพไป
กินข้าวที่บ้าน ตรงนี้ก็จะเปิดความคิดของดรัณภพถึงเรื่องราวในอดีต พร้อมกับเป็น
การปูความเป็นมาของตัวละครอีกหลายตัว และเปิดตัวละครสำคัญ คือ มรรษมน
ขึ้นในความคิดที่หลั่งไหลอยู่ในสมองของดรัณภพ
ทุกเหตุการณ์ ทุกเรื่องราว จะเชื่อมต่อเกี่ยวพันกันไป .. การเปิดตัวละครสำคัญ 2
ตัว และเปิดเหตุการณ์ เมื่อต้องปูเหตุการณ์และเปิดปม ก็จะเปิดตัวละคร และ
เหตุการณ์ อื่นขึ้นมาเสริมเพื่อให้มันเป็นเหตุเป็นผลที่หนักแน่น น่าเชื่อถือ...
ดังนั้นต้องจำจดไว้ว่า.. เมื่อเราปูเรื่อง.. เราต้องคำนึงถึงเหตุผลและความน่าเชื่อ
ถือ ถ้าตรงไหนยังบกพร่อง ก็ต้องหาคำอธิบายมารองรับ หากจำเป็นต้องเปิดตัว
ละครหรือเหตุการณ์ขึ้นมา ก็ควรจะคิดแล้วว่ามีความสำคัญในการเดินเรื่อง อย่า
เอามาแค่ประดับเรื่อง เพื่อจุดประสงค์แค่ให้เกิดความครึกครื้น แล้วกลายเป็นตัว
ละครที่รก ทำให้เราหาที่วางและที่เก็บตัวละครตัวนี้ภายหลังไม่เจอ เป็นภาระคน
เขียนเปล่าๆ
ถ้าหากเรายึดหลัก การเขียนดำเนินเรื่อง โดยการ เปิด ปู และปิด โดยให้มีการ
ดำเนินไปอย่างสอดคล้องสัมพันธ์ไม่ขาดตอน และเป็นเหตุเป็นผล เรื่องมันจะเดิน
ไปสู่จุดที่เราต้องการอย่างน่าสนใจ และสุดท้าย... ทุกสิ่งที่เราเปิดและปูมา..เรา
ไม่จำเป็นต้องปิดทุกอย่างก็ได้.. บางอย่างหากมันไม่ค้างคาใจคนอ่าน หรือมีผล
ของปมหลักของเรื่องจนเกินไป..ก็ให้เปิดไว้อยู่อย่างนั้น ไม่ต้องปิดมันก็ได้.. เพราะ
ว่า..มันจะถูกปิดไปโดยตัวของมันเอง และโดยจินตนาการของคนอ่านอยู่แล้ว
และขออสรุปอีกนิดสุดท้ายนะคะว่า
การเปิดทุกอย่าง.. (ตัวละคร- ปม -เหตุการณ์ ฯลฯ) เราต้องเปิดอย่างมีจุด
ประสงค์ และตอบคำถามตัวเองได้ว่าเปิดทำไม ก่อนจะเปิดเราต้องคิดก่อนว่า จะ
เปิดตรงไหน เมื่อไหร่ อย่างไรด้วย ขณะเดียวกับก็ต้องเตรียมคิดไว้เสมอว่าา ..เรา
จะปิดอย่างไร กับสิ่งที่เราเปิดออกมาตรงนี้
ในการปู.. เราต้องปูอย่างมีเหตุผล แม้จะเป็นเรื่องแฟนตาซี ในความไม่จริง..ก็
ต้องมีความจริงจัง..เพื่อให้คนอ่านเชื่อ.. และระหว่างที่ปูเหตุการณ์ เพื่อความมี
เหตุผลและสมจริง หากยังไม่เพียงพอ ก็อาจจะต้องเปิดอย่างอื่นมารองรับ (และหา
ทางที่จะปิดเตรียมไว้ด้วย)
ในการปิด.. ต้องปิดอย่างมีคุณค่าและให้ประทับใจ.. และควรปิดแบบห่วงที่คล้อง
กันเป็นโซ่ นั่นคือ ปิดเรื่องหนึ่ง เพื่อเชื่อไปเปิดอีกเรื่องหนึ่ง.. หรือปิดเพื่อยุติตรงนั้น
อย่างสิ้นเชิง.. เนื่องเพราะไม่อยากจะเอ่ยถึงต่ออีกแล้ว
*******************************************
from..............................
http://www.jj-book.com/jjtalk1/view.php?qs_qno=168
ความคิดเห็น