ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระดีๆสำหรับนักเขียนทุกๆท่าน

    ลำดับตอนที่ #5 : ข้อควรจำสำหรับนักเขียน โดยเฉพาะแฟนตาซี

    • อัปเดตล่าสุด 21 มี.ค. 49


    จากการสังเกตในฐานะผู้อ่าน  พบว่ามีข้อผิดพลาดและจุดรำคาญลูกตาจำนวนหนึ่ง

    ที่เห็นมากในนิยายโดยเฉพาะนิยายในเน็ท  ก็พยายามรวบรวมมา เผื่อจะเป็น

    ประโยชน์แก่เพื่อนๆ ที่อยากเขียนกันบ้าง

    ข้อแรก  เวท กับ เวทย์  ไม่เหมือนกัน  หากท่านต้องการหมายถึงจอมเวท ที่ออก

    แนวพ่อมดเสกโน่นเสกนี่ ก็กรุณาอย่าเติม ย์  มิฉะนั้นท่านอาจได้ตาแก่ใส่แว่นหนา

    เตอะแบกตำราหนาแบบทุบหัวสุนัขแบน (โปรดนึกภาพพจนานุกรมฉบับราช

    บัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ประกอบ)

    ข้อสอง  ภูต กับ ภูติ ก็ไม่เหมือนกัน  ถ้าท่านต้องการกล่าวถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่

    มนุษย์ จะตัวเล็กตัวโตยังไงก็ตาม  ก็กรุณาใช้ ภูต  เพราะ ภูติ หมายถึง ความ

    รุ่งเรือง ความมั่งคั่ง

    ข้อสาม  คะ และ ค่ะ  พบว่ามีผู้ใช้ผิดมากกกกกก...ถึงมากที่สุด  ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะ

    ผิด  เพราะก็พูดก็ฟังกันอยู่ทุกวัน  วิธีจำง่ายๆ เวลาพูดอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น

    แหละ  คะ จะออกเสียงตรี (อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี -

    ต่ำตายสั้นตรี)  ส่วน ค่ะ จะออกเสียงเป็นเสียงเอกหรือกึ่งๆ โท  ถ้ายังนึกไม่ออกว่า

    เวลาพูดนี่พูดออกไปอย่างไร  ก็เอางี้ คะ จะใช้ลงท้ายคำถาม เช่น "ไปไหนมาคะ" 

    "กินข้าวหรือยังคะ"  และใช้ลงท้ายหลัง "นะ"  เช่น "ไปก่อนนะคะ"  รวมทั้งพวก

    คำเรียก เช่น  "ทุกท่านคะ"  "ท่านประธานคะ"  "พ่อคะ แม่คะ"  ส่วน "ค่ะ" ก็มัก

    ลงท้ายคำพูดบอกเล่า เช่น "ไม่หรอกค่ะ"  "สวัสดีค่ะ"

    หวังว่าคงจะเจอพวก "สวัสดีคะ  เป็นอย่างไรบ้างค่ะ  วันนี้มีเรื่องรบกวนให้ช่วยสัก

    หน่อยนะค่ะ"  ลดลงบ้างนะ


    ข้อสี่
      การผันวรรณยุกต์  ได้โปรดจำว่า อักษรต่ำ ผันวรรณยุกต์ตรีและจัตวาไม่ได้ 
    มั๊ย ว๊ากกกกกกก พวกนี้เจอบ่อย คิดว่าอาจเป็นเพราะต้องการอารมณ์หรือไม่ก็ไม่

    รู้  และพวกคำที่คาดว่าคงจะจงใจสะกดผิดเพื่ออะไรสักอย่าง เช่น นู๋ มู๋  โอเค เวลา

    แชทกะเพื่อนอยากใช้ก็ตามใจ  แต่ไม่ควรใช้ในการเขียนนิยาย


    ข้อควรจำในการผันวรรณยุกต์ - ท่องตามนี้ "กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า"  อักษรกลาง คำ

    เป็น ผันวรรณยุกต์ได้ทุกรูป ออกเสียงตามรูป  ส่วนคำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก

    "กะ กัด กาด"  ผันวรรณยุกต์โทและตรีได้  ออกเสียงตามรูป


    "คา ค่า ค้า"  อักษรต่ำ คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้สองรูป คือเอกและโท วรรณยุกต์

    เอกออกเสียงโท วรรณยุกต์โทออกเสียงตรี  คำตาย "ต่ำตายสั้นตรี" "ต่ำตายยาว

    โท"  คืออักษรต่ำ คำตาย ถ้าเป็นสระเสียงสั้นจะออกเสียงตรี เช่น "คัด" ถ้าสระ

    เสียงยาวจะออกเสียงโท เช่น "คาด"

    หากต้องการผันอักษรต่ำให้ครบห้าเสียง ต้องใช้อักษรสูงหรืออักษรนำช่วย เช่น "คา
    ข่า ค่า(ข้า) ค้า ขา"  "ยา อย่า ย่า(หย้า) ย้า หยา"


    ข้อห้า
       "ล่ะ"  ที่ใช้เป็นคำลงท้าย เช่น "ใช่ไหมล่ะ"  เห็นหลายคนเขียนเป็น

    "หละ"
    หรือ "หล่ะ"  อันหลังนี่ไม่ทราบจะใส่ทั้งอักษรนำและไม้เอกทำไม สงสัย

    กลัวคนอ่านไม่รู้ว่าต้องออกเสียงเอก ในความจริง "ล่ะ" กับ "หละ" อาจออกเสียง

    เอกเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน "หละ" เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่ง เกิดในเด็กอ่อน

    มีอาการลิ้นกระด้างคางแข็ง (ราชบัณฑิตยฯ)  หรือหมายถึงละออกฝ้าขาวที่กระพุ้ง

    แก้มหรือในช่องปาก (มติชน)  "หละหลวม" หมายถึง สะเพร่า มักง่าย  ส่วน

    "ล่ะ" เป็นคำลงท้ายประกอบคำถาม "เล่า" ก็ใช้  บางคนอาจคิดว่าเป็นแค่คำลง

    ท้าย ใช้ยังไงก็ได้ แต่จริงๆ มีอยู่ในพจนานุกรมทั้งสองคำนะ



    ข้อหก
      ดุษฎี กับ ดุษณี ความหมายต่างกัน เห็นหลายคนชอบใช้ "ยอมรับโดย

    ดุษฎี"  "ดุษฎี" หมายถึงความชื่นชมยินดีนะ  และใช้ในความหมายถึงปริญญาเอก

    ว่า "ดุษฎีบัณฑิต"  ส่วน "ดุษณี" หมายถึงนิ่ง และโดยปริยายหมายถึงยอมรับโดยดี
    ดังนั้น ต้องเป็น "ยอมรับโดยดุษณี" นะคะ

    ข้อเจ็ด  อันนี้ไม่ใช่กฏเกณฑ์ตายตัว ยืดหยุ่นได้แล้วแต่กรณี  แต่โดยทั่วไป ไม่ควร

    ใช้ภาษาพูดในการบรรยาย
      อาจใช้ในบทสนทนาได้บ้างแล้วแต่ท้องเรื่อง  ทั้งนี้ ขึ้น

    อยู่กับอีกหลายๆ อย่าง  แต่ก็นั่นแหละ  ไม่ควรใช้ภาษาพูดมากเกินไป  รวมทั้งการ

    เรียบเรียงประโยค  ตรงนี้คิดว่าการอ่านมากๆ น่าจะช่วยได้



    ข้อแปด
      สำคัญมากสำหรับผู้อ่านประเภทเดียวกับเรา  โปรดระมัดระวังการใช้

    ภาษาด้วย
      เคยเห็นคนที่มีความคิดว่า  ทำไมตัดสินกันตรงนั้น  ดูที่เนื้อเรื่องสิ 

    ทำไมไม่ดูสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อ  อ่านความเห็นนั้นแล้วอยากซัดคนพูดสักเปรี้ยง 

    ประทานโทษ ข้าพเจ้าเป็นนักอ่านนะ  ไม่ใช่ครูภาษาไทยที่ต้องพยายามควานหาจุด

    มาให้คะแนน  ถ้าดีแต่เนื้อเรื่อง ภาษาห่วยแตก ก็ไปแก้ภาษาซะก่อนสิเฟ้ยค่อย

    พิมพ์ (เอ๊ะ พูดถึงเรื่องอะไรหว่าคุ้นๆ)


    ข้อเก้า
      พยายามหลีกเลี่ยงพล็อตเรื่องที่ซ้ำซากจำเจ หรือพล็อตประเภทที่คนจะไม่

    อ่าน 



    ข้อสิบ
      การสร้างตัวละครและการดำเนินเรื่อง รวมทั้งการบรรยาย  พยายามอย่า

    ให้มันเป็นการ์ตูนหรือเกมมากเกินไป
      ยังไงที่ว่าเป็นการ์ตูนหรือเกม?  สังเกต

    กันเอาเอง 



    มันไปถึงสิบข้อได้ไงหว่า -"-  ทีแรกที่ตั้งใจจะพูดน่ะสี่ข้อแรก  ข้อห้ามาจากพี่จตุร

    ดาชาครีหมีน้ำตาล ผู้เขียนลำนำแห่งห้วงธารา  แล้วเราก็ไหลไปเรื่อย  จนออกมา

    ได้สิบข้อ แหะๆๆ 


    ฝากไว้นิดว่า  ถ้าอยากเป็นนักเขียนที่ดี  ควรเริ่มจากการเป็นนักอ่านที่ดีค่ะ


    อ้อ อีกนิด  ถ้าคิดจะเป็นนักเขียน  ควรหาพจนานุกรมติดไว้สักเล่มสองเล่มก็ดีนะ 


    ถ้าไม่แน่ใจคำไหนก็เปิดเช็คดู  ทั้งการสะกดคำและความหมาย  บางครั้งเราก็ใช้

    คำผิดความหมาย ถ้าไม่แน่ใจก็เปิดพจนานุกรมดีกว่านะ


    **************************

    http://www.jj-book.com/jjtalk1/view.php?qs_qno=363

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×