คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : เฉลยแบบประเมินผลการเรียนรู้
หน่วยที่ 1
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ในอนุกรมมาตรฐาน ISO 8402 คำศัพท์ด้านคุณภาพ ได้กำหนดนิยามคุณภาพไว้ คือ
คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงความต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้
2. กระบวนการกำหนดคุณภาพของสินค้าหรือการบริการประกอบด้วย
1) การศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ใช้ ตลาด
2) การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการ
3) ระบบการผลิตและการควบคุมระบบการผลิต
3. “บุคคลคุณภาพ” คือ บุคคลที่สร้างผลงานคุณภาพ
4. ภาพพจน์และความเชื่อมั่นที่นานาประเทศยอมรับเกิดจาก
คุณภาพของคน คุณภาพขององค์กร คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ
5. การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1) คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน
2) คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี
3) คุณภาพของระบบบริหารงาน
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 1 - 3
ก. ยามคนนี้ทำหน้าที่รักษาการณ์ตลอดเวลา
ข. แก้วใบนี้มีเนื้อสวยใสน่าใช้จริง ๆ
ค รถยนต์ที่ฉันใช้อยู่ประหยัดน้ำมันมาก แม้จะใช้วิ่งด้วยความเร็วสูง
ง. โรงแรมแห่งนี้มีบริการรับฝากของมีค่าของผู้เช่าพัก
1. คุณภาพข้อใดเป็นคุณภาพตามหน้าที่ ก. ยามคนนี้ทำหน้าที่รักษาการณ์ตลอดเวลา
2. คุณภาพข้อใดเป็นคุณภาพตามลักษณะภายนอก ข. แก้วใบนี้มีเนื้อสวยใสน่าใช้จริง ๆ
3. คุณภาพข้อใดเป็นคุณภาพในการบริการ ง. โรงแรมแห่งนี้มีบริการรับฝากของมีค่าของผู้เช่าพัก
ใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 4 - 6
ก. ผู้ผลิต ข. ผู้แทนจำหน่าย
ค. ลูกค้า ง. ระบบการแข่งขันในตลาด
4. เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยี่ห้อดัง ๆ ใครคือผู้กำหนดรูปแบบสีสัน เนื้อผ้า และราคา ก. ผู้ผลิต
5. ร้านขายอาหารตามสั่ง ใครคือผู้กำหนดรายการอาหาร รสของอาหาร และราคา ค. ลูกค้า
6. ท่านคิดว่าราคาค่าถ่ายเอกสารโดยใช้กระดาษขนาด A4 ราคาแผ่นละ 50 สตางค์ ใครเป็นผู้กำหนดราคา
ง. ระบบการแข่งขันในตลาด
7. ข้อใดที่ไม่ใช่ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือสินค้า
ค. ศึกษาวิธีการลดต้นทุนเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
8. การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการบริการให้ได้คุณภาพสูงสุดเกิดจากข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
9. คุณภาพของสินค้าเกิดจากข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
10. คุณภาพมีความสำคัญต่อบุคคลเพราะเหตุผลข้อใด
ก. ทำให้บุคคลที่สร้างผลงานคุณภาพได้รับการยกย่อง
11. คุณภาพมีความสำคัญต่อองค์กรเพราะเหตุผลข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
12. คุณภาพมีความสำคัญต่อประเทศเพราะเหตุผลข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
13. คุณภาพมีความสัมพันธ์กับต้นทุนอย่างไร
ง. คุณภาพสูง โดยใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้สินค้าราคาถูก ลูกค้าพอใจ
14. การควบคุมคุณภาพควรเกิดขึ้นในขั้นตอนใด ง. ทุกขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น
15. เป้าหมายของการควบคุมคุณภาพ คือข้อใด ก. ลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ และเวลาที่ใช้ในการผลิต
หน่วยที่ 2
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. การวางแผนงาน ควรวางแผนให้ครบ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1) ขั้นการศึกษา คือ การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของตลาด ฯลฯ
2) ขั้นเตรียมงาน คือ การวางแผนเตรียมสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
3) ขั้นดำเนินการ คือ วางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วน แต่ละฝ่าย
4) ขั้นการประเมินผล คือ การวางแผนประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ
2. ปัจจัยด้านข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนคุณภาพ มีระบบบริหารด้านข้อมูล ดังนี้
1) จัดหาข้อมูลด้านความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปกำหนดคุณภาพ
2) พิจารณาลักษณะของผลิตภัณฑ์หรืองานบริการที่มีอยู่หรือที่กำลังจะดำเนินการตรงกับความต้องการของลูกค้ามากหรือน้อย ต้องปรับปรุงอะไร
3) ใช้ข้อมูลเดิม ข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ควรมีการรวบรวมจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย เพื่อให้ได้แนวทางการวางแผนที่ถูกต้อง
4) เลือกจังหวะ เวลา หรือโอกาส ที่เหมาะสมกับการดำเนินการ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินความเสี่ยงและหาแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
3. การประเมินแผนงานก่อนนำไปใช้ทำได้ 3 แนวทาง ได้แก่
1) ประเมินจากการทดลองปฏิบัติบางส่วน หรือย่อส่วน
2) ประเมินจากการพิจารณาของผู้มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3) ประเมินจากสภาพการแข่งขันในตลาด
4. ปัจจัยที่ทำให้การปฏิบัติงานตามแผนงานคุณภาพประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย คือ
1) ความรับผิดชอบและอำนาจการบริหารแผนงาน
2) ทักษะและความสามารถของผู้ปฏิบัติตามแผนงาน
3) ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
4) การจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบ
5) ระบบการสื่อสารระหว่างบุคคลในหน่วยงาน
5. การตรวจสอบคุณภาพมีแนวทางการตรวจสอบ 5 แนวทาง ได้แก่
1) ตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงาน
2) ตรวจสอบผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด
3) ตรวจสอบคุณภาพ โดยใช้มาตรฐานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยหน่วยงานราชการ
4) ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า
5) ตรวจสอบคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดคือวงจรการบริหารงานคุณภาพ
2. การวางแผนงานคุณภาพด้วยระเบียบวิธี PDCA คือข้อใด
ข. วางแผนทุกขั้นตอนของวงจรบริหารงานคุณภาพ
3. สิ่งสำคัญของการวางแผนงานคุณภาพ คือข้อใด
ก. ข้อมูลที่ชัดเจน เป็นจริง และตรงกับเป้าหมายของการกำหนดคุณภาพ
4. การปฏิบัติงานตามแผนคุณภาพให้ได้ผล ต้องมีผู้บริหารแบบใด
ข. ผู้บริหารระดับสูงสุดเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามแผนงาน
5. บุคลากรในข้อใดที่มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการปฏิบัติตามแผนงาน
ข. ข้อ ก. และยังมีความสนใจ มีความคาดหวังกับงานที่ทำ
6. การตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงาน ต้องตรวจกี่ขั้นตอน ง. 4 ขั้นตอน
7. Delta Principle เป็นเกณฑ์ที่ประเมินอะไร ก. คุณภาพ การให้บริการ และผลกำไร
8. ข้อใดที่ไม่ใช่การตรวจสอบทั่วทั้งองค์กร ง. ระบบการรักษาความปลอดภัย
9. ข้อใดที่ไม่มีในรายงานผลการตรวจสอบ ค. รายชื่อคณะกรรมการการตรวจสอบ
10. จงเรียงลำดับขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข
1. วิเคราะห์ผลการตรวจสอบ
2. ตรวจสอบผลกระทบ
3. ยอมรับผลการตรวจสอบ
4. วางแผนการปรับปรุงแก้ไข
5. เสนอวิธีการปรับปรุงแก้ไข
ข. 1-3-2-5-4
11. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเกิดจากข้อใด
ง. นำข้อเสนอแก้ไขปรับปรุงงาน ไปเริ่มต้นวงจร PDCA วนเป็นวงจรจนกว่าจะได้มาตรฐานการทำงาน
12. ในการจัดทำมาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน ต้องมีสิ่งใดใช้ประกอบการจัดทำสำคัญที่สุด
ค. การบันทึกของข้อมูล และสถิติเปรียบเทียบ
ข้อ 13 15 ใช้คำตอบต่อไปนี้
ก. แผนงานประจำปี (Year Plan)
ข. แผนงานหลัก (Master Plan)
ค. แผนปฏิบัติการ (Action Plan)
ง. แผนกลยุทธ์ (Strategies Plan)
13. นักศึกษาต้องเขียนแผนงานใด เพื่อให้การปฏิบัติงานตามโครงการประสบความสำเร็จ
ค. แผนปฏิบัติการ (Action Plan)
14. แผนงานใดเป็นแผนงานที่ทุกหน่วยงานใช้เป็นแผนแม่บท
ข. แผนงานหลัก (Master Plan)
15. การวางแผนระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะเหตุการณ์ คือแผนข้อใด
ง. แผนกลยุทธ์ (Strategies Plan)
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. กิจกรรม 5 ส. ประกอบด้วย
ส. สะสาง คือ การแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการใช้ และหาแนวทางขจัดของที่ไม่ต้องการออกไปอย่างเหมาะสม
ส. สะดวก คือ การจัดวางอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้งานอย่างเป็นระเบียบ มีความสะดวกเมื่อต้องการใช้
ส. สะอาด คือ การดูแลรักษาสถานที่ทำงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้มีความสะอาด ปราศจากฝุ่นผง รอยเปื้อน ฯลฯ
ส. สุขลักษณะ คือ การดูแลรักษาสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัย มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ ปราศจากสิ่งรบกวน
ส. สร้างนิสัย คือ การปฏิบัติกิจกรรม 4 ส. ข้างต้นอย่างต่อเนื่อง และรักษาระเบียบวินัยขององค์กรอย่างเคร่งครัด
2. กิจกรรม QCC คือ
กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือร่วมใจในการสร้างผลงานให้ได้คุณภาพตามเป้าหมาย โดยการ ค้นหาจุดอ่อนแล้วป้องกันแก้ไข
3. หลักการทำกิจกรรม QCC ได้แก่
1) การใช้หลักสถิติในการควบคุมคุณภาพ
2) การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
3) เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
4. หลักการของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน ได้แก่
1) เป็นการเสนอแนะปรับปรุงการทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร โดยพนักงานคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
2) ใช้หลักการประชาธิปไตย
3) ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
4) ใช้หลักการแห่งประโยชน์ส่วนรวม
5) ใช้หลักการสร้างแรงจูงใจ ให้พนักงานมีส่วนร่วมสร้างคุณภาพให้กับองค์กร
5. หลักการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม ได้แก่
1) พัฒนาจิตสำนึกของผู้ใช้ พนักงานซ่อมบำรุงและหัวหน้าหน่วยงาน
2) ผู้ใช้ พนักงานซ่อมบำรุงและหัวหน้าหน่วยงานร่วมกันวางแผนการซ่อมบำรุง
3) วิศวกรและผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายและจัดระบบการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมให้เป็นกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. กิจกรรม 5 ส. เน้นเรื่องอะไร ง. ประสิทธิภาพการทำงาน
ใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบข้อ 2-6
ก. สะสาง ข. สะดวก
ค. สะอาด ง. สุขลักษณะ
จ. สร้างนิสัย
2. ลดความสูญเสียและความสิ้นเปลืองวัสดุ คือประโยชน์จาก ส.ใด ก. สะสาง
3. ติดป้ายให้เป็นระเบียบ ดูเรียบร้อยและสวยงาม คือ ส.ใด ข. สะดวก
4. ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและองค์กร คือ ส.ใด ค. สะอาด
5. พนักงานเกิดความมั่นใจในการทำงานและสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน คือ ส.ใด ง. สุขลักษณะ
6. พนักงานได้รับการยอมรับจากผู้บริหารงาน คือ ส.ใด จ. สร้างนิสัย
7. ข้อใดคือการกำจัดสิ่งที่ไม่ต้องการใช้อย่างถูกต้อง
ข. พิจารณาว่าควรจะซ่อมแซม ขายไป หรือกำจัดอย่างถูกวิธี
8. การสะสางมักจะเกิดปัญหาว่าจะเก็บหรือจะกำจัดออกไป ควรพิจารณาจากอะไร ง. ถูกทุกข้อ
9. การดูแลมิให้อุปกรณ์สูญหายหรือหาไม่พบ ต้องทำอย่างไร ง. ถูกทุกข้อ
10. การสร้างความปลอดภัยจากการวางสิ่งของและอุปกรณ์ ควรมีการพิจารณาสิ่งของและอุปกรณ์อย่างไร
ง. ถูกทุกข้อ
11. การทำความสะอาด ต้องเน้นเรื่องอะไร ง. ถูกทุกข้อ
12. การสร้างสุขลักษณะ หมายถึงข้อใด ง. สร้างบรรยากาศให้ที่ทำงานมีความสดชื่นแจ่มใส
13. การสร้างนิสัยให้การปฏิบัติกิจกรรม 5 ส. เป็นพฤติกรรมของพนักงานทำได้อย่างไร
ก. นโยบายขององค์กร
14. การสร้างวินัยของพนักงาน เกิดจากข้อใด
ก. พนักงานเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่ได้จากความมีวินัยของพนักงานเอง
15. การสร้างทัศนคติที่ดีของพนักงานต่อองค์กร เกิดจากข้อใด
ก. ระบบการสื่อสารระหว่างพนักงานและผู้บริหาร
16. ข้อใดคือความหมายของกิจกรรม QCC ค. การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่ม
17. กิจกรรม QCC เกิดขึ้นจากข้อใดก่อน
ข. เกิดจากการตรวจสอบคุณภาพของ บริษัท Telephone Laboratories
18. ประเทศญี่ปุ่นพัฒนากิจกรรม QCC อย่างไร
19. หลักการพัฒนาคุณภาพ ต้องพัฒนาอะไรบ้าง ง. ถูกทุกข้อ
20. หลักการทำกิจกรรม QCC มีอะไรบ้าง ง. ถูกทุกข้อ
21. ความสำคัญของการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งกลุ่ม คืออะไร ข. มีเป้าหมายคุณภาพร่วมกัน
22. การค้นหาปัญหาเพื่อนำมาปฏิบัติกิจกรรม QCC ทำอย่างไร
ก. เลือกประเด็นปัญหาก่อนแล้วจึงวิเคราะห์ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
23. ในการนำเสนอปัญหา สมาชิกควรมีอะไรมาเป็นหลักฐานยืนยัน ง. ถูกทุกข้อ
24. การใช้แผนภูมิก้างปลาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คืออะไร
ก. มองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ
25. แสดงวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ค. แสดงด้วยแผนภูมิก้างปลาแก้ปัญหา
26. การวางแผนแก้ปัญหาหรือปรับปรุงวิธีการทำงาน ต้องทำอะไรก่อน
ข. พิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดจากแผนภูมิก้างปลาแก้ปัญหา
27. การปฏิบัติงานแก้ปัญหาหรือดำเนินการปรับปรุงการทำงานจะประสบความสำเร็จได้ สมาชิกของกลุ่มกิจกรรม QCC ต้องทำอะไร ง. ถูกทุกข้อ
28. การตรวจสอบผลการแก้ไขปรับปรุงงาน ต้องทำอย่างไร ง. ถูกทุกข้อ
29. การกำหนดมาตรฐาน เกิดจากข้อใด ข. ใช้ผลการตรวจสอบจากกิจกรรม QCC
30. จุดสิ้นสุดของกิจกรรม QCC คือข้อใด ค. ได้มาตรฐานการทำงานที่มีคุณภาพ
31. ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน
ค. พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้วยวิธีการเสนอแนะปรับปรุงงาน
32. ข้อใดคือหลักการของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน ง. ถูกทุกข้อ
33. การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเสนอแนะปรับปรุงงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร องค์กรต้องสร้างอะไรบ้าง
ง. ถูกทุกข้อ
34. เป้าหมายสำคัญของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน คือข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
35. ท่านคิดว่าขั้นตอนใดในกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงานมีความสำคัญที่สุด ง. ถูกทุกข้อ
36. หัวข้อในการเสนอแนะปรับปรุงงาน ควรมีความเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพการทำงาน
37. ข้อใดที่ไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน
ก. เป็นข้อเสนอแนะที่แปลกแหวกแนวที่สุด
ข้อ 38-40 ใช้คำตอบต่อไปนี้
ก. การลดต้นทุน ข. การเพิ่มคุณภาพ
ค. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ง. สร้างความพึงพอใจให้กับชุมชน
38. ปรับปรุงเครื่องจักรด้วยระบบการบำรุงรักษาที่ดีกว่าเดิม ก. การลดต้นทุน
39. เสนอให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ค. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
40. ปรับปรุงระบบการให้บริการลูกค้า ข. การเพิ่มคุณภาพ
41. ข้อใดคือความหมายของการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
ข. ความร่วมมือของผู้ใช้ทุกคนพนักงานซ่อมบำรุงและหัวหน้าหน่วยงานในการดูแลและรักษา
42. ข้อใดไม่ใช่หลักการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
ก. จัดซื้อจัดหาด้วยราคาถูกเพื่อให้ต้นทุนต่ำ
43. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
ง. ลดเวลาการทำงานของพนักงานซ่อมบำรุง
44. การบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพแก่พนักงาน เพราะสาเหตุใด
ก. การฝึกอบรมวิธีการใช้และการดูแลรักษา
45. การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี คือการลดปัญหาข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
46. การสูญเสียวัตถุดิบ มักเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของกระบวนการผลิต
ก. การเปิดเครื่องป้อนเข้าวัตถุดิบครั้งแรก
47. ผลผลิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เกิดจากสาเหตุใดมากที่สุด
ค. เครื่องจักรมีอัตราเสียต่ำกว่ามาตรฐาน
48. ผลผลิตที่ได้ตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดเกิดจากเครื่องจักรอยู่ในสภาพใด
ง. เครื่องจักรได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
49. ท่านคิดว่าพนักงานจะได้อะไรจากความร่วมมือในกิจกรรมการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
ก. มีความภาคภูมิใจ
50. ท่านคิดว่าองค์กรได้อะไรจากกิจกรรมการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
ก. มีกำไรมากขึ้น
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานมีดังนี้
1) เป็นรายงานเรื่องอะไร
2) เป็นรายงานต่อผู้บังคับบัญชาระดับใด
3) ต้องการรายงานเรื่องอะไร
2. การนำเสนอข้อมูลประกอบการรายงาน ต้องนำเสนอดังนี้
1) แหล่งที่มาของข้อมูล
2) วิธีการนำเสนอข้อมูล
3. การสรุปผลการดำเนินงาน ต้องมีลักษณะดังนี้
1) มีความชัดเจน
2) มีผลที่เป็นจริงพิสูจน์ได้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่นำเสนอ
3) สรุปให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการรายงาน
4. รายงานผลการตรวจสอบผลการดำเนินงาน มีความสำคัญเพราะ
เป็นเอกสารตามข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO 9001 : 2000
5. รายละเอียดประกอบการรายงานผลการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ได้แก่
1) ใบมอบหมายให้ทำการตรวจสอบ
2) กำหนดการตรวจสอบ
3) บันทึกการตรวจสอบ
4) สำเนาเอกสารผลการตรวจสอบครั้งล่าสุด
5) ใบรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน ก. รายงานผลงานของตัวเอง
2. ลักษณะของเนื้อหาในรายงานควรเป็นอย่างไร
ข. ให้รายละเอียดในส่วนที่สำคัญและทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
3. ข้อใดไม่ใช่วิธีการนำเสนอข้อมูล ก. บรรยายความคิดเห็นส่วนตัว
4. ข้อใดเป็นส่วนสำคัญที่สุดของรายงานผลการดำเนินงาน ง. บทสรุป
5. ข้อใดไม่ใช่สาระของรายงานผลการดำเนินงาน ง. รายชื่อพนักงาน
6. ข้อใดคือวิธีการสรุปผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ง. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของการรายงาน ก. คำนิยม
8. ปกของรายงานผลการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ข้อใดเป็นบรรทัดแรก ค. ชื่อองค์กร
9. เรื่องในรายงานผลการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ข้อใดเป็นเรื่องแรก
ข. บทสรุปผลการตรวจสอบ
10. ท่านคิดว่ารายงานผลการดำเนินงานและผลการตรวจสอบมีความสำคัญต่อข้อใดมากที่สุด
ข. องค์กร
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ
กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์คุณภาพ การวางแผนงานคุณภาพ ระบบบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผลและการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
2. ระบบบริหารงานคุณภาพ หมายถึง
ระบบการบริหารที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์คุณภาพขององค์กร
3. องค์ประกอบของระบบบริหารงานคุณภาพ ได้แก่
1) การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ
2) การกำหนดความคาดหวังของลูกค้า มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ งานบริการ
3) การกำหนดกระบวนการผลิต / การบริการ
4) การวางแผนการใช้ทรัพยากรในการผลิต / การบริการ
5) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6) สร้างระบบหรือหน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร
4. การบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร : TQM หมายถึง
การบริหารงานโดยให้พนักงานขององค์กรมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า
5. หลักการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ประกอบด้วย
1) Q : Quality คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ / การบริการตามความต้องการของลูกค้า
2) C : Cost คือ ต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพยังคงไว้ตามความต้องการของลูกค้า
3) D : Delivery คือ การส่งมอบทันเวลา ลูกค้าประทับใจในการบริการ
4) M : Morale คือ การสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน
5) S : Safety คือ การสร้างความปลอดภัยในการทำงาน
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดเป็นขอบข่ายการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ง. ถูกต้องทุกข้อ
2. ความมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือกิจกรรมข้อใด
ก. ทำให้ความคาดหวังของลูกค้าเท่ากับความพึงพอใจของลูกค้า
3. ข้อใดที่ไม่ใช่การบริหารงานอย่างเป็นผู้นำ ง. จ่ายโบนัสมากๆ
4. องค์กรแบบใดที่ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพให้กับองค์กร ง. ถูกทุกข้อ
5. ข้อใดที่ไม่ใช่กระบวนการของการบริหารงานคุณภาพ ข. ลูกค้า®นโยบาย®ผลกำไร
6. การบริหารงานอย่างเป็นระบบ คือข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
7. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
8. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เกิดจากข้อใดมากที่สุด ก. นโยบายขององค์กร
9. การปฏิบัติงานแบบใดที่ทำให้พนักงานมีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
ค. การปฏิบัติงานตามระเบียบวิธี PDCA
10. ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจปรับปรุงงานขององค์กร ควรเป็นข้อมูลแบบใด ง. ถูกทุกข้อ
11. การตัดสินใจเลือกแนวทางที่ถูกต้อง นอกจากจะมีข้อมูลแล้วควรจะมีอะไรอีก
ก. ประสบการณ์การทำงาน
12. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้ส่งมอบควรอยู่บนพื้นฐานของข้อใด ค. ผลประโยชน์ร่วมกัน
13. เราควรสร้างความสัมพันธ์กับ Supplier อย่างไร
ง. เหมือนข้อ ค. และความจริงใจในการพัฒนาความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย
14. ท่านคิดว่าการบริหารงานคุณภาพในองค์กร มีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือข้อใด ข. ลูกค้า
15. หัวใจของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือข้อใด
ก. ข้อมูลความต้องการของลูกค้า
หน่วยที่ 6
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. หลักการจัดสรรทรัพยากรให้การดำเนินงานบริหารงานคุณภาพบรรลุวัตถุประสงค์คุณภาพ ได้แก่
1) ความต้องการใช้ทรัพยากร
2) ระยะเวลาของการใช้ทรัพยากร
3) การเพิ่มปริมาณ คุณภาพ หรือประสิทธิภาพของทรัพยากร
4) การวางแผนจัดสรรทรัพยากร
5) การจัดทำแผนงบประมาณ
2. เป้าหมายของการจัดการงานบุคคล คือ
1) จัดสรรบุคคลให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
2) ส่งเสริมบุคคลให้ทำงานได้เต็มตามศักยภาพ
3. การจัดการงานบุคคลต้องมีแผนงานสำคัญ 5 แผนงาน คือ
1) แผนอัตรากำลัง
2) แผนการจ้างประจำปี
3) แผนการฝึกอบรม
4) แผนบริหารค่าตอบแทน
5) แผนแรงงานสัมพันธ์
4. การจัดสรรพื้นที่การใช้งานต้องคำนึงถึง
ความต่อเนื่องของการทำงาน
5. การติดตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ต้องคำนึงถึง
หลักการยศาสตร์
6. หลักการจัดการด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ประกอบด้วย
1) หลักแห่งความปลอดภัย
2) หลักการรักษาอาชีวอนามัย
3) หลักการอำนวยความสะดวกในการทำงาน
7. ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อองค์กร ควรเป็นทัศนคติดังต่อไปนี้
1) มีความมั่นคงในงานอาชีพ
2) มีความก้าวหน้าในการทำงาน
3) ตนเองได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
4) ตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือเป็นเจ้าขององค์กร
5) มีความปลอดภัย มีความสุข และความสะดวก
8. การวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการทำงาน จะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1) การจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานต้องมีความสอดคล้องกับการทำงาน
2) การจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้ต้นทุนสูง
3) โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก
9. แผนงานด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่
1) แผนกิจกรรมเสนอแนะปรับปรุงงาน
2) แผนกิจกรรมสันทนาการ
3) แผนส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
10. การประเมินผลการจัดสภาพแวดล้อมของการทำงาน ทำได้ 3 แนวทาง คือ
1) ประเมินจากประสิทธิภาพของการทำงาน และผลงาน
2) ประเมินจากการบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดด้วยระเบียบวิธีการศึกษาวิธีการทำงาน
3) ประเมินจากข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ง. ระบบลูกค้าสัมพันธ์
2. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมทางสังคม ก. การยอมรับของสังคม
3. อาชีวอนามัยเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ง. ถูกทุกข้อ
4. ระบบระบายอากาศภายในโรงงานไม่ดีมักมีปัญหาอะไร ข. พนักงานมักจะป่วยเป็นไข้เป็นหวัด
5. ระบบแสงสว่างไม่ดีส่งผลต่อพนักงานในด้านใดมากที่สุด ก. ความปลอดภัย
6. หลักอาชีวอนามัยมีความสำคัญกับคุณภาพขององค์กรด้านใด ง. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดที่ทำให้พนักงานมีความรู้สึกมั่นคง ง. ระบบบริหารงานในองค์กรมีคุณภาพ
8. ทัศนคติข้อใดของพนักงานที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด ค. องค์กรดีเด่น
9. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กรจะแก้ปัญหาหรือป้องกันได้อย่างไร ง. ถูกทุกข้อ
10. การบริหารงานแบบใดที่ป้องกันความขัดแย้งได้ ง. ถูกทุกข้อ
11. การวางแผนเพื่อจัดสภาพแวดล้อมของการทำงานให้ตอบสนองนโยบายการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ต้องใช้ข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
12. ข้อใดคือแผนงานการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม
ก. กิจกรรมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการ
13. การประเมินผลการจัดสภาพแวดล้อมของการทำงานควรใช้ข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
14. ปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมของการทำงานมีกี่ระดับ ก. 3
15. การจัดระดับปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมของการทำงานใช้ข้อใดเป็นเกณฑ์
ค. ผลกระทบต่อการทำงาน
หน่วยที่ 7
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ข้อมูลที่ใช้ประกอบการวางแผนการผลิต / การบริการ มีข้อมูลดังนี้
1) ข้อมูลความต้องการของลูกค้า
2) ข้อมูลด้านทรัพยากรการผลิต / การบริการ
3) ข้อมูลด้านการตลาดและคู่แข่งขัน
4) ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ / การให้บริการ
5) ข้อมูลการประเมินผลกระบวนการผลิตที่ผ่านมา
2. หลักการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1) ความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์
2) ความเชื่อถืออายุการใช้งาน
3) ความทนทานอายุการใช้งาน
4) การบำรุงรักษาไม่ยาก
5) เหมาะสมกับการใช้งาน
3. การวางแผนออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ได้แก่
1) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำหน้าที่พิจารณาความเป็นไปได้ของแนวคิด “ผลิตภัณฑ์ใหม่” ที่ถูกกำหนดขึ้น
2) ฝ่ายออกแบบ ทำหน้าที่กำหนดและจำลองรูปแบบ “ผลิตภัณฑ์ใหม่” ตามแนวคิด
3) ฝ่ายผลิต ทำหน้าที่ทดลองผลิต “ผลิตภัณฑ์ใหม่” ตามแบบจำลองของฝ่ายออกแบบ
4) ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ทำหน้าที่ทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือไม่
5) ฝ่ายการตลาด ทำหน้าที่นำผลิตภัณฑ์ใหม่ไปทดสอบความต้องการของลูกค้า
4. ข้อมูลด้านความต้องการของลูกค้า เราสามารถจะหาได้จาก
1) ฝ่ายวิจัยการตลาด
2) ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายที่เราทำกับลูกค้า
3) มาตรฐานสินค้าทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ
4) กฎหมายควบคุมสินค้าบางประเภท
5. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จำเป็นต้องรู้สมรรถนะของทรัพยากรที่มีอยู่ เนื่องจาก
การเปลี่ยนแปลงแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตหรือทั้งกระบวนการผลิต
6. ข้อมูลด้านการตลาดและคู่แข่งทางการค้า มีความสำคัญต่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจาก
ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าในตลาดมาก ดังนั้นการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงตั้งเป้าหมายให้สามารถเป็นผู้นำตลาดและชนะคู่แข่งขัน
7. การทดสอบผลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ดูจากการประเมินผลในเรื่องต่อไปนี้
1) ตรงตามข้อกำหนด / ข้อตกลง / สัญญาซื้อขายของลูกค้า
2) ตรงตามมาตรฐานสินค้าที่ใช้อยู่
3) ตรงตามข้อกฎหมายที่บังคับใช้
4) ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ
8. การทดสอบผลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายคุณภาพและนโยบายขององค์กร ดูจากการประเมินในเรื่องต่อไปนี้
1) ประเมินต้นทุนการออกแบบและการผลิต
2) ประเมินผลความต้องการของตลาด
3) ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจรรยาบรรณของการดำเนินธุรกิจ
9. กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัจจัยการผลิตประกอบด้วย
1) จัดซื้อตามข้อกำหนด / ความต้องการ / สัญญา
2) มีระบบการตรวจสอบราคา
3) มีการตรวจสอบคุณภาพ
4) คำนวณงบประมาณ เพื่อขออนุมัติการจัดซื้อ
5) ดำเนินการจัดซื้อด้วยความรอบคอบ
10. งานบริการลูกค้าควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่อไปนี้
1) การต้อนรับลูกค้าด้วยความสุภาพ อ่อนโยน จริงใจ
2) ให้บริการด้วยความชำนาญงาน / บริการอย่างมืออาชีพ
3) เป็นงานบริการที่มีมาตรฐาน
4) ให้ความสำคัญกับพนักงานผู้ให้บริการ ด้านบุคลิกภาพ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และมีหัวใจบริการ
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์หรืองานบริการต้องกำหนดโดยยึดข้อใดเป็นสำคัญ
ก. ข้อมูลของฝ่ายวิจัยการตลาด
2. ลักษณะของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ คือข้อใด ง. ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบด้วยหลักการทางสถิติ
3. ข้อมูลใดที่ไม่ต้องใช้ในการวางแผนการผลิตและการให้บริการ ค. ข้อมูลด้านการโฆษณา
4. ข้อกำหนดโดยเฉพาะของผลิตมาจากที่ใด ก. ลูกค้า
5. ข้อกำหนดที่จำเป็นต้องมีคือข้อใด ก. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบ
6. ข้อใดที่ไม่ใช่หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ข. ความสบายกายสบายใจ
7. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องไม่มีข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
8. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้บรรลุเป้าหมาย คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ขึ้นอยู่กับข้อใดมากที่สุด ก. การประสานงานระหว่างหน่วยงาน
9. ฝ่ายวิจัยการตลาดต้องหาข้อมูลอะไรมาให้ฝ่ายออกแบบ ง. ถูกทุกข้อ
10. สินค้าประเภทใดที่มีมาตรฐานบังคับไว้แล้ว ง. ถูกทุกข้อ
11. ข้อใดที่ไม่ใช่กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ ง. การตีราคา
12. ข้อใดเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของกระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ ข. การตรวจสอบคุณภาพ
13. การตรวจรับผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อต้องตรวจอะไร ง. ถูกทุกข้อ
14. ข้อใดที่สำคัญที่สุดของกระบวนการจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ง. ถูกทุกข้อ
15. ข้อใดเป็นวิธีการเลือกสรรผู้ส่งมอบดีที่สุด ก. ขอเยี่ยมชมโรงงาน
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. จุดที่ต้องตรวจติดตามก่อนและให้ความสำคัญ ได้แก่
1) พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าพื้นที่อื่นๆ
2) จุดอันตรายหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
3) จุดที่ให้บริการลูกค้า
2. การวัดและตรวจสอบในกระบวนการผลิต มี 2 ระบบ คือ
1) QC : Quality Control
2) QA : Quality Assurance
3. การตรวจสอบกระบวนการวัดและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ได้แก่การตรวจ
1) วิธีการสุ่ม / สถิติที่ใช้สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์
2) หัวข้อ / ข้อบ่งชี้ / เกณฑ์ที่ใช้ตรวจวัด
3) บุคลากรที่ดำเนินการตรวจวัดมีความชำนาญงานมากพอ
4) เครื่องมือ / อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวัดมีประสิทธิภาพเพียงพอ
5) การบันทึกข้อมูลมีความถูกต้อง
4. กระบวนการคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ประกอบด้วย
1) แต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบกระบวนการคัดแยก
2) จัดสถานที่เก็บสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
3) จัดทำระบบเอกสารเพื่อบันทึกผลการคัดแยก
4) ติดเครื่องหมาย “ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน” ให้เห็นชัดเจน
5. กระบวนการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดจากพนักงาน ประกอบด้วย
1) สร้างความตระหนักด้านหน้าที่และปัญหาความผิดพลาด
2) สร้างระเบียบวินัยการทำงานเพิ่มเติม เพื่อควบคุมความผิดพลาด
3) จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ / ความสะดวก
4) ถ้าการวางตำแหน่งงานยังไม่เหมาะสมก็ให้สับเปลี่ยนหน้าที่
6. การรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพทั่วทั้งองค์กรทำการรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้
1) เอกสารบันทึกผลการปฏิบัติงานจากทุกหน่วยงาน
2) ผลการตรวจสอบผลการดำเนินงานภายในองค์กร
3) ผลการวัดและตรวจสอบผลิตภัณฑ์
4) ผลการตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้าหลังจากการส่งมอบแล้ว
7. การตั้งเป้าหมายปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง ควรอยู่บนพื้นฐานของข้อต่อไปนี้
1) ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการยกระดับ / ปรับปรุงคุณภาพหรือสร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้นในระบบบริหารงาน
2) ใช้กระบวนการกลุ่มคุณภาพ
3) เน้นการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) มีวิสัยทัศน์ปรับปรุงคุณภาพขององค์กรเพื่ออนาคต
8. หน่วยงานที่ถูกประเมินให้ต้องปฏิบัติการแก้ไขระบบบริหารงาน ต้องดำเนินการดังนี้
1) นำข้อบกพร่องมาพิจารณา
2) หาสาเหตุของการไม่ยอมรับ
3) กำหนดวิธีการและขั้นตอนปฏิบัติการ แก้ไขส่วนที่บกพร่อง
4) บันทึกการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนและผลที่ได้จากการปฏิบัติการ แก้ไขส่วนที่บกพร่อง
5) ทบทวนผลที่ได้รับก่อนส่งรายงานผลการปฏิบัติการแก้ไขให้ฝ่ายบริหารระดับสูงรับทราบความก้าวหน้า
9. เมื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานภายในองค์กรแล้วพบว่า ระบบการบริหารงานคุณภาพยังไม่มีข้อบกพร่องก็ควรต้องมี
ปฏิบัติการป้องกันระบบบริหารให้คงไว้ซึ่งคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
10. การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า คือ
การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าหลังการส่งมอบแล้ว
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการตรวจสอบผลการดำเนินงานในองค์กร
ค. มุ่งสู่มาตรฐานนานาชาติ
2. จุดอ่อนขององค์กรมักเกิดจากหน่วยงานใดมากที่สุด
ข. ฝ่ายบริหารงานบุคคล
3. พื้นที่ใดที่ควรตรวจติดตามให้บ่อยที่สุด
ก. หน่วยบริการลูกค้า
4. ข้อใดที่ไม่ใช่ขั้นตอนการตรวจติดตามภายในองค์กร
ค. สังเกตการณ์ลับๆ ก่อนเข้าทำการตรวจจริง
5. การปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องที่ตรวจพบ ทำหลังจากข้อใด
ข. ฝ่ายบริหารพิจารณาผลการตรวจแล้วจึงแจ้งให้หน่วยงานทราบ
6. การแก้ไขปรับปรุงงานควรให้ฝ่ายบริหารร่วมพิจารณาเพราะสาเหตุใด ง. ถูกทุกข้อ
7. QC ต่างจาก QA อย่างไร ข. ต่างกันที่วิธีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์
8. การออกใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านขั้นตอนใดก่อน ค. การทบทวนผลการตรวจสอบ
9. การตรวจสอบกระบวนการวัดและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ คือการตรวจสอบอะไร ง. ถูกทุกข้อ
10. กระบวนการคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน คือข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
11. การปรับปรุงคุณภาพทั้งองค์กรต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อใดที่ไม่ใช่ข้อมูลที่ต้องการ
ก. ผลการตรวจสอบภายนอกองค์กร
12. การปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นจากสาเหตุใด ง. ถูกทุกข้อ
13. พื้นฐานสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง คือข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
14. หน่วยงานที่ถูกประเมินให้ต้องปรับปรุงกระบวนการบริหารงาน หน่วยงานต้องดำเนินการในข้อใด
ง. ถูกทุกข้อ
15. เราสามารถวางแผนป้องกันระบบบริหารงานให้คงคุณภาพได้อย่างไร
ข. สร้างระบบเตือนภัย คือประเมินความพึงพอใจลูกค้า
หน่วยที่ 9
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. QMS (Quality Management Systems) หมายถึง
ระบบที่ใช้ในการบริหารองค์กรอย่างถูกต้องและมีคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะครอบคลุมผลิตภัณฑ์และ / หรือบริการด้วยแล้ว ยังครอบคลุมถึงทุกๆ กิจกรรมในองค์กรด้วย
2. องค์กรจะนำระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 มาเป็นแนวทางการบริหารของ องค์กร องค์กรต้องมีความพร้อมในด้าน
ปัจจัยการบริหารงาน ได้แก่ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี บุคลากรและระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
3. จากหลักการบริหารองค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ คำว่า “ความพึงพอใจของลูกค้า” หมายถึง
ลูกค้าได้รับการตอบสนองตามความคาดหวัง และความต้องการ
4. แนวทางปฏิบัติของผู้บริหารในหลักการบริหารด้วยความเป็นผู้นำ ได้แก่
1) สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้บุคลากรมีส่วนร่วมบริหารงานในทุกหน่วยงาน
2) สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์กร
3) ฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของบุคลากรพร้อมให้โอกาสทางการศึกษา
5. แนวทางปฏิบัติให้เกิดหลักการมีส่วนร่วมของบุคลากร ได้แก่
1) สร้างความตระหนักในหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองต่องานที่ได้รับมอบหมาย
2) สร้างการยอมรับในความเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญขององค์กร
3) สร้างความกระตือรือร้นต่อการปรับปรุงงานทั้งของตัวเองและของหน่วยงาน
6. แนวทางปฏิบัติตามหลักการดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ ได้แก่
1) กำหนดกระบวนการบริหารงานขององค์กรให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
2) กำหนดปัจจัยที่ใช้ป้อนเข้าโดยบ่งชี้ผลตอบสนองต่อระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง
3) กำหนดจุดเชื่อมโยงหรือจุดประสานงานระหว่างหน่วยงาน
7. แนวทางปฏิบัติตามหลักการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ได้แก่
1) กำหนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานให้ชัดเจน โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกันคือความพึงพอใจของลูกค้า
2) วางโครงสร้างการบริหารงานอย่างชัดเจน ให้เห็นระบบความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
3) ประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายขององค์กรเป็นเกณฑ์ก่อนพิจารณาผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อหน่วยอื่นๆ ในลำดับต่อไป
8. แนวทางปฏิบัติตามหลักการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
1) กำหนดนโยบายองค์กรให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2) กำหนดแผนการประเมินผลงานและเกณฑ์การประเมินผลงานที่ชัดเจน
3) มีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยป้อนเข้า และกระบวนการดำเนินงาน
9. แนวทางปฏิบัติตามหลักการใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ได้แก่
1) มีระบบรวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2) มีระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ
3) มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
10. แนวทางปฏิบัติตามหลักการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบที่อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่เสมอภาค ได้แก่
1) เลือกสรรผู้ส่งมอบที่มีความสำคัญต่อองค์กร
2) สร้างสัมพันธภาพโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับในระยะสั้นและผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว
3) มีการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน เปิดเผย เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. การจัดระบบบริหารงานคุณภาพต้องการตอบสนองข้อใด ข. ลูกค้า
2. ระบบบริหารงานคุณภาพเป็นกรอบการตรวจสอบโดยข้อใด ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.
3. ระบบบริหารงานคุณภาพ ใช้กับองค์กรในข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
4. ข้อใดคือ ISO 9004 ก. การปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง
5. ข้อใดคือสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจาก ISO 9000 : 1994 มาเป็น ISO 9000 : 2000
ง. ถูกทุกข้อ
6. ISO 9001 คือข้อใด ข. การรวมเนื้อหา ISO 9001, 9002, 9003 ของปี ค.ศ. 1994
7. ข้อใดเป็นมาตรฐานการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ค. ISO 19011 : 2000
8. ลูกค้าหมายถึงใคร ง. ถูกทุกข้อ
9. การตอบสนองความต้องการของลูกค้าในหลักการบริหารองค์กรเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ องค์กรต้องปฏิบัติอย่างไร ง. ถูกทุกข้อ
10. สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นการปฏิบัติตามหลักการข้อใด
ค. หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากร
11. การกำหนดปัจจัยที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการดำเนินงาน เป็นการปฏิบัติตามหลักการข้อใด
ก. หลักการดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ
12. ประเมินผลการดำเนินงานโดยพิจารณาผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อหน่วยงานอื่นด้วย เป็นการปฏิบัติตามหลักการข้อใด ข. หลักการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
13. มีระบบรวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นการปฏิบัติตามหลักการข้อใด ข. หลักการใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
14. มีความร่วมมือกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บุคลากร หรือกระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติตามหลักการข้อใด
ค. หลักการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบที่อยู่บนพื้นฐานที่เสมอภาคกัน
15. ระบบบริหารงานคุณภาพอย่างเป็นกระบวนการ หมายถึงข้อใด
ง. ถูกทุกข้อ
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ข้อกำหนดของระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 เป็นข้อกำหนดที่องค์กรนำไปใช้เพื่อ
1) แสดงให้เห็นถึงความสามารถขององค์กรที่จะผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า หรือตามข้อกำหนด เกณฑ์หรือกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ
2) ยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบบริหารงานคุณภาพอย่างมี ประสิทธิผล รวมถึงกระบวนการต่างๆ สำหรับการปรับปรุงระบบบริหารอย่างต่อเนื่องและการประกันความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและข้อกำหนดทางกฎหมาย
2. การละเว้นข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 เป็นการละเว้นข้อกำหนดข้อที่ 7 เท่านั้น และการ ละเว้นนั้นไม่ส่งผลต่อ
ความสามารถหรือความรับผิดชอบต่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. ในกรณีที่องค์กรใช้บุคคลภายนอกดำเนินการใดๆ แทนองค์กร ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และข้อกำหนดขององค์กร ต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่า
มีมาตรการควบคุมการดำเนินงานของบุคคลภายนอก ต้องระบุวิธีการควบคุมไว้ในระบบบริหารงานคุณภาพด้วย
4. ชุดเอกสารในระบบบริหารงานคุณภาพประกอบด้วย
1) เอกสารแสดงนโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพ
2) คู่มือคุณภาพ
3) เอกสารแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานและระเบียบปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐาน
4) เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อองค์กรเพื่อสร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพของการวางแผนการดำเนินงาน และการควบคุมกระบวนการต่างๆ ขององค์กร
5) บันทึกต่างๆ ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001 : 2000
5. นโยบายคุณภาพขององค์กรต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1) มีความเหมาะสมกับเป้าหมายขององค์กร
2) มีความครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะทำให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดและการปรับปรุงประสิทธิผลเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
3) ให้มีกรอบความคิดสำหรับการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์คุณภาพขององค์กร
4) ได้มีการสื่อสารทำให้เป็นที่เข้าใจกันทั่วทั้งองค์กร
5) ได้รับการทบทวนเพื่อให้มีความเหมาะสมกับองค์กรอย่างต่อเนื่อง
6. การวางแผนระบบบริหารงานคุณภาพแผนงานต้องมีลักษณะดังนี้
1) การวางแผนระบบบริหารงานคุณภาพได้ดำเนินการจนครบทุกกระบวนการเพื่อที่จะสนองตอบตามข้อกำหนดที่ให้ไว้ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์คุณภาพขององค์กร
2) ความสมบูรณ์ครบถ้วนของระบบบริหารงานคุณภาพได้รับการธำรงรักษาไว้เมื่อมีการวางแผนการและนำไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหารงานคุณภาพ
7. ตัวแทนผู้บริหารนอกจากภารกิจตามปกติแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบและมีอำนาจหน้าที่ในระบบบริหารงานคุณภาพดังต่อไปนี้
1) สร้างความมั่นใจว่ากระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับระบบบริหารงานคุณภาพถูกกำหนดขึ้น นำไปปฏิบัติและธำรงรักษาไว้
2) รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารระดับสูงถึงสมรรถนะของระบบบริหารงานคุณภาพ และความจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงงาน
3) สร้างความมั่นใจว่ามีการเสริมสร้างความตระหนักถึงความต้องการของลูกค้าให้เกิดขึ้นกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร
8. ในระบบบริหารงานคุณภาพ องค์กรต้องจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อ
1) นำไปปฏิบัติและธำรงรักษาไว้ซึ่งระบบบริหารงานคุณภาพ และการปรับปรุงประสิทธิผลเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
2) ยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
9. แผนคุณภาพ (Quality Plan) คือ
เอกสารที่อธิบายถึงกระบวนการต่างๆ ของระบบบริหารงานคุณภาพซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิต และทรัพยากรต่างๆ ที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์หรือในโครงการหรือในสัญญาใดๆ
10. ในการทบทวนข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ องค์กรต้องสร้างความมั่นใจว่า
1) ข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน
2) ข้อกำหนดในสัญญาหรือคำสั่งซื้อแตกต่างไปจากข้อกำหนดที่ได้ระบุก่อนหน้านั้นมีข้อยุติแล้ว
3) องค์กรมีความสามารถตอบสนองตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ ผลการทบทวนและปฏิบัติการ ที่เกิดจากการทบทวนต้องมีการบันทึกและเก็บรักษาไว้
11. ข้อมูลป้อนเข้าสู่กระบวนการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องรวมถึงเรื่อง
1) ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานและสมรรถนะของผลิตภัณฑ์
2) ข้อกำหนดตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
3) ข้อมูลที่ได้จากการออกแบบก่อนหน้านั้นซึ่งคล้ายคลึงกัน
4) ข้อกำหนดอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
12. หลังจากการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วยังมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการก่อนนำไปผลิต คือ
1) การทบทวนการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
2) การตรวจสอบการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3) การทดสอบเพื่อรับรองผลของการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4) การควบคุมการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
13. ในการจัดซื้อ (Purchasing) องค์กรต้องสร้างความมั่นใจว่า
กระบวนการจัดซื้อมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดในการจัดซื้อที่ได้ระบุไว้
14. องค์กรต้องทำการทดสอบเพื่อรับรองกระบวนการผลิตและการให้บริการในกรณีที่
ไม่สามารถทวนสอบผลลัพธ์จากกระบวนการผลิตและการบริการนั้นได้ ทั้งกระบวนการเฝ้า ติดตามหรือการวัด รวมถึงกระบวนการใดๆ ที่มีความบกพร่องปรากฏขึ้นหลังจากที่ได้มีการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้แล้ว หรือส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปแล้วเท่านั้น
15. องค์กรต้องจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดโดยทางใดทางหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่
1) โดยดำเนินการกำจัดความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดที่ค้นพบ
2) อนุมัติให้ใช้ได้โดยมีผู้มีอำนาจหน้าที่ปล่อยผ่านผลิตภัณฑ์ภายใต้การอนุโลมโดยผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือได้รับการรับรองจากลูกค้าในกรณีที่เป็นไปได้
3) โดยการดำเนินการป้องกันไม่ให้นำเอาผลิตภัณฑ์ไปใช้งานหรือทำการแยกไว้
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบข้อ 1-3
ก. ISO 9000 : 2000 ข. ISO 9001 : 2000
ค. ISO 9004 : 2000 ง. ISO 19011 : 2000
1. ข้อใดคือข้อกำหนดของระบบบริหารงานคุณภาพ ข. ISO 9001 : 2000
2. ข้อใดคือข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน ก. ISO 9000 : 2000
3. ข้อใดคือมาตรฐานการตรวจประเมิน ง. ISO 19011 : 2000
4. ความแตกต่างระหว่าง ISO 9000 ปี 1994 กับปี 2000 คือข้อใด ง. ถูกต้องทุกข้อ
5. ข้อใดที่ไม่ใช่ข้อความในบทนำของข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 9001 ง. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
6. ข้อใดที่ไม่ใช่ชุดเอกสารในระบบบริหารงานคุณภาพ ง. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
7. ข้อใดที่ไม่ใช่ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในระบบบริหารงานคุณภาพ
ข. สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน
8. ข้อใดเป็นนโยบายคุณภาพ ง. ถูกทุกข้อ
9. ข้อมูลป้อนเข้าสำหรับกระบวนการทบทวน คือข้อใด ง. ถูกทุกข้อ
10. บุคลากรมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ องค์กรต้องพิจารณาเลือกบุคลากรจากอะไร ง. ถูกทุกข้อ
11. ในการวางแผนการผลิตข้อใดมีความสำคัญเป็นอันดับแรก
ข. ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า
12. ข้อกำหนดใดที่ไม่ใช่ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ค. ข้อกำหนดขององค์กรเอง
13. ควรมีการสื่อสารกับลูกค้าในเรื่องอะไร ง. ถูกทุกข้อ
14. ในการวางแผนการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ องค์กรจะมั่นใจในผลลัพธ์ได้อย่างไร
ค. มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
15. ในการทบทวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องประกอบด้วยข้อใด
ค. ตัวแทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
16. ในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาผลิตต้องให้ความสำคัญกับสิ่งใด
ง. ถูกทุกข้อ
17. กระบวนการเฝ้าติดตาม มีความจำเป็นอย่างไร
ง. ถูกทุกข้อ
18. การตรวจสอบภายในองค์กร ต้องดำเนินการอย่างไร ง. ถูกทุกข้อ
19. เมื่อพบข้อบกพร่องผู้บริหารที่รับผิดชอบต้องทำอย่างไร ง. ถูกทุกข้อ
20. ข้อใดคือรายละเอียดของปฏิบัติการแก้ไข ง. ถูกทุกข้อ
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบผลการดำเนินงานภายในองค์กร ได้แก่
1) เป็นข้อกำหนดที่สำคัญของมาตรฐาน ISO 9001 : 2000
2) เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานระบบบริหารงานคุณภาพอย่างแท้จริง
3) เพื่อค้นหาจุดบกพร่องที่อาจจะมีอยู่เพื่อป้องกันความผิดพลาด
4) เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงประสิทธิผลของระบบบริหารงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้ตรวจสอบผลการดำเนินงานภายในองค์กรควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1) ชำนาญงานและมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงานที่จะทำการตรวจสอบ
2) เข้าใจข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001 : 2000
3) มีความสามารถในการวางแผนงาน
4) มีความสามารถในการใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์
5) มีทักษะในการสื่อสารกับบุคลากรทุกระดับ
3. ผู้ตรวจสอบควรทำความเข้าใจกับผู้ถูกตรวจสอบในเรื่องต่อไปนี้
1) วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
2) ขอบข่ายของการตรวจสอบ
3) วิธีการตรวจสอบและวิธีการรายงานผล
4) เอกสารของหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
5) สภาพเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน
4. ความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดถือว่าเป็นจุดบกพร่องมี 3 ระดับ ได้แก่
1) ระดับวิกฤต (Non Conformity) คือ ไม่มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดเลย
2) ระดับสำคัญ (Major Conformity) คือ การจัดระบบยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด
3) ระดับปลีกย่อย (Minor Conformity) คือ ความพลั้งเผลอหรือผิดพลาดเล็กน้อย
5. การรายงานผลลัพธ์จากการตรวจสอบผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ควรเป็นรายงานที่มีลักษณะดังนี้
1) มีการอ้างถึงรายละเอียดของการตรวจสอบ
2) ใช้ข้อความที่กระชับแต่สมบูรณ์
3) เสนอความเป็นจริง หลีกเลี่ยงความเห็นส่วนตัว
4) ไม่ระบุชื่อบุคลากร แต่ใช้ตำแหน่งแทน
5) มีรายละเอียดมากพอให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. การเพิ่มผลผลิตในองค์กร หมายถึง
กระบวนการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์/งานบริการ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและอัตราผลิตภาพของทุกหน่วยงานในองค์กร
2. แนวคิดของการเพิ่มผลผลิตในองค์กร “แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์” คือการลดปัจจัยการผลิตที่สำคัญ
แรงงาน วัตถุดิบ และพลังงาน
3. เมื่อประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) มีผลกระทบต่อระบบการค้าของไทยในด้าน
การแข่งขันกับประเทศต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
4. แนวคิดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมุ่งเพิ่มผลผลิตด้วยการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำงานและลดเวลาการทำงานลง
5. แนวคิดทางด้านสังคมคือแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ด้วยการ
แสวงหาผลประโยชน์จากการประกอบการด้านอุตสาหกรรมหรือบริการ ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อบุคคล ชุมชน สภาพแวดล้อมของประเทศและของโลก
6. การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ท่านคิดว่าเราควรใช้แนวคิดการเพิ่มผลผลิตแนวในใด
ใช้ทั้ง 3 แนวคิด
7. ปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตในองค์กร มีดังนี้
1) ปัจจัยด้านนโยบายขององค์กร
2) ปัจจัยด้านทรัพยากร
3) ปัจจัยด้านการสร้างคุณค่าและความเชื่อถือ
8. ประโยชน์ที่บุคลากรได้รับจากการเพิ่มผลผลิตในองค์การ คือ
1) ความมั่นคงในการงานอาชีพ
2) การพัฒนาตนเอง
3) การทำงานด้วยความสะดวกและปลอดภัย
4) ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีคุณภาพ
5) มีแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ
9. ประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากการเพิ่มผลผลิตในองค์กร คือ
1) ความมั่นคงขององค์กร
2) ผลกำไร
3) ความเชื่อมั่นของลูกค้า
4) การยอมรับจากชุมชนและสังคม
5) ความสามารถในการแข่งขัน
10. ประโยชน์ที่ประเทศได้รับจากการเพิ่มผลผลิตในองค์กร คือ
1) ได้รับภาษีอากรเพิ่ม
2) มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3) มีความมั่นคงทางสังคม
4) สร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ
5) บรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1.
2. ทำไมจึงกล่าวว่าผลการศึกษาของ
ง. ถูกทุกข้อ
3. ประเทศญี่ปุ่นใช้กระบวนการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติเมื่อใด ค. ช่วงปี พ.ศ. 2489-2493
4. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
ก. SQC QCC TQC
5. ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญอย่างไร ก. ให้ความรู้เรื่องเพิ่มผลผลิต
6. ประเทศไทยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันดังกล่าวมีกิจกรรมอะไรบ้างที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
7. ข้อใดคือความหมายของการเพิ่มผลผลิต ง. ถูกทุกข้อ
8. การเพิ่มผลผลิตในองค์กรต้องเพิ่มประสิทธิภาพอะไรบ้าง ง. ถูกทุกข้อ
9. ข้อใดเป็นแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ก. ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง ลูกค้าพอใจ แข่งขันได้
10. แนวคิดด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมุ่งสร้างเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ เพราะมีเป้าหมายอย่างไร
ง. ทำงานสบาย ใช้เวลาน้อย และปลอดภัย
11. ข้อใดเป็นแนวคิดทางสังคม ข. ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
12. นโยบายข้อใดเป็นนโยบายการเพิ่มผลผลิต ง. ถูกทุกข้อ
13. ทรัพยากรข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มผลิต ง. ถูกทุกข้อ
14. ข้อใดคือปัจจัยด้านการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ง. ถูกทุกข้อ
15. ข้อใดคือประโยชน์ของการเพิ่มผลผลิตในองค์กร ง. ถูกทุกข้อ
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. การเพิ่มคุณค่า คือ การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือการบริการ
มี 2 ด้าน คือ 1) ราคาสูงกว่าความเป็นจริง
2) คุณค่าหรือคุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า
2. การเพิ่มคุณค่าที่ปัจจัยการผลิตคงที่ ทำได้โดย
กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. การลดปัจจัยการผลิตแต่คุณค่าคงที่มีอยู่ 2 หลักการ คือ
1) หลักการลดความสูญเสียและสิ้นเปลืองของปัจจัยการผลิต
2) หลักการใช้ปัจจัยการผลิตให้น้อยลง/ใช้เท่าที่จำเป็น
4. สาเหตุของการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างสิ้นเปลืองหรือเกิดความสูญเสีย ได้แก่
1) ระบบการบริหารงานขาดประสิทธิภาพในการจัดการ
2) บุคลากรขาดประสิทธิภาพ ขาดความรับผิดชอบ ทำงานไม่เหมาะสม
3) เทคโนโลยีที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ หรือสูงเกินไปไม่เหมาะกับงาน
5. หลักการลดความสูญเสียและสิ้นเปลืองของปัจจัยการผลิต ได้แก่
1) Zero Defect หมายถึง ของเสียต้องไม่มี
2) Zero Delay หมายถึง การรอต้องไม่มี/ไม่เสียเวลา
2) Zero Inventory หมายถึง วัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ ไม่ตกค้างในคลังสินค้า
4) Zero Accident หมายถึง อุบัติเหตุต้องไม่เกิด
6. สาเหตุของการเสียเวลาในระบบการผลิต เกิดจาก
1) ประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่ำ
2) วัตถุดิบไม่เพียงพอ ไม่ครบ ไม่ดี
3) ผู้บริหารขาดการติดตาม ดูแล ป้องกันปัญหา
4) การวางแผนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ
7. การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in Time) แก้ปัญหา
วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ตกค้างในคลังสินค้า
8. เมื่อเกิดอุบัติเหตุในการทำงานจะส่งผลเสีย ดังนี้
1) เสียขวัญและกำลังใจของบุคลากร
2) เสียเงินค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ
3) เสียเวลาการทำงาน
4) เสียบุคลากรถ้าเกิดการพิการหรือเสียชีวิต
5) เสียเครื่องจักร/อุปกรณ์
9. หลักการใช้ปัจจัยการผลิตให้น้อยลง ด้วย 5 R ประกอบด้วย
Reuse คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ อุปกรณ์บางอย่างเราสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
Repair คือ การซ่อมแซมเครื่องจักร/อุปกรณ์ให้ใช้ได้
Recycle คือ การนำวัสดุไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่ ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่
Reproduct คือ การนำชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วไปประกอบเป็นอุปกรณ์ใหม่
Reject คือ การทำลายวัตถุอันตรายหรือแยกสิ่งของที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป ทำให้ได้พื้นที่ใช้งานเพิ่ม
10. กิจกรรมเพิ่มผลผลิต ได้แก่
1) กิจกรรม 5 ส.
2) กิจกรรม QCC
3) กิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน
4) กิจกรรมการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
5) การวางแผนการผลิตแบบทันเวลาพอดี
6) การศึกษาวิธีการทำงาน
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดคือการเพิ่มคุณค่า ง. ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดที่ทำให้เกิดการเพิ่มคุณค่าโดยไม่ต้องเพิ่มปัจจัยการผลิต
ก. บริการลูกค้าด้วยความจริงใจและประทับใจ
ใช้คำตอบต่อไปนี้ตอบข้อ 3-6
ก. บุคลากร ข. เทคโนโลยี
ค. การบริหาร ง. วัตถุดิบ
3. การทำ QC ในกระบวนการผลิต เป็นการเพิ่มคุณค่าด้วยปัจจัยด้านใด ก. บุคลากร
4. การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ ข. เทคโนโลยี
5. การฝึกอบรมพนักงานให้เกิดความชำนาญงาน ก. บุคลากร
6. การทำสัญญาสั่งซื้อวัตถุดิบ ง. วัตถุดิบ
7. สาเหตุใดที่ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานมากที่สุด ข. เครื่องจักรเสื่อมคุณภาพ
8. วัตถุดิบมีการสูญเสียมากที่สุด จากสาเหตุข้อใด ก. ทำงานโดยไม่มีการวางแผน
9. ข้อใดก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำงานมากที่สุด ค. พนักงานทำผิดขั้นตอน
10. ผู้รับเหมาก่อสร้างทิ้งงานทำงานไม่เสร็จ ท่านคิดว่าผู้รับเหมาคนนี้ทำงานอย่างไร
ก. ขาดการวางแผนอย่างรอบคอบ โดยมีข้อมูลชัดเจน
11. การควบคุมเวลาการทำงานไม่ให้เกิดการรอ ช้า เสียเวลา ควรใช้กิจกรรมข้อใด
ข. สร้างวินัยการทำงานตรงต่อเวลา
12. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้มีวัตถุดิบค้างอยู่ในคลังสินค้ามาก ง. ถูกทุกข้อ
13. ข้อใดคือระเบียบวินัยป้องกันอุบัติเหตุ ง. ถูกทุกข้อ
14. ข้อใดคือกระบวนการเพิ่มผลผลิต ง. ถูกทุกข้อ
15. ข้อใดคือกิจกรรมการเพิ่มผลผลิต ง. ถูกทุกข้อ
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. แรงจูงใจในการทำงาน คือ
การสร้างแรงผลักดันให้เกิดขึ้นภายในตัวของบุคลากร ทำให้บุคลากรเกิดความต้องการทำงานด้วยความกระตือรือร้นและด้วยความพยายามเอาชนะอุปสรรคต่างๆ
2. องค์กรสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยแนวทางต่อไปนี้
1) จูงใจด้วยผลตอบแทน
2) จูงใจด้วยสวัสดิการ
3) การเลื่อนระดับ หรือเลื่อนตำแหน่ง
4) การขยายความรับผิดชอบ
5) การหมุนเวียนหรือสับเปลี่ยนหน้าที่
3. องค์กรจะทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรโดย
1) การบริหารโดยใช้วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2) การจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
3) การสร้างบรรยากาศความร่วมมือ
4) การสื่อสารให้ทั่วถึงและสร้างความเข้าใจที่ดี
4. การสร้างบรรยากาศความร่วมมือโดยองค์กร ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1) การควบคุมงานโดยระบบของงาน
2) ให้อิสระแก่บุคลากรในการวางแผนการทำงานและการปรับปรุงงาน
3) มีการมอบหมายงานโดยให้บุคลากรประจักษ์ในผลงานของตัวเอง
4) ระบบความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานและองค์กร
5. ระบบการสื่อสารภายในองค์กรมีส่วนสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรเพราะ
ระบบการสื่อสารเป็นเครื่องเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานและฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารจะสร้างความเข้าใจ การยอมรับและการปฏิบัติตาม
6. องค์ประกอบของสภาพการทำงาน ได้แก่
1) ความเหมาะสมระหว่างคนกับงาน
2) ความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3) ความปลอดภัยในการทำงาน
7. การเลือกงานให้เหมาะกับงาน คือ
การที่เราพบว่าบุคลากรทำงานได้ประสิทธิภาพต่ำกว่าเป้าหมาย จึงนำนโยบายหมุนเวียนเปลี่ยนงานมาใช้ โดยพิจารณาเลือกงานให้เหมาะกับคน
8. หน่วยรักษาความปลอดภัยในองค์การมีหน้าที่
วางแผนงานด้านความปลอดภัย มอบหมายงาน ตรวจสอบการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย จัดหาอุปกรณ์และวิธีการรักษาความปลอดภัย
9. การฝึกปฏิบัติงานมี 2 รูปแบบ คือ
1) ฝึกในสถานการณ์จำลอง
2) ฝึกขณะปฏิบัติงานจริง โดยมีพี่เลี้ยงคอยดูแล
10. การประชุมในหน่วยงาน/ฝ่าย/กลุ่มโครงการ มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร เพราะ
บุคลากรในหน่วยงานมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและชี้แจงประเด็นปัญหาต่างๆ หัวหน้างานมีโอกาสช่วยลูกทีมแก้ปัญหามากขึ้น
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดคือคำกล่าวของ McGregor เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในการทำงาน
ค. ถ้ามีกำลังใจมนุษย์ก็ทำงานได้จนสำเร็จแม้จะยากเย็น
2. แรงจูงใจในการทำงาน คือข้อใด ข. สร้างแรงผลักดันภายใน ให้ขยันทำงาน
ใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบข้อ 3-5
ก. ความต้องการด้านสรีระ ข. ความต้องการด้านความปลอดภัย
ค. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ง. ความต้องการเกียรติยศ
3. องค์กรขยายความรับผิดชอบให้บุคลากรทำงานมากขึ้น เป็นการสนองความต้องการข้อใด
ค. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
4. นายสมศักดิ์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยงาน เป็นการสนองความต้องการข้อใด
ง. ความต้องการเกียรติยศ
5. องค์กรจัดอุปกรณ์ความปลอดภัยให้พนักงานไม่ได้ ข. ความต้องการด้านความปลอดภัย
6. ข้อใดคือผลจากการบริหารโดยใช้วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ง. ถูกทุกข้อ
7. กิจกรรมใดที่ไม่ใช่กิจกรรมความร่วมมือ ค. กิจกรรมร้องเพลงคาราโอเกะ
8. การวางแผนดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ควรคำนึงถึงข้อใดเป็นอันดับแรก
ค. ความต้องการของบุคลากร
9. หลักการข้อใดที่ทำให้บุคลากรเห็นความสำคัญของกิจกรรมกลุ่ม
ข. การติดตามการดำเนินงาน
10. ข้อใดคือการควบคุมงานโดยระบบของงาน ก. ประเมินผลการทำงานโดยดูจากหน้าที่ความรับผิดชอบ
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. องค์ประกอบของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต ได้แก่
1) องค์ประกอบด้านกำลังคน
2) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี
3) ระบบการบำรุงรักษา
2. การบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม มี 2 แนวทาง ได้แก่
1) การบำรุงรักษาเพื่อการป้องกัน
2) การบำรุงรักษาเพื่อการตรวจสอบ
3. ความสิ้นเปลืองของพลังงานในองค์กรเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1) การใช้โดยไม่ระมัดระวัง
2) อุปกรณ์เสื่อมคุณภาพ
3) ปล่อยให้ระบบความร้อนหรือไอน้ำรั่วไหล
4. การสำรวจการใช้พลังงานในองค์กร ควรทำการสำรวจดังนี้
1) ปริมาณการใช้ของแต่ละหน่วยงาน
2) สภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า
3) สภาพของเครื่องจักร/อุปกรณ์
4) สภาพของเครื่องจักรไอน้ำ
5) ระบบสายไฟและแผงควบคุม
5. การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) จัดเก็บข้อมูล
2) พิมพ์เอกสาร
3) ออกแบบเอกสาร
4) ประมวลผลข้อมูลและจัดเก็บอย่างมีระบบ
5) เชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร
6. ข้อดีของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบ (CAD) ได้แก่
1) ลดเวลาการทำงาน
2) ลดปัญหาความผิดพลาด
3) ภาพ 3 มิติ ปรับมุมมองได้ทุกด้าน
4) ให้สีได้ตามใจผู้ออกแบบ
5) ผู้ออกแบบสร้างจินตนาการได้เต็มที่
7. โปรแกรมการผลิตในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์กับงานในระบบการผลิต มีรายละเอียดดังนี้
1) ปริมาณและคุณลักษณะของวัตถุดิบ
2) ขั้นตอนการทำงาน/วิธีการทำงาน
3) ระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน
4) ข้อสังเกตในขณะที่กำลังผลิต
5) ลักษณะผลผลิต
8. หุ่นยนต์ ถูกสร้างขึ้นมาทำงานแทนมนุษย์ โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะดังนี้
1) อันตราย
2) ใช้ความละเอียดสูงมาก
3) เป็นงานซ้ำซากจำเจ
4) อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง
9. การเพิ่มผลผลิตโดยเทคโนโลยี ให้ประโยชน์ดังนี้
1) ด้านประสิทธิภาพของการทำงาน
2) ด้านเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
3) ด้านการบริหารงาน
4) ด้านบุคลากรได้รับ
5) ด้านองค์กรได้รับ
10. การเพิ่มผลผลิตโดยเทคโนโลยีมีปัญหาดังนี้
1) ด้านต้นทุนควรคำนึงถึงจุดคุ้มทุน
2) แผนการลงทุนเทคโนโลยีเป็นแผนระยะยาวที่ต้องคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต
3) ด้านการใช้เทคโนโลยี
4) ด้านการซ่อมบำรุง
5) ปัญหาด้านสังคม
ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ถ้าท่านจะเลือกหาคอมพิวเตอร์มาใช้งาน 1 เครื่อง สิ่งต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือข้อใด
ค. มีระบบการฝึกอบรม คู่มือการใช้ และการบำรุงรักษาอย่างละเอียด
2. ทำไมเราจึงต้องคำนึงถึงระบบการซ่อมบำรุงในการจัดซื้อเทคโนโลยี
ค. ความพร้อมและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีขึ้นอยู่กับการซ่อมบำรุง
3. ทำไมต้องคำนึงถึงระบบการฝึกอบรมในการจัดซื้อเทคโนโลยี
ข. เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและมีเทคนิคที่ก้าวหน้า
4. การเพิ่มผลผลิตโดยเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นเมื่อเทคโนโลยีมีความเหมาะสมกับข้อใด
ง. ถูกทุกข้อ
5. ข้อใดที่ไม่ใช่ระบบการบำรุงรักษา ง. อุปกรณ์เสริม
6. การบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม หมายถึงข้อใด ง. ทุกข้อที่กล่าวถึง
7. ท่านคิดว่าการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม ข้อใดมีความจำเป็นที่สุด ก. เป้าหมายของการบำรุงรักษา
8. ความสำเร็จของการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมขึ้นอยู่กับข้อใดมากที่สุด
ข. จิตสำนึกของผู้ร่วมงานทุกคน
9. ท่านคิดว่าข้อใดทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานมากที่สุด ค. รถติดในกรุงเทพฯ
10. ท่านคิดว่าความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบอุตสาหกรรม เกิดขึ้นกับข้อใดมากที่สุด
ข. ระบบความร้อนรั่วไหล
11. ท่านคิดว่าสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันควรใช้พลังงานใด
ค. พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ
12. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของ CAD ค. ส่งเสริมภาพพจน์ขององค์กร
13. ข้อใดไม่ใช่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในงานการผลิต ก. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
14. ข้อใดที่ไม่ใช่ประโยชน์ของการใช้หุ่นยนต์เพื่อการผลิต ค. ทำงานที่คนไม่ชอบทำ
15. ข้อใดคือประโยชน์ของใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ง. ถูกทุกข้อ
ความคิดเห็น