หญ้าเจ้าชู้
หญ้าเจ้าชู้
ผู้เข้าชมรวม
1,559
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ออกแบบต้นหญ้า
1.
1.1 ลักษณะของต้นหญ้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
- ต้นหญ้าที่ได้รับแสงเต็มที่
- ต้นหญ้าที่ได้รับแสงไม่เต็มที่
1.2 ชนิดสายพันธุ์ของต้นหญ้า
- เลือกใช้ หญ้าเจ้าชู้
ข้อมูลเพิ่มเติม
ชื่อภาษาไทย หญ้าเจ้าชู้ หญ้าขี้เตรย หญ้าน้ำลึก
ชื่อภาษาอังกฤษ Chrysopogon acicalatas (Retz.) Trin
วงศ์ Gremineae
ลักษณะ ขึ้นเป็นกอ มีลำต้นเป็นข้อ แผ่กระจายไปตามพื้นดิน มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 50 เชนติเมตร เป็นพืชใบเลี้ยงเดียว ดอกมีสีม่วงยาวปลายแหลม ช่อดอกเป็นชั้นๆมีประมาณ 5-10 ดอก เนื่องจากมีหางดอกยาวสามารถที่จะติดกับผ้าของผู้คนได้ง่าย จึงเป็นเหตุให้แพร่พันธุ์ไปทั่วได้อย่างรวดเร็ว
การขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด และการแตกกอหญ้าชนิดนี้ พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นในที่ดินทราย
1.3 ความสมบูรณ์ของต้นหญ้า
- สีเขียวชุ่มตามธรรมชาติ และมีแมลงทั่วไปเกาะกิน ลำต้นและใบแข็งแรง ทนต่อลม และฝนพอสมควร
2. ดิน
2.1 ชนิดของดิน
- ดินที่จะนำมาใช้ในการปลูกหญ้าเจ้าชู้ คือดินร่วนผสมดินทราย เนื่องจากว่าหญ้าเจ้าชู้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่เป็นดินทราย
2.2 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- ดินร่วนปนทรายที่จะนำมาใช้ จะต้องมีความร่วนซุย ไม่เกาะตัวติดกัน น้ำสามารถซึมผ่านได้ง่าย และระบายน้ำได้ดี มีฮิวมัสมาก ซึ่งอาจได้จากการเติมปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มเข้าไป
3. น้ำ
3.1 ชนิดของน้ำ
- ใช้น้ำประปา ในการรดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น เนื่องจากเป็นน้ำที่หาได้อย่าทั่วไป ง่าย และสะดวก
3.2 ปริมาณน้ำ
- 3 บัวรดน้ำ / ครั้ง
3.3 จำนวนครั้งในการรด
- 2 ครั้ง / วัน
3.4 เวลาที่จะรดน้ำ
- ช่วงเช้า 07.00 น.
- ช่วงบ่าย 14.30 น.
4. แปลงทดลอง
4.1 รูปแบบแปลงทดลอง
- เป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้า
4.2 ขนาดของแปลงทดลอง
- ขนาดของแปลงที่ใช้ในการทดลอง กว้าง 200 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร
4.3 ระยะห่างระหว่างต้น
- ในหนึ่งแปลงทดลอง จะแบ่งจัดเรียงการปลูกต้นหญ้าไว้เป็น 5 แถว ระยะห่างระหว่างแต่ละต้นโดยประมาณ 1 คืบ ทั้งในแต่ละแถว และระหว่างแถว
4.4 การให้แสงสว่างแก่ต้นหญ้า
- แปลงที่ 1 ปล่อยให้ได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่
- แปลงที่ 2 จะทำการกันแสง โดยใช้แสลงกำบัง ที่สามารถกำบังแสงได้ 50%
5. บันทึกผล
5.1 ทำการสังเกตผลที่ได้ทั้งโดยไม่ใช้อุปกรณ์ และโดยที่ใช้อุปกรณ์ในการใช้ช่วยสังเกต
- โดยสังเกตที่ต้นหญ้าที่ปลูกว่า มีการเจริญเติบโตขึ้นหรือไม่ โดยสังเกตที่ความยาวของใบต้นหญ้า ลำต้น หรือส่วนที่สามารถเห็นได้ ว่ามีความเพิ่มหรือไม่
- สังเกตหาความแตกต่างระหว่างสีเขียวของใบต้นหญ้าทั้งสองแปลง
- ดูการเจริญเติบโต มีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ หรือจำนวนหน่อของต้นหญ้าที่เพิ่มขึ้น
5.2 เวลาในการบันทึก
- ทำการบันทึกผลในทุกๆ 3 วัน
5.3 รูปแบบการบันทึกผล
- บันทึกข้อมูลในลักษณะของตาราง โดยจัดให้มีทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมด ที่ได้จากการสังเกต
ขั้นตอนการทดลอง
1. เตรียมแปลงทดลอง
1.1 แปลงทดลอง ใช้จอบขุดดินเพื่อทำการทดลอง 2 แปลงให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 200 เซนติเมตร และยาว 50 เซนติเมตร โดยให้สูงขึ้นมาจากพื้นดิน 20 เซนติเมตร
1.2 เติมปุ๋ยลงผสมกับดินในแปลงให้เข้ากันทั่วทั้งแปลง และทำการเกลียดดินให้เรียบ
1.3 ขุดหลุมเล็กๆประมาณ 1 นิ้ว โดยเว้นระยะห่างระหว่างแถว และระหว่างต้นประมาณ 1 คืบ เรียงกัน 5 แถว
1.4 นำเมล็ดหญ้าที่เจ้าชู้ที่มีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกันลงไปปลูกในแปลง ตามหลุมล็กๆที่ขุดเตรียมไว้ทั้งสองแปลง
1.5 รดน้ำด้วยบัวรดน้ำ เพื่อเพิ่มความชุมชื้น
1.6 ในแปลงหนึ่งทำการกางแสลง 50% เพื่อเป็นการกันแสง
2. ขั้นทดลอง
2.1 สังเกตต้นหญ้าที่ปลูกว่ามีการเจริญเติบโตมากขึ้นหรือไม่ โดยการสังเกตจากความยาวของต้นหญ้า ความเข้มของสีเขียวบนใบ การเพิ่มจำนวนของเซลล์ และการแตกหน่อที่เพิ่มขึ้น
2.2 บันทึกผลการทดลองทุกๆ 3 วัน โดยเขียนผลการสังเกตเป็นตาราง
2.3 บันทึกผลการทดลองที่ได้ในรูปแบบของกราฟ เพื่อเป็นเปรียบเทียบการเจริญเติบโต
2.4 นิยามเชิงปฏิบัติการ
- ขนาดความสูงของต้นหญ้าที่เพิ่มมากขึ้น
- ลักษณะสีของใบที่มีความแตกต่างกัน
- จำนวนหน่อที่มีการแต่กเพิ่มขึ้นมาอีก
3.บันทึกผลการทดลอง
- บันทึกแบบตาราง เพื่อจัดจำแนกข้อมูลในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
- บันทึกเป็นกราฟเพื่อจะได้ทำการเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน
ผลงานอื่นๆ ของ ThALly [ตาลลี่] ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ThALly [ตาลลี่]
ความคิดเห็น