ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมเด็จย่ากับพระราชกรณียกิจด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : พระจริยาวัตรแบบไทยของสมเด็จย่า

    • อัปเดตล่าสุด 22 ต.ค. 50


    พระจริยาวัตรแบบไทยของสมเด็จย่า

    สมเด็จย่าทรงมีพระจริยาวัตรที่เรียบง่าย ในที่ประทับ ยังโปรดให้เป็นไปตามแบบธรรมดาๆ ดังจะเห็นได้จากอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ได้จัดแสดงบ้านจำลอง เป็นการจำลองบ้านเดิมที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยประทับเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ แสดงออกถึงความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบไทย

      อาคารพระตำหนักดอยตุง ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยเน้นที่ความเรียบง่าย และการใช้ประโยชน์ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จย่า พระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ ไว้เป็นอย่างดี และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชม
    สถาปัตยกรรมของพระตำหนักเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับบ้านพื้นเมืองของสวิส สร้างบนไหล่เนิน มองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลสุดสายตา พระตำหนักมีสองชั้น และชั้นลอย ชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน แต่เชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียว ที่โดดเด่นสะดุดตา คือ กาแล และไม้แกะสลักเป็นเชิงชายลายเมฆไหล ที่อ่อนช้อยโดยรอบ ภายในตำหนักล้วนใช้ไม้สน และไม้ลังที่ใส่สินค้า เป็นเนื้อไม้สีอ่อนที่สวยงาม จุดน่าสนใจอีกจุดคือ เพดานดาว ภายในท้องพระโรง แกะสลักขึ้นจากไม้สนภูเขา เป็นกลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะ
      
       สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงปฏิบัติพระองค์เองตามแนวทางของสังคมไทย ไม่ว่าจะทรงประทับอยู่ที่ใดก็ตาม
       แม้ขณะประทับในสวิตเซอร์แลนด์ก็มิได้ว่างเฉย โปรดการทรงอักษร เสด็จฯ ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆในมหาวิทยาลัย โปรดการปั้นพระพุทธรูป การปักภาพ การทำบัตรดอกไม้แห้งและงานศิลปะอื่นๆ เพื่อพระราชทานข้าราชบริพารและบุคคลต่างๆด้วยเคยมีพระกระแสรับสั่งว่า "เวลาเป็นของมีค่า"
     
     นอกจากนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนียังทรงสนพระทัยในกิจการด้านการศึกษาและการศาสนาเป็นอย่างมาก โดยมีพระประสงค์ให้จัดตั้ง โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดศรีนครินทรวราราม ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและมารยาทไทย
     
     ในด้านพระราโชวาทที่พระองค์พระราชทานไว้นั้น ยังทรงคุณค่ายิ่งเพราะพระราโชวาทเหล่านั้น เป็นแนวทางของสังคมไทยอย่างแท้จริง และล้วนอยู่ในพระจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะเรื่องของความพอเพียง ที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากพระองค์เอง ในการเป็นแบบอย่างให้เหล่าไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
     
     สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในทางการศึกษา ศาสนา และการสงเคราะห์ประชาชนดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงใส่พระทัยและให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยในด้านต่างๆมาก โดยได้ทรงปฏิบัติพระองค์เองตามแนวทางของวัฒนธรรมและทรงสนับสนุนแนวทางนี้แก่พสกนิกรไทยทุกคน
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×