ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รักษ์ รักภาษาไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : ไขภาษา

    • อัปเดตล่าสุด 20 ธ.ค. 54


      

     

     

     ผู้แต่ง   พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

    นามแฝง   อ.น.ก.

                     สามเณรนิ่ม

                       พระมหานิ่ม

    งานประพันธ์   ตำราไวยกรณ์4เล่ม  ได้แก่  อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์ และ ฉันทลักษณ์

                            สงครามภารตคำกลอน

                            คำประพันธ์บางเรื่อง

    ทำนองแต่ง  เป็นร้อยแก้วประเภท ความรู้ และ ข้อคิดเห็น โดยยกสำนวน หรือ สุภาษิต ขึ้นมาเขียน

                        อธิบายเป็นตอนๆ จบลงด้วยโคลง กระทู้ หรือ กาพย์ห่อโคลง

    ที่มาของเรื่อง คัดมาจากภาคเกร็ด ภาษาไทยอยู่ในหนังสือชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก.

    จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่ออธิบายความหมายของสำนวนไทยและ อบรมสั่งสอน

    เนื้อเรื่องย่อ 

               ขนทรายเข้าวัด  เป็นการทำบุญกุศลเพ่อศาสนา เพื่อส่วนรวม แม้จะเกินเลยไปบ้าง ก็ไม่มีใครว่ากล่าว

    ถือว่า ทำเพื่อศาสนา มีที่มาจากประเพณี คือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งมีการขนทราย เพื่อไปก่อพระเจดีย์ทราย

               ปลาหมอตายเพราะปาก คือ คนพูดพล่อยๆ จนเกิดโทษเพราะปากของตน ฉะนั้นจงระวังปากของตน

    เมื่อจะพูดต้องตรึกตรองให้รอบคอบก่อนพูด อย่างเช่น ปลาหมอ วาจาเป็นของสำคัญที่มีมาจากธรรมชาติ

    ของสัตว์ ปลาหมอเป็นปลาที่ต้องดขึ้นมาพ่นน้ำ ฉะนั้นจึงง่ายสำหรับจับ

               ลางเนื้อชอบลางยา (บางเนื้อชอบบางยา) คนมีเลือดเนื้ออย่างนี้ ต้องใช้ยาชนิดนี้ และ ก็ใช้ยาอีก

    อย่างหนึ่งกับคนอีกประเภทหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ของสิ่งเดียวกันคนหนึ่งชอบ แต่อีกคนหนึ่งไม่ชอบ

    มีที่มาจากการรักษาโรค

               เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นชอบ มีที่มาจากนิทานทางพุทธศาสนา คือ หนังสือมาลัย

               แต่ละสำนวนจะบอกถึงที่มาและจบลงด้วยนิคมพจน์กาพย์ห่อโคลง  คือ  แต่งด้วยคำประพันธ์  ประเภทโคลงสี่สุภาพตามด้วยกาพย์ยานี  เน้นการสรุปความให้จำง่าย

    ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

    ๑.     คนไทยนิยมพูด โดยใช้สำนวนชวนให้คิด หรือ เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งมาแต่โบราณ

    ๒.   การรู้จักใช้สำนวน หรือ สุภาษิตให้ถูกต้องเหมาะสม ทำให้การสื่อสาร มีคุณภาพ แสดงภูมิปัญญาของผู้ส่งสาร

    ๓.    สำนวนไทย ย่อมสะท้อนสภาพชีวิตแนวคิด คติธรรม และ วัฒนธรรมของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×