คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : สุภาษิตโคลงโลกนิติ
บทที่ 1 กรมพระยาเดชาดิสรทรงรวบรวมโคลงโลกนิติขึ้น โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เพื่อให้ประชาชนได้อ่าน
บทที่ 2 โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นสุภาษิตสอนใจ
บทที่ 3 การคบกับคนพาล ย่อมทำให้ได้รับแต่เรื่องร้าย เสื่อมเสียชื่อเสียง
บทที่ 4 การคบกับนักปราชญ์ (บัณฑิต) ย่อมได้รับความสุข
บทที่ 5 คนที่รูปร่างงามแต่จิตใจไม่ดี เปรียบได้กับผลมะเดื่อที่สุกผิวจะมีสีแดงแต่ข้างในมีหนอน
บทที่ 6 คนที่มีจิตใจงามเปรียบได้กับขนุนที่ข้างนอกมีหนามแต่ภายในมีรสหวานอร่อย
บทที่ 7 คนโง่ที่มีจิตใจชั่วร้าย แม้คบกับบัณฑิต หรือได้ฟังธรรมอยู่บ่อยๆ ก็หาได้ซาบซึ้งใจเปรียบเหมือนจวักตักข้าว
บทที่ 8 หมูที่เป็นพาลท้ารบกับราชสีห์ซึ่งมีอำนาจมากกว่า
บทที่ 9 ราชสีห์แสดงความรังเกียจและไม่สนใจกับหมูปล่อยให้แพ้ภัยแก่ตัวเอง เปรียบกับผู้ที่เบาปัญญา แต่หลงผิดไปกระทำในสิ่งที่เกินวิสัยของตน
บทที่ 10 ผู้ที่แสวงหาความรู้หรือความดี ย่อมท่องเที่ยวไปแม้จะห่างไกลเพียงใดก็ตาม แต่ผู้ที่ไม่อยากรู้และยอมรับในความดีแม้จะอยู่ใกล้ก็ไม่แสวงหา
บทที่ 11 คนดีมีความอ่อนน้อมย่อมสอนได้ง่าย แต่คนชั่วนั้นสอนยาก
บทที่ 12 นาคมีพิษร้ายแรงเวลาเลื้อยจะเลื้อยช้าๆ ไม่แสดงอำนาจ แมลงป่องมีพิษน้อยแต่ก็ชอบอวดโอ้ เปรียบเหมือนคนมีอำนาจ และมีความสามารถจะไม่โอ้อวด แต่คนที่ไม่มีอำนาจและไม่มีความสามารถมักจะโอ้อวด
บทที่ 13 ผู้เป็นนักปราชญ์ย่อมรักการเรียน มีความขยันหมั่นเพียรหาความรู้ แต่คนเกียจคร้านจะเบื่อหน่ายต่อการเรียน กลับด้านบน
บทที่ 14 สาธุชนนั้นย่อมยึดถือความสัตย์ แต่ทรชนเป็นผู้ที่ไม่มีความสัตย์ เปรียบเหมือนหัวเต่าที่หดให้ยาวและสั้นได้ ผิดกับงาช้างที่งอกออกมาแล้วไม่สามารถหดกลับคืนได้
บทที่ 15 การนินทานั้นไม่สามารถห้ามได้
บทที่ 16 การรู้ซึ้งซึ่งกันและกัน โจรกับโจรด้วยกันย่อมจะรู้เล่ห์เหลี่ยมกัน นักปราชญ์กับนักปราชญ์สามารถพูดเข้าใจซึ่งกันและกัน
บทที่ 17 หัวใจของนักปราชญ์คือ สุ (การฟัง) จิ(การคิด) ปุ(การถาม) ลิ(การเขียน)
บทที่ 18 การรู้ที่ไม่กว้างขวาง เหมือนกบที่อาศัยอยู่ในสระ ก็นึกว่าสระนั้นใหญ่ที่สุดแล้ว แต่ที่จริงยังมีทะเลและมหาสมุทรที่ใหญ่กว่า
บทที่ 19 การมีความสัตย์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มากกว่าทรัพย์สิน เงินทอง ศักดิ์ศรี หรือชีวิต
บทที่ 20 การกระทำสิ่งที่โง่เขลาแต่สำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด โดยการตัดต้นไม้ที่มีคุณค่าแล้วแล้วไปปลูกหนามแทนหรือการฆ่าหงส์ นกยูง นก ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ แต่ไปเลี้ยงหมู่กาที่จะกินเนื้อแทนย่อมไม่มีประโยชน์
บทที่ 21 ความหลงผิดทำให้ตัวเองหายนะ เปรียบกับนกยูงเห็นสายนทีคดเคี้ยวว่างูซึ่งเป็นอาหารของตน เนื้อทรายเห็นนกยูงว่าหญ้า ลิงเห็นตาของเนื้อทรายก็นึกว่าลูกหว้า
บทที่ 22 แสดงธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ซึ่งไม่สามารถหยั่งถึงหรือวัดได้ เปรียบเทียบว่าแม้มหาสมุทรจะลึกเพียงใด ภูเขาจะสูงแค่ไหนก็ยังสามารถวัดได้
บทที่ 23 แสดงถึงอำนาจของความรักกับความชัง เปรียบว่าถ้ารักกันแม้จะอยู่ห่างไกลกันก็เหมือนอยู่ใกล้ แต่ถ้าชังกันแม้อยู่ห้องเดียวกันก็เหมือนอยู่ไกลกัน
บทที่ 24 คนดีย่อมมีความอ่อนน้อม ความรัก และความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เว้นไว้แต่คนที่ไม่ดี (ทรชน) จะไม่มีสิ่งนี้
บทที่ 25 ผู้ที่มีความรู้ดั่งพระพุทธเจ้าแต่ถ้าไม่มีคนยกย่องย่อมไม่มีชื่อเสียง คนเปรียบได้กับหัวแหวนหรือเพชรที่มีค่าสูง ถ้าไม่มีตัวเรือนมารองรับก็ไม่มีคุณค่า
บทที่ 26 ให้รู้เรื่องวันเวลา โดยเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ชายและผู้หญิง การว่างเว้นการฝึกฝนดนตรีก็อาจลืมได้ หรือการรู้ว่าควรทำอะไรในวันนั้นๆ เช่น เช้าให้ล้างหน้า กลางวันก็อาบน้ำ เย็นล้างเท้า (ความรู้เรื่องราศี) กลับด้านบน
บทที่ 27 การผูกมิตรไมตรีจะดำรงอยู่นานจนวันตาย เปรียบกับการใช้มนต์เสน่ห์หรือการผูกโลกด้วยอะไรก็ไม่ยั่งยืนเท่า
บทที่ 28 ชนะคนโกรธด้วยไมตรี ชนะคนชั่วด้วยความดี ชนะคนโลภด้วยความเอื้อเฟื้อ ชนะคนไม่ซื่อสัตย์ด้วยความซื่อสัตย์
บทที่ 29 การชนะใจตนเอง นักปราชญ์ยกย่องว่าเป็นผู้ชนะที่แท้จริง แม้นักรบหรือผู้กล้าสามารถฆ่าคนจำนวนนับไม่ถ้วนก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ชนะที่แท้จริง
บทที่ 30 ความรู้เป็นสิ่งที่มีค่า จะอยู่ติดตัวกับตนตลอดไป ไม่มีใครที่จะขโมยไปได้
บทที่ 31 การมองแต่โทษของคนอื่นมากกว่าตนเอง เปรียบว่าความไม่ดีของคนอื่นแม้เพียงน้อยนิดก็ติฉินนินทา แต่ถึงคราวความไม่ดีของตนเองใหญ่หลวงแค่ไหนก็ไม่รู้หรือปกปิดไว้ไม่ยอมเปิดเผย
บทที่ 32 ให้มีความสามัคคี เพราะประเทศชาติบ้านเมืองจะได้เจริญรุ่งเรือง ซึ่งข้าราชการต้องมีความเที่ยงตรงและบริสุทธิ์ยุติธรรม
บทที่ 33 ควรเลี้ยงดูพ่อแม่ เมื่อท่านแก่ชราไม่ควรขับไล่ เพราะจะได้ชื่อว่าเป็นผู้อกตัญญู
บทที่ 34 หอมกลิ่นดอกไม้ จะลอยไปตามแรงลม ย้อนหวนทวนลมไม่ได้ แต่คนดีมีความสัตย์ ซึ่งมีชื่อเสียงกว้างไกลไปทั่วทุกทิศ
บทที่ 35 การทำบุญ บุญย่อมได้รับเหมือนเงาตามตัว แต่คนที่ทำความชั่ว ความชั่วก็จะตามติดเหมือนล้อเกวียนหมุนตามตีนวัว
บทที่ 36 เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เปรียบน้ำที่เหม็น จะทำให้หายเหม็นด้วยน้ำบริสุทธิ์
บทที่ 37 ก้านบัวจะบอกถึงความลึกตื้นของน้ำและความแห้งแล้งของหญ้า บอกคุณค่าของดิน เปรียบกับมารยาทหรือความประพฤติของคนจะบอกถึงสันดานหรืออุปนิสัยที่ติดตัวมา คำพูดจะแสดงความโง่เขลา
บทที่ 38 ไม่ควรทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะจะนำความทุกข์มาสู่ตน เปรียบกับคนหนุ่มสาวซึ่งเตือนสติไม่ให้ทำในสิ่งที่พ้นวิสัย
บทที่ 39 ให้รักศักดิ์ศรีของตน โดยเปรียบอย่างเสือ ถึงอดอยากก็ต้องกัดก้อนเกลือกิน
บทที่ 40 การเลี้ยงเสือ เลี้ยงคนเดียวไม่อ้วน แต่ถ้ารวมกันสี่คนแต่กลับเบียดบังทรัพย์สินกันโดยแบ่งเป็น 4 ส่วน เสือไม่มีเนื้อกิน ในที่สุดเสือก็ตาย
บทที่ 41 ให้คนทำความดีไว้ เมื่อตายก็เหลือแต่ชื่อเสียงความดีที่ทำไว้ แม้แต่วัวควายตายก็ได้เขาหนังมาใช้ประโยชน์ได้ ส่วนร่างกายคนตายแล้วก็เน่าใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
บทที่ 42 คนดีที่แท้จริงต้องดำรงแต่ความสัตย์ แม้ทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลง เช่นพระอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก เขาพระสุเมรุจะเอน หรือไฟจะดับ ดอกบัวจะงอกจากหินก็ตาม
บทที่ 43 เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก
บทที่ 44 ความสำคัญของการพูด ให้พูดจาให้ไพเราะอย่าพูดคำหยาบ เหมือนกับดวงดาวที่ล้อมรอบดวงจันทร์มีมากมาย แต่ดวงอาทิตย์มีความร้อนแรงจะไม่มีสิ่งใดเข้าใกล้ได้
ความคิดเห็น