ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายฯ

    ลำดับตอนที่ #1 : นักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยินคืออะไร?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.92K
      6
      19 ส.ค. 56

     

    นักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยินคืออะไร? (จากบทความเดิมของพี่เกด)

                ตั้งแต่รุ่นพี่ปีการศึกษา 2555 เมื่อขึ้นปีที่ 3 เทอม 2 จะมีสองสาขาวิชาเอกให้น้องๆได้เลือกเรียน คือ วิชาเอกแก้ไขการได้ยิน (นักโสตสัมผัสวิทยา) และวิชาเอกแก้ไขการพูด (นักแก้ไขการพูด) เรามาดูขอบเขตการทำงานของแต่ละสาขาวิชาเอกกัน ดังนี้

                นักแก้ไขการได้ยินหรือนักโสตสัมผัสวิทยา (Audiologist) ลักษณะงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบการได้ยินที่เกิดขึ้นตั้งแต่หูชั้นนอก หูชั้น กลาง หูชั้นใน ก้านสมอง และสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วยวิธีปกติและวิธีพิเศษ ตลอดจนตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ระบบการทรงตัว ตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติทางการได้ยินในเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเพื่อติดตามผลและวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพตรวจเพื่อหาความผิดปกติทางการได้ยินในเด็กก่อนวัยเรียนและตรวจเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า รวมไปถึงงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน โดยประเมินผลเพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะกับการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วย การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็กหูพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงงานด้านการรณรงค์ป้องกันโรคหู หูหนวก หูตึงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน การอนุรักษ์การได้ยินของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม การให้ความรู้แก่ประชาชน รวมถึงปฎิบัติงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพงานด้านบริการ บริหาร การเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง 

                นักแก้ไขการพูด (speech-Language pathologist) ลักษณะงาน ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพูดตรวจคัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน แยกประเภทความผิดปกติต่างๆ บำบัดรักษา แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพได้ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติ เช่น การพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ ออทิสติก สติปัญญาอ่อน กลืนลำบาก กลืนผิดวิธี ผู้ป่วยที่ตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ เป็นต้น โดยแก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น การปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคมแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง คัดเลือกหรือประยุกต์ใช้เครื่องช่วย อุปกรณ์เสริม วัสดุเพื่อทดแทนให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ติดตามผลการรักษา ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อขอรับการช่วยเหลืออื่น ๆตามความเหมาะสม เผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความผิดปกติทางภาษาและการพูด พัฒนาและสร้างเทคนิคการบริหาร การทำวิจัย ค้นคว้าโดยผ่านกระบวนการประเมิน วิเคราะห์และวางแผนอย่างมีระบบ  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×