เพชรดีมีค่าราคายิ่ง ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาเหรอ
เรื่องราวของเพชร ไม่มีตังค์แต่อยากได้ เอาไปขายได้หลายแสน
ผู้เข้าชมรวม
1,809
ผู้เข้าชมเดือนนี้
20
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
คุณสมบัติเฉพาะของเพชร | |
ความแข็ง 10 | |
ความถ่วงจำเพาะ 3.52 | |
ค่าดัชนีหักเห 2.417 | |
การกระจายแสง .044 | |
ความวาว เหมือนเพชร | |
สีที่เห็นบริเวณส่วนล่าง สีส้มและฟ้าของเพชร ( Pavilion ) | |
ความสามารถเรืองแสง มักจะเรืองแสงสีฟ้าอ่อน-เข้ม (Ultraviolet Lamp คลื่นสั้นและคลื่นยาว) |
ลักษณะภายในกล้องจุลทรรศน์ มลหินรูปเหลี่ยม รอยแตกเหมือนขั้นบันไดหรือเสี้ยนไม้ บริเวณขอบเพชร วาวเหมือนหนวด ( bearding ) บริเวณขอบเพชร และลักษณะที่แสดงถึงผิวธรรมชาติเดิม ( Natural ) ซึ่งมักจะพบเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบเพชร
องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด คือ
1. น้ำหรือความบริสุทธิ์ ( Clarity )
มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ
( Blemishes ) ที่เกิดอยู่ภายนอกการจัดระดับความบริสุทธิ์ทำได้โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษระทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่นๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพขรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนดมาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า
2. สี (Colour )
3. การเจียระไน ( Cut )
การดูความถูกต้องของสัดส่วน ( Proportion Grading ) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน ( Crown ) และส่วนล่าง ( Pavilion ) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่นาย Tollkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion
การจัดระดับฝีมือการเจียระไน ( Finish Grading ) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่าหน้าขัดมันมีณุปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลมมีความเบี้ยวเล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่างไป
การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อเจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น
4. น้ำหนัก ( Carat Weight )
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )
เพชรเทียม หมายถึง เพชรที่มีส่วนประกอบทางเคมีต่างจากเพชรแท้ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่มนุษย์ทำเลียนแบบขึ้น เช่น แย๊ก ( Yag ) จีจีจี ( GGG ) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia ) สทรอนเซียมไทเทเนต ( Strontium Titanate)ฯลฯ รวมทั้งพลอยสังเคราะห์ไร้สีชนิดอื่นๆที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เพทาย เป็นต้น รายละเอียดของเพชรเทียม แต่ละชนิดจะไม่กล่าวถึง แต่จะให้ข้อสังเกตุไว้ดังนี้ คือ
ส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเขียวอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน เมื่อส่องด้วยแสงอุลตราไวโอเลตชนิดคลื่นสั้น สังเกตุเงาของเพชรเทียมแต่ละชนิดในน้ำยา Methylene Iodide
แหล่งต้นกำเนิดเพชร
เพชรจะเกิดฝังในหินคิมเบอร์ไลต์ ( Kimberlite ) แต่จากการสำรวจหินคิมเบอร์ไลต์บนพื้นผิวโลกประมาณ 5,000 กว่าแหล่ง พบชนิดที่เป็นต้นกำเนิดให้เพชรมีเพียง500-600 แหล่งเท่านั้น ลักษณะหินอัคนีชนิดนี้มักจะเกดมีลักษณะเป็นปล่อง ( Pipe )หรือเป็นท่อวงรี ๆ คล้ายปล่องภูเขาไฟดันแทรกหินชั้นหรือหินเดิมชนิดต่างๆ ขึ้นมาด้วยความดันอย่างสูงมากจึงทำให้ธาตุคาร์บอนหลอมเป็นเพชร ฝังอยู่ในเนื้อหินที่เกิดลักษณะเป็นพนัง (Dyke) ก็เคยปรากฏเห็นอยู่บ้างเช่นกันจุดกำเนิดของหินคิมเบอร์ไลต์ เชื่อกันว่าจะเกิดในระยะที่ลึกมากคือไม่ต่ำกว่า 40 กิโลเมตรลงไปจากพื้นผิวโลกปัจจุบัน มีความเชื่อกันว่าเพชรเป็นส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วภายใต้พื้นผิวโลกในระยะลึกดังกล่าวแล้ว ถูกนำพาขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยคิมเบอร์ไลต์
แหล่งต้นกำเนิดเพชร
เพชรจะเกิดฝังในหินคิมเบอร์ไลต์ ( Kimberlite ) แต่จากการสำรวจหินคิมเบอร์ไลต์บนพื้นผิวโลกประมาณ 5,000 กว่าแหล่ง พบชนิดที่เป็นต้นกำเนิดให้เพชรมีเพียง500-600 แหล่งเท่านั้น ลักษณะหินอัคนีชนิดนี้มักจะเกดมีลักษณะเป็นปล่อง ( Pipe )หรือเป็นท่อวงรี ๆ คล้ายปล่องภูเขาไฟดันแทรกหินชั้นหรือหินเดิมชนิดต่างๆ ขึ้นมาด้วยความดันอย่างสูงมากจึงทำให้ธาตุคาร์บอนหลอมเป็นเพชร ฝังอยู่ในเนื้อหินที่เกิดลักษณะเป็นพนัง (Dyke) ก็เคยปรากฏเห็นอยู่บ้างเช่นกันจุดกำเนิดของหินคิมเบอร์ไลต์ เชื่อกันว่าจะเกิดในระยะที่ลึกมากคือไม่ต่ำกว่า 40 กิโลเมตรลงไปจากพื้นผิวโลกปัจจุบัน มีความเชื่อกันว่าเพชรเป็นส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วภายใต้พื้นผิวโลกในระยะลึกดังกล่าวแล้ว ถูกนำพาขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยคิมเบอร์ไลต์
แหล่งพบเพชรในประเทศไทศไทย
1. ลานแร่เพชรในทะเลอ่าวทุ่งคา-อ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต
บริเวณที่พบเพชรวางตัวในลานแร่เป็นแนวกว้างประมาณ 4-5 กิโลเมตร ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีแนวความยาวพดในทิศเหนือใต้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่าต้นกำเนิดหินที่ให้เพชรดันแทรกขึ้นมานี้มีแนวเป็นไปตามแนวหรืออาศัยแนวรอยเลื่อน “มารุย” ซึ่งพาดผ่านไปทางด้านใต้ต่อไป หากคิดนี้ถูกต้อง เพชรควรจะมีโอกาสพบได้เป็นแนวยาวจากบริเวณดังกล่าว พาดไปทางเหนือจนถึงทับปุดและต่อขึ้นไปได้อีกไกลมาก ทางใต้ของช่วงที่ขุดพบเพชรของบริเวณนี้ก็อาจมีโอกาสพบเพชรอีกหลายสิบกิโลเมตร
2. เพชรในแม่น้ำพังงา
ลุ่มน้ำพังงานับว่าเป็นแหล่งเพชรที่ทราบกันมานานก่อนแหล่งอื่นปรากฏว่าเรือขุดทั้ง 3 ลำที่เคยขุดแร่ดีบุกในลานแร่ของแม่น้ำนี้ได้เพชรทุกลำ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับจิ๊กของเรือขุดและคนงานล้างแล้วแร่ที่แต่งแร่ในโรงล้างแร่หรือคนงานประจำจิ๊กเรือขุด ดังกล่าวจะทราบได้ดีว่าช่วงไหนเรือขุดจะขุดได้แร่มากที่สุด
นายหล๊ะ จันทรส และ นายหลี จันทรส แห่งบ้านถ้ำน้ำผุดจังหวัดพังงา เคยทำงานประจำเรือขุดเมื่อ 40 ปีที่มาแล้ว ได้ยืนยันว่าที่ดินฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดเยื้องไปทางบ้านถ้ำน้ำผุดรวมเป็นบริเวณประมาณ 5-6 ไร่ เป็นที่ของเอกชนซึ่งยังไม่มีการเปิดเหมืองจะพบเพชรมาก เมื่อใดที่กะพ้อของเรือขุดหย่อนลงไปสะดุดกับพื้นดาน (Bed rock) ซึ่งเป็นหินปูน (แบบ Pinacles) และถ้ากะสะช่วงนั้นมี สีแดงจะพบเพชรบ่อยที่สุด เป็นที่คาดหมายกันว่าบริเวณแอ่งท้องน้ำของแม่น้ำพังงานี้ คงจะผลิตเพชรออกมา นับเป็นพันๆเม็ดแล้วที่มีขนาดใหญ่ 6-8 กะรัต ก็เคยได้ข่าวกันอยู่บ้าง
3. เพขรที่บ้านบางมุด ตำบลทุ่งคาโงก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงา
ได้มีการพบเพชรจากดินชั้นกะสะดีบุกจากขอบด้านตะวันออกของแม่น้ำพังงาในเขตบ้านบางมุด ผู้ที่พบเพชร มักจะเก็บเป็นความลับตลอดมา
4. เพชรที่กะปงและที่บ้านในเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
ที่บ้านเหลตามคลองเหล มีการพบเพชรอยู่บ้างเช่นกันส่วนใหญ่ได้จากเรือขุดแร่ดีบุก ซึ่งปัจจุบันเรือขุดได้หยุดดำเนินการแล้ว
5. เพชรที่บ้านบางม่วง-บ้านน้ำเค็ม-บ้านแหลมป้อม-บ้านบางสัก-อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ได้มีการพบเพชรจากเหมืองเรือขุดดีบุกของบริษัทเรือขุดแร่บุญสูง จำกัด ที่บ้านทุ่งตึก ซึ่งอยู่ในตอนกลางๆของปลายเกาะคอเขา ในเขตอำเภอตะกั่วป่า และบริเวณใกล้บ้านบางหม้อภายในบริเวณจากแหลมบางหม้อไปจนถึงบ้านแหลมป้อม และกินอาณาเขตออกไปในทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร ไปจนถึงบ้านบางสัก นับเป็บบริเวณที่กว้างใหญ่ และให้เพชรมากที่สุดในขณะนี้
ลักษณะของเพชรที่พบในประเทศไทย
เพชรที่ขุดได้จากบริเวณต่างๆ ปรากฏว่ามักจะคงลักษณะผลึกไว้ค่อนข้างดี มีจำนวนน้อยที่ถูกกัดกร่อนหรือบุบสลายไป ที่ใสดีเข้าข่ายเนื้อรัตนชาติพบมากกว่าร้อยละ 20-30 จากที่ได้กันนอกจากนั้นก็ยังพบว่ามีความใสพอประมาณแม้จะเข้าข่ายเพชรที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมก็ตาม ที่ใสสะอาดเนื้อดีจริงๆ ก็พอพบอยู่บ้างชนิดสีชมพูก็เคยปรากฏพบบางครั้ง ส่วนใหญ่สีจะออกไปทางเหลืองอ่อนๆ เพชรของไทยเมื่อฉายแสงอาบแสงนิวตรอน (Neutron activation ) จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวขี้ม้า
ผลงานอื่นๆ ของ lllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllll ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ lllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllll
ความคิดเห็น