10 สถาปัตย์อัศจรรย์ของจีน - 10 สถาปัตย์อัศจรรย์ของจีน นิยาย 10 สถาปัตย์อัศจรรย์ของจีน : Dek-D.com - Writer

    10 สถาปัตย์อัศจรรย์ของจีน

    อ่านเอาเองดิ

    ผู้เข้าชมรวม

    336

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    336

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  นิยายวาย
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 ต.ค. 50 / 16:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    1. สนามบินนานาชาติปักกิ่ง
    2. เดอะคอมมูน กรุงปักกิ่ง
    3. ศูนย์กลางการเงินของโลกที่เซี่ยงไฮ้ 
    4. สระว่ายน้ำแห่งชาติ ปักกิ่ง
    5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) ปักกิ่ง
    6. Linked Hybid ปักกิ่ง
     
    7. เมืองเศรษฐกิจตงถัน เจียงซู 
    8. สนามกีฬาโอลิมปิก - ปักกิ่ง 
    9. สะพานตงไห่ เชื่อมเซี่ยงไฮ้ กับ เกาะหยังซัน 
    10. โรงละครแห่งชาติ ปักกิ่ง
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      10 สถาปัตย์อัศจรรย์แดนมังกร

      1. สนามบินนานาชาติปักกิ่ง



      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดสร้างเสร็จปี 2007
      จีนมีแผนที่จะสร้างสนามบินใหม่ถึง 108 แห่งระหว่างปี 2004-2009 ซึ่งรวมทั้งสนามบินนานาชาติปักกิ่งแห่งนี้ ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2007 เพื่อต้อนรับโอลิมปิก 2008 โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 43 ล้านคนในปีแรก และเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015

      สนามบินโฉมใหม่ที่มีขนาดกว่า 1 ล้านตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกานี้ เป็นฝีมือของผู้ออกแบบสนามบินเช็กแลพก๊อกของฮ่องกงด้วย นั่นคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทาง ที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด

      ฟอสเตอร์ ได้แบ่งอาคารที่กว้างขว้างใหญ่โตของสนามบินนานาชาติปักกิ่งออกเป็น 2 ข้าง ทอดตัวจากทิศใต้ไปสู่ทิศตะวันออก เพื่อช่วยลดไอร้อนจากแสงอาทิตย์ แต่ติดสกายไลท์ให้แสงแดดละมุนละไมได้ฉายส่องเข้ามา พร้อมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร



      2. เดอะคอมมูน – กรุงปักกิ่ง


      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      เฟสแรกสร้างเสร็จเมื่อ 2002 และทั้งโครงการจะเสร็จสิ้นในปี 2010

      ‘เดอะคอมมูน (The Commune) เกิดขึ้นตามความตั้งใจของคู่รักนักพัฒนาเรียลเอสเตท จางซิน และพานซื่ออี๋ ที่ลงทุนควักกระเป๋าให้นักสถาปัตย์ชั้นนำชาวเอเชีย 12 คน คนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเนรมิตเฮาส์คอมเพล็กซ์หรูที่มีกลิ่นอายกำแพงเมืองจีนขึ้น

      ปัจจุบัน เดอะคอมมูน เปิดให้บริการแล้วในส่วนที่เป็นโฮเทลบูติค ภายใต้การบริหารของเครือโรงแรมเคมปินสกี้ จากเยอรมนี ซึ่งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก



      3. ศูนย์กลางการเงินของโลกที่เซี่ยงไฮ้


      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดสร้างเสร็จปี 2008

      ศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลก กำลังจะอุบัติขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ที่เขตการเงินหลู่เจียจุ้ย ในเขตผู่ตง ในรูปโฉมของตึกกระจกสูงเสียดฟ้า 101 ชั้น

      Kohn Pedersen Fox Architects ผู้ออกแบบเล่าว่า การสร้างให้ตึกต้านทานแรงลมได้ ถือเป็นความท้าทายของงานนี้ ในที่สุด จึงได้ออกแบบให้ยอดตึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมเจาะช่องตรงชั้นที่ 100 ซึ่งนอกจากจะปรับเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดในโลกแล้ว ยังสามารถบรรเทาแรงลม ลดการแกว่งตัวไปมาของตัวตึกได้ด้วย




      4. สระว่ายน้ำแห่งชาติ – ปักกิ่ง


      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดเสร็จปี 2008

      สระว่ายน้ำแห่งชาตินี้ สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยมีรูปลักษณ์เหนือจินตนาการคล้าย “ก้อนน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่” ซึ่ง PTW and Ove Arup ออกแบบโดยใช้วัสดุเทฟลอนทำเป็นโครงร่าง เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะนำมาใช้เดินเครื่องกรองน้ำเสียของสระ

      น้ำที่ใช้เติมในสระจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ฝั่งไว้ใต้ดิน นอกจากนั้น เพื่อให้ดูเหมือนน้ำที่สุด สถาปนิกยังใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยของนักฟิสิกส์จาก Dublin’s Trinity College ที่สามารถทำให้กำแพงอาคารดูเหมือนฟองน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากจะทำสระว่ายน้ำแห่งแดนมังกรนี้ดูดีเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสามารถต้านทานกับแรงสั่นสะเทือนอันเกิดจากแผ่นดินไหวได้ด้วย




      5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) – ปักกิ่ง


      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดสร้างเสร็จปี 2008

      อาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี มีรูปลักษณ์ที่แหวกแนวไปจากตึกระฟ้าทั่วไป โดยเกิดจากสองอาคารที่ตั้งมุมฉากต่อเข้าหากัน มองดูเหมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยกระจายแรงลมที่ปะทะกับตึกได้เป็นอย่างดี ตึกใหม่นี้ออกแบบโดย Rem Koolhass และ Ole Scheeren ส่วนวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างคือ Ove Arup




      6. Linked Hybid – ปักกิ่ง


      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดสร้างเสร็จปี 2008
      สถาปัตยกรรมแห่งที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ Linked Hybid เป็นที่ตั้งของบ้าน 2,500 หลัง อพาร์ทเม้นท์ 700 ห้อง บนเนื้อที่ขนาด 1.6 ล้านตารางฟุต ถือเป็นตึกใหญ่สุดในโลกที่มีใช้ระบบชีวภาพในการทำความเย็นและให้ความอุ่น เพื่อรักษาอากาศทั้ง 8 ตึกให้คงที่ ในชั้นที่ 20 สร้างเป็นวงแหวน ‘บริการ’ ที่เชื่อมต่อกันทุกตึก ครบครันด้วยบริการต่างๆ ทั้งซักผ้ายันร้านกาแฟ

      Steven Holl และ Li Hu ยังออกแบบให้ ฝั่งท่อน้ำสองสายลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร สำหรับให้น้ำไหลเวียน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องกระจายความร้อน และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าทำน้ำเดือดหรือแอร์ทำความเย็น ขณะเดียวกัน ยังมีระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะรวบรวมน้ำจากห้องครัวและอ่างน้ำทั่วอาคาร มาหมุนเวียนใช้ใหม่ในห้องส้วม



      7. เมืองเศรษฐกิจตงถัน – เจียงซู

      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      อยู่ระหว่างวางแผน คาดว่าเฟสแรกจะเสร็จปี 2010

      เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของแดนมังกร ออกแบบและพัฒนาโดย ซ่างไห่ อินตัสเทรียล คอร์ป ที่คาดว่าจะมีขนาดเทียบเท่ากับเกาแมนฮัตตัน ตั้งอยู่บนเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน กลางลำน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ใกล้กับมหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2040

      อย่างไรก็ตาม เฟสแรกของโครงการนี้ จะเรียบร้อยก่อนที่งานเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้จะเปิดฉากขึ้นในปี 2010 ซึ่งจะมีประชากรราว 50,000 คน เข้าอยู่อาศัยที่นี้ จากนั้นอีก 5 ปี ระบบพิเศษต่างๆ จะเริ่มใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบจัดการน้ำเสีย และการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ใหม่ พร้อมด้วยถนนสายใหญ่ที่จะเชื่อตรงสู่นครเซี่ยงไฮ้อย่างสะดวกสบาย



      8. สนามกีฬาโอลิมปิก - ปักกิ่ง

      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดเสร็จปี 2008

      สนามกีฬาหลายแห่งในโลก ออกแบบโดยเดินตามรอยสนามกีฬาชื่อดังของโลก โคลิเซี่ยมแห่งโรม แต่สนามกีฬานานาชาติของ Herzog & de Meuron ในปักกิ่งนี้พยายามที่จะคิดออกแบบใหม่ให้เอื้ออำนวยต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบันมากขึ้น

      สถาปนิกจากสวิสเซอร์แลนด์ Herzog & de Meuron ต้องการที่จะช่องระบายอากาศตามธรรมชาติ ในสนามกีฬาโครงสร้าง 91,000 ที่นั่ง อาจถือได้ว่า เป็นสนามกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้

      สนามกีฬาดังกล่าวซึ่งจะใช้จัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ ”รังนก” ที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังต้องห้ามของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ



      9. สะพานตงไห่ – เชื่อมเซี่ยงไฮ้ กับ เกาะหยังซัน

      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>

      เปิดใช้ธันวาคม 2005


      สะพานข้ามทะเลแห่งแรกของจีน ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2005 สะพานดังกล่าวเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ใช้เงินลงทุนราว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนโครงสร้างหลักมีความยาว 32.5 กิโลเมตร กว้าง 31.5 เมตร มีทางรถวิ่ง 6 เลน และเพื่อความปลอดภัยในการรับมือกับพายุไต้ฝุ่นและคลื่นลมแรง สะพานตงไห่ถูกออกแบบให้เป็นรูปตัวเอส (S) เชื่อมจากอ่าวหลู่หูในเขตหนันฮุ่ยเมืองเซี่ยงไฮ้ ข้ามอ่าวหังโจว ไปยังเกาะเสี่ยวหยังซันในมณฑลเจ้อเจียง ที่ได้วางแผนไว้ให้เป็นท่าเรือการค้าเสรีแห่งแรกของจีน (และจะเป็นท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2010

      ทั้งนี้ สะพานตงไห่ถูกก่อสร้างโดยความร่วมมือระหว่าง ไชน่าจงเที่ย เมเจอร์ บริดจ์ เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป และเซี่ยงไฮ้ # 2 เอนจิเนียริ่ง และเซี่ยงไฮ้ เออร์บัน คอนสตรักชั่น กรุ๊ป



      10. โรงละครแห่งชาติ – ปักกิ่ง

      <คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่>


      กำหนดสร้างเสร็จปี 2008

      ตั้งอยู่กลางกรุงปักกิ่ง ใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีเนื้อที่ 490,485 ตารางฟุต มีกำหนดเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2008 โครงสร้างภายนอกประกอบขึ้นจากกระจกผสมไทเทเนี่ยม ดูคล้ายกับทะเลสาบ ซึ่งผู้ออกแบบจงใจให้สถาปัตยกรรมดูโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางถนนและตึกรามแบบโบราณ

      สำหรับผู้ออกแบบคือสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่อดัง พอล อังโดร ที่มีผลงานออกแบบที่มีชื่อเสียง เช่น อาคาร 1 ของสนามบินชารลส์ เดอ โกล


      โรงละครแห่งชาติ แห่งนี้แบ่งพื้นที่เป็น ในโรงโอเปร่า 2,416 ที่นั่ง คอนเสิร์ตฮอล 2,017 ที่นั่ง และโรงภาพยนตร์ 1,040 ที่นั่ง พื้นผิวของผนังที่กึ่งโปร่งแสงจะทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาในตอนกลางคืนจะมองเห็นการแสดงด้านในวับๆ แวบๆ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแห่งนี้.



      เรียบเรียงจากบิสิเนสวีค
      http://images.businessweek.com/ss/05/12/china_wonders/source/1.htm?chan=globalbiz_asia_innovation+%2B+design

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×