ชีวิตในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ใช่เรื่องราวในนิยายที่ใช้ภูมิประเทศในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้สุดของไทย
ผู้เข้าชมรวม
1,333
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
รากเหง้าของปัญหา ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ1,000 ปีก่อน ดินแดนที่เกิดความไม่สงบทั้งหมดนี้เดิมเป็นชุมชนชาวพุทธซึ่งกลายเป็นอาณาจักรมุสลิมในช่วงหลายร้อยปีมานี้ ก่อนถึงยุคล่าอาณานิคม ดินแดนนี้อยู่ภายใต้อำนาจของราชอาณาจักรสยาม จนถึงปี 2452 ที่มีการจัดทำสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ ซึ่งกำหนดให้ส่วนหนึ่งของรัฐปัตตานี อันได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี(เกดะห์) และปะลิส(เปอร์ลิส) ตกเป็นของอังกฤษ เจ้าเหนืออาณานิคมมาเลเซียในขณะนั้น ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเป็นของไทย (สยาม) และกลายเป็นจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของสงขลา
แม้สนธิสัญญาดังกล่าวอาจสงบศึกระหว่างสยามและอังกฤษ แต่กลับทำให้ความรุนแรงในภูมิภาคปะทุขึ้นเป็นระยะๆ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยใช้นโยบายต่างๆที่จะสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะทัศนคติเชิงลบของประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้เกิดช่องว่างที่รอวันจะขยายวงกว้างยิ่งขึ้น รวมถึงแรงกดดันจากนโยบายรัฐบาลไทยหลายยุคหลายสมัย ส่งผลให้เกิดพลังต่อต้านในหลายรูปแบบ รวมทั้งการจัดตั้งองค์กรและกองกำลังติดอาวุธก่อความไม่สงบ โดยอ้างเรื่องความอยุติธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐหรือการแบ่งแยกดินแดน เหตุการณ์ความไม่สงบบริเวณนี้จึงปรากฎให้เห็นเสมอ แต่ระดับความรุนแรงจะแปรผันไปตามสถานการณ์และการตอบโต้ของรัฐบาลแต่ละสมัย
ตลอดห้าปีที่ผ่านมา หลายฝ่ายมองว่า รัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร คืออุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหาที่ยืดเยื้อ ปฏิบัติการตอบโต้อย่างรุนแรงรวมทั้งการประเมินสถานการณ์และกำลังของกลุ่มก่อการร้ายผิดไปอย่างมหันต์ คือเชื้อไฟให้ขบวนการต่อต้านรัฐบาลปะทุและทวีความแข็งแกร่งขึ้นรายงานของไอซีจี ชี้ว่า มาตรการทางการเมืองของรัฐบาลทักษิณเป็นผู้เปิดช่องให้ฝ่ายก่อความไม่สงบทำให้พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดูจะสงบสุขดีแล้ว เกิดปะทุขึ้นมาอีก โดยการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งเป็นสื่อกลางระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐ ขณะที่การยุบกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43) น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดชนวนความรุนแรงครั้งใหม่ขึ้นมา
ผลงานอื่นๆ ของ ฮิโรกิ ชาวาดะ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ฮิโรกิ ชาวาดะ
ความคิดเห็น