ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงงานของเถื่อน

    ลำดับตอนที่ #8 : หิน แร่ธาตุและป่าไม้

    • อัปเดตล่าสุด 28 พ.ค. 50





    โมรา-โมกุล เป็นคำเรียกขานพลอยชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มพลอยตระกูลควอร์ตซ์อันมีอยู่มากมายหลายชนิด รัตนชาติอันมีชื่อ เรียกโมรา-โมกุล นี้มักพบในหินโพรงที่เรียก จีโอด (GEODE) โดยน้ำแร่ที่ส่วนใหญ่มักเป็นสารละลายของแร่ควอร์ตซ์ จะเข้าไปตกผลึกอยู่ ในโพรงหินดังกล่าว แร่ที่พบจึงอาจเป็นผลึกของแร่ควอร์ตซ์ใสบริสุทธิ์ขนาดเล็กเกาะกันเป็นกลุ่ม หรือแร่คาลซีโดนี (CHALCEDONY) ที่มีเนื้อเนียนคล้ายเทียนไข หรือแร่อาเกต (AGATE) อันเป็นสาลซีโนีชนิดที่ปรากฏลายเรียงซ้อนกันเป็นชั้นอย่างสวยงาม การค้นหา โมรา-โมกุลจึงต้องค้นหาหินจีโอด แล้วผ่าให้เห็นผลึกแร่ที่สะสมตัวอยู่ภายใน
    การใช้ประโยชน์โมรา-โมกุล นอกจากจะน้ำก้อนแร่มาเจียรนัยเพื่อทำเป็น เครื่องประดับกายรูปแบบต่างๆ แล้ว ยังอาจทำเป็นสินค้าในรูปของหินสวยงาม โดยการผ่าหินจีโอดให้เห็นผลึกแร่อันสวยสะดุดตาที่ซ่อนอยู่ภายใน หรือดัดแปลงเป็น สินค้าที่ระลึกอื่นๆ
    จังหวัดลพบุรีเคยปรากฏแหล่งโมรา-โมกุลบริเวณเขางู ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล โดยพระภิกษุชื่อ พระเจริญ ปานจันทร์ ได้เผยแพร่แหล่งแร่บริเวณ ดังกล่าวให้ชาวบ้านละแวกนั้นทราบจนนำไปสู่การขุดค้นแร่อย่างแตกตื่นในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ปัจจุบันแหล่งแร่บริเวณนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปอันเนื่องจากกาารขุดค้นของชาวบ้านไม่ค่อยพบก้อนจีโอดที่มีผลึกแร่ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการของกรมทรัพยากรธรณียังมีความเชื่อว่า แหล่งโมรา-โมกุลของจังหวัดลพบุรีน่าจะยังหลงเหลืออยู่อีกมาก ในแหล่งหินภูเขาไฟที่กระจัดกระจายอยู่ในเขต อ.ชัยบาดาล และ อ.สระโบสถ์ จึงควรสนับสนุนให้มีการสำรวจค้นหาแหล่งแร่ดังกล่าว อย่างจริงจัง เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อฐานะทางเศรษฐกิจของชาวจังหวัดลพบุรีในโอกาสต่อไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×