ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงงานของเถื่อน

    ลำดับตอนที่ #3 : รายงานการสำรวจธรณีฟิสิกส์ พื้นที่เขาพระงามอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

    • อัปเดตล่าสุด 28 พ.ค. 50


    รายงานเศรษฐธรณีวิทยา ประเภทที่ 1 

    รายงานการสำรวจธรณีฟิสิกส์ พื้นที่เขาพระงามอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

    โดย มนตรี เหลืองอิงคะสุต

    บทคัดย่อ

              พื้นที่เขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีศักยภาพแหล่งแร่ทองแดงครอบคลุม พื้นที่ ประมาณ 1.2 ตารางกิโลเมตร ลักษณะธรณีวิทยาของพื้นที่สำรวจ บริเวณเขาพระงาม ประกอบด้วยหินปูนยุค เพอร์เมียน บางส่วนถูกแปรสภาพเป็นหินอ่อนและหินสการ์น ประเภทการ์เนต-ควอตซ์-เอพิโดต-แคลไซต์สการ์น เนื่องจากกระบวนการแปรสัมผัสและการเปลี่ยนสภาพแบบเติมน้ำซิลิกา หินอัคนีประกอบด้วยหิน ไดออไรต์ แกรโนไดออไรต และฮอร์นเบลนด์แกรนิตหนุนอยู่ด้านล่างยุคเพอร์โม-ไตร แอสซิก ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา พบการวางตัวของชั้นหินและแนวรอยเลื่อนมีการวางต ัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

              ผลการสำรวจธรณีวิทยาแหล่งแร่เบื้องต้นบริเวณเขาพระง ามพบแหล่งแร่ทองแดง พบเป็นคาลโคไพไรต์ มาลาไคต์ และอะซูไรต์ในสายแร่ควอรตซ์ที่แทรกตามรอยแตกและระนาบของรอยเลื่อนที่ตัดในหินสการ์น มีลักษณะเป็นกลุ่มของสายแร่วางตัวในทิศทางที่ไม่แน่น อน

              จากผลการสำรวจติดตามผลภาคพื้นดินโดยวิธีวัดค่าสนามแม่เหล็กรวมไม่พบค่าผิดปกติทางแม่เหล็กที่เกิดจากสาย แร่เหล็กในพื้นที่ พบค่าผิดปกติที่เกิดจาก magnetic body หนุนเนื่องอยู่ด้านล่าง จากผลการแปลความหมาย พบลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยามีการวางตัวส่วนใหญ่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก และเหนือ-ใต้ และจากผลการสำรวจวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยวิธี MaxMin-I พบตัวนำไฟฟ้าต่ำ ลักษณะ เป็น structural conductor สัมพันธ์กับโครงสร้างที่ได้จากการสำรวจวัดค่าสนามแม่ เหล็กรวม ซึ่งอาจสัมพันธ์ กับสายแร่ควอรตซ์โดยมีแร่ทองแดงเกิดร่วมด้วย

              Khao Pra Ngam area, with areal coveraged approximately 1.2 sq.km., is located at the Northern part of Changwat Lopburi, Lithologically, This area is characterized by Permian limestone which were later intruded by several types of Permo-Triassic plutonic rocks. Along the contact, gamet-quartz-epidote-calcite skarn and marble are normally present. Major structures trending NE-SW can be recognized.

              Prelominry mineral investigation in this area found 3 pre-historic open pit mines. The mineralisation in the area contained 0.76% Cu in quartz-pyrite-chalcopyrite veins and 0.025% in the other rocks, which occured in fractures and fault planes of host rocks.

               Ground geophysical surveys were conducted in Khao Pra Ngam area to verigy the mineralisation zones. Magnetic survey showed magnetic body, diorite and granodiorite, intruded underlying in this area, and delineated the lineaments trending N-S and E-W. The results of electromagnetic survey found poor conductors which showed structural conductors and related to te structures of magnetic interpretation, inwhich might be quartz-pyrite-chalcopyrite veins.


    CREDIT:http://www.dmr.go.th/knowledge/BMR_Publishcation/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C/035.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×