ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็นและความเปลี่ยนแปลงหลังสงครามเย็น

    ลำดับตอนที่ #4 : ความร่วมมือทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

    • อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 54


     ความร่วมมือทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ


    องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ 
    (
    North Atlantic Treaty Organization : NATO)


     

                                ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 เมื่อประเทศภาคีสมาชิก ลงนามในสนธิสัญญาร่วมป้องกันภูมิภาคแอตแลนติกเหนือ ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์กสหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และโปรตุเกส เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 กรีซ และตุรกี เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในปี พ.ศ. 2498 เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมเป็นสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
                 
    การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ เป็นการร่วมมือทางทหารเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของของอดีตสหภาพโซเวียต และต่อต้านสนธิสัญญาวอร์ซอ เป็นผลของความขัดแย้งระหว่างโลกเสรี ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และโลกคอมมิวนิสต์ นำโดยอดีตสหภาพโซเวียต

    วัตถุประสงค์

             - สร้างความมั่นคงร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา แคนาดา

            - กติกาสำคัญของสัญญานี้ กล่าวว่า ถ้าประเทศหนึ่งประเทศใดแห่งสมาชิกสัญญานี้ ถูกโจมตี ให้ถือว่าทุกประเทศถูกศัตรูรุกราน

    ซึ่งเป็นภาระที่ต้องร่วมมือกันต่อสู้ และป้องกันตัวเองของประเทศสมาชิก

              - สนธิสัญญานี้ ไม่มีการจำกัดอายุ แต่ภาคีสมาชิกอาจลาออกได้ หลังก่อตั้งองค์การไปแล้ว 20 ปี โดยจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

    เป็นเวลาอย่างน้อย
    1 ปี



          


    องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ

    (
    Warsaw Pact)
     


                         องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดย สหภาพโซเวียต จัดตั้งขึ้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 ช่วง สงครามเย็น

    (ค.ศ. 1945 - 1991) โดยมีสมาชิกทั้งหมด 8 ประเทศ ประกอบไปด้วย

                 1. สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

                 2. สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก)

                 3. สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์

                 4. สาธารณรัฐสังคมนิยมเชคโกสโลวเกีย

                 5. สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย

                 6. สาธารณรัฐประชาชนอัลบาเนีย

                 7. สาธารณรัฐประชาชนฮังการี

                 8. สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย



                         นอกจากจะเป็นสัญญาทางด้านการทหารแล้ว ยังเป็นข้อผูกพันทางด้านการต่างประเทศด้วย โดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศขององค์การนี้จะต้องมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอจึงเท่ากับเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ที่แสดงการตอบโต้กลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตย


               สนธิสัญญาวอร์ซอ ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 ปีเดียวกับการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต




    องค์การการค้าโลก

    (World Trade Organization : WTO)

     
     

                       องค์การการค้าโลก หรือ WTO (World Trade Organization) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีการพัฒนามาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า  หรือ  GATT  (General Agreement  on Tariff and Trade)  ก่อตั้งเมื่อวันที่1  มกราคม  2538  มีสมาชิกเริ่มแรก  81 ประเทศ  สำนักงานตั้งอยู่  ณ  นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

              วัตถุประสงค์
              - เปิดตลาดสินค้าเกษตรให้มากขึ้น

              - ให้มีข้อปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในทุกเรื่องที่เจรจา

              - ดูแลให้สมาชิกดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้าที่มีต่อกัน
    - เป็นคนกลางในการตัดสินข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ



    องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน

    (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC)
     
     

                            ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2503   โดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง 5  ประเทศคือ อิหร่าน, อิรัก, คูเวต, ซาอุดิอาระเบีย และ เวเนซูเอลา ต่อมาได้มีสมาชิกเข้ามาเพิ่มตามลำดับได้แก่ กาตาร์, อินโดนีเซีย, ลิเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, แอลจีเรีย, ไนจีเรีย, เอกวาดอ (ถอนตัวในปี 2535) และสมาชิกล่าสุดเมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมาคือ แองโกลา รวมเป็น 12 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


    วัตถุประสงค์
                เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน รักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม การรวมตัวของกลุ่มผู้ผลิตนำมันรายใหญ่

    โอเปกสามารถกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันซึ่งจะมีผลต่อการขึ้นลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก โปเปกเป็นกลุ่มที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในโลกคือ 41.7%ของทั้งโลก





      สหภาพยุโรป
    (European Union: EU)

      

                            เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์
                 สหภาพยุโรป พัฒนามาจาก ประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือตลาดร่วมยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิก

    วัตถุประสงค์

              - เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็น  อันหนึ่งอันเดียว

              - เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรขาวยุโรปให้ดีขึ้น
    - เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ






    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

                   (Association of South East Asian Nations : ASEAN)

     
     

                             เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มี             ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า

               วัตถุประสงค์

                           เพื่อส่งเสริม ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง






    สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
    (The European Free Trade Association : EFTA)

     

                           ก่อตั้งเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เนื่องจากความไม่พอใจของกลุ่มประเทศในองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป (OEEC) ที่มีต่อองค์การตลาดร่วมยุโรป (EEC) จึงแยกตัวออกมาตั้งกลุ่มการค้าใหม่ เรียกว่า กลุ่มอีอีซี ได้ตั้งชื่อกลุ่มว่า เอฟตา มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมามีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกและถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก

    วัตถุประสงค์

             - เพื่อปฏิรูประบบการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมภายกลุ่มประเทศสมาชิก

             - เพื่อกำหนดนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกและประเทศนอกกลุ่มสมาชิก






    เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
    (North  America  Free  Trade  Agreement: NAFTA)

     

                               เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้   โดยหลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ.2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป

    วัตถุประสงค์

              1. เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น

              2. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้       ราคาถูกและมีคุณภาพดี
    3. เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูง





        เขตการค้าเสรี   
    (Free trade area : FTA)

     

                               เป็นกลุ่มประเทศที่ได้ทำข้อตกลงที่จะทำการค้าแบบเสรี โดยกำจัด การเก็บภาษีศุลกากรการจำกัดส่วนแบ่ง และการให้สิทธิพิเศษ กับสินค้าส่วนใหญ่  ที่ทำการค้าขายระหว่างกัน

    วัตถุประสงค์
                    
    FTA สะท้อนแนวคิดสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า "ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อประเทศต่างๆ ผลิตสินค้าที่ตนมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบ เทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วนำสินค้าเหล่านั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน" ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ประโยชน์สูงสุดดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น หากยังมีการเก็บภาษีขาเข้าและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ซึ่งส่งผลบิดเบือนราคาที่แท้จริงของสินค้า และทำให้การค้าขายไม่เป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ








     






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×