ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็นและความเปลี่ยนแปลงหลังสงครามเย็น

    ลำดับตอนที่ #2 : สงครามเย็น

    • อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 54


    สงครามเย็น

     

                          

         สงครามเย็น คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน

                               หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สหรัฐอเมริกาได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา โดยการเข้าไปแทรกแซงสนับสนุนรัฐบาลที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา หรือเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของบางประเทศที่มีนโยบาลขัดผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา 

              อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาก็พยายามรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการพึ่งพาตนเอง และต่อรองกับประเทศนอกกลุ่มโดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก ด้วยการจัดตั้งองค์การของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา เช่น การจัดตั้งสมาคนการค้าเสรีของลาตินอเมริกา(Latin America Free Trade Associaation-LAFTA) เป็นต้น

    สาเหตุของสงครามเย็น

      
                      เกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้

    สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง

    และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์

    ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ

                             ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม

          



    ผลของสงครามเย็น

                      - การสะสมและเพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์   เช่น  เครื่องบินรบ   ปืนต่อสู้อากาศยาน  ตลอดจนอาวุธต่าง ๆ  ที่มีประสิทธิภาพการทำลายล้างสูง

                      - การเพิ่มอัตรากำลังพล  เพื่อแสดงศักยภาพของกองทัพให้พร้อมรบอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านกองกำลัง   ของกองทัพบกทั้งในยุโรปของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์และเสรีประชาธิปไตยเองก็ตาม

                      - การสะสมอาวุธนิวเคลียร์  สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทำการทดลองและสร้างอาวุธนิวเคลียร์หลายชนิด  และได้มีการนำอาวุธนิวเคลียร์ไปติดตั้งเผชิญหน้ากันจนกลายเป็นภาวะตึงเครียด   เช่น  วิกฤติการณ์คิวบา จากสภาพการณ์ดังกล่าวได้นำไป สู่การสะสมอาวุธ  แม้ประเทศที่ยังไม่มีนิวเคลียร์ก็เร่งสร้างและผลิตนิวเคลียร์เพื่อนำไปเพิ่มสมรรถภาพทางด้านการทหารและ ยุทธศาสตร์ให้กับประเทศของตนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดภาวะดุลแห่งความกลัว  (Balance  of  Terror)  ซึ่งทำให้ ประเทศมหาอาจไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำสงครามนิวเคลียร์กัน   และการประลองอำนาจจึงถูกเลี่ยงไปแสดงออกในรูปอื่น ๆ  เช่น

     สงครามย่อย ๆ  หรือสงครามตัวแทน  (Proxy  War)  ในภูมิภาคต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นสงครามเกาหลี   สงครามเวียดนามในอินโดจีน หรือแม้กระทั่งสงครามอิสราเอลและชาติอาหรับ จากภาวะดังกล่าว  จึงนำไปสู่การเจรจาเพื่อประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ  ในการลดกำลังรบ  (Disarmament)   คือ  การจำกัดอาวุธและกำลังพลในการรบ  เพื่อป้องกันภัยจากการรุกรานของประเทศอื่น  ๆที่มีแนวทางการปกครองที่ต่างกัน  และเป็นการตระหนักถึงภัยของอานุภาพของการทำลายล้างจากอาวุธนานาชนิด





                       



















     





     

     






     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×