ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

    ลำดับตอนที่ #5 : วิจารณ์ตัวละคร เรื่อง อิเหนา (ตอนศึกกะหมังกุหนิง)

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ย. 57


    วิจารณ์ตัวละคร เรื่อง อิเหนา (ตอนศึกกะหมังกุหนิง)

    ที่มา: http://www2.www.vcharkarn.com/vcafe/40275

    ความคิดเห็นที่ 8 luknam28_@hotmail.com (Guest) 2 ก.พ. 2552 22:52

    และ   http://gotchakon.blogspot.com/2011/09/blog-post.html

    ท้าวกะหมังกุหนิง

    เป็นกษัตริย์ ผู้มีความรัก ความเมตตา ต่อลูกชายของตน วิหยาสะกำ สังเกตได้จากตอนที่ลูกของตนหลงรักนางบุษบา ถึงจะรู้ว่านางบุษบามีคู่หมั้นแล้วแต่ ด้วยความสงสารลูก ก็ได้ไปขอนางบุษบาให้  ถือเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ที่มีให้แก่ลูกแต่เป็นผู้มีโทสะ รุนแรง  ไม่ยังคิด สังเกตได้จาก ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตไปสู่ขอนางบุษบา ได้ถูกท้าวดาหาปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงทรงโกรธ จึงทัพไปตี เหตุการณ์นี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความมีอารมณ์ ความขาดสติมาก ไม่ได้คิดไตร่ตรองเสียก่อน ทำการใดๆ ส่งผลทำให้เกิดปัญหามากมายภายหลัง

    วิหยาสะกำ

    เป็นลูกของท้าวกะหมังกุหนิง เป็นผู้มีความเอาแต่ใจตน และลุ่มหลงในรูปรสภายนอก ดูได้จาก การให้พ่อของตนไปสู่ขอนางบุษบามาแต่งงานกับตน ทั้งที่รู้ว่านางบุษบามีคู่หมั้นแล้ว แต่ก็ยังต้องการแต่งกับนางบุษบาอยู่ เพราะเกิดลุ่มหลงในรูปรสที่ได้เห็น สังเกตได้จากกลอนที่วิหยาสะกำ บรรยายถึงความสวยของนางบุษบา ดังนี้

      พระทนต์แดงดังแสงทับทิม                 เพริศพริ้มเพราพักตร์คมขำ

           ผิวพรรณผุดผ่องเพียงทองคำ                วิไลลักษณ์เลิศล้ำอำไพ

     

    ท้าวดาหา

    เป็นผู้ที่ถือเกียรติแห่งวงศ์เทวามาเป็นอันดับหนึ่ง แต่กลับเป็นผู้ที่เกือบทำให้วงศ์เทวาสิ้นเกียรติเช่นกัน(กรณียกบุษบาให้จรกาและตัดสินใจเปิดศึกกับกะหมังกุหนิง)ท้าวดาหาเป็นผู้ที่ประชดประชันเก่ง ไม่ยอมให้ผู้อื่นมาย่ำยีดาหาง่ายๆ เมื่ออิเหนาตัดสัมพันธ์ก็ประชดอิเหนาและท้าวกุเรปันพระเชษฐา โดยการประกาศยกพระธิดาให้ระตูทันที(อันเป็นการผิดราชประเพณี เพราะวงศ์เทวาจะต้องอภิเษกกับวงศ์เทวาด้วยกันเท่านั้น)แต่ท้าวดาหาก็ทรงทำไปเพราะความโกรธอิเหนาพระนัดดาเท่านั้นไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะยกบุษบาให้จรกาเท่าใดนัก แต่เมื่อทรงคิดได้ก็ไม่ทันการแล้ว

     

    ท้าวกุเรปัน

    ทรงตั้งอยู่ในสัจจะมาก ทรงยึดถือความถูกต้องมาก่อน เมื่ออิเหนาก่อเหตุก็ไม่ทรงเข้าข้างอิเหนาแต่อย่างไร ทรงเป็นผู้ที่ถือเกียรติแห่งวงศ์เทวามาเป็นอันดับหนึ่ง เช่นเดียวกันกับท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันทรงมีพระทัยเด็ดเดี่ยวมาก จะเห็นได้จากเมื่อทรงโปรดให้อิเหนายกทัพจากหมันหยาไปช่วยดาหารบ ทรงยอมที่จะตัดความเป้นพ่อลูกกันหากอิเหนาไม่ยอมยกไปช่วย

     

    อิเหนา   

              อิเหนาหรือระเด่นมนตรี มีชื่อว่า หยังหยังหนึ่งหรัดอินดราอุดากันสาหรีปาติอิเหนาเองหยังตาหลาเมาะตาริยะกัดดังสุรศรี ดาหยังอริราชไพรี เองกะนะกะหรีกุเรปัน เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระดา อิเหนาเป็นชายรูปงาม มีเสน่ห์มีนิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ อิเหนามีมเหสี ๑๐ องค์ ได้แก่

    -            จินตะหราวาตี  เป็น  ประไหมสุหรีฝ่ายขวา       - บุษบาหนึ่งหรัด  เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย

    -            บุษบาวิลิศ  เป็น  มะโตฝ่ายขวา                          -  บุษบากันจะหนา  เป็น  มะโตฝ่ายซ้าย

    -            ระหนาระกะติกา  เป็น  ลิกูฝ่ายขวา                    -  อรสา  เป็น  ลิกูฝ่ายขวา

    -            สะการะวาตี  เป็น  มะเดหวี่ฝ่ายขวา                   -  มาหยารัศมี  เป็น  มะเดหวี่ฝ่ายซ้าย

    -            สุหรันกันจะสาหรี่  เป็น  เหมาหลาหงีฝ่ายขวา   -  หงยาหยา  เป็น  เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย
                   รอบคอบ  มองการณ์ไกล  ตอนที่สังคามาระตารบกับวิหยาสะกำ  อิเหนาได้เตือน สังคามาระตาว่าไม่ชำนาญกระบี่  อย่าลงจากหลังม้า  เพราะเพลงทวนนั้นชำนาญอยู่แล้วจะเอาชนะได้ง่ายกว่า
                          “ เมื่อนั้น                                   ระเด่นมนตรีใจหาญ
             จึงตอบอนุชาชัยชาญ                              เจ้าจะต้านต่อฤทธิ์ก็ตามใจ
             แต่อย่าลงจากพาชี                                  เพลงกระบี่ยังหาชำนาญไม่
             เพลงทวนสันทัดจัดเจนใจ                      เห็นจะมีชัยแก่ไพรี
                   มีอารมณ์ละเอียดอ่อน  เมื่อจากสามนางมาเห็นสิ่งใดก็คิดถึงนางทั้งสาม  คำประพันธ์ความตอนนี้มีความไพเราะมาก
                         “ ว่าพลางทางชมคณานก           โผนผกจับไม้อึงมี่
             เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
             นางนวลจับนางนวลนอน                      เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
             จากพรากจับจากจำนรรจา                      เหมือนจากนางสการะวาตี

     

    นางบุษบาหนึ่งหรัด  

                  เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่นนอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงศ์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย

     

    จินตะหราวาตี  

    เป็นธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ ทั้งๆที่ได้พบนางครั้งแรกก็หลงรัก จนไม่ยอมกลับกรุงกุเรปันและปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาอย่างสิ้นเชิง ครั้งอิเหนาได้รับคำสั่งจากท้าวกุเรปันให้ไปช่วยทำศึกที่เมืองดาหา ทำให้นางไม่ได้พบอิเหนาอีกเลย จวบจนเวลาผ่านไปนานหลายปี ท้าวกุเรปันจะจัดพิธีแต่งงานให้อิเหนา จึงทรงมีสาส์นมาถึงระตูมันหยาให้พาจินตะหราไปเขาพิธีด้วยในตำแหน่ง ประไหมสุหรีฝ่ายขวา

     

     

    สังคามาระตา  

    โอรสของระตูปรักมาหงัน  และเป็นน้องของมาหยารัศมี สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง

     

     

    สุหรานากง

    สุหรานากง    โอรสของท้าวสิงหัดส่าหรีที่เกิดจากประไหมสุหรี พระบิดาได้สู่ขอสะการะหนึ่งหรัด ธิดาท้าวกาหลังให้เป็นคู่ตุหนาหงันตั้งแต่เด็ก สุหรานากงปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาและพระมารดาอยู่เสมอ มีความกล้าหาญ และวางตนได้ย่างเหมาะสม

     

    ระตูหมันหยา 

    โอรสของท้าวมังกัน พระบิดาได้ขอตุหนาหงัน ระเด่นจินดาส่าหรี ธิดาองค์สุดท้ายของระตูหมันหยาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว  เมื่อแต่งงานกัน พระมารดาของระเด่นจินดาส่าหรีได้อภิเษกให้ครองเมืองหมันหยา โดยให้ระเด่นจินดาส่าหรีเป็นประไหมสุหรี ระตูหมัยหยาและประไหมสุหรีจินดา มีธิดาเพียงองค์เดียว คือจินตะหราวาตี ระตูหมันหยามีจิตใจอ่อนแอ ไม่มีความเป็นนักสู้

     

    ประสันตา

       เป็นพี่เลี้ยงหนึ่งในสี่ของอิเหนา ซึ่งท้าวกุเรปันเลือกแต่ครั้งอิเหนาประสูติใหม่ๆ บิดาของประสันตาเป็นเสนาบดีตำแหน่งยาสา(ฝ่ายตุลาการ)  ของกุเรปัน ประสันตามีนิสัยตลก คะนอง  ปากกล้า  เจ้าอารมณ์ ชอบพูดเย้าแย่เสียดสีผู้อื่นอยู่เสมอ และยังเจ้าเล่ห์อีกด้วย

     

     

    ท้าวกาหลัง 

     เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงกาหลัง เป็นน้องของท้าวกุเรปันและท้าวดาหามีมเหสี ๕ องค์ ครบตำแหน่งตามประเพณีประเพณีของวงศ์อสัญแดหวา พระองค์มีธิดาที่เกิดจากประไหมสุหรี หนึ่งองค์ คือ ระเด่นสะการะหนึ่งหรัด และมีธิดากับลิกูอีกหนึ่งองค์ คือ บุษบารากา ท้าวกาหลังทรงมีจิตใจเมตตากรุณากับทุกคน เช่น ทรงยอมรับคนแปลกหน้าที่เพิ่งจะพบกันครั้งแรก คือ ปันหยี,อุณากรรณ และย่าหรัน ไว้เป็นโอรสบุญธรรมให้การเลี้ยงดูอย่างดี ทั้งที่ไม่ทรงทราบว่าเป็นหลานแท้ๆ ของพระองค์เอง

     

     

    ท้าวสิงหัดส่าหรี 

    เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงสิงหัดส่าหรี เป็นน้ององค์สุดท้องของท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา และท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรสและธิดากับประไหมสุหรี รวมสองพระองค์คือ สุหรานากง กับ จินดาส่าหรี สำหรับสุหรานากงนั้น พระองค์ได้ขอสะการะหนึ่งรัด ธิดาของท้าวกาหลังให้เป็นคู่ตุนาหงัน ส่วนจินดาส่าหรี เมื่อเติบโตเป็นสาว ท้าวกุเรปันได้สู่ขอให้แต่งงานกับระตูจรกา แทนบุษบาที่ถูกอิเหนาลักพาตัวไป ท้าวสิงหัดส่าหรี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา ตราบจนเข้าสู่วัยชรา จึงให้สุหรานากง เป็นกษัตริย์ ครองกรุงสิงหัดส่าหรีแทน

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×