คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์บทที่ 5 ภาคต้น
บทที่ 5 การทดสอบผลิตภัณฑ์ (ต่อ)
1. อธิบายการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ผล
อ่านไฟล์ SPSS
2. สรุปผลและการนำไปใช้
อ่านไฟล์ SPSS
บทที่ 6 การทดสอบผลิตภัณฑ์
1. การวัดค่าทางกายภาพ
ได้แก่ การวัดค่าสี ความเลื่อมมัน เนื้อสัมผัส ขนาด รูปร่าง ตำหนิ water activity(aw)
สี เป็นคุณลักษณะทางกายภาพคุณลักษณะหนึ่งที่มีความหมายได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับการให้ความหมายแบบใด สีในความหมายทางฟิสิกส์ หมายถึงคุณสมบัติของแสงที่วัดได้ด้วยคามเข้มข้นและความถี่ของคลื่นแสง สีในความหมายทางจิตวิทยาหายถึงลำคลื่นของแสงที่ผ่านออกมาทางปริซึม โดยอยู่ระหว่างความยาวคลื่น 380 770 nm ซึ่งเป็นระยะคลื่นที่สามารถรับรู้ความรู้สึกในเรื่องสีได้ แสงเป็นการก่อให้เกิดสี แสง มีคุณสมบัติหลายประการซึ่งจะมีผลต่อลักษณะปรากฏของวัตถุ
วิธีการวัดค่าเนื้อสัมผัส วิธีการวัดค่าพื้นฐานทางวัสดุศาสตร์เช่น การวัดค่าแรงเจาะทะลุ วิธีการประยุกต์เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อใช้วัดตัวอย่างอาหารต่าง ๆ โดยที่เป็นการวัดตัวอย่างอาหารที่เหมาะสมกับเครื่องมือเฉพาะ ข้อเสียของวิธีการนี้จะใช้ได้เฉพาะกับอาหารเฉพาะอย่าง เป็นการวัดค่าใดค่าหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบอกลักษณะเนื้อสัมผัสอาหารได้อย่างสมบูรณ์และสามารถนำไปกับระบบการวัดแบบอื่นได้เช่น penetrometer วิธีการเลียนแบบการเคี้ยวของมนุษย์เป็นวิธีการที่ใกล้เคียงกับวิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัส มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับการทดสอบทางประสาทสัมผัส และสามารถวัดค่าทางลักษณะเนื้อสัมผัสได้อย่างสมบูรณ์แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือต้องทำให้ขนาดของตัวอย่างที่ทำการวัดมีเท่ากับขนาดที่เคี้ยว และวิธีการยุ่งยากไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นงานประจำ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Texture analyzer ในการวัดค่า
ขนาด รูปร่าง และสมมาตร สามารถหาขนาดรูปร่างได้หลายวิธีดังนี้ การชั่งน้ำหนัก การวัดปริมาตรหรือหลักการแทนที่ การวัดสัดส่วนน้ำหนักต่อปริมาตร การวัดความยาว การวัดความสมมาตร การวัดความโค้ง การวัดพื้นที่
2. การวัดค่าทางเคมี
ได้แก่การวัดองค์ประกอบทางด้านเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร สิ่งปนเปื้อนและสารตกค้างเป็นต้น วัตถุประสงค์ของการวัดค่าทางเคมีได้แก่
- วัดค่าปริมาณของปัจจัยคุณภาพที่เป็นองค์ประกอบบางชนิดของผลิตภัณฑ์หรือแสดงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เช่น ความชื้น โปรตีน ความเป็นกรดด่าง
- วัดหาปริมาณและชนิดของตำหนิหรือสรตกค้างที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์
ประเภทของการวัดค่าทางเคมี
- เชิงปริมาณเพื่อต้องการทราบว่าปริมาณสารที่กำลังตรวจสอบหาว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ เช่นมีปริมาณน้ำตาลอยู่ในตัวอย่างเท่าไหร่
- เชิงคุณภาพ เพื่อต้องการทราบว่าในตัวอย่างมีสารที่ต้องการทราบหรือไม่ เช่น มีกรดะมิโนชนิดใดบ้าง
การวัดค่าทางเคมีของผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตร
- การวิเคราะห์หาปริมาณความชื้นและองค์ประกอบทางเคมีในผลิตภัณฑ์
- การวิเคราะห์ความเป็นกรด ด่าง
- การวิเคราะห์หาปริมาณสารตกค้างที่ปนในผลิตภัณฑ์
- การวิเคราะห์หาปริมาณสารที่เกิดจากการเปลี่ยนภายในอาหารในระหว่างการผลิตและช่วงการเก็บรักษา
- การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
วิธีวัดค่าทางเคมีของอาหาร
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทั่วไปของอาหารได้แก่ความชื้น โปรตีน ไขมัน เส้นใย เถ้า คาร์โบไฮเดรต สี ความเป็นกรดด่าง
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้เครื่องมือ ส่วนใหญ่เครื่องมือที่ใช้จะเป็นเครื่องมือที่มีกลไกการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน ต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ในการทำงานกับเครื่อง
หลักในการวิเคราะห์ค่าทางเคมี
- เพื่อนำมาใช้ในการระบุคุณค่าทางโภชนาการ
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทั่วไปของอาหาร ได้แก่ ความชื้น-ปริมาณน้ำในอาหาร , โปรตีน-ปริมาณไนโตรเจน , ไขมัน-ปริมาณสารที่สามารถสกัดได้ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ , เถ้า-ปริมาณสารที่หลงเหลือจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง , เส้นใยอาหาร-ปริมาณสารที่เหลือจากการชะเอาโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและเถ้าออกไปแล้ว , คาร์โบไฮเดรต
3. การวัดค่าทางจุลินทรีย์
ได้แก่การวัดค่าหาจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด , ยีสต์และรา เป็นต้น
จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายสามารถแบ่งได้เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นดัชนีชี้คุณภาพทางสุขาภิบาล , จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเป็นพิษ , จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย
ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้ในการประกอบการศึกษาด้านจุลินทรีย์ ได้แก่ ลักษณะอาหาร , ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง , ชื่อและสถานที่ตั้งของโรงงานผลิตอาหาร , สถานที่จัดจำหน่าย , เวลา วันที่และสถานที่เก็บตัวอย่าง , อุณหภูมิขณะที่เก็บและขนส่งตัวอย่างมาก่อนการทดสอบ
วิธีการนับจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดในอาหารมี 3 วิธี ได้แก่ การนับจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดในกล้องจุลทรรศน์ , การนับจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดในอาหารวุ้น , วิธี Most Probable number (MPN)
4. การทดสอบความแตกต่าง
เป็นวิธีการที่ทดสอบเพื่อหาว่าผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งสามารถแบ่งการทดสอบได้ 2 กลุ่มคือ
การทดสอบความแตกต่างรวมทั้งหมด ควรใช้วิธีการในกลุ่มนี้ดังต่อไปนี้
- ประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเปลี่ยน ซึ่งได้แก่ ส่วนผสม กรรมวิธีการผลิต ภาชนะบรรจุ การเก็บรักษา
- ประเมินว่าผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดมีความเหมือนกันอาจใช้ทดแทนกันได้
- คัดเลือกและฝึกผู้ทดสอบและติดตามความสามารถของผู้ทดสอบ
วิธีที่นิยมใช้ได้แก่ Triagle test , Duo trio test , “A”-“Not A” test , Difference-from-Control
การทดสอบความแตกต่างตามลักษณะทางประสาทสัมผัส วิธีการนี้ใช้ได้เมื่อต้องการทราบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ตามลักษณะทางประสาทสัมผัสที่กำหนด เช่น รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว ความกรอบ ความแข็ง เป็นต้น วิธีการที่นิยมใช้ได้แก่ Pair Comparison test , Difference from Control ซึ่งเป็นการหาความแตกต่างในคุณลักษณะเดียวส่วนการหาความแตกต่างในคุณลักษณะมากกว่า 2 ตัวอย่างมักจะใช้วิธี Difference from Control , Multiple ranking
5. การทดสอบเชิงพรรณนาหรือวิเคราะห์
เป็นวิธีการที่วัดและอธิลายลักษณะทางประสาทสัมผัสออกมาในเชิงคุณภาพ และปริมาณ โดยผู้ทดสอบต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี คุณภาพทางประสาทสัมผัสที่ผู้ทดสอบสามารถอธิบายได้ ได้แก่ การมองเห็น การได้กลิ่น การได้กลิ่นรส เนื้อสัมผัสและคุณสมบัติทางเสียงของผลิตภัณฑ์นอกจากนั้นผู้ทดสอบต้องได้รับการฝึกฝนให้บอกลักษณะดังกล่าวในเชิงปริมาณโดยใช้สเกล ดังนั้นการใช้วิธีการทดสอบเชิงวิเคราะห์หรือเชิงพรรณนาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อ
- กำหนดคุณสมบัติทางประสาสัมผัสของผลิตภัณฑ์เป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
- กำหนดลักษณะของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน
- หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสกับผลการวัดค่าด้วยเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
- ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์ก่อนการทดสอบผู้บริโภคเพื่อช่วยในการสร้างแบบสอบถาม
- ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์
- ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่างการเก็บรักษา
วิธีการที่นิยมใช้ได้แก่ Flavor Profile (Arthur D.little) , Texture profile (General Foods) , Quantitative Descriptive Analysis (QDA) (Tragon Corp.) , Spectrum Descriptive Analysis (Sensory Spectrum) , Modified , short version Spectrum Descriptive Analysis (Sensory Spectrum)
ความคิดเห็น