ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคการแพทย์ ขอนแก่น

    ลำดับตอนที่ #6 : "ทนพ./ทนพญ." นำหน้าชื่อนักเทคนิคการแพทย์

    • อัปเดตล่าสุด 25 พ.ย. 49


    .....เอาล่ะ หลังจากที่หลายๆคนสงสัย และได้ถามไถ่กันไปมา ถึงเรื่องของการใช้คำนำหน้าชื่อของนักเทคนิคการแพทยืว่าเป็นอย่างไรนั้น ในขณะนี้ก้ได้เป็นที่สรุปกันแล้ว และประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วนะ โดยให้ใช้คำว่า "ทนพ." สำหรับนักเทคนิคการแพทย์ชาย  และคำว่า "ทนพญ." สำหรับนักเทคนิคการแพทย์หญิง เอาเป็นว่าเข้าใจกันแล้วนะงับ ตามบทความข้างล่างที่ผมได้ขออณุญาติก๊อบมาจาก web ศูนย์ข่าวของเทคนิคการแพทย์นี้เลย .........

    ย้อนรอย..กว่าจะได้ "ทนพ./ทนพญ." นำหน้าชื่อ
           เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำ หรับผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ที่สภาเทคนิคการแพทย์ ได้พิจารณาเกี่ยวกับการใช้คำนำหน้าชื่อ เทคนิคการแพทย์แล้ว ในการประชุมสภาฯ ครั้งที่ ๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ นักเทคนิคการแพทย์ สามารถใช้คำนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ และสภาเทคนิคการแพทย์ได้ออกประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่องการใช้คำนำหน้าชื่อ ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ โดยประกาศดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ชาย ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพ." และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หญิง ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพญ." ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวลงนามโดย รศ.สมชาย วิริยะยุทธกร นายกสภาเทคนิคการแพทย์ นับเป็นเวลาร่วม ๑๐ ปีทีเดียว ตั้งแต่ราชบัณฑิตยสภากำหนดอักษรย่อดังกล่าวไว้ จนมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการจากสภาวิชาชีพ
          

    เทคนิคการแพทย์รุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ทราบว่าเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะลองย้อนไปดูความเป็นมาของเรื่องนี้กันสักนิด

          เมื่อปี ๒๕๔๕ ต่อเนื่องถึงปี ๒๕๔๖ ชมรมเทคนิคการสัมพันธ์ ซึ่งมี ทนพญ.คมเนตร เตียงพิทยากร เป็นประธานชมรมในขณะนั้น ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการใช้คำย่อ ทนพ./ทนพญ. นำหน้านามผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้ ผ่านข้อเขียนของ ทนพ.อรรณพ สุภานันท์ ทางเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูล e-MedTecH โดยอ้างหลักฐานสำคัญ 2 ชิ้น คือ หนังสือราชบัณฑิตยสถานที่ รถ.๐๐๐๔/๑๒๙๑๒ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๘ เรื่อง การใช้อักษรย่อ ความหมายของคำ และศัพท์บัญญัติ เรียน ผู้ช่วยเลขานุการ โครงการตำรา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และจดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๒๔ เดือนกันยายน ๒๕๔๔ ซึ่งเอกสารทั้งสองฉบับ แสดงข้อความตรงกันว่า ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้ใช้อักษรย่อ ทนพ./ทนพญ. สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์จริง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักฐานชัดเจนดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีประเด็นถกเถียงในขณะนั้นว่า การใช้อักษรย่อดังกล่าว จะต้องตราเป็นกฎหมายหรือไม่ ชมรมเทคนิคการแพทย์สัมพันธ์ จึงได้ทำหนังสือปรึกษาไปยังราชบัณฑิตยสถานในประเด็นดังกล่าว เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๕ ขณะเดียวกันก็ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายประกอบด้วย ซึ่งราชบัณฑิตยสถานโดย ศาสตราจารย์ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกราชบัณฑิตยสถาน ได้มีหนังสือที่ รถ. ๐๐๐๔/๓๔๕ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๖ แจ้งให้ทราบว่า คำแสดงวิชาชีพ "เทคนิคการแพทย์" และ "เทคนิคการแพทย์หญิง" ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมเช่นเดียวกับคำว่า "นายแพทย์" ซึ่งมิได้มีกฎหมายกำหนดให้ใช้เป็นคำนำหน้านามไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖ และมิได้กำหนดให้ใช้เป็นคำนำหน้านาม ในการลงชื่อในหนังสือราชการ หากแต่เป็นการใช้ตามความนิยมเฉพาะแวดวงวิชาการ สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกฎหมายหลายท่าน เช่น นักฎหมายจากสำนักงานสันทัดการทนายความ อาจารย์ผู้สอนกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น และในการประชุมคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาเทคนิคการแพทย์ ครั้งที่ ๒-๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ชมรมเทคนิคการแพทย์สัมพันธ์ ได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบว่าสามารถใช้ได้ เช่นเดียวกับคำนำหน้านามผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ จนกระทั่ง มีสภาเทคนิคการแพทย์ ตาม พรบ.วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.๒๕๔๗ จึงมีการหยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณาอีกครั้ง และไปสู่ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง กำหนดใช้คำนำหน้าชื่อผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา

        *** ถึงแม้ว่าการใช้ "ทนพ./ทนพญ." นำหน้านามผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ จะไม่ช่วยแก้ปัญหาวิชาชีพที่ถาโถมเข้ามาในเวลานี้ แต่อย่างน้อยก็เป็นประกาศเกียรติและศักดิ์ศรีวิชาชีพ ให้ขึ้นไปยืนอญุ่ในระนาบเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสายสุขภาพด้วยกันได้บ้างไม่มากก็น้อย
             ดีกว่าจะตกอยู่ในมุมที่อับมืดเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ***
    ....................................

    ยินดีด้วยนะว่าที่ ทนพ. ทนพญ. ทุกคน สัญญาณแห่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งวิชาชีพเรา เริ่มก่อตัวขึ้นแล้วล่ะ!

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×