ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หมายเหตุประเทศไทย

    ลำดับตอนที่ #9 : ความดีที่ถูกลืม โดย วษณ

    • อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 53


     

    30
    รัฐบาลทักษิณฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติจากวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540
    สามารถใช้หนี้คืน IMF และสามารถสำรองเงินของประเทศไว้ได้เป็นจำนวนมาก
    ซึ่งส่งผลให้ในเวลาต่อๆมา จนถึงวันนี้ (พฤศจิกายน 2551) ประเทศไทยของเรา ยังมีเงินสำรองของประเทศ
    มากกว่าแสนล้านดอลลาร์
    แม้วันนี้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้อยู่ในประเทศแล้ว
    แต่คุณูปการนี้ ยังค้ำจุนประเทศไว้
    ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจโลก
    และกระแสการเมืองทำลายประเทศ ที่บ่อนทำลายเศรษฐกิจประเทศตนเองอย่างหนัก
    (กฏหมายป้องกันไม่ให้รัฐบาลต่อๆมา เข้าเกี่ยวข้องเงินทุนสำรองของประเทศโดยพละการได้)

    (ภาพประกอบ : ตารางจัดอันดับปริมาณเงินทุนสำรองจาก 156 ประเทศทั่วโลก ณ สิ้นปี พ.ศ. 2551)

     

    31
    เศรษฐกิจของประเทศฟื้นฟูขึ้นจากวิกฤติได้อย่างไร

    การเกื้อหนุนให้ประชากรทางเศรษฐกิจระดับรากหญ้ามีกำลังประกอบอาชีพ สามารถจับจ่ายใช้สอย
    จะส่งผลต่อๆไปยังประชากรทางเศรษฐกิจที่อยู่ชั้นบนขึ้นไป
    ทำนองนี้

    ประชากรทางเศรษฐกิจระดับรากหญ้าซื้อของจากร้านค้า
    ร้านค้าซื้อของจากเอเย่นต์
    เอเย่นต์ซื้อของจากผู้ผลิต
    ผู้ผลิตจ้างงานและซื้อวัตถุดิบจากประขากรระดับรากหญ้า

    การเกื้อหนุนให้ชนชั้นรากหญ้ามีกำลังประกอบอาชีพ สามารถจับจ่ายใช้สอย
    เป็นผลให้ชนชั้นทางเศรษฐกิจที่อยู่สูงขึ้นไปยิ่งมีรายได้มากกว่าเป็นทบเท่าทวี
    เพราะว่าเงินที่จับจ่ายใช้สอยโดยจำนวนมากของประชากรระดับรากหญ้า
    หมุนเวียนขึ้นไปสู่จำนวนน้อยของประชากรระดับสูงกว่า
    ดังเช่น

    ประชากรระดับรากหญ้ามี 8 คน
    ประชากรระดับร้านค้ามี 4 คน
    ประชากรระดับเอเย่นต์มี2 คน
    ประชากรระดับผู้ผลิตมี 1 คน


    ข้อที่สำคัญยิ่งคือการที่รากหญ้าต้องมีกำลังประกอบอาชีพเองได้อย่างยั่งยืน
    ไม่ใช่การได้รับอย่างต้องพึ่งพาไปตลอดทั้งสิ้น

     

    32
    จากประเทศลูกหนี้ IMF กลับกลายเป็นประเทศมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    มีเงินสำรองของประเทศจำนวนมาก ในสมัยรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ บริหารประเทศ
    ประเทศต่างๆที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลก
    ให้เงินกู้แก่ประเทศอื่น เป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยด้วย
    และมักกำหนดเงื่อนไข ให้ประเทศที่เป็นลูกหนี้ต้องใช้เงินกู้นั้นซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้เงินกู้
    เป็นการส่งเสริมกิจการต่างๆของประเทศตน และสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
    ดังเช่นญี่ปุ่นให้เงินกู้แก่ไทยสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ กำหนดให้ไทยต้องใช้บริษัทญี่ปุ่นร่วมก่อสร้าง
    ดังเช่น IMF กำหนดให้ไทยต้องขายทรัพย์สินแก่ประเทศให้เงินกู้

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×