คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : บทที่ 2 สิ่งต่างๆอุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
บทที่ 2 สิ่งต่างๆอุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย
ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น
เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี
ความชั่วก็อุบัติขึ้น
มีกับไม่มี เกิดขึ้นด้วยการรับรู้
ยากกับง่าย เกิดขึ้นด้วยความรู้สึก
ยาวกับสั้น เกิดขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
สูงกับต่ำ เกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง
เสียงดนตรีกับเสียงสามัญ เกิดขึ้นด้วยการรับฟัง
หน้ากับหลัง เกิดขึ้นด้วยการนึกคิด
ดังนั้นปราชญ์ย่อม
กระทำด้วยการไม่กระทำ
เทศนาด้วยการไม่เอ่ยวาจา
การงานทั้งหลายก็สำเร็จลุล่วงลง
ท่านให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง
แต่มิได้ถือตัวเป็นเจ้าของ
ประกอบกิจอันยิ่งใหญ่
แต่มิได้ประกาศให้โลกรู้
เหตุที่ท่านไม่ปรารถนาในเกียรติคุณ
เกียรติคุณของท่านจึงดำรงอยู่ไม่สูญสลาย
.......................................
บทนี้จะสอนให้เรารู้จักพิจารณาถึง คำพูด และการไม่พูด หรือที่เรียกว่า วจนะภาษา และอวจนะภาษา ซึ่งปราชญ์มักจะใช้อวจนะภาษาในการสื่อสารให้เข้าใจ
ถ้าเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่า นาม กับสิ่งที่เป็นตัวกำหนดของนาม ซึ่งเล่าจื้อเปรียบเทียบกับ การรับรู้ ความรู้สึก การเปรียบเทียบ การเทียบเคียง การรับฟัง และการนึกคิด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า นาม หรือ คำพูด
ปราชญ์จึงสามารถข้ามขั้นตอนของนามไปได้ โดยการสื่อให้เห็นถึงสิ่งที่กำหนดแห่งนามนั้นแทน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของปรัชญาแบบเซ็น ในปัจจุบัน......................หมื่นลี้
ความคิดเห็น